รัฐธรรมนูญ 20 ฉบับ มีอะไรบ้าง

รำลึกวันพระราชทานรัฐธรรมนูญถาวรฉบับแรก 10 ธันวาคม นับจาก'เปลี่ยนแปลงการปกครอง' 2475 ประเทศไทยใช้รธน. 20 ฉบับแล้ว

 

 

รัฐธรรมนูญ 20 ฉบับ มีอะไรบ้าง

 

นี่คืออนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกถึงเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตย การก่อสร้างอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเริ่มขึ้นในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2482 และทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2483 ในสมัยจอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

 

อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเป็นผลงานการออกแบบของหม่อมหลวงปุ่ม มาลากุล ซึ่งชนะการประกวดการออกแบบอนุสาวรีย์แห่งนี้ โดยได้นำสถาปัตยกรรมแบบไทยมาผสมผสาน ตรงกลางเป็นสมุดไทยที่สื่อถึงรัฐธรรมนูญประดิษฐานบนพานแว่นฟ้า นอกจากการเป็นสัญลักษณ์เพื่อระลึกถึงประชาธิปไตยแล้ว อนุสาวรีย์แห่งนี้ ยังเป็นหลักกิโลเมตรที่ศูนย์ของกรุงเทพมหานครและประเทศไทยอีกด้วย

 

 

10 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันรัฐธรรมนูญถือเป็นวันที่ระลึกถึงโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 เป็นรัฐธรรมนูญถาวรฉบับแรกของประเทศไทย

การประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้ ทำให้ต้องยกเลิกพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 ซึ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะราษฎรจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน ปีเดียวกัน

ประเทศไทยได้เปลี่ยนระบอบการปกครองเป็นการปกครองแบบรัฐสภา เนื่องจาก พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 ได้บัญญัติให้พระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นประมุขไม่ต้องรับผิดชอบทางการเมือง เป็นผู้ใช้อำนาจทางคณะรัฐมนตรี ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งให้บริการราชการแผ่นดินต่อสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเป็นฝ่ายนิติบัญญัติ   มิได้ใช้แต่เพียงอำนาจนิติบัญญัติเท่านั้น แต่มีอำนาจที่จะควบคุมคณะรัฐมนตรีในการบริหารแผ่นดินด้วย

คณะรัฐมนตรีรวมทั้งพระมหากษัตริย์ซึ่งประกอบกันเป็นรัฐบาล ก็มีอำนาจที่จะยุบสภาผู้แทนได้ หากเห็นว่าได้ดำเนินการไปในทางที่จะเป็นภัยหรือเสื่อมเสียผลประโยชน์สำคัญของรัฐ ซึ่งมีผลเท่ากับถอดถอนสมาชิกสภาที่ได้รับเลือกตั้งมาเพื่อให้ราษฎรเลือกตั้งใหม่  โดยในส่วนที่เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์นั้น ได้บัญญัติว่าพระมหากษัตริย์ดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะของประชาชน ผู้ใดจะละเมิดมิได้

 

 

นับแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญใช้ 20 ฉบับประกอบด้วย

1.พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475

2.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม

3.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489

4.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 รัฐธรรมนูญตุ่มแดง หรือ รัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม

ทุกวันที่ 10 ธันวาคม ของทุกปี ถือเป็นวันสำคัญทางประวัติศาสตร์อีกวันหนึ่งของประเทศไทย นั่นก็คือ วันรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นวันที่ระลึกคล้ายวันที่ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ได้ทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรสยามฉบับถาวร เพื่อเป็นหลักในการปกครองของประเทศให้แก่ประชาชนชาวไทย

.

ส่งผลให้เกิดการยกเลิก พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 ซึ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตย โดยคณะราษฎร

.

อย่างไรก็ตามจากวันนั้นถึงวันนี้ ก็ได้มีการปรับเปลี่ยนรัฐธรรมนูญมาตามกาลสมัย โดยหากนับถึงปัจจุบันแล้ว ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญมาแล้วรวม 20 ฉบับ

.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

1.) พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 (27 มิถุยายน – 10 ธันวาคม พ.ศ.2475)

2.) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม (ไทย) พุทธศักราช 2475 (10 ธันวาคม พ.ศ.2475 – 9 พฤษภาคม พ.ศ.2489) ถูกยกเลิกเพราะล้าสมัย

3.) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 (9 พฤษภาคม พ.ศ.2489 – 8 พฤศจิกายน พ.ศ.2490) ถูกยกเลิกโดยคณะรัฐประหาร

4.) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 รัฐธรรมนูญตุ่มแดง หรือ รัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม (9 พฤศจิกายน พ.ศ.2490 – 23 มีนาคม พ.ศ.2492)

5.) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 (23 มีนาคม พ.ศ.2492 – 29 พฤศจิกายน พ.ศ.2494) ถูกยกเลิกโดยคณะรัฐประหาร

6.) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495 (8 มีนาคม พ.ศ.2495 – 20 ตุลาคม พ.ศ.2501) ถูกยกเลิกโดยคณะปฏิวัติ

7.) ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502 (28 มกราคม พ.ศ.2502 – 20 มิถุนายน พ.ศ.2511)

8.) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511 (20 มิถุนายน พ.ศ.2511 – 17 พฤศจิกายน พ.ศ.2514) ถูกยกเลิกโดยคณะปฏิวัติ

9.) ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515 (25 ธันวาคม พ.ศ.2515 – 7 ตุลาคม พ.ศ.2517)

10.) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 (7 ตุลาคม พ.ศ.2517 – 6 ตุลาคม พ.ศ.2519) ถูกยกเลิกโดยคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน

11.) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519 (22 ตุลาคม พ.ศ.2519 – 20 ตุลาคม พ.ศ.2520)

12.) ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2520 (9 พฤศจิกายน พ.ศ.2520 – 22 ธันวาคม พ.ศ.2521)

13.) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 (22 ธันวาคม พ.ศ.2521 – 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2534) ถูกยกเลิกโดยคณะ รสช.

14.) ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2534 (1 มีนาคม – 9 ตุลาคม พ.ศ.2534)

15.) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 (9 ธันวาคม พ.ศ.2534 – 11 ตุลาคม พ.ศ.2540) ถูกยกเลิกหลังตรารัฐธรรมนูญฉบับประชาชน

16.) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ฉบับประชาชน (11 ตุลาคม พ.ศ.2540 – 19 กันยายน พ.ศ.2549) ถูกยกเลิกโดยคณะ คปค.

17.) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 (1 ตุลาคม พ.ศ.2549 – 24 สิงหาคม พ.ศ.2550)

18.) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 (24 สิงหาคม พ.ศ.2550 – 22 กรกฎาคม พ.ศ.2557)

19.) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 (22 กรกฎาคม พ.ศ.2557 – 6 เมษายน พ.ศ.2560)

20.) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 (6 เมษายน พ.ศ.2560 – ปัจจุบัน)

.

รู้หรือไม่?

รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ถูกร่างขึ้นโดยคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญในระหว่าง พ.ศ. 2557 - 2560 ภายหลังการรัฐประหารในประเทศโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) โดยเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ.2560 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงลงพระปรมาภิไธย ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม พระราชวังดุสิต กรุงเทพมหานคร และมีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระราชโองการ

รัฐธรรมนูญฉบับที่ 20 มีกี่หมวด

ฉบับที่ 20 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 หมวดที่ 1 บททั่วไป (มาตรา 1-5) หมวดที่ 2 พระมหากษัตริย์ (มาตรา 6-14) หมวดที่ 3 สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย (มาตรา 25-49) หมวดที่ 4 หน้าที่ของชนชาวไทย (มาตรา 50)

รัฐธรรมนูญของไทยมีกี่ฉบับ

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เป็นกฎหมายลำดับศักดิ์สูงสุดแห่งราชอาณาจักรไทย กฎหมายอื่นใดจะขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญไม่ได้ รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบการปกครองของประเทศ ซึ่งตั้งแต่ พ.ศ. 2475 ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญแล้วทั้งสิ้น 20 ฉบับ รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เป็น ...

รัฐธรรมนูญฉบับที่ 20 ชื่อ อะไร

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับที่ 20 มีที่มาจากการตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2558 เพื่อจัดทำร่างฯ ฉบับใหม่ ประกอบด้วยสมาชิก 21 คน มีมีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นประธาน เมื่อร่างเสร็จแล้ว มีการลงประชามติในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2559 ซึ่งผู้มาใช้สิทธิร้อย ...

รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน 2564 ฉบับที่เท่าไร

********************* สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า โปรดกระหม่อม พระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560ซึ่งมีทั้งสิ้น 279 มาตรา 16 หมวด และบทเฉพาะกาล