การจัดการคลังสินค้า โลจิสติกส์

การจัดการคลังสินค้า(Warehouse Management)เป็นการจัดการในการรับ การจัดเก็บ หมายถึง การจัดส่งสินค้าให้ผู้รับเพื่อกิจกรรมการขาย เป้าหมายหลักในการบริหาร ดำเนินธุรกิจ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับคลังสินค้าก็เพื่อให้เกิดการดำเนินการเป็นระบบให้ คุ้มกับการ ลงทุน การควบคุมคุณภาพของการเก็บ การหยิบสินค้า การป้องกัน ลดการสูญเสียจากการ ดำเนินงานเพื่อให้ต้นทุนการดำเนินงานต่ำที่สุด และการใช้ประโยชน์เต็มที่จากพื้นที่ คลังสินค้านับเป็นองค์ประกอบที่สำคัญส่วนหนึ่งในโซ่อุปทาน

Show

การจัดส่งกระจายสินค้าปัจจุบันการขนส่งและการกระจายสินค้ามีความสำคัญต่อธุรกิจเกือบทุกประเภททั้งในส่วนการจัดหาวัตถุดิบ การผลิตการขาย และการจัดจำหน่าย ในหลายๆ ธุรกิจ ต้นทุนการขนส่งและกระจายสินค้านับเป็นต้นทุนที่สำคัญ และกระทบต่อต้นทุนรวมของผลิตภัณฑ์และบริการ การเพิ่มประสิทธิภาพทางด้านการขนส่งและกระจายสินค้าจะช่วยทำให้องค์กรสามารถลดต้นทุน ลดการสูญเสียโอกาสทางการตลาด และเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน เพื่อให้ได้เปรียบคู่แข่ง

วัตถุประสงค์

1.เข้าใจกระบวนการในการปรับปรุงประสิทธิภาพของ Logistics & Supply Chainเพื่อสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้

2. เพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานด้านคลังสินค้า เช่น การรับสินค้า การตรวจสอบสินค้า การจัดเก็บสินค้า การหยิบสินค้า การบรรจุสินค้า การนำส่งสินค้า

3. เพิ่มประสิทธิภาพทางด้านการขนส่งและกระจายสินค้า ลดต้นทุน ลดการสูญเสียโอกาสทางการตลาด และเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน เพื่อให้ได้เปรียบคู่แข่ง

โลจิสติกส์ คือ การจัดการการส่งสินค้า วัตถุดิบ ข้อมูล และทรัพยากร จากจุดต้นทางไปยังปลายทางใดๆ โดยส่วนใหญ่ปลายทางมักจะเป็นจุดบริโภคตามความต้องการของลูกค้า แต่เดิมที โลจิสติกส์คือ กระบวนการของการลำเลียงอาวุธ เครื่องมือ และเสบียง ไปยังทหารในแนวรบ ปัจจุบันเวลาคนพูดถึงโลจิสติกส์ จะพบว่า โลจิสติกส์ คือ การผสมผสานการจัดการข้อมูล การขนส่ง การบริหารวัตถุดิบ การจัดการสินค้าคงคลัง การบรรจุสินค้า และการบริหารจัดการซัพพลายเชน (ห่วงโซ่อุปทาน)

ในปัจจุบัน โลจิสติกส์ เป็นเครื่องมือ แนวคิด หรือระบบอย่างหนึ่ง ที่บริษัทและองค์กรต่างๆ มองว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญที่มีผลต่ออย่างต่อต้นทุน ดังนั้น การลดค่าใช้จ่ายด้าน โลจิสติกส์ ได้นั้น ย่อมทำให้บริษัทสามารถมีกำไรที่สูงขึ้นได้ แต่ทั้งนี้ การลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์นั้น ต้องไม่ส่งผลต่อคุณภาพของสินค้า และบริการที่ให้กับลูกค้า

การจัดการคลังสินค้า โลจิสติกส์
โลจิสติกส์ คือ สิ่งที่กว้างขวาง และมีมากมายหลายด้านด้วยกัน ดังนั้น การวัดประสิทธิภาพทางด้าน โลจิสติกส์ จึงต้องมีการกำหนดให้ชัดเชน ว่าจะวัดผลทางด้านใดเพื่อให้เกิดการพัฒนา โดยจะใช้ปัจจัยสำคัญต่างๆ เช่น ความพึงพอใจของลูกค้า ต้นทุนที่ใช้ในกิจกรรมโลจิสติกส์ การตอบสนองต่อความต้องการของตลาดอย่างรวดเร็วเช่น การสต๊อกสินค้า อัตราการหมุนเวียนสินค้า รอบเวลาในการขนส่ง และการจัดส่งสินค้า เป็นต้น

กิจกรรม และกระบวนการต่างๆ ทางด้านโลจิสติกส์ที่สำคัญๆ ได้แก่ การขนส่งสินค้า (Transportation) ซึ่งประกอบด้วยการขนส่งสินค้าทั้งในและต่างประเทศ การจัดการคลังสินค้าและสินค้าคงคลัง (Warehouse Management และ Inventory Management) การบรรจุสินค้า การบรรจุหีบห่อ การกระจายสินค้า (Distribution) และการจัดการด้านวัตถุดิบ (Material Management) และการผลิต (Manufacturing) เป็นต้น

การจัดการคลังสินค้า โลจิสติกส์
ภายใต้การจัดการด้านโลจิสติกส์ ยังเกินคอนเซปต์ หรือแนวคิดต่างๆ ในการจัดการด้านโลจิสติกส์ ในวิธีต่างๆ เพื่อสร้างประสิทธิภาพที่สูงขึ้น และลดการสูญเสีย (waste) ต่างๆ โดยเปล่าประโยชน์ เช่น การจัดการแบบ Lean Logistics, แบบ Just-in-Time, หลักการณ์ Kaizen, Kan Ban, และ หลักการณ์ Six Sigma เป็นต้น

ที่ที่เราจะเห็นกิจกรรมโลจิสติกส์ต่างๆ ได้แก่ โรงงานที่ทำการผลิตสินค้าหรือประกอบผลิตภัณฑ์ สินค้าใดๆ ซึ่ง ณ โรงงานผลิตสินค้านั้น มักจะมีคลังสินค้า โกดัง คลังพัสดุ หรือที่เก็บสินค้านั้นๆ ซึ่ง เมื่อต้องมีการนำสินค้านั้น ส่งต่อไปยังร้านค้า หรือตัวแทนจำหน่ายต่างๆ ทั่วประเทศ คลังสินค้านั้น ก็จะกลายเป็นศูนย์กระจายสินค้าในตัว ซึ่งใช้สำหรับการนำสินค้าออกจากคลังสินค้าและขนสินค้าขึ้นรถบรรทุก เพื่อทำการขนส่งต่อไป อีกทั้งจะมีการสั่งสินค้าและการเติมเต็มคำสั่งซื้อสินค้า และยังใช้สำหรับรับสินค้าที่ถูกตีกลับจากลูกค้าด้วย

บริษัทต่างๆ เมื่อมีการขยายตลาดไปยังพื้นที่ใหม่ๆ มักสร้าง ศูนย์กระจายสินค้า (Distribution Center) ใจกลางตลาดใหม่ๆ เหล่านั้น เพื่อให้มีการจัดการด้านสินค้าอยู่ใกล้กับผู้บริโภคมากขึ้น โดยที่ DC จะไม่มีการผลิตสินค้า แต่จะรับสินค้ามาจากโรงงาน นำเข้าคลังสินค้า เก็บสต๊อกสินค้า นำสินค้าขึ้นชั้นวาง (Racking) เมื่อมีการสั่งสินค้าจากร้านค้า ก็จะนำสินค้าลงจากชั้นวาง นำไปบรรจุใส่กล่อง นำไปตั้งบนแพเล็ต ห่อแพเล็ต และนำขึ้นรถบรรทุก เพื่อส่งสินค้านั้นไปยังร้านค้าต่อไป บางที ภายใน DC อาจมีการทำกิจกรรมเสริมที่ถือเป็นกิจกรรมโลจิสติกส์อย่างหนึ่ง เช่น กันประกอบสินค้าตามโปรโมชั่น (เช่น ตามโปรฯ 1 แถม 1 ต้องนำสินค้ามาติดกัน) การติดสติ๊กเกอร์ หรือสลากสินค้า เป็นต้น

การจัดการคลังสินค้า โลจิสติกส์
ปัจจุบันโลจิสติกส์เป็นอีกหนึ่งสาขาวิชาที่กำลังเป็นที่ต้องการของตลาด โดยมีงานต่างๆ มากมายที่เกี่ยวข้องกับโลจิสติกส์ ทั้งในด้านการจัดการระบบขนส่ง ระบบคลังสินค้า ระบบท่าเรือ ระบบเดินรถ การเคลื่อนย้ายสินค้าทั้งภาคพื้นดิน ทางอากาศ และทางเรือ ตลอดจนงานด้านการบริหารจัดการ เช่น ด้านข้อมูล ด้านระบบไอทีที่เกี่ยวกับโลจิสติกส์และซัพพลายเชน ด้านการตลาด และงานด้านการขาย (เช่น ขายพื้นที่ขนส่ง ขายพื้นที่คลังสินค้า ขายอุปกรณ์ เครื่องมือ เป็นต้น)

ในด้านการเรียน สถาบันส่วนใหญ่จะมีการเปิดการเรียนการสอนในด้านของการจัดการด้านโลจิสติกส์ ซึ่งจะสอนในเรื่องของการจัดการการขนส่งสินค้า เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าโดยมีการวางแผน ควบคุม จัดเก็บข้อมูลสินค้า เพื่อให้ไปถึงยังจุดหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการจัดการโลจิสติกส์นี้จะช่วยให้การบริหารงานด้านธุรกิจเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นการลดต้นทุนที่ไม่จำเป็นออกไปด้วย

กิจกรรมต่างๆ ที่ผู้เรียนทางด้านโลจิสติกส์ จะได้เรียนรู้นั้น มีมากมายหลายอย่างด้วยกัน เช่น งานบริการลูกค้า การวางแผนเกี่ยวกับตำแหน่งที่ตั้งของอาคารโรงงาน การจัดซื้อจัดหา (purchasing) คลังสินค้า (warehousing) การพยากรณ์และการวางแผนอุปสงค์ (forecasting demand) การจัดการสินค้าคงคลัง (inventory management) การจัดการวัตถุดิบ (material management) การเคลื่อนย้ายวัตถุดิบการบรรจุหีบห่อ การดำเนินการกับคำสั่งซื้อ การขนของและการจัดส่ง โลจิสติกส์สำหรับสินค้าตีกลับ (Reverse Logistics) การจัดการกับช่องทางจัดจำหน่าย การกระจายสินค้า คลังสินค้าและการเก็บสินค้าเข้าคลัง การจราจรและการขนส่ง กิจกรรมการแปรรูปเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ การรักษาความปลอดภัยสินค้า เป็นต้น

การจัดการคลังสินค้า โลจิสติกส์
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการนำระบบ โลจิสติกส์ เข้ามาใช้ในการดำเนินธุรกิจนั้น ส่วนใหญ่ที่มีที่มาจากการลดต้นทุนค่าใช้จ่ายขององค์กร และการแข่งขันที่สูง

ยกตัวอย่าง จากการที่อัตราดอกเบี้ยและต้นทุนด้านพลังงานสูงขึ้น โลจิสติกส์ จึงได้รับความสนใจมากยิ่งขึ้น โลจิสติกส์เป็นต้นทุนในการดำเนินการที่สำคัญตัวหนึ่ง ต้นทุนจากโลจิสติกส์จึงเป็นสิ่งที่กำหนด ความอยู่รอดสำหรับหลายๆ องค์กร

อุตสาหกรรมสมัยใหม่ได้รับผลกระทบจากการที่มีการแข่งขันสูงขึ้น โลจิสติกส์เป็นตัวตัดสินเนื่องจากองค์กรต่างๆ จะต้องเพิ่มความน่าเชื่อถือ และมีการตอบสนองที่รวดเร็วต่อตลาดมากขึ้น นอกจากนี้ องค์กรที่ซื้อขายระหว่างคู่ค้า จะพบว่าซัพพลายเชนของตนเองจะมีต้นทุนสูงและความซับซ้อนมากขึ้น การบริหารโลจิสติกสืที่ดีจึงมีความจำเป็นเพื่อสร้างโอกาสในการแข่งขันได้ดีขึ้น และยังเป็นจุดเริ่มต้นที่จะทำให้ขยายตลาดไปยังตลาดใหม่ๆ ทั่วประเทศ และไปยังต่างประเทศได้มากขึ้น

โลจิสติกส์ มีบทบาทต่อการดำเนินธุรกิจออนไลน์เป็นอย่างมากในยุคที่เทคโนโลยี disrupt ให้พฤติกรรมและความต้องการของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ธุรกิจต่างๆ ต้องมีการปรับตัวอย่างมาก และต้องมุ่งมั่นพัฒนาธุรกิจอยู่เสมอ มีการใช้เทคโนโลยี และการจัดการโลจิสติกส์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กรให้สามารถแข่งขัน หรืออยู่เหนือคู่แข่งทางธุรกิจ เพื่อเติบโตได้อย่างยั่งยืนต่อไป

การจัดการคลังสินค้า โลจิสติกส์
อุตสาหกรรม โลจิสติกส์ มีการเติบโตและเปลี่ยนแปลงไปพร้อมๆ กับการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ ในยุคที่มี Technology มาทำให้ธุรกิจออฟไลน์เปลี่ยนมาลงทุนและแข่งขันบนแพลตฟอร์มออนไลน์มากขึ้น กลายเป็นธุรกิจ E-Commerce ดังนั้นอุตสาหกรรมการขนส่งและโลจิสติกส์จึงมีการพัฒนาตามไปด้วยอยู่เสมอ เมื่อตลาด E-Commerce เติบโตขึ้น ธุรกิจโลจิสติกส์ต่างแข่งขันกันพัฒนา ด้วยการเพิ่มบริการที่เข้าไปช่วยธุรกิจได้มากขึ้น ทั้งการนำข้อมูลด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชนเข้ามาใช้เพื่อพัฒนาบริการ อาทิ การวางแผนเส้นทางการเดินรถ การนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยด้านขนส่ง การกระจายสินค้า การใช้ GPS การปรับราคาบริการเพื่อลดต้นทุนให้ธุรกิจได้มากที่สุด ในปัจจุบันหลายๆ บริษัทโลจิสติกส์จึงเริ่มหันมาใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศ และข้อมูลดิจิตอลมากขึ้น

เนื่องจากการจัดการโลจิสติกส์ คือแนวทางการจัดการกระบวนการทำงาน หรือการปฏิบัติการในขั้นตอนต่างๆ ครอบคลุมทั้งซัพพลายเชน ตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบเผื่อผลิต การผลิตสินค้า และการจัดส่งสินค้าให้ถึงลูกค้าปลายทาง ซึ่งอาจแตกต่างออกไปตามวิธีการดำเนินธุรกิจของแต่ละธุรกิจ แต่มีเป้าหมายเดียวกันก็คือเพื่อจัดการให้การทำงานเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว และมีต้นทุนน้อยที่สุด ซึ่งจุดนี้เองที่แต่ละธุรกิจสามารถใช้ข้อมูลทางด้านโลจิสติกส์เพื่อนำไปวิเคราะห์ต้นทุน ลดต้นทุน และพัฒนาธุรกิจ ซึ่งถือเป็นการเพิ่มความได้เปรียบในการแข่งขันในตลาดอีกด้วย และเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า ให้ลูกค้าพึงพอใจมากที่สุด

ตําแหน่งงานคลังสินค้า มีอะไรบ้าง

หน้าที่ของคลังสินค้า (WAREHOUSE) /วิธีจัดการคลังสินค้าให้มี....
1. แยกประเภทสินค้าด้วยรหัสสินค้า ... .
2. แยกประเภทสินค้าด้วยความเร็วในการขาย ... .
3. จัดการ Stock Keeping Unit (SKU) ... .
4. กำหนดจำนวนสินค้าในคลัง ... .
5. รู้ระยะเวลาจัดส่งสินค้าจากผู้ผลิต ... .
6. จัดระเบียบให้กับสถานที่เก็บสินค้า ... .
7.ตรวจสอบคลังสินค้าประจำ.

คลังสินค้ามีความสำคัญอย่างไรกับงานโลจิสติกส์

คลังสินค้าถือเป็นองค์ประกอบที่มีความสำคัญในระบบโลจิสติกส์อย่างมาก โดยหน้าที่ของคลังสินค้าหรือโกดังเก็บสินค้าหลัก ๆ นั้นจะใช้เพื่อการจัดเก็บวัตถุดิบ สินค้ากึ่งสำเร็จรูป สินค้าสำเร็จรูป ชิ้นส่วน และสินค้าที่อยู่ระหว่างการผลิต หน้าที่ของคลังสินค้ายังรวมถึงการรับสินค้า จัดเก็บสินค้า รวบรวมสินค้า เปลี่ยนถ่ายสินค้า บรรจุ ...

การจัดการด้านโลจิสติกส์คืออะไร

การจัดการโลจิสติกส์ คือ กระบวนการในการวางแผน ดำเนินการและควบคุมประสิทธิภาพและประสิทธิผล ในการเคลื่อนย้าย และการจัดเก็บ สินค้าและบริการ ตลอดจนข้อมูลต่างๆ จากจุด เริ่มต้นไปยังจุดที่มีการใช้งานโดยคำนึงถึงความต้องการของผู้บริโภค

การจัดการคลังสินค้ามีความเกี่ยวข้องกับการจัดการโลจิสติกส์อย่างไร

การจัดการคลังสินค้า เป็นกิจกรรมที่มีบทบาทส าคัญต่อ การจัดการโลจิสติกส์ โดยผ่านกิจกรรมย่อยๆ เกี่ยวกับการบริหาร จัดการคลังสินค้า อาทิ การเลือกประเภท การเลือกขนาด การ เลือกท าเลที่ตั้ง การวางผังคลังสินค้า การวางแผนการเคลื่อนย้าย สินค้าภายในคลังสินค้า รวมทั้งการน าเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ ในการบริหารคลังสินค้า เป็นต้น ซึ่ง ...