วิเคราะห์คุณค่าด้านเนื้อหา อิเหนา

 

ด้านวรรณศิลป์

วิเคราะห์คุณค่าด้านเนื้อหา อิเหนา

โวการใช้คำและหาร  เรื่องอิเหนา  ตอนศึกกะหมังกุหนิง  มีการใช้ภาษาที่สละสลวยให้อารมณ์อันลึกซึ้งกินใจ  อีกทั้งมีโวหารเปรียบเทียบให้เห็นภาพพจน์ให้เกิดความรู้สึกสะเทือนอารมณ์  ที่สำคัญยังแฝงด้วยข้อคิดที่มีคุณค่ายิ่งอีกมากมาย  ดังนี้

– การใช้ภาษาสละสลวยงดงาม  มีการเล่นคำ  เล่นสัมผัสพยัญชนะเพื่อให้เกิดความไพเราะ  เช่น  ตอนอิเหนาชมดง
ว่าพลางทางชมคณานก                    โผนผกจับไม้อึงมี่
เบญจวรรณจับวัลย์ชาลี                          เหมือนวันพี่ไกลสามสุดามา
นางนวลจับนางนวลนอน                         เหมือนพี่แนบนวลสมรจินตะหรา
จากพรากจับจากจำนรรจา                       เหมือนจากนางสการะวาตี
– การใช้โวหารเปรียบเทียบ  คือ  โวหารอุปมาเป็นการสร้างอารมณ์ให้กับผู้อ่าน  กวีเปรียบได้ชัดเจน  เช่น
กรุงกษัตริย์ขอขึ้นก็นับร้อย                   เราเป็นเมืองน้อยกระจิหริด
ดังหิ่งห้อยจะแข่งแสงอาทิตย์                    เห็นผิดระบอบบุราณมา

หรือจากคำคร่ำควรญของจินตะหรา  ที่เปรียบความรักเหมือนสายน้ำไหลที่ไหลไปแล้วจะไม่มีวันย้อนกลับ  ที่มาของสำนวน “ความรักเหมือนสายน้ำไม่มีวันไหลย้อนกลับ” คำคร่ำครวญของจินตะหราเป็นเพราะเกิดความไม่มั่นใจในฐานะของตนเอง  เกิดความรู้กขึ้นมาว่าตนอาจต้องสูญเสียคนรัก  เพราะข่าวการแย่งบุษบาแสดงว่าบุษบาต้องสวยมาก  อีกทั้งยังเป็นคู่หมั้นของอิเหนามาก่อน  ยิ่งทำให้รู้สึกหวาดหวั่น  ดังคำประพันธ์ทีอ่านแล้วจะเกิดอารมณ์สะเทือนใจ  สงสาร  และเห็นใจว่า

แล้วว่าอนิจจาความรัก                         พึ่งประจักษ์ดั่งสายน้ำไหล
ตั้งแต่จะเชี่ยวเป็นเกลียวไป                        ที่ไหนเลยจะไหลคืนมา
สตรีใดในพิภพจบแดน                               ไม่มีใครได้แค้นเหมือนนอกข้า
ด้วยใฝ่รักให้เกิดพักตรา                              จะมีแต่เวทนาเป็นเนืองนิตย์

– ใช้คำบรรยายชัดเจนได้ภาพพจน์  ผู้อ่านนึกภาพตามผู้เขียนบรรยายตามไปยิ่งจะทำให้ได้อรรถรสในการอ่านมากขึ้น  เช่น  ตอนอิเหนาต่อสู้กับท้าวกะหมังกุหนิงด้วยใช้กริชเป็นอาวุธ  จะเห็นลีลาท่าทางและจังหวะที่สอดคล้องกัน  เห็นทีท่าอันฉับไวและสง่างาม
เมื่อนั้น                                             ท้าวกะหมังกุหนิงเรืองศรี
ได้ฟังคำชื่นชมยินดี                                    ครั้งนี้อิเหนาจะวายชนม์
อันเพลงกริชชวามลายู                                กูรู้สันทัดไม่ขัดสน
คิดแล้วชักกริชชวามลายู                             ร่ายทำทำกลมารยา
กรขวานั้นกุมกริชกราย                                พระหัตถ์ซ้ายนั้นถือเช็ดหน้า
เข้าปะทะประกริชด้วยฤทธา                          ผัดผันไปมาไม่ครั่นคร้าม
เมื่อนั้น                                             ระเด่นมนตรีชาญสมาน
พระกรกรายลายกริชติดตาม                          ไม่เข็ดขามคร้ามถอยคอยรับ
หลบหลีกไวว่องป้องกัน                              ผัดผันหันออกกลอกกลับ
ปะทะแทงแสร้างทำสำทับ                           ย่างกระหยับรุกไล่มิได้ยั้ง
เห็นระตูถอยเท้าก้าวผิด                               พระกรายกริชแทงอกตลอดหลัง
ล้มลงดาวดิ้นสิ้นกำลัง                                 มอดม้วยชีวังปลดปลง

 

ด้านสังคม

วิเคราะห์คุณค่าด้านเนื้อหา อิเหนา

 

ประเพณีและความเชื่อ  แม้บทละครเรื่องอิเหนาจะมีที่มาจากชวา  แต่รัชกาลที่ ทรงดัดแปลงแก้ไขให้เข้ากับธรรมเนียมประเพณีของบ้านเมืองของไทย  เราจึงสามารถหาความรู้เรื่องเหล่านี้จากวรรณคดีเรื่องอิเหนาได้อย่างถูกต้อง  ซึ่งปรากฏอยู่หลายตอน  เช่น  ตอนท้าวดาหาเสด็จออกรับทูตเมืองกะหมังกุหนิง
เมื่อนั้น                                   พระองค์ทรงพิภพดาหา
ครั้นสุริย์ฉายบ่ายสามนาฬิกา                ก็โสรจสรงคงคาอ่าองค์
ทรงเครื่องประดับสรรเสร็จ                   แล้วเสด็จย่างเยื้องยูรหงส์
ออกยังพระโรงคัลบรรจง                     นั่งลงบนบัลลังก์รูจี
ยาสาบังคมบรมนาถ                          เบิกทูตถือราชสารศรี
จึงดำรัสตรัสสั่งไปทันที                      ให้เสนีนำแขกเมืองมา
นอกจากนี้ยังสะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อเรื่องโชคชะตา  การเชื่อเรื่องคำทำนาย  ดังที่ท้าวกะหมังกุหนิงให้โหรมาทำนายก่อนจะยกทัพไปเมืองดาหา  โหรก็ทำนายว่า
บัดนั้น                                      พระโหราราชครูผู้ใหญ่
รับรสพจนารถภูวไนย                          คลี่ตำรับขับไล่ไปมา
เทียบดูดวงชะตาพระทรงยศ                  กับโอรสถึงฆาตชันษา
ทั้งชั้นโชคโยคยามยาตรา                    พระเคราะห์ขัดฤกษ์พาสารพัน
จึงทูลว่าถ้ายกวันพรุ่งนี้                        จะเสียชัยไพรีเป็นแม่นมั่น
งดอยู่อย่าเสด็จสักเจ็ดวัน                     ถ้าพ้นนั้นก็เห็นไม่เป็นไร
แม้ตอนที่อิเหนาจะยกทัพไปช่วยเมืองดาหาก็ต้องดูฤกษ์ยาม  มีการทำพิธีตัดไม้ข่มนามหรือพิธีฟันไม้ข่มนาม  โดยนำเอาต้นไม้ที่มีชื่อร่วมตัวอักษรกับชื่อฝ่ายข้าศึก  มาฟันให้ขาดประหนึ่งว่าได้ฟันข้าศึก  และยังมีพิธีเบิกโขลนทวาร  ซึ่งทำพิธีตามตำราพราหมณ์  โดยทำเป็นประตูสะด้วยใบไม้  สองข้างประตูมีพราหมณ์นั่งประพรมน้ำมนต์ให้ทหารที่เดินลอดประตู  ทั้ง 2 พิธีนี้ทำเพื่อความเป็นสิริมงคล  และสร้างขวัญกำลังใจให้ทหาร  ดังคำประพันธ์ต่อไปนี้
พอได้ศุภกฤกษ์ก็ลั่นฆ้อง                  ประโคมคึกกึกก้องท้องสนาม
ประโรหิตตัดไม้ข่มนาม                          ทำตามตำราพิชัยยุทธ์

 

Share this:

  • Twitter
  • Facebook

Like this:

Like Loading...

คุณค่าในด้านเนื้อหาของเรื่องอิเหนาเป็นอย่างไร

คุณค่าด้านเนื้อหา - เป็นเรื่องที่แสดงให้เห็นถึงความรักของพ่อที่มีต่อลูก รักและตามใจทุกอย่าง แม้นกระทั่งตัวตายก็ยอม - ฉากตอนศึกกะหมังกุหนิงจะปรากฎฉากรบที่ชัดเจน มีการตั้งค่าย การใช้อาวุธ และการต่อสู้ของตัวละครสำคัญ - ปมปัญหาในเรื่องเป็นเรื่องที่อาจเกิดได้ในชีวิตจริงและสมเหตุสมผล เช่น

คุณค่าด้านเนื้อหา ในเรื่อง อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง คือข้อใด

คุณค่าด้านเนื้อหา เป็นเรื่องที่แสดงให้เห็นถึงความรักของพ่อที่มีต่อลูก รักและตามใจทุกอย่าง แม้นกระทั่งตัวตายก็ยอม

คุณค่าในด้านวรรณศิลป์ของเรื่องอิเหนาเป็นอย่างไร

คุณค่าด้านวรรณศิลป์ มีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับกษัตริย์ ทั้งการดำเนินเรื่อง การใช้คำราชาศัพท์ จึงมีการยึดรูปแบบอย่างเคร่งครัด มีความเหมาะสมเเละมีการพรรณนาอย่างละเอียดชัดจนทำให้เกิดจินตภาพ ทั้งฉากเมือง สงคราม

แนวคิดสําคัญของบทละครเรื่องอิเหนา คือข้อใด

๑. โครงเรื่อง ๑.๑) แนวคิดของเรื่อง เรื่องอิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง เป็นเรื่องที่แสดงให้เห็นถึงความรักของพ่อที่มีต่อลูก รักและตามใจลูกทุกอย่าง แม้กระทั่งตัวตายก็ยอม