ระบบเศรษฐกิจที่เป็นทางเลือกในการแก้ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจมีระบบใดบ้าง

ระบบเศรษฐกิจ


                 ระบบเศรษฐกิจ หมายถึง หน่วยธุรกิจหรือสถาบันทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ร่วมกันดำเนินกิจกรรมทาง เศรษฐกิจ เพื่อแก้ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจของประเทศ ภายใต้นโยบายกฎหมาย ระเบียบแบบแผนเดียวกัน สถาบันทางเศรษฐกิจ ได้แก่ สถาบันการเงิน การธนาคาร การคมนาคมและการขนส่งสื่อสาร เป็นต้น เพื่อให้สามารถบำบัดความต้องการ ให้แก่บุคคลต่างๆ ที่อยู่ร่วมกันในสังคมนั้นให้ได้รับประโยชน์มากที่สุด และเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

ระบบเศรษฐกิจของประเทศทั่วโลก แบ่งออกเป็น 4 รูปแบบ ดังนี้

                 
1. ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม เป็นระบบเศรษฐกิจที่ให้เสรีภาพแก่เอกชนหรือประชาชน มาก กว่าระบบเศรษฐกิจแบบอื่น ๆ โดยรัฐบาลจะไม่เข้าไปควบคุม หรือแทรกแซงในกิจกรรม ทางเศรษฐกิจของเอกชน เอกชนมีเสรีภาพที่จะผลิตสินค้าและบริการอะไรก็ได้ คือ ผลิตอย่างไร ปริมาณเท่าใด หรือผลิตเพื่อใครก็ได้

                 2. ระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ เป็นระบบเศรษฐกิจที่ตรงกันข้ามกับระบบ เศรษฐกิจแบบ ทุนนิยมโดยสิ้นเชิง รัฐบาลจะเข้ามาควบคุมกิจกรรมทางเศรษฐกิจไว้ทั้งหมด โดยจะกำหนด ว่าจะผลิตสินค้า และบริการอะไร ผลิตอย่างไร และผลิตเพื่อใคร เอกชนไม่มีสิทธิในการถือครอง ทรัพย์สินเพื่อการผลิตต่าง ๆ เช่น การถือครองที่ดิน

                 3. ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม เป็นระบบเศรษฐกิจที่อยู่ตรงกลางระหว่างระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม และระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ คือระบบนี้รัฐจะเข้าครอบครองปัจจัย การผลิตขั้นพื้นฐาน ไว้เกือบทั้งหมด โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะลดช่องว่างทางรายได้ในสังคม และ สร้างความเป็นธรรมในทางเศรษฐกิจ ให้แก่ประชาชนจึงต้องจำกัดเสรีภาพ ในการผลิตของเอกชน ให้น้อยลง โดยรัฐจะเป็นผู้วางแผนว่าควรผลิตสินค้า และบริการอะไร ปริมาณมากน้อยเท่าใด และ จะแจกจ่ายสินค้าและบริการที่ผลิตได้ไปสู่เอกชนให้ทั่วถึงได้อย่างไร การผลิตสินค้าและบริการต่างๆ จึงมีลักษณะผลิตเพื่อสังคม ไม่ได้หวังผลกำไรเป็นสิ่งตอบแทน แต่อย่างไรก็ตามรัฐยังให้เสรีภาพ แก่ประชาชนบ้างพอสมควรในการเลือกอาชีพที่ตนพอใจ เลือกบริโภคสินค้า และบริการต่าง ๆ ได้ เอกชนยังมีเสรีภาพและกรรมสิทธิ์ในการถือครองทรัพย์สินส่วนตัว และปัจจัยการผลิต ขนาดเล็ก
เพื่อดำเนินการธุรกิจขนาดย่อมหรือทำการเกษตรขนาดเล็ก ๆ ได้

                 4. ระบบเศรษฐกิจแบบผสม เป็นระบบเศรษฐกิจที่รัฐเข้าไปมีส่วนร่วมกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศหลายด้าน เพื่อให้เกิดเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ และประโยชน์ต่อสังคม เช่น กิจการสาธารณูปโภค อุตสาหกรรมบางประเภท แต่กิจกรรมทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่เอกชน ยังมีเสรีภาพในการดำเนินกิจการอยู่ การเลือก อาชีพ การถือครองทรัพย์สินเป็นไปโดยเสรี ระบบ เศรษฐกิจแบบนี้จึงมีลักษณะของการผสมผสานระหว่าง ระบบเศรษฐกิจ แบบทุนนิยมกับระบบ เศรษฐกิจแบบสังคมนิยม

Ref : http://www2.se-ed.net/nfed/economic/index_eco.html 14/02/2008

ระบบเศรษฐกิจ :

ระบบเศรษฐกิจ หมายถึง การรวมตัวกันเป็นกลุ่มของหน่วยเศรษฐกิจ ซึ่งประกอบด้วยบุคคล หรือสถาบันที่ทำหน้าที่เฉพาะอย่างในทางเศรษฐกิจ ใช้หลักการแบ่งงานกันทำตามความถนัด มีการปฏิบัติภายใต้ระเบียบ กฎเกณฑ์ นโยบาย และ แนวทางการปฏิบัติที่คล้ายคลึงกัน หน่วยเศรษฐกิจ คือ หน่วยงานที่มีอยู่ในระบบเศรษฐกิจ จะทำหน้าที่เกี่ยวกับกิจกรรมที่สำคัญทางด้านเศรษฐกิจอันได้แก่การผลิต การบริโภค และ การแจกจ่ายสินค้า และบริการ

ระบบเศรษฐกิจ : แบ่งออกเป็น 4 ระบบ ดังนี้

  1. ระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ (Communism) ระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ เป็นระบบเศรษฐกิจที่รัฐบาลเป็นเจ้าของทรัพยากรต่าง ๆ ของประเทศ ซึ่งรวมทั้งปัจจัยการผลิตทุกชนิด เอกชนไม่มีกรรมสิทธิ์ ตลอดจนเสรีภาพที่จะเลือกใช้ปัจจัยการผลิตได้ รัฐบาลทำหน้าที่เป็นผู้ประกอบการ และ ทำหน้าที่จัดสรรทรัพยากรต่าง ๆ ให้กับหน่วยธุรกิจ และ ครัวเรือน การผลิตและบริโภคมาจากคำสั่งของรัฐ กลไกราคาไม่มีบทบาทในการแก้ไขปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ การแก้ไขปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจกระทำโดยรัฐบาล จะมีลักษณะเด่นอยู่ที่การรวมอำนาจทุกอย่างไว้ที่ส่วนกลางข้อดีของระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ : เป็นระบบเศรษฐกิจที่ช่วยลดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางฐานะและรายได้ของบุคคลในสังคม ระบบเศรษฐกิจนี้เอกชนจะทำการผลิตและบริโภคตามคำสั่งของรัฐ ผลผลิตที่ผลิตขึ้นมาจะถูกนำส่งเข้าส่วนกลาง และ รัฐจะเป็นผู้จัดสรรหรือแบ่งปัน สินค้าและบริการดังกล่าวให้ประชาชนแต่ละคนอย่างเท่าเทียมกันโดยไม่มีการได้เปรียบหรือเสียเปรียบ ข้อเสียของระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ : ประชาชนไม่มีเสรีภาพในการเลือกสรรบริโภคสินค้าและบริการต่างๆ ตามความพอใจของตน เพระรัฐบาลจะเป็นผู้กำหนดสินค้าและบริการต่าง ๆ ให้ประชาชนเป็นผู้บริโภคตามความเหมาะสมและความจำเป็นเท่านั้น ประชาชนไม่มีกรรมสิทธิ์ในการถือครอง และ เป็นเจ้าของทรัพย์สินซึ่งสามารถนำไปผลิตสินค้า และ บริการต่าง ๆ หรือนำไปแสวงหารายได้ เช่น ที่ดิน โรงงาน เครื่องจักร ฯลฯ ประชาชนไม่มีเสรีภาพในการเลือกทำงานหรืออาชีพตามอำเภอใจเพราะรัฐบาลจะเป็นผู้กำหนดการทำงาน และ ค่าจ้างให้แก่ประชาชนตามความสามารถ ประชาชนจึงมีสภาพเป็นลูกจ้างของรัฐบาลทุกคน สินค้ามีคุณภาพไม่ดีเท่าที่ควร เนื่องจากผู้ผลิตขาดแรงจูงใจ และ การใช้ทรัพยากรทางเศรษฐกิจอาจเป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากรัฐบาลไม่สามารถที่จะมีข้อมูลข่าวสารที่สมบูรณ์ในทุก ๆ เรื่อง

ระบบเศรษฐกิจที่เป็นทางเลือกในการแก้ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจมีระบบใดบ้าง

ระบบเศรษฐกิจที่เป็นทางเลือกในการแก้ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจมีระบบใดบ้าง

  1. ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม (Capitalism) ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม เป็นระบบเศรษฐกิจที่เปิดโอกาสให้บุคคลทั่วไปเลือกตัดสินใจดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจตามความสามารถและโอกาสของตนโดยอาศัยตลาดและราคาในการเลือก โดยรัฐหรือเจ้าหน้าที่จากส่วนกลางมีบทบาทเกี่ยวข้องน้อยมากข้อดีของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม : ทรัพย์สินและปัจจัยการผลิตเป็นของเอกชน เอกชนเป็นผู้ดำเนินการกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยผ่านกลไกราคา และ มีกำไรเป็นแรงจูงใจ มีการแข่งขันเป็นรากฐานของระบบเศรษฐกิจ รัฐไม่เข้าแทรกแซงทางเศรษฐกิจ มีบทบาทเพียงการรักษาความสงบเรียบร้อย ความยุติธรรม ประชาชนสามารถใช้ความรู้ความสามารถ โอกาส ความคิดริเริ่ม ของตนในการผลิตและบริโภคเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจของตนได้อย่างเต็มที่ข้อเสียของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม : เนื่องจากความสามารถ และ โอกาสของบุคคลที่แตกต่างกัน ทำให้มีระดับรายได้แตกต่างกัน นำไปสู่ปัญหาการกระจายรายได้ระหว่างคนรวยกับคนจน การผลิตในระบบทุนนิยมเป็นที่มาของการแข่งขันกันผลิต นำไปสู่การทำลายทรัพยากร และ สิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติจนกลายเป็นปัญหาของโลกในปัจจุบัน

ระบบเศรษฐกิจที่เป็นทางเลือกในการแก้ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจมีระบบใดบ้าง

ระบบเศรษฐกิจที่เป็นทางเลือกในการแก้ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจมีระบบใดบ้าง

  1. ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมเสรี (Socialism) ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม เป็นระบบเศรษฐกิจที่รัฐเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต วางแผนและควบคุมการผลิตบางประเภท โดยเฉพาะการผลิตที่เป็นผลประโยชน์ร่วมกันของประชาชน เช่น การสาธารณูปโภค ต่าง ๆ สถาบันการเงิน ป่าไม้ เอกชนถูกจำกัดเสรีภาพในกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะส่วนที่เป็นผลประโยชน์ของส่วนรวม ดำเนินการได้เพียงอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมขนาดย่อม ทั้งนี้เพื่อแก้ไขปัญหาความแตกต่างด้านฐานะระหว่างคนรวยและคนจนข้อดีของระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม : รัฐควบคุมการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ มีการวางแผนจากส่วนกลาง ความเสมอภาคด้านฐานะทางเศรษฐกิจของบุคคลในสังคม ประชาชนได้รับสวัสดิการจากรัฐบาลกลางโดยเท่าเทียมกันและสามารถกำหนดนโยบายเป้าหมายตามที่รัฐบาลกลางต้องการได้ข้อเสียของระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม : ประชาชนขาดแรงจูงใจในการทำงาน เศรษฐกิจของประเทศอาจเผชิญวิกฤติหากรัฐกำหนดความต้องการผิดพลาด การไม่มีระบบแข่งขันแบบทุนนิยมทำให้ไม่มีการพัฒนาสินค้า และ บริการใหม่ๆ

ระบบเศรษฐกิจที่เป็นทางเลือกในการแก้ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจมีระบบใดบ้าง
ระบบเศรษฐกิจที่เป็นทางเลือกในการแก้ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจมีระบบใดบ้าง

  1. ระบบเศรษฐกิจแบบผสม (Mixed Economy) ระบบเศรษฐกิจแบบผสม เป็นระบบเศรษฐกิจที่ผสมระหว่างระบบทุนนิยมกับสังคมนิยม มีรัฐเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตหรือควบคุมการผลิตขนาดใหญ่ แต่ปัจจัยการผลิตส่วนใหญ่เป็นของเอกชน การกำหนดราคาขึ้นกับกลไกแห่งราคาของตลาด เอกชนมีเสรีภาพ มีการแข่งขัน แต่รัฐอาจแทรกแซง การผลิตได้บ้าง รัฐดำเนินกิจการบางอย่างในรูปของรัฐวิสาหกิจ เช่น สาธารณูปโภค ( ไฟฟ้า ประปา ) มีการวางแผนจากส่วนกลางและมีสวัสดิการจากรัฐข้อดีของระบบเศรษฐกิจแบบผสม : เป็นการยกฐานะของคนในสังคมให้เท่าเทียมกันและเป็นการแลกเปลี่ยนแปลงจากทุนนิยมเป็นแบบสังคมนิยม โดยสันติวิธีทางรัฐสภา รายได้ถูกนำมาเฉลี่ยให้ผู้ทำงานตามกำลังงานที่ได้กระทำ มิใช่ตามความจำเป็นทำให้แรงจูงใจในการทำงานจึงดีกว่าระบบอื่นๆ เอกชนมีบทบาททางเศรษฐกิจ มีการแข่งขันสูง สินค้าจึงมีคุณภาพสูง ผู้บริโภคมีโอกาสเลือกสินค้าได้มากพอสมควรข้อเสียของระบบเศรษฐกิจแบบผสม : ระบบนี้มีการวางแผนเพียงบางส่วน จึงอาจจะไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอในกรณีที่ต้องการเร่งรัดพัฒนาเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว เช่น ยามสงคราม การควบคุมกิจกรรมทางเศรษฐกิจบางส่วนโดยรัฐ เป็นเครื่องกีดขวางเสรีภาพของเอกชน การวางแผนจากส่วนกลางเพื่อประสานประโยชน์ของรัฐบาลเข้ากับเอกชนให้เกิดผลดีแก่ส่วนรวมอย่างแท้จริงทำได้ยาก นักธุรกิจขาดความมั่นใจในการลงทุน เพราะไม่แน่ใจว่าในอนาคตกิจกรรมของตนจะถูกโอนเป็นของรัฐหรือไม่

ระบบเศรษฐกิจที่เป็นทางเลือกในการแก้ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจมีระบบใดบ้าง

ระบบเศรษฐกิจที่เป็นทางเลือกในการแก้ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจมีระบบใดบ้าง

เศรษฐกิจระบบที่ 5 : เศรษฐกิจพอเพียง/ปรัชญาใหม่ในยุคโลกาภิวัตน์

เศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 นั้นพระองค์ทรงวางหลักไว้นานแล้ว แม้แต่ในปี 2517 ก็ทรงมีพระบรมราโชวาทที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เนื่องในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร 19 กรกฎาคม 2517 ดังความตอนหนึ่งว่า “ในการพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น เริ่มด้วยการสร้างพื้นฐานด้วยความมีกินมีใช้ของประชาชนก่อน ด้วยวิธีการที่ประหยัด ระมัดระวัง แต่ถูกต้องตามหลักวิชา เมื่อพื้นฐานเกิดขึ้นมั่นคงพอควรแล้วจึงค่อยสร้างเสริมความเจริญให้ค่อยเป็นไปตามลำดับด้วยความรอบคอบ ระมัดระวัง และประหยัดนั้นก็เพื่อป้องกันความผิดพลาดล้มเหลว และเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จได้แน่นอนบริบูรณ์”

จากพระบรมราโชวาทและพระราชดำรัส นับตั้งแต่ปี 2517 เป็นต้นมา จะพบว่าพระองค์ท่านได้ทรงเน้นย้ำทางการพัฒนาที่อยู่บนพื้นฐานของการพึ่งตนเอง ความพอมีพอกิน พอมีพอใช้ การรู้จักความพอประมาณ การคำนึงถึงความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว และทรงเตือนประชาชนคนไทยไม่ให้ประมาท ตระหนักถึงการพัฒนาตามลำดับขั้นตอนตามหลักวิชาการ ตลอดจนมีคุณธรรมเป็นกรอบในการดำรงชีวิต ซึ่งทั้งหมดนี้รู้กันภายใต้ชื่อว่า “เศรษฐกิจพอเพียง”

“…ให้พอเพียงนี้ก็หมายความว่า มีกินมีอยู่ ไม่ฟุ่มเฟือย ไม่หรูหราก็ได้แต่ว่าพอ แม้บางอย่างอาจจะดูฟุ่มเฟือย แต่ถ้าทำให้มีความสุข ถ้าทำได้ก็สมควรที่จะทำ สมควรที่จะปฏิบัติ อันนี้ก็ความหมายอีกอย่างของเศรษฐกิจพอเพียงหรือระบบพอเพียง พอเพียงนี้อาจจะมีมาก อาจจะมีของหรูหราก็ได้ แต่ว่าต้องไม่ไปเบียดเบียนคนอื่น ต้องให้พอประมาณตามอัตภาพพูดจาก็พอเพียง ทำอะไรก็พอเพียง ปฏิบัติตนก็พอเพียง…” (พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 4 ธันวาคม 2541) ทุกคนสามารถนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นหลักปฏิบัติในการดำเนินชีวิตได้ไม่ใช่เฉพาะในหมู่คนจนหรือเกษตรกรโดยต้อง “ระเบิดจากข้างใน” คือ การเกิดจิตสำนึก มีความศรัทธา เชื่อมั่น เห็นคุณค่าและนำไปปฏิบัติด้วยตนเองแล้วจึงขยายไปสู่ครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติต่อไป

 “…คนเราถ้าพอในความต้องการก็มีความโลภน้อย เมื่อมีความโลภน้อยก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย ถ้าทุกประเทศมีความคิดอันนี้ไม่ใช่เศรษฐกิจมีความคิดว่าทำอะไรต้องพอเพียง หมายความว่า พอประมาณ ไม่สุดโต่ง ไม่โลภอย่างมาก คนเราก็อยู่เป็นสุข…” (พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 4 ธันวาคม 2541)

“เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมานานกว่า 40 ปี ตั้งแต่ก่อนวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางแก้ไขเพื่อให้รอดพ้นและสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคง ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัวจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ก้าวหน้าทันต่อยุคโลกาภิวัตน์ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้ความสำคัญตั้งแต่ระดับบุคคลและครอบครัว การรวมตัวกันของชุมชน ระหว่างชุมชน และกับชุมชนอื่นๆ ที่รวมเรียกว่าภาคประชาสังคม หากภาคประชาสังคมมีความเข้มแข็งจะก่อให้เกิดแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างมีคุณภาพ ซึ่งหมายถึงการเติบโตอย่างมีพลวัต มีเสถียรภาพ มีความเป็นธรรม และมีสภาวะทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ความรอบคอบและความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผน และการดำเนินการทุกขั้นตอน ขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎีและนักธุรกิจทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี

เศรษฐกิจแบบสังคมแบ่งปัน (เศรษฐกิจพอเพียง) : เป็นระบบเศรษฐกิจที่มุ่งต่อสศักยภาพของประเทศที่มีความสมดุลย์เป็นพื้นฐาน โดยให้ความสำคัญกับการผลิตเพื่ออุปโภค บริโภค สำรอง และแบ่งปัน หลังจากนั้นจึงผลิตเพื่อการค้า ซึ่งประกอบด้วย 3 คุณลักษณะที่เป็นห่วงสอดร้อยประสานกันเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ ได้แก่ ความพอประมาณ (ความพอดี ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่นการผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ) ความมีเหตุผล (การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ) การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว (การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านการต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล) นอกจากคุณลักษณะ 3 ห่วงดังกล่าวแล้ว สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือการกำหนดเงื่อนไขไว้ 2 ประการ เพื่อการตัดสินใจและดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้นต้องอาศัยทั้งความรู้และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน นั่นคือ เงื่อนไขความรู้ ซึ่งประกอบด้วยความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกันเพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในขั้นตอนปฏิบัติ และเงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้าง ประกอบด้วยมีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต

ระบบเศรษฐกิจที่เป็นทางเลือกในการแก้ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจมีระบบใดบ้าง
ระบบเศรษฐกิจที่เป็นทางเลือกในการแก้ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจมีระบบใดบ้าง

ติดตามบทความต่างๆ ได้ที่ http://porpeang.net/