วิสัยทัศน์ผู้บริหารระดับสูง

          ตำแหน่งผู้บริหารมีผลอย่างยิ่งต่อความสำเร็จขององค์กร ถ้าองค์กรใดได้ผู้บริหารที่เก่ง ดี มีวิสัยทัศน์ ก็มีแนวโน้มว่าองค์กรนั้น จะมีอนาคตสดใส เปรียบเสมือนนาวาลำน้อยใหญ่ ที่มีนายท้ายเรือที่เข้มแข็งคอยคัดหางเสือกำหนดทิศทาง ให้เรือแล่นไปยังจุดหมายปลายทางได้สำเร็จ แต่หากนายท้ายเรือไม่มีประสิทธิภาพ นาวาลำน้อยก็มีอันต้องจมหายไปในทะเลเป็นแน่

          ดังนั้น ผู้บริหารจึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลาเช่นกัน เพื่อนำพาองค์กรไป สู่ความสำเร็จ ได้รับการยกย่อง นับถือจากพนักงาน และคนในแวดวงธุรกิจ บางคนเป็นถึงผู้บริหาร ที่ทำงานไม่เป็น บริหารคนไม่ถูก ไม่รู้ว่าเขาทำกันอย่างไร วันนี้เรามีคำแนะนำสำหรับการเป็นผู้บริหารที่ดีมาเล่าสู่กันฟังค่ะ

  1. เป้าหมายคือความสำเร็จ ทำงานด้วยความทุ่มเท อุทิศตน เต็มที่กับงานทุกอย่าง และต้องมีการเตรียมพร้อมอยู่เสมอสำหรับทุกสถานการณ์ ที่สำคัญ คือมีวิสัยทัศน์มุ่งสู่ความสำเร็จขององค์กร ซึ่งจะเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับผู้ใต้ บังคับบัญชาได้ปฏิบัติตาม
  2. มีความกล้าหาญ กล้าที่จะยืนหยัด ยึดมั่นในสิ่งที่ถูกที่ควร กล้าที่จะพูด กล้า ที่จะทำ กล้าคิดในสิ่งใหม่ ๆ เพื่อพัฒนาองค์กรให้มีความก้าวหน้ายิ่ง ๆ ขึ้นไป นอกจากนี้ต้องกล้าที่จะปกป้องลูกน้อง เมื่อเห็นว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้อง ดีกว่า นิ่งเฉย ปล่อยให้ลูกน้องเผชิญชะตากรรมแต่เพียงลำพัง ซึ่งจะทำให้คุณเป็นผู้บริหาร ที่ลูกน้องต่างก็เคารพรักในตัวคุณ
  3. มีวิธีสื่อสารที่ดี นอกจากผู้นำจะต้องมองการณ์ไกล และมีความคิดใหม่ ๆ อยู่เสมอแล้ว การจะถ่ายทอดความคิดออกไปสู่การปฏิบัตินั้น จำเป็นต้อง อาศัยทักษะการสื่อสารที่ดี มีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดการปฏิบัติในทิศทาง เดียวกัน ป้องกันการทำงานซ้ำซ้อน ที่สร้างความสับสนให้กับทีมงาน ทำให้ การงานเป็นไปอย่างสะดวกราบรื่น และมุ่งสู่ความสำเร็จได้อย่างรวดเร็ว
  4. เชื่อมั่นในศักยภาพของพนักงาน เชื่อว่าพวกเขาสามารถเรียนรู้และพัฒนา ได้ ซึ่งจะทำให้พนักงานเกิดกำลังใจ มีแรงจูงใจในการทำงานให้ดีและสำเร็จ ด้วยตัวของพวกเขาเอง ส่วนผู้บริหารก็คอยแนะนำ ให้การสนับสนุนอยู่ห่าง ๆ
  5. ติดตามความสำเร็จ เมื่อมอบหมายงานให้แก่พนักงานแล้ว ผู้บริหารจะต้อง คอยตรวจตราความเคลื่อนไหว ผลการทำงานตามขั้นตอน ว่าสำเร็จเรียบร้อย ดีหรือไม่ หากเกิดปัญหาติดขัด ก็ต้องวิเคราะห์สถานการณ์ เพื่อหาหนทาง แก้ไขปัญหาต่อไป
  6. ตั้งคำถามเพื่อหาคำตอบ ผู้บริหารที่ดีต้องไม่ยอมจำนนต่อสิ่งต่าง ๆ ง่าย ๆ รวมทั้งไม่นิ่งนอนใจที่จะหาคำตอบให้กับสิ่งที่สงสัย ต้องเป็นคนช่างสังเกต ชอบตั้งคำถาม เพื่อหาคำตอบ เป็นการพัฒนาทางด้านความคิดอยู่เสมอ ซึ่ง เมื่อความคิดได้พัฒนาอยู่ตลอดเวลา ก็จะเกิดความคิดใหม่ ๆ ที่มีคุณค่าต่อ การพัฒนาองค์กรของคุณ
  7. วิสัยทัศน์ผู้บริหารระดับสูง
    ประเมินผลงานอย่างยุติธรรม 
    เมื่อพนักงานทำงานที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มที่ และมีผลงานที่ดี ก็สมควรได้รับรางวัลในความดีของเขา ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นเงินทอง ของขวัญ แต่อาจเป็นคำชื่นชม ยกย่อง ให้เกียรติเขา เพื่อเป็นกำลังใจให้เขารักษาความดีงามเอาไว้ต่อไป ในทางตรงกันข้ามพนักงานที่ไม่ตั้งใจทำงาน หรือสร้างปัญหาอยู่เสมอก็ควรได้รับการประเมินผลงานตามเนื้อผ้า แม้ว่าเขาอาจจะเป็นคนสนิทและใกล้ชิดกับคุณก็ตาม

          การเป็นผู้บริหารนั้นจะมีแต่เพียงอำนาจอย่างเดียวคงไม่ได้ จำเป็นต้องมีบารมีควบคู่กันไปด้วย เพื่อให้พนักงานเกิดความเคารพนับถือ และพร้อมที่จะทำงานหนัก เพื่อคุณและองค์กรของพวกเขา ซึ่งอยู่ที่การวางตัวของคุณนั่นเอง jobsDB.com ก็ขอเป็นกำลังใจให้กับผู้บริหารทุกคนในการพัฒนาตนเอง และพัฒนาองค์กรให้เจริญก้าวหน้าต่อไป

เนื้อหา

  • 1 1.1 หมวด 1 การนำองค์การ
  • 2 1.1 ข.การสื่อสารและผลการดำเนินการขององค์การ
    • 2.1 1.1 ข (1) การสื่อสารและผลการดำเนินการขององค์การ
    • 2.2 1.1 ข(2) การมุ่งเน้นการปฏิบัติ

1.1 หมวด 1 การนำองค์การ

1.1 การนำองค์การโดยผู้นำระดับสูง
ก. วิสัยทัศน์ ค่านิยม และพันธกิจ
(1) วิสัยทัศน์ และค่านิยม

        คณะผู้บริหารระดับสูงของคณะแพทยศาสตร์ ได้แก่ คณบดี รองคณบดี ผู้ช่วยคณบดี ประธานสาขาวิชาและหัวหน้าสำนักงานฯ กำหนดวิสัยทัศน์ ค่านิยม และพันธกิจของคณะฯ โดยคำนึงถึงความมีส่วนร่วมของนิสิต บุคลากร และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งการกำหนดวิสัยทัศน์ ค่านิยมและพันธกิจ ดำเนินการตามแนวทางการบริหารคณะแพทยศาสตร์ฯ ดังแผนภาพที่ 1.1-1ก.(1)
        คณบดีให้ความสำคัญกับการกำหนดวิสัยทัศน์ และค่านิยมของคณะฯ ใช้หลักการมีส่วนร่วม ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลสภาพแวดล้อมภายในและภายนอก(PETS Analysis) วิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาสและภาวะคุกคาม (SWOT Analysis) TOWS Matrix จัดโครงการสัมมนาคณะผู้บริหารเพื่อปรับปรุงแผนยุทธศาสตร์ทุกปี ได้เชิญตัวแทนนิสิต ศิษย์เก่า ผู้ใช้บัณฑิต ผู้รับบริการด้านสุขภาพและการบริการวิชาการ ตัวแทนของชุมชน เข้าร่วมสัมมนาและวิพากษ์ โดยในปีการศึกษา 2558 จัดในวันที่ 27 มกราคม พ.ศ 2557 ปีการศึกษา 2559 จัดในวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 และ วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 ปีการศึกษา 2560 จัดในวันที่ 29-31 สิงหาคม พ.ศ.2561 การทบทวนวิสัยทัศน์ ค่านิยมและพันธกิจ ตามขั้นตอนของระบบการนำองค์กรของคณะฯ (MedBUU Leadership System) ดัง แผนภาพที่ 1.1-1


วิสัยทัศน์ผู้บริหารระดับสูง

        โดยนำข้อมูล Input จากระบบการรับฟังเสียงของผู้เรียน ผู้รับบริการ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ผู้ส่งมอบ/คู่ความร่วมมือ ชุมชนและบุคลากร รวมทั้งวิเคราะห์ข้อมูลจากผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย/ชาติ และการเปลี่ยนแปลงสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อสถานการณ์การแข่งขัน เช่น นโยบายการขับเคลื่อนการปฏิรูประบบสุขภาพ นโยบายโครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก และการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของประชากรในพื้นที่ เป็นต้น เข้าสู่กระบวนการทบทวน ผลจากการทบทวนนำมาสร้างภาพอนาคต ความได้เปรียบในการแข่งขัน และความท้าทาย โอกาสของความเป็นไปได้ ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยน วิสัยทัศน์ พันธกิจ ดังนี้
        ค่านิยม ใช้ค่านิยมเดิม คือ:ACTIVE ซึ่งคณะฯได้จัดให้บุคลากรและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียร่วมกันแสดงความคิดเห็นผ่านกระบวนการประกวดค่านิยมขององค์กร ตั้งแต่ปี 2551 มีการระดมความคิดเห็นวิพากษ์ กำหนดกรอบนิยามพฤติกรรมที่พึงประสงค์และไม่พึงประสงค์ สื่อสารให้ทุกคนรับทราบถือปฏิบัติผ่านประกาศ ประชาสัมพันธ์ กำหนดให้นำค่านิยมไปบูรณาการกับโครงการ/กิจกรรม เช่น การจัดการความรู้ การประกวดเรื่องเล่าตามค่านิยม เป็นต้น และในปีการศึกษา 2560 ได้นำค่านิยมมาเชื่อมโยงเพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามแผนยุทธศาสตร์โดยกำหนดตัววัด เป้าหมาย สามารถวัดผลได้อย่างเป็นรูปธรรม ดังตาราง 1.1-2

วิสัยทัศน์ผู้บริหารระดับสูง

วิสัยทัศน์ผู้บริหารระดับสูง

        คณบดี ถ่ายทอดวิสัยทัศน์และค่านิยมผ่านกระบวนการนำองค์กร ตัวชี้วัดและเป้าหมายโดยมอบหมายผู้บริหารฝ่ายต่าง ๆ เป็นผู้รับผิดชอบและเสนอแนวทางที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์และค่านิยมของคณะฯ ส่งเสริม สนับสนุนและเปิดโอกาสให้ปรึกษา ช่วยแก้ปัญหาผ่านช่องทางที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ เช่น การประชุมคณะกรรมการบริหารคณะฯ เดือนละ 1 ครั้ง การประชุม KM ผู้บริหาร เดือนละ 1 ครั้ง รวมถึงการปรึกษาโดยตรง เช่น โทรศัพท์ กลุ่ม Line ต่าง ๆ (คณะกรรมการบริหารคณะฯ องค์กรแพทย์ คณะกรรมการบริหารโรงพยาบาล) เป็นต้น สื่อสารให้เกิดความทั่วถึงหลากหลายช่องทางในกลุ่มผู้เรียน ได้แก่ คู่มือนิสิต การปฐมนิเทศ วันพบผู้ปกครอง วันไหว้ครู ปัจฉิมนิเทศ และการสอดแทรกในเนื้อหารายวิชา เป็นต้น กลุ่มบุคลากรได้แก่ การปฐมนิเทศบุคลากรใหม่ การประชุมถ่ายทอดแผนงานและเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ของคณะฯ การประชุมคณะกรรมการต่าง ๆ ที่ประชุมคณบดีพบคณาจารย์ การตรวจเยี่ยมหน่วยงานของผู้บริหาร สื่อและเอกสารเผยแพร่ ประกาศ หนังสือเวียน Website สื่อ online facebook Line เป็นต้น กลุ่มผู้รับบริการทางการแพทย์และบริการวิชาการ ได้แก่ เอกสารประชาสัมพันธ์ การจัดการความสัมพันธ์เพื่อมุ่งเน้นความปลอดภัยและความเป็นเลิศ ผู้ส่งมอบและคู่ความร่วมมือ ได้แก่ เอกสารสัญญา ข้อตกลง โครงการความร่วมมือ และการจัดประชุมวิชาการเครือข่าย สามารถประเมินผลการรับรู้ของผู้เรียน ผู้รับบริการและบุคลากร จากแบบสอบถามเพื่อนำไปสู่การพัฒนาปรับปรุง ซึ่งพบว่า การเลือกใช้แบบสอบถามอย่างเดียวอาจไม่สะท้อนถึงความเข้าใจค่านิยมได้ นำไปสู่การพัฒนาวิธีการประเมิน ด้วยการจัดกิจกรรมประกวดเรื่องเล่าค่านิยม ACTIVE ขึ้น เพื่อให้บุคลากรและนิสิตได้ถ่ายทอดความรู้สึกและความเข้าใจค่านิยมได้มากขึ้นและได้กำหนดตัววัด เป้าหมายให้ผู้ปฏิบัติงานนำไปใช้เป็นข้อตกลงการปฏิบัติงานของตน เพื่อประเมินความดีความชอบและการให้รางวัล ปลูกฝังให้เกิดการประพฤติปฏิบัติจริงเป็นวัฒนธรรมองค์กรที่เข้มแข็งต่อไป ดังตารางที่ 1.1-2
        คณบดีแสดงความมุ่งมั่นต่อค่านิยม ACTIVE ด้วยการนำและทำเป็นตัวอย่างโดยได้รับรางวัลผู้บริหารหลายรางวัล เช่น รางวัลสิงห์ทอง ผู้บริหารและนักพัฒนาองค์กรดีเด่นแห่งปี (รางวัลธรรมาภิบาล) 2557 รางวัลคนดีของแผ่นดิน สาขานักบริหารและพัฒนาองค์กรดีเด่น 2558 และรางวัลผู้ประพฤติตนดีเด่นในเชิงคุณธรรมจริยธรรมประจำปีการศึกษา 2559 จากแพทยสภา เป็นต้น นอกจากนี้ยังได้ส่งเสริมสนับสนุนนิสิต บุคลากร และองค์กร ให้ได้รับการยกย่องเชิดชูและรับรางวัลต่าง ๆ มากมาย เช่น โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา ได้รับการรับรอง HA ตั้งแต่ พ.ศ. 2558-2561 และ Re-Accreditation ในปี 2561 คณะฯได้รับการรับรองหลักสูตร WFME ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559-2564 นิสิตแพทย์ได้รับรางวัลพระราชทานในระดับอุดมศึกษา ปีการศึกษา 2557 และ 2560 ผู้บริหารและบุคลากรได้รับรางวัลในระดับมหาวิทยาลัยและระดับชาติ อาทิ รางวัลรัตนบูรพา รางวัลบุคลากรสายสนับสนุนผู้มีผลงานดีเด่นปี 2557และปี 2560 ลูกจ้างผู้มีผลงานดีเด่น ปี 2559 เป็นต้น
        (2) การส่งเสริมให้เกิดพฤติกรรมที่ถูกกฎหมายและมีจริยธรรม
คณบดีบริหารงานโดยยึดหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ซึ่งทำให้ได้รับการคัดเลือกเป็นกรรมการอุทธรณ์ร้องทุกข์มหาวิทยาลัยบูรพา เป็นอนุกรรมการพิจารณาวินิจฉัยคำร้องขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นของคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุข จังหวัดชลบุรี คณบดีปฏิบัติตามกฏระเบียบ ข้อบังคับของมหาวิทยาลัย มีการกระจายอำนาจการตัดสินใจให้รองคณบดีเป็นลำดับชั้น ถ่ายทอดและมอบหมายงานที่เป็นธรรมผ่าน KPI รายบุคคล สร้างบรรยากาศการมีส่วนร่วม ทำงานเป็นทีมผ่านคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการต่าง ๆ กำกับติดตามและประเมินผลตามหลักธรรมาภิบาล กำหนดให้พฤติกรรมที่ถูกกฎหมายและมีจริยธรรม เป็นหลักสำคัญของค่านิยมองค์กร ACTIVE ด้าน Ethic มีตัวชี้วัดและแสดงผลลัพธ์ใน 7.4 ก.(4) สื่อสาร ถ่ายทอดกฎระเบียบหลักการแนวทางด้านจรรยาบรรณวิชาชีพ จรรยาบรรณคณาจารย์และนักวิจัย และผู้ปฏิบัติงานด้วยตนเองในการปฐมนิเทศนิสิตคณาจารย์ บุคลากรใหม่ทุกครั้ง และเป็นอาจารย์ผู้สอนนิสิตแพทย์ด้วยตนเองในรายวิชา พื้นฐานทางคลินิกและเวชจริยศาสตร์ ในหัวข้อ “คุณธรรม จริยธรรม สำหรับผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม”รวมทั้งสื่อสารผ่านช่องทางอื่น ๆ ที่หลากหลาย เช่น ประกาศ Website คู่มือการปฐมนิเทศ เอกสารเผยแพร่และสื่อสังคมออนไลน์ Facebook Line เป็นต้น
        คณบดียังเข้าร่วมกิจกรรมด้านสังคมอย่างสม่ำเสมอ ทั้งงานทำบุญ งานกฐิน งานผ้าป่า งานการกุศล งานเทศน์มหาชาติ งานประเพณีต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ได้กำหนดขั้นตอนการรับเรื่องร้องเรียน/ข้อเสนอแนะจริยธรรม เพื่อนำไปสู่การแก้ไข พัฒนา ปรับปรุง ให้เกิดพฤติกรรมที่ถูกกฎหมายและมีจริยธรรม และรายงานการแก้ไขปัญหาข้อร้องเรียนที่ได้รับ ในรายงาน ข้อ 7.4 ก.(4) และจัดให้มีการประเมินผลกระบวนการจากการวิเคราะห์จัดการความเสี่ยงและการรายงาน ทุก 6 เดือน เพื่อพัฒนาปรับปรุงกระบวนการ ในปีการศึกษา 2560 ได้ปรับปรุงขั้นตอนการเจรจาไกล่เกลี่ย โดยมอบหมายผู้บริหารในฝ่ายที่เกี่ยวข้องเป็นผู้รับผิดชอบหลักและพัฒนาสมรรถนะบุคลากรที่เกี่ยวข้อง คณบดียังได้ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างจนได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติต่อเนื่องหลายปี เช่น รางวัลโล่เกียรติคุณผู้ประพฤติตนดีเด่นในเชิงคุณธรรม จริยธรรม ปีการศึกษา 2559 จากแพทยสภา รางวัล ธรรมาภิบาล“สิงห์ทอง” ผู้บริหารและนักพัฒนาองค์กรดีเด่นแห่งปี ประจำปี พ.ศ 2557 เป็นต้น
        (3) การสร้างองค์กรที่ประสบความสำเร็จ
คณบดีสร้างสภาพแวดล้อมเพื่อให้บรรลุพันธกิจ ด้วยการระดมสมองปรับปรุงแผนยุทธศาสตร์ของคณะฯ เน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน พิจารณาทบทวนยุทธศาสตร์ ในกลุ่มผู้บริหาร รับฟังความคิดเห็นของคณาจารย์ องค์กรแพทย์ และนิสิต และการสัมมนายุทธศาสตร์คณะฯ ร่วมกับบุคลากรทุกระดับ ในวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ.2560 สร้างระบบติดตามตัวชี้วัดของแผนงาน/โครงการ ของแผนยุทธศาสตร์ และแผนปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ ในระบบการรายงานผลการปฏิบัติงานทุกระบบ เป็นรายเดือนผ่านที่ประชุมคณะกรรมการบริหารคณะฯ เพื่อติดตามแก้ไข ปัญหาเร่งด่วน ค้นหาโอกาสในการปรับปรุงแก้ไขสถานการณ์ได้อย่างทันท่วงที โดยมีปัจจัยสำคัญในการติดตามอย่างสม่ำเสมอ คือ รายงานข้อมูลทางการเงิน ความก้าวหน้าของแผนกลยุทธ์ ข้อมูลความเสี่ยงสำคัญและการรับข้อร้องเรียน/ข้อเสนอแนะของลูกค้า การเปลี่ยนแปลงกฎหมายข้อบังคับหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ที่จะส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการบริหารงาน ความก้าวหน้าของบุคลากร และการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่สำคัญ เป็นประธานคณะกรรมการ KM เพื่อขับเคลื่อนองค์กรสู่ความเป็นเลิศ เพื่อวางแผนสร้างองค์กรที่ประสบความสำเร็จร่วมกันระหว่างผู้บริหารกับบุคลากร และคู่ความร่วมมือ ส่งเสริมสนับสนุนบุคลากรให้ได้รับการพัฒนาอย่างเพียงพอและต่อเนื่อง มีเครื่องมืออุปกรณ์ที่พร้อมใช้ในการทำงาน เป็นผู้มอบรางวัลและเกียรติบัตรความสำเร็จต่าง ๆ แก่บุคลากรและหน่วยงานต่าง ๆ ด้วยตนเองในงานประกาศเกียรติคุณและงานประชุมวิชาการประจำปีของคณะฯ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของบุคลากร และจากการทำงานเป็นทีมได้ร่วมกันกำหนด Roadmap ดังภาพที่ 1.1-2 Roadmap ด้านการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ และการบริการทางการแพทย์ และการกำหนดแผนระยะสั้น และระยะยาว ดังตารางที่ 1.1-3

วิสัยทัศน์ผู้บริหารระดับสูง

วิสัยทัศน์ผู้บริหารระดับสูง

ภาพที่ 1.1-2 Roadmap ด้านการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการและการบริการทางการแพทย์
วิสัยทัศน์ผู้บริหารระดับสูง

วิสัยทัศน์ผู้บริหารระดับสูง

        รายการแผนและตัวชี้วัดนี้ได้ปรับปรุงให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์เป็นรายปี ที่จะกำหนดขึ้นก่อนเข้าสู่ปีงบประมาณใหม่ ซึ่งผู้บริหารยังสามารถปรับเปลี่ยน โดยพิจารณาจากลักษณะของปัญหา อุปสรรคเมื่อมีการรายงานผลการดำเนินงานที่ไม่เป็นไปตามเป้าหมายในแต่ละเดือน และแต่ละไตรมาส โดยการสอบถามและเปิดโอกาสให้ผู้บริหารในทีมรับทราบและแสดงความคิดเห็นร่วมกันแก้ปัญหาและให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เพื่อเป้าหมายมุ่งสู่ความสำเร็จขององค์กร

1.1 ข.การสื่อสารและผลการดำเนินการขององค์การ

1.1 ข (1) การสื่อสารและผลการดำเนินการขององค์การ

        (1) การสื่อสาร คณบดีสื่อสารแบบตรงไปตรงมา ใช้ช่องทางที่หลากหลายแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ในลักษณะทิศทางเดียวและสองทิศทาง รวมทั้งใช้สื่อสังคมออนไลน์ ในกลุ่มของคณะกรรมการประจำคณะฯ คณะกรรมการบริหารคณะฯ องค์กรแพทย์ คณะกรรมการบริหารกิจการนิสิต คณะกรรมการระหว่างศูนย์แพทยศาสตรศึกษาและกลุ่มคณะทำงานอื่น ๆ เพื่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการบริหารและการปฏิบัติงาน รวมถึงใช้เพื่อการสื่อสารเพื่อให้ทราบผลการตัดสินใจต่าง ๆ ที่สำคัญ และความเปลี่ยนแปลงที่ต้องการให้เกิดความรวดเร็วในการสื่อสาร ดังตารางที่ 1.1-4 การสื่อสารของผู้นำระดับสูงกับนิสิต ผู้รับบริการ คณาจารย์ บุคลากร ลูกค้ากลุ่มอื่น คู่ความร่วมมือ และผู้ส่งมอบ

        นอกจากนั้นยังดำเนินการสื่อสารในบทบาทที่มุ่งเน้นการสร้างความผูกพัน สร้างการจูงใจกับบุคลากรทั่วทั้งคณะฯ กับผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่น เช่น การมอบใบประกาศเกียรติคุณ โล่รางวัล การจัดเวทียกย่องเชิดชูเกียรติ แก่นิสิต คณาจารย์ และบุคลากรที่มีผลงานดีเด่น การติดป้ายประกาศเกียรติคุณทั้งภายในและภายนอกคณะฯ Website การโพสต์ในสื่อสังคมออนไลน์ Facebook Line รวมถึงการสื่อสารนโยบาย แนวทางและหลักเกณฑ์ในการให้รางวัล และสิทธิประโยชน์แก่ผู้บริจาคหรือทำคุณประโยชน์ให้แก่คณะฯ เพื่อสร้างการเรียนรู้จากต้นแบบ และสร้างความผูกพันกับนิสิต ผู้รับบริการ คณาจารย์ บุคลากรและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น ๆ ดัง ตารางที่ 1.1-5 และตรวจสอบประสิทธิผลของวิธีการสื่อสารเหล่านี้ จากความสำเร็จในการดูแลผู้เรียน ผู้รับบริการ และลูกค้ากลุ่มอื่น ใน 7.4 ก.(1) เพื่อนำผลของการสื่อสารไปใช้ในการปรับปรุงวิธีการสื่อสารในรอบปีถัดไป
ตารางที่ 1.1-4 ช่องทางและวิธีการสื่อสารของผู้บริหารระดับสูงกับนิสิต ผู้รับบริการ คณาจารย์ บุคลากร และลูกค้ากลุ่มอื่น

ช่องทาง/วิธีการสื่อสาร วัตถุประสงค์ กลุ่มเป้าหมาย ความถี่ ลักษณะการสื่อสาร
ป้ายประกาศ แจ้งข่าวสารทั่วไป นิสิต ผู้รับบริการและบุคลากร ตลอดเวลา ทางเดียว
หนังสือเวียน ประสานงาน/แจ้งข่าวสารทั่วไป นิสิต ผู้รับบริการและบุคลากร ทุกวันทำการ ทางเดียว
เสียงตามสาย แจ้งข่าวสารเร่งด่วนและสำคัญ/แจ้งข่าวสารทั่วไป นิสิต ผู้รับบริการและบุคลากร เวลาทำการ ทางเดียว
สายตรงคณบดี รับข้อเสนอแนะ/ปัญหา/ข้อร้องเรียน นิสิต ผู้รับบริการและบุคลากร ตลอดเวลา สองทาง
โทรศัพท์มือถือ/E-mail ประสานงาน นิสิต ผู้รับบริการและบุคลากร ตลอดเวลา สองทาง
กลุ่ม Line รับทราบปัญหาแก้ไขปัญหาที่สำคัญกรณีเร่งด่วน ผู้บริหาร บุคลากร นิสิต คณะกรรมการต่าง ๆ ตลอดเวลา สองทาง
Facebook page แจ้งข่าวสาร ข้อมูลต่าง ๆ รับทราบปัญหา/ข้อเสนอแนะ/ข้อร้องเรียน นิสิต ผู้รับบริการและบุคลากร ตลอดเวลา สองทาง
Website แจ้งข่าวสาร ข้อมูลต่าง ๆ รับทราบปัญหา/ข้อเสนอแนะ/ข้อร้องเรียน นิสิต ผู้รับบริการและบุคลากร ตลอดเวลา สองทาง
กล่องรับความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ/ข้อร้องเรียน Welcome your idea รับทราบปัญหา/ข้อเสนอแนะ/ ข้อร้องเรียน นิสิต ผู้รับบริการและบุคลากร อ่านทุกวันพุธ สองทาง(ตามขั้นตอนรับเรื่องร้องเรียน)
วันพบผู้ปกครอง แจ้งข่าวสาร/รับข้อเสนอแนะ ผู้ปกครอง นิสิต คณาจารย์ และบุคลากร ปีการศึกษาละ 1 ครั้ง สองทาง
ประชุมคณะกรรมการบริหาร/คณะกรรมการประจำคณะฯ กำกับ ติดตามรายงานผลการดำเนินงาน และเสนอแนวทางการพัฒนาปรับปรุง ผู้บริหารระดับสูงคณะกรรมการประจำ เดือนละ 1 ครั้ง 2 เดือน/ครั้ง สองทาง
ประชุมคณะกรรมการกิจการนิสิต แจ้งข่าวสาร/ประสานงาน รับทราบปัญหา/ข้อเสนอแนะ นิสิต คณาจารย์ และบุคลากร เดือนละ 1 ครั้ง สองทาง
ประชุมคณะกรรมการร่วมผลิต แจ้งข่าวสาร ประสานงาน ปรึกษาหารือ แนวทางดำเนินงาน ผู้บริหารคณะฯ ผู้บริหารโรงพยาบาลร่วมผลิต และบุคลากร ภาคการศึกษาละ 1 ครั้ง สองทาง
ประชุมคณบดีพบคณาจารย์ แจ้งข่าวสาร/ประสานงาน รับทราบปัญหา/ข้อเสนอแนะ คณาจารย์และบุคลากร ภาคการศึกษาละ 1 ครั้ง สองทาง
ประชุมองค์กรแพทย์ แจ้งข่าวสาร/ประสานงาน รับทราบปัญหา/ข้อเสนอแนะ คณาจารย์ แพทย์ ทันตแพทย์ เดือนละ 1 ครั้ง สองทาง
ประชุมคณะกรรมการการศึกษา แจ้งข่าวสาร ประสานงาน ปรึกษาหารือ แนวทางดำเนินงาน รับทราบปัญหา/ข้อเสนอแนะ คณาจารย์คณะแพทย์และคณะอื่น ๆ ที่ร่วมผลิตแพทย์ ภาคการศึกษา ละ 1 ครั้ง สองทาง
ประชุมคณะกรรมการวิชาการและวิจัย แจ้งข่าวสาร ประสานงาน ปรึกษาหารือ แนวทางดำเนินงานรับทราบปัญหา/ข้อเสนอแนะ คณาจารย์และบุคลากร เดือนละ 1 ครั้ง สองทาง


วิสัยทัศน์ผู้บริหารระดับสูง

วิสัยทัศน์ผู้บริหารระดับสูง

วิสัยทัศน์ผู้บริหารระดับสูง

1.1 ข(2) การมุ่งเน้นการปฏิบัติ

        (2) การมุ่งเน้นการปฏิบัติ
คณบดีและผู้บริหารคณะฯมุ่งเน้นการปฏิบัติงาน โดยกำหนดให้มีการติดตามความก้าวหน้า ผลการดำเนินงาน ปัญหาและอุปสรรคด้านต่าง ๆ เป็นรายเดือน โดยในรอบเดือน ก่อนประชุมคณะกรรมการบริหารคณะฯ ได้จัดให้มีรอบการประชุมของแต่ละฝ่ายที่ได้รับมอบหมายตามยุทธศาสตร์ ติดตามตรวจสอบผลก่อนเข้าที่ประชุม ได้แก่ การประชุมคณะกรรมการฝ่ายวิชาการและวิจัย คณะกรรมการบริหารโรงพยาบาล คณะกรรมการสำนักงานคณบดี คณะกรรมการกิจการนิสิต ซึ่งทีมผู้บริหารระดับสูงยังมีการจัดประชุม KM ผู้บริหารเพื่อขับเคลื่อนองค์กรสู่ความเป็นเลิศอีกด้วย เพื่อปรึกษาหารือ และแลกเปลี่ยนข้อมูลเชิงการบริหารให้มีความสะดวกรวดเร็วในการประสานงาน มีการตั้งกลุ่ม Line คณะกรรมการต่าง ๆ เพื่อสื่อสาร ประสานงาน ติดตามความก้าวหน้า ปัญหา อุปสรรคและช่วยเหลือให้คำปรึกษา ให้สามารถบรรลุเป้าหมายตามที่ร่วมกันกำหนดไว้ นอกจากนี้ยังมี กิจกรรม Walk Through Survey ของผู้บริหารไปยังฝ่าย/แผนกต่าง ๆ ที่หน้างานเพื่อสังเกตการณ์และสอบถามความต้องการ และรับฟังข้อเสนอแนะของบุคลากร
        คณบดีและผู้บริหารดำเนินการเพื่อให้เกิดนวัตกรรมด้วยการบรรจุไว้ในแผนยุทธศาสตร์ด้านการจัดการวิจัยและนวัตกรรมโดยมอบหมายให้คณะกรรมการวิชาการและวิจัย เป็นทีมวางแผนและพัฒนาระบบการจัดการงานวิจัยและนวัตกรรมของคณะฯตามแผนยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดและเป้าหมายตามตารางที่ 1.1-3 ส่วนการวิเคราะห์ความเสี่ยง และการกำหนดประเด็นสำคัญเชิงยุทธศาสตร์ จะมีการกำกับติดตามและรายงานผ่านฐานข้อมูลระบบการรายงานผลการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ ที่ฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์ได้พัฒนาขึ้น เพื่อการบริหารและการตัดสินใจ แก้ปัญหาตามลักษณะของปัญหา อุปสรรค ปรับแนวทางการดำเนินงาน หากมีแนวโน้มว่าจะไม่เป็นไปตามเป้าหมายในแต่ละไตรมาส