ตัวอย่างการเขียนวิสัยทัศน์

วิสัยทัศน์ คือ การตั้งเป้าหมายระยะยาวขององค์กร โดยความสำคัญของการตั้งวิสัยทัศน์หรือ Vision คือการใช้เป็นเครื่องมือในการกำหนดทิศทางขององค์กร ทำให้องค์กรมีจุดมุ่งหมายในการดำเนินธุรกิจที่ชัดเจน ไม่ใช่การดำเนินธุรกิจแบบไร้จุดหมาย

อย่างที่บอกว่า วิสัยทัศน์ หมายถึง เป้าหมายระยะยาวขององค์กร ทำให้โดยทั่วไป Vision หรือ วิสัยทัศน์ คือเป้าหมายที่มีกรอบระยะเวลาประมาณ 5-10 ปี เนื่องจากเป็นเป้าหมายที่ใหญ่และต้องการความสำเร็จจากหลายส่วน เพื่อให้เป้าหมายในภาพใหญ่เกิดขึ้นได้จริง

โดยสรุป วิสัยทัศน์ คือ การตั้งเป้าหมายที่อาจจะสำเร็จหรือไม่สำเร็จก็ได้ อาจจะเรียกได้ว่าวิสัยทัศน์ (Vision) สิ่งที่อาจเรียกได้ว่าเป็นเสมือนความทะเยอทะยานขององค์กร (แต่ก็ต้องเป็นเป้าหมายที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง) หรือความคาดหวังขององค์กรในอนาคตที่องค์กรอยากจะเป็น

ซึ่งในส่วนมากการตั้ง วิสัยทัศน์ (Vision) จะเป็นการตั้งเป้าหมายขององค์กรให้เป็นไปในทิศทางที่มุ่งให้องค์กรเติบโตหรือมีความยั่งยืนในระยะยาว

นอกจากการที่มีวิสัยทัศน์คือเป้าหมายระยะยาวขององค์กรหรือบริษัท ความสำคัญของการตั้งวิสัยทัศน์ (Vision) ยังรวมไปถึง

  1. กำหนดทิศทางให้กับองค์กรอย่างชัดเจน ทำให้องค์กรมีจุดหมายที่ชัดเจนว่าดำเนินงานไปเพื่ออะไร
  2. ทำให้คนภายในองค์กร อย่างเช่น พนักงาน รู้ว่า “ควรทำอะไร” หรือองค์กรต้องการอะไร
  3. เป็นการสื่อสารให้ภายนอกองค์กรรับรู้ว่า “องค์กรทำอะไร” หรือมีทิศทางไปในทางไหน

วิสัยทัศน์องค์กร ที่ดีตั้งอย่างไร?

วิสัยทัศน์หรือ Vision ที่ดีจะต้องประกอบด้วย 3 ส่วนหลักของวิสัยทัศน์ คือ Product, Market, และความมุ่งหวังขององค์กร โดยแต่ละส่วนมีความหมาย ดังนี้:

Product ในที่นี้คือสิ่งที่องค์กรนำเสนอ หรือสินค้าขององค์กร

Market คือตลาดหรือ Segment ที่นำเสนอ Product เข้าไป (กลุ่มเป้าหมายขององค์กร)

ความมุ่งหวังขององค์กร คือส่วนที่แสดงความต้องการที่องค์กรต้องการจะเป็นในอนาคต

ตัวอย่าง วิสัยทัศน์ (Vision)

ตัวอย่าง วิสัยทัศน์ (Vision) ในส่วนนี้เราจะใช้ของบริษัท AIS ที่ตั้งเอาไว้ว่า เป็นผู้ให้บริการเทคโนโลยีดิจิทัลที่ได้รับการยอมรับสูงสุดในประเทศไทย (ก่อนหน้านี้คือ Digital for Thais) จากตัวอย่างวิสัยทัศน์จะสามารถแบ่งออกเป็น 3 องค์ประกอบของการตั้งวิสัยทัศน์ ได้ดังนี้

  • บริการเทคโนโลยี หรือ Digital คือ สินค้าที่ AIS นำเสนอสู่ตลาด
  • ตลาดที่ AIS เอา Digital ไปนำเสนอ คือ Thai หรือ คนไทย
  • ความมุ่งหวังของ AIS คือ การเป็น Digital สำหรับคนไทย และ การเป็นผู้บริการที่ได้รับการยอมรับสูงสุดในประเทศไทย

ตัวอย่างการเขียนวิสัยทัศน์
ตัวอย่าง วิสัยทัศน์ของ AIS หรือ ADVANC จากรายงานประจำปี

ตัวอย่าง วิสัยทัศน์องค์กร ที่หลายคนคุ้นชื่อ

ตัวอย่าง วิสัยทัศน์ของบริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ที่หลายคนน่าจะคุ้นชื่อกันดี มาดูกันว่าบริษัทเหล่านี้ตั้งอยู่บนพื้นฐานขององค์ประกอบทั้ง 3 ส่วนของวิสัยทัศน์ (Vision) ตามที่เราได้อธิบายด้านบนหรือไม่?

Bangkok Airway (BA) วิสัยทัศน์คือ สร้างสรรค์ความเป็นเลิศ เพื่อเป็นสายการบินที่ดีที่สุดของเอเชีย

Thai Air Asia (AAV) เป็นบริษัทชั้นนำทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อการเดินทางที่ยั่งยืนในเอเชีย พร้อมให้บริการที่คุ้มค่ามากกว่าราคา

ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) วิสัยทัศน์คือ ธนาคารที่น่าชื่นชมที่สุด (The Most Admired Bank)

ธนาคารกรุงศรี (BAY) วิสัยทัศน์คือ ทีมงานมืออาชีพที่มีความสามารถและเป็นหนึ่งเดียวพร้อมมุ่งมั่นสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และบริการชั้นเลิศ เพื่อเป็นกลุ่มการเงินอันดับหนึ่งในใจลูกค้า

CPN (บริษัทแม่ของห้างเซ็นทรัล) วิสัยทัศน์คือ ผู้พัฒนาศูนย์การค้าในระดับภูมิภาคที่ได้รับการชื่นชมสูงสุดจากทุกคน และไม่หยุดนิ่งในการสร้างประสบการณ์แห่งความสุขในระดับโลก

CPF (ธุรกิจอาหาร อาหารสัตว์ของกลุ่ม CP) คือ Kitchen of the World หรือ ครัวของโลก

COL (บริษัทแม่ของ B2S MEB และ Office Mate) เป็นผู้นำที่เป็นเลิศในธุรกิจ ด้านการค้าปลีก (Retail) และระบบค้าปลีกออนไลน์ (e-tailing) ที่มีประสิทธิภาพในระดับภูมิภาคอาเซียน

จากตัวอย่างจะเห็นว่า แต่ละบริษัท Vision หรือวิสัยทัศน์ คือเป้าหมายระยะยาวที่ไม่สามารถทำสำเร็จได้ในระยะเวลาสั้น ๆ และในประโยคจะประกอบด้วย 3 ส่วนคือ “Product Market และความมุ่งหวังขององค์กร”


ตัวอย่างอื่น ๆ ของวิสัยทัศน์บริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ สามารถดูได้จากรายงานประจำปีหรือแบบ 56-1 ของแต่ละบริษัทโดยเข้าไปที่รายชื่อบริษัทในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจากนั้นเลือกบริษัทที่ต้องการ แล้วดาวน์โหลดแบบ 56-1 ของบริษัทที่คุณต้องการดู วิสัยทัศน์ (Vision)

นอกจากนี้ สำหรับใครที่กำลังสับสนระหว่าง วิสัยทัศน์ (Vision) กับ พันธกิจ (Mission) สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่บทความ Vision Mission และ Objective คืออะไร?

Kris Piroj

บรรณาธิการ GreedisGoods | อดีตที่ปรึกษาด้านกลยุทธ์และการเงิน | นักลงทุนที่สนใจในเศรษฐศาสตร์มหภาคและอนุพันธ์เป็นพิเศษ | หากบทความเป็นประโยชน์สามารถติดตามเราได้บน Facebook และ Twitter