บุคคล จะพ้นจาก การ เป็น ผู้เยาว์ ได้ อย่างไร

ผู้เยาว์ หมายถึง บุคคลผู้ยังไม่บรรลุนิติภาวะการบรรลุนิติภาวะหรือการพ้นจากภาวะผู้เยาว์มีได้ 2 กรณี คือ (1) อายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ (2) อายุยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ แต่ได้ทำการสมรสโดยชอบด้วยกฎหมาย คือ สมรสเมื่อชายและหญิงมีอายุสิบเจ็ดปีบริบูรณ์แล้ว หรือเมื่อศาลอนุญาตให้ทำการสมรสก่อนนั้นได้ความสามารถในการใช้สิทธิของผู้เยาว์ แยกได้ 2 กรณี คือกรณีที่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม และกรณีที่ผู้เยาว์สามารถใช้สิทธิกระทำได้เอง

กรณีที่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 21 บัญญัติว่า “ผู้เยาว์จะทำนิติกรรมใด ๆ ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน การใด ๆ ที่ผู้เยาว์ได้ทำลงปราศจากความยินยอมเช่นว่านั้นเป็นโมฆียะ เว้นแต่จะบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น”การใด ๆ ในที่นี้ หมายความถึงเฉพาะการทำ “นิติกรรม” เท่านั้น ถ้าเป็นการกระทำอย่างอื่นที่มิใช่นิติกรรม เช่น ผู้เยาว์กระทำละเมิดต่อผู้อื่น ผู้เยาว์จะต้องรับผิดชอบในการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น จะอ้างว่าการกระทำนั้นมิได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมไม่ได้”ผู้แทนโดยชอบธรรม” หมายถึง ผู้ที่มีอำนาจทำนิติกรรมต่าง ๆ แทนผู้เยาว์ หรือให้ความยินยอมแก่ผู้เยาว์ในการทำนิติกรรม ผู้แทนโดยชอบธรรมได้แก่

ผู้ใช้อำนาจปกครอง คือ บิดาและมารดา ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจ ปกครองร่วมกันในกรณีที่ผู้เยาว์นั้นมีทั้งบิดาและมารดา หรืออาจจะเป็นบิดาหรือมารดาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก็ได้ ในกรณีที่บิดาหรือมารดาตาย ไม่แน่นอนว่าบิดาหรือมารดามีชีวิตอยู่ บิดาหรือมารดาถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ บิดาหรือมารดาต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลเพราะจิตฟั่นเฟือน ศาลสั่งให้อำนาจปกครองอยู่กับบิดาหรือมารดา

ผู้ปกครอง ผู้ปกครองของผู้เยาว์จะมีได้ก็แต่เฉพาะในกรณีอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ ผู้เยาว์ไม่มีบิดา หรือมีบิดามารดาแต่ได้ถูกถอนอำนาจปกครองแล้ว

กรณีที่ผู้เยาว์สามารถใช้สิทธิกระทำได้เอง

นิติกรรมที่กฎหมายอนุญาตให้ผู้เยาว์กระทำได้โดยลำพังตนเองไม่จำเป็นต้องขอความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมอันเป็นข้อยกเว้นหลักทั่วไป คือ

1) นิติกรรมที่เป็นคุณประโยชน์แก่ผู้เยาว์ฝ่ายเดียว ได้แก่ นิติกรรมที่ทำให้ผู้เยาว์ได้ไป ซึ่งสิทธิอันใดอันหนึ่ง หรือทำให้หลุดพ้นจากหน้าที่อันใดอันหนึ่ง นิติกรรมที่ทำให้ได้ไปซึ่งสิทธิ เช่น การรับการให้โดยเสน่หา โดยไม่มีภาระผูกพัน นิติกรรมที่ทำให้หลุดพ้นจากหน้าที่ เช่น การที่เจ้าหนี้ทำนิติกรรมปลดหนี้ให้

2) นิติกรรมที่ผู้เยาว์ต้องทำเองเฉพาะตัว เช่น รับรองบุตร

3) นิติกรรมที่จำเป็นเพื่อการเลี้ยงชีพของผู้เยาว์ ซึ่งเป็นการสมควรแก่ฐานานุรูป เช่น การซื้ออาหารกิน ซื้อสมุดดินสอ ขึ้นรถประจำทาง ทั้งนี้ต้องพิจารณาถึงฐานะความเป็นอยู่ของผู้เยาว์เป็นราย ๆ ไป

4) การทำพินัยกรรม ผู้เยาว์ทำพินัยกรรมได้เมื่ออายุ 15 ปี บริบูรณ์ ถ้าผู้เยาว์ทำพินัยกรรมในขณะที่อายุยังไม่ครบ 15 ปีบริบูรณ์ แม้ได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม พินัยกรรมนั้นก็ยังคงเป็นโมฆะ

5) การจำนำตามพระราชบัญญัติโรงรับจำนำ พ.ศ.2505 ผู้เยาว์ที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป สามารถจำนำสิ่งของในโรงรับจำนำได้ แต่การจำนำตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 748 ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม

คนไร้ความสามารถ

คือ เป็นบุคคลวิกลจริต และ

1.ต้องเป็นอย่างมาก คือ วิกลจริตชนิดที่พูดจาไม่รู้เรื่อง ไม่มีความรู้สึกผิดชอบใด ๆ ทั้งสิ้น ไม่รู้สึกตัวว่าทำอะไรลงไปบ้าง

2.เป็นอยู่ประจำ คือ วิกลจริตอยู่สม่ำเสมอ แต่ไม่จำเป็นต้องเป็นอยู่ตลอดเวลา อาจมีเวลาที่มีสติอย่างคนธรรมดาบางเวลา ในเวลาต่อมาก็เกิดวิกลจริตอีก เช่นนี้เรื่อยไป

คนเสมือนไร้ความสามารถ

  1. มีเหตุบกพร่องบางอย่าง ได้แก่

1.1 กายพิการ ไม่ว่าส่วนไหนของร่างกายจะพิการก็ได้ เช่น หูหนวก ตาบอด เป็นใบ้ แขนขาด ขาขาด ซึ่งอาจเป็นมาโดยกำเนิด หรือเกิดขึ้นภายหลัง เช่น เกิดจากอุบัติเหตุ โรคภัยไข้เจ็บ หรือชราภาพ

1.2 จิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หมายถึงบุคคลที่จิตผิดปกติ สมองพิการ แต่ยังไม่ถึงขั้นวิกลจริต ยังมีความคิดคำนึงอยู่บ้าง และสามารถทำกิจกรรมหลายอย่างได้ด้วยตนเอง

1.3 ประพฤติสุรุ่ยสุร่ายเสเพลเป็นอาจิณ ชอบใช้จ่ายฟุ่มเฟือย หรือใช้จ่ายเงินเกินกว่าฐานะอยู่เป็นประจำ ซึ่งทำให้ทรัพย์สมบัติร่อยหรอลงไปทุกวัน ในที่สุดก็จะหมดตัว และการใช้จ่ายดังกล่าวไม่เกิดประโยชน์ในทางเศรษฐกิจ

1.4 ติดสุรายาเมา เช่น ดื่มสุราจัด เมาตลอดเวลา ติดฝิ่น เฮโรอีน เป็นประจำจนละเว้นเสียไม่ได้ ทำให้ร่างกายอ่อนแอ ความรู้สึกผิดชอบลดน้อยลงไป

สมาชิก

ลืมรหัสผ่าน , สมัครสมาชิก

บุคคล จะพ้นจาก การ เป็น ผู้เยาว์ ได้ อย่างไร

บุคคล จะพ้นจาก การ เป็น ผู้เยาว์ ได้ อย่างไร

บุคคล จะพ้นจาก การ เป็น ผู้เยาว์ ได้ อย่างไร

บุคคล จะพ้นจาก การ เป็น ผู้เยาว์ ได้ อย่างไร

บุคคล จะพ้นจาก การ เป็น ผู้เยาว์ ได้ อย่างไร

บุคคล จะพ้นจาก การ เป็น ผู้เยาว์ ได้ อย่างไร

บุคคล จะพ้นจาก การ เป็น ผู้เยาว์ ได้ อย่างไร

ฎีกาน่ารู้

  • แสดงบทความทั้งหมดในหมวดนี้

  • - คำพิพากษาฎีกา-แพ่ง

  • - คำพิพากษาฎีกา-อาญา

บุคคล จะพ้นจาก การ เป็น ผู้เยาว์ ได้ อย่างไร

กฎหมายน่ารูุ้

  • กฎหมายน่ารู้ (148)

  • ถาม-ตอบ ปรึกษาคดี (359)

บุคคล จะพ้นจาก การ เป็น ผู้เยาว์ ได้ อย่างไร
บุคคล จะพ้นจาก การ เป็น ผู้เยาว์ ได้ อย่างไร
บุคคล จะพ้นจาก การ เป็น ผู้เยาว์ ได้ อย่างไร
บุคคล จะพ้นจาก การ เป็น ผู้เยาว์ ได้ อย่างไร
บุคคล จะพ้นจาก การ เป็น ผู้เยาว์ ได้ อย่างไร
บุคคล จะพ้นจาก การ เป็น ผู้เยาว์ ได้ อย่างไร

คดียาเสพติด

  • แสดงบทความทั้งหมดในหมวดนี้

  • - สู้คดียาเสพติด ปรึกษาคดียาเสพติด 0971176877

กฎหมายน่ารูุ้ / สาระน่ารู้ / กฎหมายน่ารู้

การทำนิติกรรมของผู้เยาว์
ทนายกาญจน์
(Admin)เมื่อ » 2018-11-22 11:38:02 (IP : , ,1.47.101.209 ,, Admin)

กฎหมายแพ่งว่าด้วยบุคคล  การทำนิติกรรมของผู้เยาว์

 

ความสามารถในการทำนิติกรรม
ความสามารถในที่นี้เราหมายถึง ความสามารถในการทำนิติกรรมของบุคคลธรรมดา บุคคลธรรมดาสามารถมีสิทธิต่าง ๆ ซึ่งกฎหมายรับรองและคุ้มครองให้มีได้ แต่การใช้สิทธิของบุคคลธรรมดาบางประเภทนั้นอาจจะใช้ได้ไม่เต็มตามที่กฎหมายกำหนด เช่น การใช้สิทธิในการทำนิติกรรมต่างๆ หากเป็นบุคคลซึ่งด้อยสิทธิด้วยภาวะทางกฎหมายแห่งสภาพบุคคลของคนเหล่านั้นเขาก็ไม่อาจใช้สิทธิได้เต็มที่ เราเรียกคนเหล่านั้นว่าผู้หย่อนความสามารถ กล่าวคือความสามารถในการทำนิติกรรมนั้นหย่อนไปไม่เต็มที่นั่นเอง ซึ่งคนเราจะไม่สามารถใช้สิทธิได้เต็มที่เนื่องมาจาก
1. สภาพธรรมชาติ เช่น เด็กไร้เดียงสา
2. โดยกฎหมายจำกัดอำนาจ เช่น ผู้เยาว์ คนวิกลจริต คนไร้ความสามารถ คน
เสมือนไร้ความสามารถ (เหล่านี้เรียกว่าผู้หย่อนความสามารถทั้งสิ้น)
เหตุที่กฎหมายต้องจำกัดอำนาจบุคคลเช่นนั้นเนื่องจากบุคคลผู้หย่อนความสามารถนั้นไม่อาจใช้สามัญสำนึกเพื่อคุ้มครองสิทธิของตนเองได้ตามมาตรฐานของบุคคลทั่วไป กฎหมายเกรงว่าบุคคลเหล่านั้นจะถูกผู้อื่นเอาเปรียบหรือทำการอย่างใดให้ตนเองเสียเปรียบบุคคลอื่นได้นั่นเอง
นิติกรรมคืออะไร
นิติกรรม หมายความว่า การใด ๆ อันทำลงโดยชอบด้วยกฎหมายและด้วยใจสมัคร มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล เพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ
คำว่า การใด อันที่จริงแล้วมีความหมายที่ลึกซึ้ง แต่ในเบื้องต้นนี้ขอให้นิสิตเข้าใจเพียงว่าการใดคือการกระทำใด ๆ นั่นเอง อย่างเช่น การเคลื่อนไหวร่างกายเพื่อไปซื้อของ การหยิบเงินจ่ายค่าของที่เราซื้อชอบด้วยกฎหมาย หมายถึงการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายเช่นซื้อของกินของใช้ แต่ถ้าซื้อยาเสพติด ซึ่งผิดกฎหมายไม่ใช่นิติกรรม หนี้ซื้อขายยาเสพติดไม่ใช่หนี้ที่เกิดจากนิติกรรมบังคับไม่ได้ตามกฎหมาย
ใจสมัคร หมายถึงการกระทำด้วยความเต็มใจไม่ได้ถูกบังคับหรือกระทำโดยรู้ตัวไม่ว่าจะถูกหลอกให้เข้าใจผิดจึงกระทำก็ตามแต่ต้องไม่ใช่กระทำโดยไม่รู้เรื่องรู้ตัวหรือถูกบังคับให้กระทำ
ผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล หมายถึงการทำให้เกิดภาวะความสัมพันธ์ขึ้น เช่น ความเป็นเจ้าหนี้ลูกหนี้ สามีภรรยา เป็นต้น
ก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวนหรือระงับซึ่งสิทธิ เมื่อมีการผูกนิติสัมพันธ์กันตามกฎหมายแล้วนิติสัมพันธ์นั้นเป็นไปเพื่อก่อสิทธิ เช่นเกิดสิทธิในการเรียกร้องให้ชำระหนี้ เปลี่ยนแปลงสิทธิ โอนสิทธิ เช่นเปลี่ยนความเป็นเจ้าหนี้ลูกหนี้ โอนสิทธิในทรัพย์สิน สงวนสิทธิเช่นการสงวนสิทธิในทรัพย์สินไม่ให้ผู้อื่นนำไปใช้ ระงับสิทธิ เช่นการชำระหนี้ทำให้สิทธิความเป็นเจ้าหนี้ระงับ ดังนั้นการชำระหนี้เป็นการทำนิติกรรม
ผู้เยาว์คือใคร
มาตรา 19 บุคคลย่อมพ้นจากภาวะผู้เยาว์และบรรลุนิติภาวะเมื่อมีอายุยี่สิบปีบริบูรณ์
ผู้เยาว์คือผู้ซึ่งมีสภาวะแห่งชีวิตสมบูรณ์เป็นบุคคลแล้วสภาวะบุคคลนั้นดำเนินมาจนครบ 20 ปีมาตรา 20 ผู้เยาว์ย่อมบรรลุนิติภาวะเมื่อทำการสมรสหากการสมรสนั้นได้ทำตามบทบัญญัติมาตรา 1448
เป็นอีกกรณีหนึ่งคือผู้เยาว์ซึ่งอายุไม่ครบ 20 ปี ได้ทำการสมรสและการสมรสนั้นเป็นการสมรสที่ชอบด้วยกฎหมายมาตรา1448 ด้วย
มาตรา 1448 การสมรสจะทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุสิบเจ็ดปีบริบูรณ์แล้ว แต่ในกรณีที่มีเหตุอันสมควร ศาลอาจอนุญาตให้ทำการสมรสก่อนนั้นได้
การสมรสจะเริ่มกระทำได้โดยถือว่าชอบด้วยกฎหมายคืออายุ 17 ปี บริบูรณ์แล้วเท่านั้น โดยต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดา หรือผู้ปกครองก่อน ตามมาตรา 1454 ซึ่งให้นำความในมาตรา 1436 มาใช้โดยอนุโลม
หากผู้เยาว์ต้องการสมรสแต่อายุยังไม่ถึง 17 ปี แม้ผู้แทนฯ จะให้การอนุญาตก็ไม่อาจสมรสได้ ต้องร้องขอต่อศาลแต่เพียงประการเดียว โดยศาลจะพิจารณาถึงความจำเป็น เช่น ญ กำลังมีครรภ์ ศาลจึงจะอนุญาตให้สมรสได้
เมื่อมีการสมรสที่ชอบแล้ว ช และ ญ นั้นก็จะพ้นจากภาวะความเป็นผู้เยาว์ทันทีสามารถทำนิติกรรมได้ตามปกติ เหตุที่กฎหมายต้องกำหนดเช่นนี้ เพราะว่า ช ญ ที่สมรสแล้วต้องดูแลครอบครัวตนต่อไป จึงต้องมีความเป็นผู้ใหญ่ในทางกฎหมาย เช่น หากชายอายุ 16 ปี แต่มีบุตร เมื่อศาลอนุญาตให้สมรสเขาจะบรรลุนิติภาวะ สามารถทำนิติกรรมต่าง ๆ เช่น ต้องการจะยกที่ดินของตนเองให้แก่บุตรของตน หากกฎหมายไม่ให้เขาบรรลุนิติภาวะแล้วเขาไม่อาจกระทำได้ หรือการส่งลูกตนเข้าโรงเรียนต้องเสียค่าใช้จ่ายเกินฐานานุรูปก็ไม่อาจกระทำได้ กฎหมายจึงต้องให้เขาบรรลุนิติภาวะเสีย
การทำนิติกรรมของผู้เยาว์
มาตรา 21 ผู้เยาว์จะทำนิติกรรมใด ๆ ต้องได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมก่อนการใด ๆ ที่ผู้เยาว์ได้ทำลงปราศจากความยินยอมเช่นว่านั้นเป็นโมฆียะ เว้นแต่จะบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น
ผู้เยาว์จะทำนิติกรรมใดๆ ต้องได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน ผู้แทนฯ หมายถึงผู้ซึ่งอาจให้ความยินยอมแก่ผู้เยาว์ได้ เช่น บิดามารดาซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร หรือ บุคคลอื่นซึ่งถูกตั้งขึ้นมาเพื่อปกครองผู้เยาว์
การใด (นิติกรรม) ที่ผู้เยาว์กระทำลงไปโดยลำพังไม่ได้ขอความยินยอมจากผู้แทนฯ การนั้นจะเป็นโมฆียะ
คำว่า “โมฆียะ” หมายความว่า ไม่บริบูรณ์ อาจให้สัตยาบรรณหรืออาจบอกล้างได้ กล่าวคือสมบูรณ์อยู่จนกว่าจะถูกบอกล้าง
ตัวอย่าง นิติกรรมที่โจทก์ทำกับจำเลยในขณะโจทก์เป็นผู้เยาว์แต่มิได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมนั้นเป็นโมฆียะ เมื่อนิติกรรมนั้นมิได้ถูกบอกล้างจึงมีผลผูกพันโจทก์อยู่
การให้ความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรม
ในเรื่องของการให้ความยินยอมนั้น กฎหมายไม่ได้กำหนดแบบเฉพาะไว้ว่าต้องให้อย่างไร ดังนั้นจะให้ความยินยอมเป็นหนังสือหรือยินยอมด้วยวาจาหรือโดยปริยายก็ได้ ยินยอมโดยปริยายเช่น รู้ว่าผู้เยาว์จะลงทุนทำธุรกิจแล้วไม่ท้วงติงว่ากล่าว หรือการให้คำปรึกษาว่าต้องทำอย่างไรซื้อของที่ไหนควรจะซื้อได้ในราคาเท่าไหร่ หรือลงนามเป็นพยานในสัญญา ช่วยติดต่อภาระกิจการงานให้ เป็นต้น
นิติกรรมที่ผู้เยาว์สามารถทำเองได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอม
มาตรา 22 ผู้เยาว์อาจทำการใด ๆ ได้ทั้งสิ้น หากเป็นเพียงเพื่อจะได้ไปซึ่งสิทธิอันใดอันหนึ่ง หรือเป็นการเพื่อให้หลุดพ้นจากหน้าที่อันใดอันหนึ่ง
ในเรื่องมาตรา 22 นี้ต้องเป็นนิติกรรมที่ผู้เยาว์มีแต่ทางได้ไม่มีเสีย หากผู้เยาว์จะมีเสียอยู่ด้วยย่อมทำไม่ได้ เช่น สัญญาซื้อขาย ผู้เยาว์มีเสียอยู่ด้วยคือเสียเงินหรือทรัพย์สินที่จะทำการซื้อขายจะทำไม่ได้ แต่ถ้าผู้เยาว์ได้อย่างเดียวเช่นได้รางวัลฉลากกินแบ่ง ได้รางวัลจากการส่งชิ้นส่วนเข้าชิงรางวัล ผู้เยาว์สามารถไปรับได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอม
เพื่อให้หลุดพ้นจากหน้าที่อันใดอันหนึ่ง เช่น ผู้เยาว์เป็นหนี้มีหน้าที่ต้องชำระหนี้ แต่เจ้าหนี้จะปลดหนี้ให้ ผู้เยาว์สามารถรับการปลดหนี้ได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมแทนฯ
มาตรา 23 ผู้เยาว์อาจทำการใด ๆ ได้ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นการต้องทำเองเฉพาะตัว
การที่ต้องทำเองเฉพาะตัวผู้เยาว์ เช่น พินัยกรรม รับรองบุตร ระวัง! อย่าสับสนกับการชำระหนี้ซึ่งเป็นการเฉพาะตัวของลูกหนี้โดยแท้ เช่น เยาว์เป็นนักแสดง การแสดงหนังต้องแสดงเองการแสดงหนังเป็นการชำระหนี้ซึ่งต้องทำเองเฉพาะตัว แต่การจะรับแสดงหนังหรือไม่นั้นต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมเสียก่อน
มาตรา 24 ผู้เยาว์อาจทำการใด ๆ ได้ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นการสมแก่ฐานานุรูปแห่งตนและเป็นการอันจำเป็นในการดำรงชีพตามสมควร
สมแก่ฐานานุรูป เช่น การซื้อสินค้าอันจำเป็นตามปกติ การใช้จ่ายที่ไม่ฟุ้งเฟ้อตามปกติ การซื้อโทรศัพท์มือถือปัจจุบันอาจเป็นการสมแก่ฐานานุรูปแห่งตนได้ แต่การซื้อรถยนต์ ซื้อที่ดิน ยังคงเกินฐานานุรูป
มาตรา 25 ผู้เยาว์อาจทำพินัยกรรมได้เมื่ออายุสิบห้าปีบริบูรณ์
การทำพินัยกรรมนั้นผู้เยาว์จะทำได้เมื่ออายุครบ 15 ปี บริบูรณ์แล้วเท่านั้น แต่ถ้าผู้เยาว์ซึ่งสมรสแล้วถือว่าบรรลุนิติภาวะแล้วแม้อายุเพียง 14 ปี ก็สามารถทำพินัยกรรมได้ อีกทั้งการทำพินัยกรรมเป็นการที่ผู้เยาว์ต้องทำเองเฉพาะตัวตามมาตรา 23 อีกด้วย
มาตรา 26 ถ้าผู้แทนโดยชอบธรรมอนุญาตให้ผู้เยาว์จำหน่ายทรัพย์สินเพื่อการอันใดอันหนึ่งอันได้ระบุไว้ ผู้เยาว์จะจำหน่ายทรัพย์สินนั้นเป็นประการใดภายในขอบของการที่ระบุไว้นั้นก็ทำได้ตามใจสมัคร อนึ่งถ้าได้รับอนุญาตให้จำหน่ายทรัพย์สินโดยมิได้ระบุว่าเพื่อการอันใดผู้เยาว์ก็จำหน่ายได้ตามใจสมัคร
ตามมาตรานี้เป็นเรื่องผู้เยาว์ต้องการจำหน่ายทรัพย์สินของตนเอง ซึ่งการจำหน่ายทรัพย์เป็นนิติกรรมเช่นกัน ดังนั้นผู้เยาว์จึงจำต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมเสียก่อน โดยความยินยอมตามมาตรานี้แบ่งเป็น
1. ความยินยอมให้จำหน่ายทรัพย์สินเพื่อการอันใดอันหนึ่งอันได้ระบุไว้ เช่น ผู้แทนฯ ให้ผู้เยาว์นำเงิน 2000 บาทไปซื้อเสื้อผ้า ผู้เยาว์ต้องนำเงินไปซื้อเสื้อผ้าตามที่ระบุไว้ แต่ผู้เยาว์จะซื้อแบบใดร้านใดก็ได้แล้วแต่ผู้เยาว์เนื่องจากไม่ได้มีการระบุเงื่อนไขไว้
ระวัง! คำว่า “จำหน่าย” นักศึกษาหลายคนเข้าใจผิดคิดว่าเป็นการขายอย่างเดียว เช่นการมีสิ่งเสพติดไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย หมายถึงการขายสิ่งเสพติด แต่จริง ๆ แล้วหมายถึงการซื้อได้ด้วย ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายไว้ว่า
จำหน่าย ขาย จ่าย แจก แลกเปลี่ยน โอน เอาออก เช่น จำหน่ายจากบัญชี
2. ความยินยอมให้จำหน่ายทรัพย์สินโดยมิได้ระบุว่าเพื่อการอันใดเช่น ผู้แทนฯ ให้เงินผู้เยาว์ 2000 โดยไม่ได้ระบุว่าให้เอาไปจำหน่ายอย่างไร ผู้เยาว์สามารถนำเงินไปซื้ออะไรก็ได้ อย่างไรก็ได้
ผู้เยาว์ประกอบธุรกิจ
มาตรา 27 ผู้แทนโดยชอบธรรมอาจให้ความยินยอมแก่ผู้เยาว์ในการประกอบธุรกิจทางการค้าหรือธุรกิจอื่น หรือในการทำสัญญาเป็นลูกจ้างในสัญญาจ้างแรงงานได้ ในกรณีที่ผู้แทนโดยชอบธรรมไม่ให้ความยินยอมโดยไม่มีเหตุอันสมควร ผู้เยาว์อาจร้องขอต่อศาลให้สั่งอนุญาตได้
ในความเกี่ยวพันกับการประกอบธุรกิจ หรือการจ้างแรงงานตามวรรคหนึ่งให้ผู้เยาว์
มีฐานะเสมือนดังบุคคลซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้ว
ถ้าการประกอบธุรกิจ หรือการทำงานที่ได้รับความยินยอมหรือที่ได้รับอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ก่อให้เกิดความเสียหายถึงขนาดหรือเสื่อมเสียแก่ผู้เยาว์ ผู้แทนโดยชอบธรรมอาจบอกเลิกความยินยอมที่ได้ให้แก่ผู้เยาว์เสียได้หรือในกรณีที่ศาลอนุญาต ผู้แทนโดยชอบธรรมอาจร้องขอต่อศาลให้เพิกถอนการอนุญาตที่ได้ให้แก่ผู้เยาว์นั้นเสียได้
ในกรณีที่ผู้แทนโดยชอบธรรมบอกเลิกความยินยอมโดยไม่มีเหตุอันสมควรผู้เยาว์อาจร้องขอต่อศาล ให้เพิกถอนการบอกเลิกความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมได้
การบอกเลิกความยินยอมโดยผู้แทนโดยชอบธรรม หรือการเพิกถอนการอนุญาตโดยศาล ย่อมทำให้ฐานะเสมือนดังบุคคลซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วของผู้เยาว์สิ้นสุดลงแต่ไม่กระทบกระเทือนการใด ๆ ที่ผู้เยาว์ได้กระทำไปแล้วก่อนมีการบอกเลิกความยินยอมหรือเพิกถอนการอนุญาต
เรื่องนี้เป็นเรื่องผู้เยาว์ต้องการจะทำธุรกิจหรือการงานตามสัญญาจ้างแรงงานซึ่งการทำธุรกิจหรือการงานก็เป็นการทำนิติกรรมอย่างหนึ่งเช่นกันผู้เยาว์ต้องได้รับความยินยอมเสียก่อน ซึ่งในกรณีที่ผู้เยาว์สามารถประกอบธุรกิจหรือการงานได้แล้วแต่ผู้แทนฯ ไม่ให้ความยินยอมโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ผู้เยาว์สามารถร้องขอต่อศาลได้ หากศาลพิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นประโยชน์ไม่มีผลเสียและกรณีมีความจำเป็นศาลอาจจะอนุญาตได้ ซึ่งการอนุญาตหรือไม่เป็นดุลยพินิจศาล
เมื่อได้รับอนุญาตแล้ว ผู้เยาว์มีฐานนะเสมือนบุคคลผู้บรรลุนิติภาวะแล้ว เช่น ดำต้องการทำธุรกิจค้าขายเสื้อผ้า ดำได้รับอนุญาตจากผู้แทนฯ แล้ว ดำสามารถดำเนินการซื้อเสื้อผ้ามาขายแม้ว่าจะมีราคาแพง หรือสามารถพิจารณาเรื่องราคาหากผู้ซื้อต่อรองได้โดยไม่ต้องไปขอความยินยอมอีก ดังนั้น หากปรากฎว่าดำซื้อเสื้อผ้ามาราคาแพงเกินไป ผู้แทนฯ จะไปบอกล้างนิติกรรมไม่ได้ เพราะกฎหมายให้ถือว่าดำบรรลุนิติภาวะแล้วในเรื่องที่ได้รับอนุญาตนั้น
แต่หากว่าดำซื้อเสื้อผ้ามาแพงตลอด แต่ขายถูกตลอด เวลาไปขายเสื้อผ้าที่ตรอกข้าวศาลดำนั่งแท็กซี่ตลอด ขายได้ก็นำเงินไปซื้อเหล้าร้านข้าง ๆ กินตลอดจนทุนหายกำไรหด เช่นนี้ ผู้แทนฯ สามารถบอกเลิกความยินยอมได้เพราะเป็นกรณีที่ผู้เยาว์ประกอบธุรกิจเสียหายหรือเกิดความเสื่อมเสียแก่ผู้เยาว์อย่างมาก ในกรณีที่ความยินยอมได้รับอนุญาตจากศาล
ผู้แทนก็อาจร้องขอให้ศาลเพิกถอนความยินยอมได้ กรณีนี้ผู้แทนฯจะเพิกถอนเองไม่ได้
เมื่อมีการบอกเลิกหรือเพิกถอนความยินยอมแล้ว ฐานะเสมือนบรรลุนิติภาวะของผู้เยาว์ก็จะสิ้นสุดลง ผู้เยาว์จะกลับมาเป็นผู้เยาว์อีก ดังนั้นหลังจากนี้ผู้เยาว์จะไปซื้อเสื้อผ้ามาขายไม่ได้แล้ว หากไปซื้อมาอีกผู้แทนฯ สามารถบอกล้างนิติกรรมนั้นได้ตามมาตรา 21 แต่หากเผอิญว่าดำยังมีหนี้เก่าที่ไม่ได้ชำระค่าเสื้อที่ซื้อมาขายก่อนหน้านี้ หนี้นั้นก็สมบูรณ์ทุกอย่าง ต้องชำระหนี้ไปจะอ้างว่าเมื่อบอกเลิกหรือเพิกถอนความยินยอมแล้วหนี้เป็นโมฆะไม่ได้เพราะการสิ้นสุดในเรื่องความบรรลุนิติภาวะของผู้เยาว์นั้นไม่กระทบกระเทือนถึงนั่นเอง




Please login for write message