การบําเพ็ญทุกรกิริยา มี3ขั้นตอน อะไรบ้าง

บําเพ็ญทุกรกิริยา

มิถุนายน 05, 2560

การบําเพ็ญทุกรกิริยา มี3ขั้นตอน อะไรบ้าง
 ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา 
การบําเพ็ญทุกรกิริยา มี3ขั้นตอน อะไรบ้าง

การบําเพ็ญทุกรกิริยา มี3ขั้นตอน อะไรบ้าง

          ทรงเริ่มบำเพ็ญเพียรทุกรกิริยา ซึ่งเป็นวิธีที่นิยมกันว่าจะเป็นหนทางที่ทำให้
ตรัสรู้ โดยกดพระทนต์ด้วยพระทนต์,  กดพระตาลุ(เพดานปาก) ด้วยพระชิวหา(ลิ้น),
ทรงผ่อนกลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะ, ทรงอดพระกระยาหาร จนพระวรกายเหี่ยวแห้ง
พระฉวี(ผิวพรรณ)เศร้าหมอง  มีพระอาการประชวรอ่อนเพลียอิดโรย จนหมดสติล้มลง

          เมื่อฟื้นคืนสติ ทรงเห็นว่าผู้ที่ทำความเพียรด้วยการทรมานร่างกาย
ยิ่งกว่าเรานั้นไม่มี  เราปฏิบัติอุกฤษฏ์ถึงขนาดนี้แล้ว ยังไม่สามารถจะบรรลุ
พระโพธิญาณได้ ชะรอยหนทางแห่งการตรัสรู้คงจะเป็นหนทางอื่น มิใช่ทางนี้เป็นแน่

การบําเพ็ญทุกรกิริยา มี3ขั้นตอน อะไรบ้าง


             ขณะนั้นพระอินทร์ทรงทราบความปริวิตกของพระมหาบุรุษ  จึงนำพิณทิพย์
สามสายมาดีดถวายให้พระโพธิสัตว์ได้สดับ

          เมื่อพระองค์ได้สดับเสียงพิณแล้วก็ทรงเปรียบเทียบการปฏิบัติกับพิณสามสายว่า
            “สายหนึ่งตึงนัก พอดีดไปหน่อยก็ขาด สายหนึ่งหย่อนนัก ดีดไม่มีเสียง
ส่วนอีกสายหนึ่งไม่ตึงนักไม่หย่อนนักพอปานกลาง จะมีเสียงดังไพเราะ” 

          พระโพธิสัตว์ทรงถือเอาเสียงพิณนั้นเป็นนิมิตหมาย พิจารณาเห็นแจ้งว่า
           “มัชฌิมาปฏิปทา คือ การปฏิบัติเป็นกลางๆ ไม่ตึงนักไม่หย่อนนัก
คงจะเป็นหนทางแห่งการตรัสรู้แน่นอน”
            จึงตัดสินพระทัยที่จะบำเพ็ญเพียรทางจิตต่อไป และการบำเพ็ญเพียร
ทางจิตนั้น บุคคลที่มีร่างกายไม่แข็งแรงทุพพลภาพเช่นเรานี้ไม่สามารถจะเจริญสมาธิได้
จึงได้เสวยพระกระยาหารบำรุงร่างกายให้มีกำลังก่อนแล้วจึงบำเพ็ญเพียร
ดังนั้น ในวันรุ่งขึ้นจึงทรงถือบาตรเที่ยวบิณฑบาตมาเสวยพระกระยาหารตามเดิม

การบําเพ็ญทุกรกิริยา มี3ขั้นตอน อะไรบ้าง
 

            ฝ่ายปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ผู้มีศรัทธาเลื่อมใสในการปฏิบัติแบบทรมานร่างกาย
ครั้นเห็นพระองค์ทรงหันมาบริโภคอาหาร จึงเข้าใจว่า  พระองค์ทรงละความเพียร
เสียแล้ว จึงพากันหลีกหนีทิ้งพระองค์ให้ประทับอยู่ตามลำพัง


ที่มาจากพระไตรปิฎก อรรถกถาและคัมภีร์ที่เกี่ยวข้อง


บทภาพยนตร์

บรรยาย
            พระมหาบุรุษต้องการแสวงหาหนทางตรัสรู้  จึงทรงทรมานตนเองตามคตินิยม
ของพวกนักบวช เป็น ๓ วาระ

            วาระที่ ๑ ทรงใช้ฟันกดฟัน  ใช้ลิ้นกดเพดานปากไว้แน่นจนเหงื่อไหลโซม
ได้รับทุกขเวทนาแสนสาหัส  เหมือนมีผู้มาบีบคอไว้แน่น  ครั้นเห็นว่าไม่ใช่หนทางตรัสรู้
จึงเปลี่ยนวิธีอื่นต่อไป

            วาระที่ ๒ ทรงกลั้นลมหายใจเข้าออกให้เดินไม่สะดวกจนเกิดเสียงอู้
ในช่องหูทั้งสอง ปวดพระเศียร เสียดท้องและร้อนในพระวรกายอย่างยิ่ง
แม้จะทุกข์ทรมานอย่างหนัก แต่พระองค์ก็มิได้ย่อท้อ ครั้นเห็นว่านี่ก็ไม่ใช่
หนทางตรัสรู้จึงเปลี่ยนวิธีอื่นต่อไป

            วาระที่ ๓ ทรงอดอาหารจนซูบผอมเหี่ยวแห้งผิวพรรณเศร้าหมอง
กระดูกและเส้นเอ็นปรากฏที่พระวรกายมีพระกำลังถดถอย อิดโรยทนทุกข์ทรมาน
อย่างแรงกล้า พอลูบพระวรกายก็มีเส้นพระโลมาติดมาด้วย


(พระพุทธเจ้า) (เสียงก้องในความคิด)
            เรากระทำทุกรกิริยาทรมานร่างกาย   จนแม้ผู้อื่นก็ไม่สามารถทำได้
ยิ่งกว่านี้แล้ว เหตุใดจึงไม่บรรลุพระโพธิญาณ   หรือว่าหนทางนี้จะไม่ใช่ทางตรัสรู้


(พระอินทร์) (พูดกับตัวเอง)
            พระมหาบุรุษกำลังครุ่นคิดวิตกถึงหนทางตรัสรู้   เราจะช่วยยังไงดีนะ
...ฮ้า...ต้องใช้วิธีนี้

การบําเพ็ญทุกรกิริยา มี3ขั้นตอน อะไรบ้าง


           หลังจากทรงผนวชแล้ว พระองค์มุ่งไปที่แม่น้ำคยา แคว้นมคธ ได้พยายามเสาะแสวงทางพ้นทุกข์ ด้วยการศึกษาค้นคว้าทดลองในสำนักอาฬารดาบส กาลามโครตร และอุทกดาบส รามบุตร แต่เมื่อเรียนจบทั้ง 2 สำนักแล้ว ทรงเห็นว่านี่ยังไม่ใช่ทางพ้นทุกข์

          จากนั้นพระองค์ได้เสด็จไปที่แม่น้ำเนรัญชรา ในตำบลอุรุเวลาเสนานิคม และทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา ด้วยการขบฟันด้วยฟัน กลั้นหายใจและอดอาหาร จนร่างกายซูบผอม แต่หลังจากทดลองได้ 6 ปี ทรงเห็นว่านี่ยังไม่ใช่ทางพ้นทุกข์ จึงทรงเลิกบำเพ็ญทุกรกิริยา และหันมาฉันอาหารตามเดิม ด้วยพระราชดำริตามที่ท้าวสักกเทวราชได้เสด็จลงมาดีดพิณถวาย 3 วาระ คือดีดพิณสายที่ 1 ขึงไว้ตึงเกินไปเมื่อดีดก็จะขาด ดีดพิณวาระที่ 2 ซึ่งขึงไว้หย่อน เสียงจะยืดยาดขาดความไพเราะ และวาระที่ 3 ดีดพิณสายสุดท้ายที่ขึงไว้พอดี จึงมีเสียงกังวานไพเราะ ดังนั้นจึงทรงพิจารณาเห็นว่า ทางสายกลางคือไม่ตึงเกินไป และไม่หย่อนเกินไป นั่นคือทางที่จะนำสู่การพ้นทุกข์

          หลังจากพระองค์เลิกบำเพ็ญทุกรกิริยา ทำให้พระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ได้แก่ โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยา มหานามะ อัสสชิ ที่มาคอยรับใช้พระองค์ด้วยความคาดหวังว่าเมื่อพระองค์ค้นพบทางพ้นทุกข์ จะได้สอนพวกตนให้บรรลุด้วย เกิดเสื่อมศรัทธาที่พระองค์ล้มเลิกความตั้งใจ จึงเดินทางกลับไปที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ตำบลสารนาถ เมืองพาราณสี