วัสสการพราหมณ์ขาดคุณสมบัติในข้อใด

แผนการยึดแคว้นวัชชีของวัสสการพราหมณ์ "โทษของการแตกความสามัคคี" สามัคคีเภทคำฉันท์ ผู้แต่ง นาย ชิต บุรทัต วัตถุประสงค์ ...

Posted by พระอภิธรรมทางไปรษณีย์ อาจารย์ทองสุข ทองกระจ่าง on Friday, January 15, 2016

วัสสการพราหมณ์ขาดคุณสมบัติในข้อใด

คือจะให้ลองตรวจดูคำตอบชุดสองข้อ 4,5 ใหม่ได้ไหมครับ คือที่เรียนมา

ควรเติมข้อความใดในช่องว่างจึงจะถูกต้องตามฉันทลักษณ์

“ ไหว้คุณพระพุทธา อุระพาสบายครัน

……………….. ก็จะสุขสวัสดี

ก. ไหว้พ่อและแม่พลัน ค. ไหว้พระมิเว้นวัน

ถ้าเจาะจงให้ถูกต้องตามฉันทลักษณ์ ข้อ ก และค ก็น่าจะใช้ได้นะครับ

๔. ฉันท์ชนิดใดมีลีลาผาดโผนเร้าใจทำให้บังเกิดความตื่นเต้นตามไปด้วย

ก. ภุชงคประยาต ฉันท์ ข. มาณวก ฉันท์

ค. สัทธา ฉันท์ ง. สาลินี ฉันท์

- ภุชงคประยาต นั้น ลีลาประดุจงูเลื้อย ใช้บรรยาย พรรณนา ฯ

-มาณวก นั้น ลีลาประดุจชายหนุ่ม ใช้กับบทที่สนุกขบขันไม่ใช่หรือครับ

-สัทธา ใช้เกี่ยวกับบทไหว้ครู ฯ

-สาลินี นี้ใช้กับการบรรยายใช่ไหมครับ

สามัคคีเภทคำฉันท์ เป็นกวีนิทานสุภาษิต ว่าด้วย "โทษแห่งการแตกสามัคคี" ภายหลังได้รับการยกย่องเป็นตำราเรียนวรรณกรรมไทยที่สำคัญเล่มหนึ่งทั้งในอดีตและปัจจุบัน

ลักษณะเด่นของ สามัคคีเภทคำฉันท์ เป็นกวีที่มีความงดงาม ใช้ถ้อยคำอย่างละเมียดละไม โอ่อ่าอลังการในการใช้แบบแผนฉันทลักษณ์ของกาพย์และฉันท์เช่น การใช้สัททุลลวิกกีฬิต
ฉันท์แต่งบทไหว้ครู หรือการใช้มาลินีฉันท์  และสัทธราฉันท์แต่งบทขรึมขลัง  การใช้กาพย์และ
ฉันท์ลักษณะอื่นๆ  ที่ให้อารมณ์ความรู้สึกสอดคล้องกับเนื้อหา อารมณ์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องน่าหวาดกลัว เกรี้ยวกราด ตกใจ ผาดโผน  ลีลาอ่อนไหวโน้มน้ำใจ หรือเศร้าสังเวช  จนกล่าวได้ว่า เอกภาพของเนื้อหาและรูปแบบฉันทลักษณ์ในสามัคคีเภทคำฉันท์นั้นแต่งได้ดียิ่ง  ควรเป้นแบบอย่างในการศึกษาเรียนรู้

หลักธรรมสำคัญของ สามัคคีเภทคำฉันท์ สะท้อนให้เห็นถึงการแตกความสามัคคีกันระหว่างเหล่ากษัตริย์ลิจฉวี  เป็นสาเหตุนำไปสู่การเสียแคว้นวัชชีแก่พระเจ้าอชาตศัตรู ผู้ครองแคว้นมคธ  ทั้งที่แต่เดิมนั้น  กษัตริย์ลิจฉวีทุกองค์ล้วนตั้งมั่น อยู่ในธรรมที่เรียกว่า "อปริหานิยธรรม" คือ ธรรมอันเป็นไปเพื่อเหตุแห่งความเจริญฝ่ายเดียว  ผู้ปฏิบัติจักไม่เป็นไปในทางเสื่อม อันได้แก่
๑.  เมื่อมีกิจใดเกิดขึ้น ก็ประชุมกันปรึกษาในกิจนั้น
๒.  เมื่อประชุมก็พร้อมเพรียงกันประชุม เมื่อเลิกก็พร้อมเพรียงกันเลิก และพร้อมเพรียงกันกระทำกิจอันควรทำ
๓.  ถือมั่นตามขนบธรรมเนียมหรือประเพณีอันดีอันชอบที่มีอยู่  ไม่เลิกถอน หรือดัดแปลงเสียใหม่
๔.  มีความเคารพยำเกรงผู้ที่อยู่ในฐานะเป็นผู้ใหญ่  ทั้งเชื่อถือกระทำตามถ้อยคำบัญชาและคำแนะนำสั่งสอนของผู้เป็นใหญ่นั้น
๕.  ไม่ประทุษร้ายข่มเหงบุตรและภริยาของกันและกันด้วยประการใดๆ
๖.  ไม่ลบหลู่ดูหมิ่นต่อเจดียสถาน หรือสถานที่ศักดิ์สิทธิ์  และการกระทำพลีกรรมบวงสรวงก็กระทำตามควร
๗.  อำนวยความคุ้มครองป้องกันแก่พระอรหันต์  บรรดาที่มีอยู่ในแว่นแคว้นวัชชีให้เป็นสุขและปราศจากภัย

เนื้อเรื่องโดยย่อของ สามัคคีเภทคำฉันท์  มีว่า สมัยก่อนที่พระพุทธเจ้าจะปรินิพพานไม่นานนัก  พระเจ้าอชาตศัตรูทรงครองราชสมบัติที่นครราชคฤห์ แคว้นมคธ  พระองค์ทรงมีวัสสการพราหมณ์  ผู้ฉลาดและรอบรู้ศิลปศาสตร์ เป็นที่ปรึกษาราชกิจทั่วไป  ขณะนั้นทรงปรารภจะแผ่พระราชอาณาเขตเข้าไปถึงแคว้นวัชชี  แต่กริ่งเกรงว่ามิอาจเอาชนะได้ด้วยการส่งกองทัพเข้ารุกราน  เนื่องจากบรรดากษัตริย์ลิจฉวีมีความสามัคคีสูง และการปกครองอาณาประชาราษฎ์รด้วยธรรม อันนำความเจริญเข้มแข็งมาสู่แว่นแคว้น  พระเจ้าอชาตศัตรูทรงหารือเรื่องนี้เป็นการ
เฉพาะกับวัสสการพราหมณ์  จึงเห็นแจ้งในอุบายจะเอาชนะด้วยปัญญาวันหนึ่งพระเจ้าอชาตศัตรูเสด็จออกว่าราชการ พร้อมพรั่งด้วยเสนาอำมาตย์ชั้นผู้ใหญ่ เมื่อเสร็จวาระเรื่องอื่นๆ ลงแล้ว  จึงตรัสในเชิงหารือว่า หากพระองค์จะยกทัพไปปราบแคว้นวัชชีใครจะเห็นคัดค้านประการใด

วัสสการพราหมณ์ฉวยโอกาสเหมาะกับอุบายตนที่วางไว้ ก็กราบทูลท้วงว่าเห็นทีจะเอาชนะไม่ได้เลย  เพราะกษัตริย์ลิจฉวีทุกองค์ล้วนผูกพันเป็นกัลยาณมิตรอย่างมั่นคง มีความสามารถในการศึกและกล้าหาญ  อีกทั้งโลกจะติเตียน หากฝ่ายมคธจงใจประทุษร้ายรุกรานเมืองอื่น  ขอให้ยับยั้งการทำศึกเอาไว้เพื่อความสงบของประชาราษฎร์

พระเจ้าอชาตศัตรูทรงแสร้งแสดงพระอาการพิโรธหนัก  ถึงขั้นรับสั่งจะให้ประหารชีวิตเสีย  แต่ทรงเห็นว่าวัสสการพราหมณ์รับราชการมานาน  จึงลดโทษการดูหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ครั้งนั้น  เพียงแค่ลงพระราชอาญาเฆี่ยนตีอย่างแสนสาหัสจนสลบไสล  ถูกโกนหัวประจานและ เนรเทศออกไปจากแคว้นมคธ

ข่าววัสสการพราหมณ์เดินทางไปถึงนครเวสาลี เมืองหลวงของแคว้นวัชชี ทราบไปถึงพระกรรณของหมู่กษัตริย์ลิจฉวี  จึงรับสั่งให้เจ้าพนักงานตีกลองสำคัญเรียกประชุมราชสภาว่า ควรจะขับไล่หรือเลี้ยงเอาไว้ดี  ในที่สุดที่ประชุมราชสภาลงมติให้นำเข้าเฝ้าเพื่อหยั่งท่าทีและฟังคารมก่อน

แต่หลังจากกษัตริย์ลิจฉวีทรงซักไซ้ไล่เลียงด้วยประการต่างๆ ก็หลงกลวัสสการพราหมณ์  ทรงรับไว้ทำราชการในตำแหน่งอำมาตย์ผู้พิจารณาพิพากษาคดีและตั้งเป็นครูฝึกสอนศิลปวิทยาแก่ ราชกุมารของเหล่ากษัตริย์ลิจฉวีด้วย  จากนั้นต่อมา  พราหมณ์เฒ่าก็ทำที่ปฎิบัติงานในหน้าที่อย่างดี ไม่มีสิ่งใดบกพร่อง จนหมู่กษัตริย์ลิจฉวีไว้วางพระทัย

แผนการทำลายความสามัคคีได้เริ่มจากวัสสการพราหมณ์ใช้กลอุบายให้บรรดาราชโอรสกษัตริย์ลิจฉวีระแวงกัน  โดยแกล้งเชิญแต่ละองค์ไปพบเป็นการส่วนตัว  แล้วถามปัญหาธรรมดาที่รู้ๆ  กันอยู่  เมื่อองค์อื่นซักเรื่องราวว่าสนทนาอะไรกับอาจารย์บ้าง  แม้ราชกุมารองค์นั้นจะตอบความจริง แต่ก็ไม่มีใครเชื่อถือ ก่อให้เกิดความระแวงและแตกร้าวในบรรดาราชกุมาร  กระทั่งลุกลามไปสู่กษัตริย์ลิจฉวี ผู้เป้นพระราชบิดาทุกองค์  ทำให้ความสามัคคีค่อยๆ เสื่อมลงจนกระทั่งไม่เข้าร่วมประชุมราชสภา  หรือได้ยินเสียงกลองก็ไม่สนใจประชุม  เมื่อมาถึงขั้นนี้
วัสสการพราหรณ์จึงลอบส่งข่าวไปให้พระเจ้าอชาตศัตรูยกทัพมาตีแคว้นวัชชีได้เป็นผลสำเร็จ

สามัคคีเภทคำฉันท์ แต่งขึ้นเพื่อมุ่งสรรเสริญธรรมแห่งความสามัคคีเป็นแก่นของเรื่อง และหลักธรรมข้อนี้ไม่ล้าสมัย  สามารถยังประโยชน์ให้เกิดขึ้นแก่หมู่ชนที่มีความพร้อมเพรียงกันพัฒนาสังคม  หากนำมาประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง

แก่นเรื่อง

วัสสการพราหมณ์ขาดคุณสมบัติในข้อใด

1. โทษของการแตกสามัคคี
2. การใช้สติปัญญาเอาชนะฝ่ายศัตรู
3. การใช้วิจารณญานก่อนที่จะตัดสินใจทำสิ่งใดย่อมเป็นการดี
4. การถือความคิดของตนเป็นใหญ่และทะนงตนว่าดีกว่าผู้อื่น ย่อมทำให้เกิดความเสียหายต่อส่วนรวม


 วิเคราะห์ตัวละคร
วัสสการพราหมณ์กับกษัตริย์ลิจฉวี
วัสสการพราหมณ์เป็นตัวละครที่มีบทบาทสำคัญที่สุดในการดำเนินเรื่อง  เป็นผู้ออกอุบายวางแผนและดำเนินการยุยงจนเหล่ากษัตริย์แตกความสามัคคีทำให้อชาตศัตรูเข้าครอบครองแคว้นวัชชีได้สำเร็จ  วัสสการพราหมณ์เป็นพราหมณ์อาวุโสผู้มีความสามารถสติปัญญาดี  รอบรู้ศิลป์วิทยาการและมีวาทศิลป์เป็นที่ไว้วางใจจากฝ่ายศัตรูและสามารถโน้มน้าวเปลี่ยนความคิดของฝ่ายตรงข้ามให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้สำเร็จ บางทรรศนะอาจเห็นว่าวัสสการพราหมณ์เป็นคนที่ขาดคุณธรรมใช้อุบายล่อลวงผู้อื่นเพื่อประโยชน์ฝ่ายตน  แต่อีกมุมหนึ่งวัสสการพราหมณ์มีคุณสมบัติที่น่ายกย่องกล่าวคือมีความจงรักภักดีต่อพระเจ้าอชาตศัตรูและบ้านเมืองเป็นอย่างมากยอมเสียสละความสุขส่วนตน  ยอมลำบากเจ็บตัว ยอมเสี่ยงไปอยู่ในหมู่ศัตรูต้องใช้ความอดทดสูงและรู้จักรักษาความลับได้ดีเพื่อให้อุบายสำเร็จ  ส่วนเหล่ากษัตริย์ลิจฉวีขาดวิจารญาณ(ญาณพิจารณ์ตรอง) จนในที่สุดทำให้แตกความสามัคคีจนเป็นเหตุให้แคว้นวัชชีตกเป็นของแคว้นมคธ

วัสสการพราหมณ์คือ ตัวละครใน “สามัคคีเภทคำฉันท์” อันเป็นบทประพันธ์ของ ชิต บุรทัต กวีเอกในแผ่นดินรัชกาลที่ ๖

ชิต บุรทัต เชี่ยวชาญในเชิงฉันท์อย่างไร คงจะเห็นกันได้จากการร่ำพรรณนาถึงความงดงามของ กรุงราชคฤห์อันเป็นนครหลวงของพระเจ้าอาชาตศัตรูแห่งแคว้นมคธ เอาไว้ว่าดังนี้

“ช่อฟ้าตระการกละจะหยัน จะเยาะยั่วทิฆัมพร

บราลีพิลาศุภจรูญ นพศูลประภัศร

หางหงส์ผจงพิจิตระงอน ดุจะกวักนภาลัย”...

อันนับได้ว่างามนัก วัสสการพราหมณ์ ในคำฉันท์เรื่องนี้เป็นครูอาจารย์ผู้สอนศิลปะวิทยาอยู่ในแคว้นมคธ แต่ที่ลึกซึ้งยิ่งกว่านั้นก็คือ เป็นนักการเมืองเจ้าเล่ห์ เป็น “บ่างช่างยุ” หรือว่า นักยุแยงตะแคงรั่วมือระดับปรมาจารย์

วัสสการพราหมณ์เข้าไปเป็น “ไส้ศึก” อยู่ในแว่นแคว้นวัชชีซึ่งปกครองโดยเหล่าบรรดากษัตริย์ ลิจฉวี และใช้ระยะเวลายุแหย่อยู่ไม่นานนัก เหล่าบรรดาผู้นำดังที่ว่านั้น ก็ถึงกาลแตกแยก

ก่อนหน้านี้วัสสการพราหมณ์ได้ยอมเจ็บตัวเล่นละครตบตา ยอมให้เจ้านายตนเฆี่ยนตี และโกน หัวขับไล่ให้ออกจากเมืองไป ดังที่ผู้ประพันธ์ได้บรรยายเอาไว้ว่า

“ยลเนื้อก็เนื้อเต้น พิศะเส้นก็สั่นรัว

ทั้งร่างและทั้งตัว ก็ระริกระริวไป

แลหลังก็หลั่งโล หิตโอ้เลอะลามไหล

พ่งผาดอนาถใจ ตละล้วนระรอยหวาย”...

และนี่ก็คือฝีมือในการแต่งฉันท์ที่เป็นหนึ่งของชิต บุรทัต สามัคคีเภทคำฉันท์

ไม่เพียงแต่งดงามด้วยภาษากวีเท่านั้น แต่เนื้อหาสาระนับว่า ยังเหมาะเป็นยิ่งด้วยสำหรับสังคมไทยยามนี้

เหตุก็เพราะความไม่สมานฉันท์ ไม่สามัคคีกัน โดยแท้ ที่นำมาซึ่งความวิบัติล่มจมของบ้านเมือง

ฟังว่า เหล่าบรรดากษัตริย์ลิจฉวีอันเป็นผู้ปกครองแคว้นวัชชีทั้งปวงนั้น ได้เคยมีการปกครองใน ระบบรัฐสภาที่เข้มแข็งเป็นอย่างยิ่ง

ก่อนที่วัสสการพราหมณ์จะเข้ามาทำให้สภาเกิดแตกแยก และเกิด หวั่นระแวงแคลงใจกันขึ้น ดังที่ผู้ประพันธ์ว่า

“สามัคคีธัมมะทำลาย มิตระภิทนะกระจาย

สรรพะเสื่อมหายน์ ก็เปนไป”...

สมดังชื่อเรื่องว่า สามัคคีเภท

สรุปแล้ว ทั้งสภาและบ้านเมืองประชาชนของแคว้นวัชชีก็ไม่มีอะไรเหลือ ด้วยฝีมือการยุแหย่ ของวัสสการพราหมณ์แต่ผู้เดียวโดยแท้

จุดเด่นที่สุดในการทำงานของวัสสการพราหมณ์ คือข้อใด

วัสสการพราหมณ์เป็นตัวละครที่มีบทบาทสำคัญที่สุดในการดำเนินเรื่อง เป็นผู้ออกอุบายวางแผนและดำเนินการยุยงจนเหล่ากษัตริย์แตกความสามัคคีทำให้อชาตศัตรูเข้าครอบครองแคว้นวัชชีได้สำเร็จ วัสสการพราหมณ์เป็นพราหมณ์อาวุโสผู้มีความสามารถสติปัญญาดี รอบรู้ศิลป์วิทยาการและมีวาทศิลป์เป็นที่ไว้วางใจจากฝ่ายศัตรูและสามารถโน้มน้าวเปลี่ยนความ ...

การกระทําของวัสสการพราหมณ์แสดงให้เห็นสิ่งใดบ้าง

อีกมุมหนึ่งวัสสการพราหมณ์มีคุณสมบัติที่น่ายกย่องกล่าว คือ มีความจงรักภักดีต่อพระเจ้าอชาตศัตรูและบ้านเมืองเป็นอย่างมากยอมเสียสละความสุขส่วนตน ยอมลำบากเจ็บตัว ยอมเสี่ยงไปอยู่ในหมู่ศัตรูต้องใช้ความอดทดสูงและรู้จักรักษาความลับได้ดีเพื่อให้อุบายสำเร็จ

บทไหว้ครูนิยมแต่งด้วยฉันท์ชนิดใด

สัททุลลวิกกีฬิตฉันท์ 19 สัททุลลวิกกีฬิตฉันท์ มีความหมาย "เสือผยอง" ใช้แต่งบทไหว้ครู บทโกรธ และบทยอพระเกียรติ หนึ่งบทมี 19 พยางค์ แบ่งเป็น 3 วรรค วรรแรก 12 พยางค์ วรรคสอง 5 พยางค์ และวรรคสุดท้าย 2 พยางค์ ส่งสัมผัสแบบกลอนสังขลิก

วัสสการพราหมณ์ใช้วิธีการใดในการทำลายความสามัคคีของกษัตริย์ลิจฉวี

แผนการทำลายความสามัคคีได้เริ่มจากวัสสการพราหมณ์ ใช้กลอุบายให้บรรดาราชโอรสกษัตริย์ลิจฉวีระแวงกัน โดยแกล้งเชิญแต่ละองค์ไปพบเป็นการส่วนตัว แล้วถามปัญหาธรรมดาที่รู้กันอยู่ เมื่อองค์อื่นซักเรื่องราวว่าสนทนาอะไรกับอาจารย์บ้าง แม้ราชกุมารองค์นั้นจะตอบความจริง แต่ก็ไม่มีใครเชื่อถือก่อให้เกิดความระแวงและแตกร้าวในบรรดาราชกุมาร ...