ใช้สิทธิบัตรทอง คลอดบุตร เสียเงินไหม

รวมสิทธิ์ฟรี! จากบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่แม่ท้องใช้ได้โดยไม่ต้องจ่ายสักบาท

ใช้สิทธิบัตรทอง คลอดบุตร เสียเงินไหม

บัตรทองหรือบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า (30 บาทรักษาทุกโรค) แม่ท้องสามารถนำไปใช้สิทธิ์รักษาพยาบาลได้หลายสิทธิ์เลยค่ะ สิทธิ์บัตรทองสำหรับคนท้องทำอะไรได้บ้าง เรารวมมาให้แล้วค่ะ

รวมสิทธิ์ฟรี! จากบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่แม่ท้องใช้ได้โดยไม่ต้องจ่ายสักบาท

 แม่ท้องได้ใช้สิทธิ์รักษาพยาบาลฟรีด้วยบัตรทอง! โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

  1. การฝากครรภ์ ไม่จำกัดจำนวนครั้งขึ้นอยู่กับแพทย์ที่ฝากครรภ์พิจารณา 
  2. ตรวจช่องปากและฟัน
  3. ตรวจยืนยัน “โลหิตจางธาลัสซีเมีย” ในหญิงตั้งครรภ์และสามี
  4. ตรวจซิฟิลิส HIV ไวรัสตับอักเสบบี
  5. ตรวจคัดกรอง “ดาวน์ซินโดรม” ในหญิงตั้งครรภ์ อายุ 35 ปีขึ้นไป
  6. ตรวจคัดกรอง “ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์” ในเด็กแรกเกิด
  7. การป้องกัน “การยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่ปลอดภัย”
  8. ได้รับยาต้าน HIV (กรณีแม่ท้องติดเชื้อ HIV)
  9. คลอดฟรี ทั้งธรรมชาติและผ่าคลอด ในโรงพยาบาลของรัฐ (สิทธิ์คลอดฟรีนี้สำหรับคุณแม่ที่ไม่ได้ทำประกันสังคมหรือเป็นข้าราชการ หรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ)
  10. การคุมกำเนิดกึ่งถาวร การใส่ห่วงอนามัย หรือฝังยาคุมกำเนิด ในหญิงอายุต่ำกว่า 20 ปี
  11. บริการคุมกำเนิดกึ่งถาวร การใส่ห่วงอนามัย หรือฝังยาคุมกำเนิด ในหญิงอายุ 20 ปีขึ้นไป กรณีหลังยุติการตั้งครรภ์
  12. การตรวจคัดกรอง “มะเร็งปากมดลูก”
  13. แม่ท้องที่อายุครรภ์มากกว่า 4 เดือนขึ้นไป และเด็กอายุ 6 เดือน ถึง 2 ปี ยังมีสิทธิ์ได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลด้วยค่ะ
  14. สามีของแม่ท้องได้สิทธิตรวจคัดกรองธาลัสซีเมียและซิฟิลิส
  15. ได้รับการตรวจหลังคลอด

วิธีการสมัครบัตรทองสำหรับแม่ตั้งครรภ์

  1. มีสัญชาติไทย
  2. มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก
  3. ไม่มีสิทธิ์ประกันสุขภาพจากหน่วยงานรัฐ ได้แก่ สิทธิ์ตามกฎหมายประกันสังคม สิทธิ์สวัสดิการรักษาพยาบาลของข้าราชการ / พนักงานส่วนท้องถิ่น หรือ สิทธิ์สวัสดิการรักษาพยาบาลของหน่วยงานรัฐอื่นๆ เช่น รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน ข้าราชการการเมือง

วิธีสมัครบัตรทอง บัตรประกันสุขภาพ

  1. ลงทะเบียนด้วยตนเอง
    1. กรณีต่างจังหวัด ติดต่อได้ที่สถานีอนามัย ศูนย์บริการสาธารณสุข คลินิกชุมชน ศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง โรงพยาบาลของรัฐ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 1 – 12
    2. กรณีในกรุงเทพมหานคร ติดต่อได้ที่ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 13 กทม. จุดรับลงทะเบียนสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่สำนักงานเขต 19 เขตของกรุงเทพมหานคร สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง)
  2. ลงทะเบียนทางโทรศัพท์ ตรวจสอบสิทธิอัตโนมัติ โทร.1330 กด 2 ตามด้วยเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก กด # กดโทรออก
  3. ลงทะเบียนผ่านระบบอินเทอร์เน็ต เว็บไซต์ สปปช. www.nhso.go.th หรือ app สปสช. (หากลูกอายุไม่เกิน 5 ปี พ่อแม่สามารถลงทะเบียนแทนได้)

เอกสารที่ใช้ในการลงทะเบียนบัตรทอง

  1. บัตรประจำตัวประชาชน ในกรณีที่ลูกอายุต่ำกว่า 15 ปี ถ้าให้ใช้ใบสูติบัตร หรือใบเกิดแทน
  2. หนังสือรับรองการพักอาศัย (กรณีที่อยู่ไม่ตรงตามบัตรประจำตัวประชาชน) พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน หรือหลักฐานอื่นที่แสดงว่าตนเองนั้นอาศัยอยู่จริง เช่น ใบเสร็จค่าน้ำ ค่าไฟ สัญญาเช่าที่พัก ฯลฯ
  3. แบบคำร้องขอลงทะเบียน (ขอได้ ณ จุดรับลงทะเบียน)

อยากย้ายสิทธิบัตรทองทำได้ไหม

สามารถทำได้โดยการการขอเปลี่ยนหน่วยบริการประจำ หรือ การย้ายสิทธิ์การรักษา สามารถทำได้ 4 ครั้งต่อปีงบประมาณ วิธีการคือต้องเตรียมหลักฐานเหมือนกับ เอกสารที่ใช้ในการลงทะเบียนบัตรทองค่ะ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)

************************************************

เช็กทุกสิทธิ์ประกันสังคมสำหรับแม่ตั้งครรภ์ แม่ที่มีลูกเล็ก เงินสงเคราะห์บุตร ได้ที่นี่
  1. ประกันสังคมสำหรับแม่ท้อง รับค่าตรวจและฝากครรภ์ 1,000 บาท 
  2. คลอดลูกเบิกประกันสังคมได้ 13,000 บาท คุณแม่รู้และเคลมสิทธิ์นี้กันแล้วหรือยัง 
  3. มีค่าผ้าอ้อมมาบอก! ลาคลอด 3 เดือน แม่รับเงินประกันสังคม 50% ของเงินเดือน 
  4. รู้ให้ครบจบทีเดียว ทำยังไงถึงจะได้เงินสงเคราะห์บุตร 600 บาท 
  5. พ่อแม่ไม่จดทะเบียนสมรส ยังได้ค่าคลอด เงินชดเชยหยุดงาน และเงินสงเคราะห์บุตรไหม 
  6. แม่ฟรีแลนซ์สมัครใจจ่ายประกันสังคม คลอดลูกก็ได้ค่าคลอดและเงินชดเชยหยุดงาน 
  7. คลอดลูกคนละร.พ.กับประกันสังคม ยังเบิกค่าคลอดจากประกันสังคมได้ไหม 
  8. ท้องแล้วแท้ง มีสิทธิ์เบิกเงินชดเชยจากประกันสังคมได้นะ 

ปัจจุบันการดูแลลูกน้อยตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ไปจนถึงการทำคลอดมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงซึ่งอาจเป็นปัญหาขึ้นกับคุณแม่บ้างท่านในเรื่องค่าใช้จ่าย แต่หากมี บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือบัตรทอง สิ่งที่กล่าวมาข้างต้นก็ไม่ใช่ปัญหาอีกต่อไป วันนี้ trueID news จะพาคุณแม่ทุกท่านไปรู้จักสิทธิของบัตรดังกล่าวที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์

บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค (P&P) เป็นสิทธิประโยชน์เดียวในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่จัดให้กับประชาชนไทยทุกสิทธิ เป็นบริการสาธารณสุขที่ให้โดยตรงแก่บุคคลครอบครัวหรือกลุ่มบุคคล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ อัตราป่วย/อัตราตายที่เป็นภาระโรคของประเทศและส่งเสริมสุขภาพแม่และเด็ก บรรลุเป้าประสงค์ที่ต้องการให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีและลดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของครัวเรือน

กิจกรรมบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค (สิทธิประโยชน์) ที่ประชาชนทุกสิทธิจะได้รับ กรณีตั้งครรภ์มีดังนี้

1.บริการฝากครรภ์คุณภาพ

- บริการฝากครรภ์คุณภาพ ตามแนวทางการดูแลหญิงตั้งครรภ์แนวใหม่ ขององค์การอนามัยโลกหรือตามที่ กรมอนามัยแนะนำ หญิงตั้งครรภ์และสามี (กรณีสามีเฉพาะการ คัดกรองและตรวจ ยืนยันโรคโลหิต จางธาลัสซีเมียและการ มีส่วนร่วมในการดูแล ครรภ์) อย่างน้อย 5 ครั้ง 1) ครั้งที่ 1 อายุครรภ์ ก่อน 12 สัปดาห์ 2) ครั้งที่ 2 อายุ ครรภ์ 13 -< 20 สัปดาห์ 3) ครั้งที่ 3 อายุ ครรภ์ 20 -< 26 สัปดาห์ 4) ครั้งที่ 4 อายุ ครรภ์ 26 -< 32 สัปดาห์ 5) ครั้งที่ 5 อายุ ครรภ์ 32 - 40 สัปดาห์

- การฝากครรภ์แต่ละครั้งจะได้รับบริการดังนี้
1. การทดสอบการตั้งครรภ์
2. การสอบถามข้อมูล
3. การตรวจร่างกาย
4. การประเมินสุขภาพจิต
5. การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
6. การประเมินเพื่อการส่งต่อ
7. การให้การดูแลรักษา
8. การให้คำแนะนำ ตอบคำถามและการนัดครั้งต่อไป
9. การบันทึกข้อมูล


1.1 การทดสอบการตั้งครรภ์


- ตรวจปัสสาวะทดสอบการตั้งครรภ์


1.2 การสอบถามข้อมูล


- สอบถามข้อมูลเกี่ยวกับประวัติส่วนตัว การเจ็บป่วย ประวัติทางสูติกรรม การตั้งครรภ์ปัจจุบัน


1.3 การตรวจร่างกาย และตรวจครรภ์


- ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดความดันโลหิต

- ตรวจร่างกายทั่วไป ดูภาวะซีด อาการ บวมและอาการเตือนของโรคอื่นๆ

- ตรวจครรภ์ วัดความสูงยอดมดลูก ประเมินอายุครรภ์

- ตรวจสุขภาพช่องปาก ช่วงฝากครรภ์ครั้งที่ 1

- พบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายทั่วไป และตรวจฟังเสียงการหายใจ และเสียงหัวใจโดยแพทย์ ช่วงฝากครรภ์ครั้งที่ 1

- ตรวจภายในเพื่อตรวจหาความผิดปกติ และการติดเชื้อในช่องคลอด เมื่อมีข้อบ่งชี้ ช่วงฝากครรภ์ครั้งที่ 1 หรือ 2

- ตรวจอัลตราซาวด์ (ถ้ามี) เพื่อยืนยันอายุครรภ์ จำนวนทารก สัญญาณชีพ ช่วงฝากครรภ์ครั้งที่ 1 หรือ 2


1.4 การประเมินสุขภาพจิต


- ประเมินความเครียด คัดกรองโรคซึมเศร้า และปัญหาการดื่มสุรา


1.5 การตรวจทางห้อง ปฏิบัติการที่จำเป็น


- การตรวจปัสสาวะด้วยแถบตรวจ (multiple urine dipstick) เพื่อตรวจหาการติดเชื้อแบคทีเรีย ในทางเดินปัสสาวะ ที่ไม่มีอาการไข่ขาว (โปรตีน) และน้ำตาล

- ตรวจคัดกรองโรคซิฟิลิส (VDRL) ช่วงฝากครรภ์ครั้งที่ 1 และ 4 (อายุครรภ์ 28-32 สัปดาห์)

- ตรวจการติดเชื้อเอชไอวี (Anti - HIV) ช่วงฝากครรภ์ครั้งที่ 1 และ 4

- ตรวจคัดกรองพาหะไวรัสตับอักเสบบี ช่วงฝากครรภ์ครั้งที่ 1

- ตรวจนับเม็ดเลือดอย่างสมบูรณ์ (CBC) หรือวัดระดับความเข้มข้นของเม็ดเลือด (HB) หรือปริมาตรเม็ดเลือดแดงอัดแน่น (HCT) ช่วงฝากครรภ์ครั้งที่ 1 และ 4

- ตรวจคัดกรองโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย (MCV/OF+DCIP) ถ้าผลคัดกรองเป็นบวก ให้ตรวจคัดกรองสามีต่อ ถ้าผลเป็นบวกทั้งคู่ให้ส่งเลือดตรวจยืนยัน Hb typing/PCR เพื่อกำหนดคู่เสี่ยง การตรวจวินิจฉัยทารกในครรภ์ และยุติการตั้งครรภ์ ช่วงฝากครรภ์ครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 อย่างช้าอายุครรภ์ไม่เกิน 24 สัปดาห์ ทั้งนี้ตามแนวทางหรือเวชปฏิบัติที่กำหนด

- ตรวจคัดกรองภาวะดาวน์ รายที่ผลเป็นบวกให้ตรวจวินิจฉัยทารกในครรภ์ และยุติการตั้งครรภ์ตามแนวทาง เวชปฏิบัติ ช่วงฝากครรภ์ครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 อย่างช้าอายุครรภ์ไม่เกิน 24 สัปดาห์ ทั้งนี้ตามแนวทางหรือแนวทางเวชปฏิบัติที่กำหนด(หญิงตั้งครรภ์ อายุ 35 ปีขึ้นไป)

- ตรวจหมู่เลือด (ABO และ Rh)


1.6 การให้การดูแลรักษา


- ฉีดวัคซีนป้องกันโรคบาดทะยัก (dT) ในรายที่ไม่เคยได้รับวัคซีนนี้มาก่อน ฉีดทันทีที่ฝากครรภ์ครั้งแรก โดยฉีดที่ 0, 1 และ 6 เดือนตามลำดับ

- ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล ช่วงอายุครรภ์มากกว่า 4 เดือนขึ้นไป

- รับยาเสริมธาตุเหล็ก กรดโฟลิก ไอโอดีน กินทุกวันตลอดอายุการตั้งครรภ์

- ขัดและทำความสะอาดฟัน ช่วงฝากครรภ์ครั้งที่ 1 หรือ 2 (อายุครรภ์ไม่เกิน 6 เดือน)

- การดูแลรักษาหากตรวจพบความผิดปกติ รวมถึงการแก้ไขภาวะทุพ โภชนาการ


1.7 การประเมินเพื่อ การส่งต่อ


- ประเมินความเสี่ยงตามเกณฑ์ประเมิน ความเสี่ยงของหญิงตั้งครรภ์ทุกครั้ง โดยพิจารณาร่วมกับหลักฐานที่พบ จากการฝากครรภ์แต่ละครั้ง หากมีความเสี่ยง หรือมีอาการผิดปกติที่เกินขีด ความสามารถของหน่วยบริการจะได้รับ การส่งต่อไปยังหน่วยบริการที่มีขีด ความสามารถสูงกว่า


1.8 การให้คำแนะนำ ตอบคำถามและการนัด ครั้งต่อไป


- คำแนะนำที่จำเป็นสำหรับการดูแลครรภ์ และการคลอดการเลี้ยงลูก การวางแผนครอบครัว (เข้าโรงเรียนพ่อแม่)

- ให้คำแนะนำสำหรับการติดต่อ กรณีมีเลืออก ปวดท้อง หรือ ภาวะฉุกเฉิน หรือต้องการคำแนะนำ

- ซักถามและตอบคภพาม นัดตรวจครั้งต่อไป

- ให้คำปรึกษาก่อน/หลังการตรวจเลือด HIV (ตามความสมัครใจ) โรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย ดาวน์ซินโดรม

- ให้คำแนะนำสำหรับการติดต่อกรณี มีเลือดออกปวดท้องหรือภาวะฉุกเฉิน


1.9 การบันทึกข้อมูล


- รับสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก 1 เล่ม และนำสมุดบันทึกมาทุกครั้ง

- ผู้ให้บริการบันทึกข้อมูลในสมุดบันทึกสุขภาพ และเวชระเบียนให้ครบ

2. บริการตรวจหลังคลอด


- บริการตรวจหลังคลอด ตามแนวทางที่กรมอนามัยกำหนด อย่างน้อย 3 ครั้ง

- ครั้งที่ 1 ภายหลังคลอดไม่เกิน 7 วัน

- ครั้งที่ 2 หลังคลอด 8-15 วัน

- ครั้งที่ 3 หลังคลอด 16-42

- การสอบถาม ชั่งน้ำหนัก วัดความดันโลหิต ตรวจร่างกายทั่วไปและตรวจ ภายในเฉพาะที่มีข้อบ่งชี้ทางคลินิก

- ตรวจคัดกรองโรคซึมเศร้าหลังคลอด

- คำแนะนำและบริการวางแผน ครอบครัวตามความสมัครใจ (ยากิน/ ยาฉีดคุมกำเนิด ห่วงอนามัย ยาฝัง คุมกำเนิด การทำหมัน)

- คำแนะนำการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และการเลี้ยงลูก

- ยาเสริมธาตุเหล็ก กรดโฟลิก ไอโอดีน กินทุกวันหลังคลอดเป็นเวลา 6 เดือน

3. บริการเยี่ยมบ้าน


- บริการเยี่ยมบ้านหญิงตั้งครรภ์และ หญิงหลังคลอด ตามแนวทางที่กรมอนามัยหรือ ที่เกี่ยวข้องกำหนด

4. บริการส่งเสริมการให้ นมแม่ในสถานที่ทำงาน


- บริการส่งเสริมการให้นมแม่ของหญิงหลังคลอด บุตรเมื่อต้องกลับไปทำงานเป็นเวลาอย่างน้อย 6 เดือน โดยประสานกับสถานที่ประกอบการหรือ สถานที่ทำงานจัดให้มีช่วงเวลาพักระหว่างงาน สำหรับการให้นมหรือปั๊มเก็บน้ำนม รวมถึงการอำนวยความสะดวกด้าน สถานที่และอุปกรณ์

ตรวจสอบสิทธิได้ที่  http://eservices.nhso.go.th/eServices/mobile/login.xhtml

ภาพโดย lisa runnels จาก Pixabay 

++++++++++++++++++++

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

>>>ผู้มีสิทธิบัตรทอง กับ วิธีเปลี่ยนสถานพยาบาลแบบง่ายๆด้วยตนเอง

>>>วิธีทำบัตรทอง และตรวจสอบสิทธิ์บัตรทอง 5 ช่องทาง ด้วยตนเองง่ายๆ

>>> สิทธิประกันสังคมกรณี ลาออก เลิกจ้าง ว่างงาน และเหตุโควิด-19 อย่าลืมขอเงินทดแทน

>>>สิทธิประโยชน์ของผู้ถือบัตรทอง ทำอย่างไร?จึงจะมีสิทธิบัตรทอง