บ้านสร้างไม่เสร็จ ขอเลขที่บ้าน

  “ บ้าน คือโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างสำหรับใช้เป็นที่อยู่อาศัย ซึ่งมีเจ้าบ้านครอบครอง และให้หมายความรวมถึงแพ หรือเรือซึ่งจอดเป็นประจำและใช้เป็นที่อยู่ประจำ หรือสถานที่ หรือยานพาหนะ ซึ่งใช้เป็นที่อยู่อาศัยประจำได้ด้วย"  พรบ.การทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534

เมื่อบ้านสร้างเสร็จแล้ว จำเป็นต้องมีการขอสาธารณูปโภค ขอน้ำประปา ขอไฟฟ้า ขอโทรศัพท์ เพื่อใช้ในการดำรงชีวิต การขอใช้บริการต่าง ๆ เหล่านี้ ก็ต้องใช้หลักฐานของความเป็นบ้านตามกฎหมายยื่นไปด้วย แล้วหลักฐานดังกล่าวนั้นก็คือ เลขที่บ้านที่จะมาพร้อมกับทะเบียนบ้านนั่นเอง

การขอเลขที่บ้าน
เมื่อสร้างบ้านแล้วเสร็จ เจ้าบ้าน หรือผู้รับมอบอำนาจจะต้องแจ้งต่อหน่วยงานท้องที่ เพื่อขอเลขที่บ้านภายใน 15 วัน นับแต่วันที่สร้างเสร็จ เมื่อนายทะเบียนรับคำร้องพร้อมหลักฐานประกอบของผู้แจ้งครบถ้วนแล้ว จะต้องตรวจสอบว่าบ้านที่ขอเลขที่นั้น มีลักษณะถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ หน่วยงานท้องที่จะกำหนดเลขที่บ้านให้แก่ผู้แจ้งภายใน 7 วัน(กรณีบ้านปลูกอยู่ในเขตเทศบาล) หรือภายใน 30 วัน(กรณีบ้านปลูกอยู่นอกเขตเทศบาล) ซึ่งจะได้รับเลขที่บ้านมาในรูปแบบเล่มทะเบียนบ้าน

ทะเบียนบ้าน คือ ทะเบียนบ้านที่หน่วยงานท้องที่ออกให้บ้านแต่ละหลัง กำหนดให้มีเลขประจำบ้าน(เลขที่บ้าน) ซึ่งปลูกสร้างโดยได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร หรือมีเอกสารสิทธิ์ในที่ดินที่ปลูกสร้างอาคาร

เอกสารที่ต้องใช้ในการขอเลขที่บ้าน
1. ใบรับแจ้งเกี่ยวกับบ้าน (ท.ร.9) ออกโดยหน่วยงานท้องที่
2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ยื่นคำร้อง จำนวน 1 ชุด
3. โฉนดที่ดิน ***กรณีบ้านหรืออาคารที่สร้างตั้งอยู่บนที่ดินของผู้อื่น ต้องมีหนังสือยินยอมให้ปลูกสร้างบ้านบนที่ดินนั้นของเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินนั้นด้วย โดยใช้เอกสารเพิ่มเติม คือ หนังสือยินยอมให้ปลูกสร้างบ้าน (กรณีสิ่งปลูกสร้างตั้งอยู่บนที่ดินของผู้อื่น) โดยแนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าของที่ดิน/ผู้ที่มีชื่อร่วมกันในกรรมสิทธิ์ที่ดินนั้นๆ ทุกๆ คน จำนวน 1 ชุด
4. ใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร ที่ไม่หมดอายุ
5. หนังสือมอบอำนาจจากเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน กรณีไม่สามารถมาติดต่อขอเลขที่บ้านได้ด้วยตนเอง พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้มอบอำนาจ และผู้รับมอบอำนาจ รวมทั้งพยานบุคคล จำนวน 2 คน จำนวน 1 ชุด
6. รูปถ่ายบ้านที่สร้างเสร็จทั้ง 4 ด้าน (ซ้าย,ขวา,หน้า และหลัง)

         การขอเลขที่บ้าน ก็ถือว่าเป็นขั้นตอนท้ายๆ ของการปลูกสร้างบ้านแล้วนะครับ อีกนีดเดียวก็จะมีบ้านเป็นของตนเองอย่างภาคภูมิ และถูกต้องตามข้อกำหนดกฎหมายแล้ว จะเห็นว่าการเตรียมการไม่มีอะไรยุ่งยากเลย อย่างไรก็อย่าลืมศึกษาและปฏิบัติตามกันให้ถูกต้องด้วยนะครับ จะได้ไม่มีปัญหาให้ตกม้าตายกันทีหลัง(สร้างบ้านเสร็จไม่ขอเลขที่บ้านผิดกฎหมายด้วยนะ) ส่วนเรื่องค่าใช้จ่าย หรือค่าธรรมเนียม ก็สามารถสอบถามกันได้ที่หน่วยงานท้องที่ที่เราไปขอเลขที่บ้านกันได้เลย

สร้างบ้านเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก่อนจะเตรียมขนของพร้อมย้ายเข้าอยู่ สิ่งสำคัญอย่างแรกที่เจ้าของบ้านมือใหม่ต้องดำเนินการนั่นก็คือ ขั้นตอนของการขอเลขที่บ้าน

รวมไปถึงการออกสมุดทะเบียนบ้าน เพื่อให้บ้านหลังใหม่นั้นถูกต้องตามกฎระเบียบนั่นเอง ซึ่งขั้นตอนเหล่านี้ต้องดำเนินการอย่างไร และเตรียมเอกสารอะไรบ้าง แลนดี้ แกรนด์ ได้นำมาฝากกันแล้ว ตามมาดูกันเลย

เอกสารที่ต้องเตรียมในการขอเลขที่บ้าน 

1.เอกสารใบรับแจ้งเกี่ยวกับบ้าน (ท.ร.9) ฉบับจริง 

2.สำเนาบัตรประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้แจ้ง (ผู้แจ้ง ได้แก่ เจ้าบ้าน หรือผู้ได้รับมอบหมาย) ในกรณีที่ไม่สามารถมายื่นคำร้องขอเลขที่บ้านได้ด้วยตนเองจะต้องมีหนังสือมอบอำนาจ พร้อมสำเนาบัตรประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้มอบอำนาจ และผู้รับมอบอำนาจ รวมถึงพยานบุคคล จำนวน 2 คน ลงลายมือชื่อ หรือลายพิมพ์นิ้วหัวแม่มือข้างขวาในหนังสือมอบอำนาจ พร้อมรับรองสำเนาถูกต้องให้ครบถ้วนทุกฉบับ จำนวน 1 ชุด
3.สำเนาเอกสารสิทธิ์แสดงการครอบครองที่ดินของบ้านที่ปลูกสร้างนั้นตั้งอยู่ เช่น โฉนดที่ดิน , น.ส.3 ,ส.ป.ก เป็นต้น
4.ใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร หรือ  หนังสือรับรองสิ่งปลูกสร้าง ฉบับจริง 

ขั้นตอนในการขอเลขที่บ้าน 

1.ยื่นเรื่องติดต่อขอเลขที่บ้าน และสมุดทะเบียนบ้าน พร้อมกับเอกสารให้ครบถ้วน ที่สำนักงานเทศบาล สำนักงานเขต ที่ว่าการอำเภอ หรือกิ่งอำเภอ

2. นายทะเบียนหรือเจ้าหน้าที่ จะกำหนดเลขที่บ้านและสมุดทะเบียนบ้าน ให้แก่ผู้แจ้งภายใน 7 วัน กรณีปลูกสร้างบ้านในเขตเทศบาล และภายในเวลา 30 วัน กรณีปลูกสร้างบ้านนอกเขตเทศบาล

โดยขั้นตอนดังกล่าว จะต้องดำเนินการต่อนายทะเบียนในท้องที่ ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ปลูกสร้างบ้านเสร็จ หากฝ่าฝืนถือว่าเป็นความผิด มีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท

สำหรับคนที่มีแผนคิดจะสร้างบ้าน แต่ไม่อยากวุ่นวายในแต่ละขั้นตอนอยู่ละก็ มาสร้างบ้านกับแลนดี้ โฮม เรามีบริการครบวงจร One Stop Service และสำหรับบ้านหรู 15 ล้านขึ้นไป ทาง แลนดี้ แกรนด์ ศูนย์รับสร้างบ้านหรู บริการระดับพรีเมียม เราพร้อมดูแลคุณอย่างมืออาชีพในทุกขั้นตอนเรื่องบ้านตั้งแต่การเลือกแบบบ้าน การยื่นขออนุญาตปลูกสร้าง ส่งมอบบ้าน ตลอดจนดำเนินการขอเอกสารเลขที่บ้านให้ครบ จบในที่เดียว 

สร้างบ้าน สร้างดี แลนดี้ โฮม

บ้านสร้างไม่เสร็จ ขอเลขที่บ้าน


การขอเลขที่บ้านถือเป็นขั้นตอนท้ายๆ สำหรับเจ้าของบ้านมือใหม่ ซึ่งหากไม่ได้ดำเนินการเองก็อาจเป็นบริษัทรับสร้างบ้านที่ใช้บริการอยู่ช่วยจัดการให้ตั้งแต่ต้นจนจบ แต่อย่างไรก็ตามเพื่อให้คุณได้เตรียมพร้อมทั้งเรื่องเอกสารและระยะเวลาดำเนินการได้อย่างถูกต้อง ครบ และไม่ตกหล่น มีบ้านเลขที่พร้อมสำหรับการเข้าอยู่และเริ่มต้นใหม่ ลองมาทำความเข้าใจและศึกษาขั้นตอนต่างๆ กันหน่อยดีกว่า

การขอเลขที่บ้าน ให้ถูกต้อง ครบ จบ สำหรับเจ้าของบ้านมือใหม่

การขอเลขที่บ้าน มีขั้นตอนง่ายๆ ไม่ยุ่งยาก และสามารถขอได้ก่อนที่บ้านจะสร้างเสร็จโดยประมาณ 90%  หรือทำการขอเลขที่บ้านหลังจากสร้างเสร็จสมบูรณ์ภายใน 15 วัน (ตาม พ.ร.บ. การทะเบียนราษฎร์ พ.ศ. 2534)

หากเจ้าของบ้านไม่ดำเนินการขอทะเบียนบ้านภายใน 15 วัน โดยเริ่มนับตั้งแต่วันที่ก่อสร้างบ้านเสร็จสมบูรณ์แล้วนั้น จะถือว่ามีความผิด และมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท

ทั้งนี้เมื่อดำเนินการยื่นขอเลขที่บ้านแล้ว นายทะเบียนจะกำหนดเลขที่บ้านให้แก่ผู้แจ้งภายใน 7 วัน (กรณีบ้านปลูกอยู่ในเขตเทศบาล) หรือภายใน 30 วัน (กรณีบ้านปลูกอยู่นอกเขตเทศบาล)

เอกสารประกอบการขอเลขที่บ้าน

 1. ใบรับแจ้งเกี่ยวกับบ้าน (..9)

ออกโดยผู้ใหญ่บ้าน หรือกำนันท้องที่ ที่บ้าน ที่ปลูกสร้างบ้าน ตั้งอยู่

•  ถ้าสร้างบ้านอยู่ในเขตเทศบาลที่ยังมีผู้ใหญ่บ้าน เจ้าบ้านจะต้องแจ้งขอเลขที่บ้านต่อผู้ใหญ่บ้านเพื่อออกใบรับแจ้งเกี่ยวกับบ้าน (ท.ร.9) สำหรับนำไปประกอบการยื่นคำร้องขอเลขที่บ้านที่งานทะเบียนราษฎร์ของสำนักทะเบียนเทศบาลที่บ้านปลูกสร้างเสร็จตั้งอยู่ เพื่อแจ้งขอเลขที่บ้านและสมุดทะเบียนบ้าน

•  ถ้าสร้างบ้านอยู่นอกเขตเทศบาลเจ้าบ้านจะต้องแจ้งขอเลขที่บ้านต่อผู้ใหญ่บ้าน เพื่อออกใบรับแจ้งเกี่ยวกับบ้าน (ท.ร.9) สำหรับนำไปประกอบการยื่นคำร้องที่งานทะเบียนราษฎร์ของสำนักทะเบียนอำเภอ ที่บ้านปลูกสร้างเสร็จตั้งอยู่ เพื่อแจ้งขอเลขที่บ้านและสมุดทะเบียนบ้าน

 2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ยื่นคำร้อง

โดยเอกสารดังกล่าวต้องมีการรับรองสำเนาถูกต้องทุกฉบับ ซึ่งจะใช้จำนวน 1 ชุด ส่วนในกรณีเจ้าของบ้านไม่สามารถมาติดต่อขอเลขที่บ้านด้วยตนเอง สามารถมอบอำนาจ พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ รวมทั้งพยานบุคคลจำนวน 2 คน ลงลายมือชื่อหรือลายพิมพ์นิ้วหัวแม่มือข้างขวาในหนังสือมอบอำนาจ พร้อมรับรองสำเนาถูกต้องให้ครบถ้วนทุกฉบับ จำนวน 1 ชุด

 3. เอกสารสิทธิ์แสดงการครอบครองที่ดินของบ้านที่ปลูกสร้างนั้นตั้งอยู่

เอกสารการครอบครองที่ดินที่ต้องใช้ เช่น โฉนดที่ดิน, น.ส.3, ส.ป.ก กรณีสิ่งปลูกสร้างบ้านบนที่ดินของผู้อื่น ต้องมีหนังสือยินยอมให้ปลูกสร้างบ้านบนที่ดินนั้นจากเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินด้วย

บ้านที่ปลูกสร้างโดยการบุกรุกที่สาธารณะ หรือปลูกในพื้นที่ป่าสงวน สามารถขอเลขที่บ้าน และสมุดทะเบียนบ้านได้ แต่จะเป็นทะเบียนบ้านชั่วคราว

 4. ใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร หรือหนังสือรับรองสิ่งปลูกสร้าง

สามารถขอได้ที่สำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบล หรือสำนักงานเทศบาลในพื้นที่ที่ปลูกสร้างบ้าน

ในกรณีที่มีการปลูกสร้างบ้านในเขตท้องที่ที่ประกาศใช้กฎหมายว่าด้วยการควบคุมการก่อสร้างอาคาร เช่น ในเขตกรุงเทพมหานคร เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล จะต้องแจ้งขออนุญาตปลูกสร้างอาคาร

หากไม่ขออนุญาตปลูกสร้าง นายทะเบียนจะกำหนดเลขที่บ้านและจัดทำทะเบียนบ้านชั่วคราวให้ ซึ่งการแก้ไขทะเบียนบ้านชั่วคราวให้เป็นทะเบียนบ้านปกตินั้นสามารถทำได้โดยเจ้าของบ้านจะต้องไปทำเรื่องการขออนุญาตปลูกสร้างอาคารให้เรียบร้อยแล้วนำหลักฐานไปยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนเพื่อขอแก้ไขทะเบียนบ้าน

 5. รูปถ่ายบ้านที่ปลูกสร้างเสร็จแล้วทั้ง 4 ด้าน

โดยใช้เป็นภาพด้านหน้า ด้านหลัง ด้านข้างซ้าย ด้านข้างขวา และแผนที่

ในกรณีที่บ้านยังสร้างไม่เสร็จ สามารถยื่นขอเลขที่บ้านได้ แต่ต้องประเมินเบื้องต้นว่าบ้านจะต้องเสร็จเกิน 90%  โดยรูปถ่ายจะต้องมีองค์ประกอบบ้านที่ครบและดูแข็งแรง สามารถเข้าอยู่ได้

ทั้งนี้การขอเลขที่บ้านก่อนการสร้างแล้วเสร็จนั้น เพื่อที่เจ้าของบ้านจะนำเลขที่บ้าน หรือทะเบียนบ้านนั้นๆ ไปยื่นขอติดตั้งระบบน้ำ ไฟ สาธารณูปโภคต่างๆ เพื่อจะได้มีการเช็กระบบน้ำ ระบบไฟ โดยช่างมืออาชีพ

การยื่นขอเลขที่บ้านแบบออนไลน์

ปัจจุบัน หลายๆ พื้นที่ในกรุงเทพฯ สามารถยื่นขอเลขที่บ้านออนไลน์ได้แล้ว โดยประชาชนสามารถกรอกคำร้องออนไลน์ตามแบบฟอร์ม (ท.ร.9) ผ่านทางเว็บไซต์สำนักงานเขตพื้นที่นั้นๆ พร้อมแนบไฟล์เอกสารประกอบคำร้องได้ทันที จากนั้นบันทึกข้อมูลเพื่อยืนยันการใช้บริการ ซึ่งระบบจะแจ้งเตือนอัตโนมัติไปยังฝ่ายทะเบียน เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเอกสารทางอิเล็กทรอนิกส์และติดต่อกลับภายใน 24 ชั่วโมง ผ่านระบบไลน์หรืออีเมลที่ให้ไว้

เมื่อเจ้าหน้าที่ออกไปตรวจสอบสถานที่จริงเรียบร้อยแล้ว หากไม่มีอะไรต้องแก้ไขหรือเพิ่มเติม เจ้าหน้าที่จะนัดหมายวันที่มารับเล่มสำเนาทะเบียนบ้านฉบับจริง พร้อมทั้งให้นำเอกสารประกอบฉบับจริงที่ยื่นผ่านระบบออนไลน์ทั้งหมดมาแสดงต่อเจ้าหน้าที่เพื่อรับรองเอกสาร จึงถือเป็นอันเสร็จสิ้นการขอบ้านเลขผ่านทางออนไลน์ และประชาชนจะเดินทางมาติดต่อสำนักงานเขตเพียง 1 ครั้งในวันรับเล่มสำเนาทะเบียนบ้านฉบับจริงเท่านั้น

การขอเลขที่บ้านสามารถบ่งบอกได้ว่าบ้านนั้นสร้างแล้วเสร็จพร้อมสำหรับการเข้าอยู่ และเจ้าของบ้านรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของอย่างสมบูรณ์ ซึ่งหากคุณอยากสร้างบ้านในฝันที่ได้บ้านอย่างแน่นอน ควรปรึกษาและใช้บริการบริษัทรับสร้างบ้านที่เป็นมืออาชีพ เพราะนอกจากจะช่วยปรึกษาวางแผนเรื่องสร้างบ้านแล้ว ยังช่วยดำเนินการขั้นตอนต่างๆ ตั้งแต่ต้นจนสร้างบ้านจบ ช่วยแบ่งเบาภาระเจ้าของบ้านไปได้มากทีเดียว