ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ การแก้ไข

หนึ่งในปัญหาสิ่งแวดล้อมที่หลีกเลี่ยงได้ยากและเป็นภัยต่อสุขภาพ โดยเฉพาะผู้ที่ต้องอาศัยอยู่ในเมืองใหญ่หรือใกล้เขตอุตสาหกรรม ทางที่ดีจึงควรเรียนรู้ถึงผลกระทบของมลพิษทางอากาศที่มีต่อสุขภาพและวิธีป้องกันที่ถูกต้อง เพื่อให้ปลอดภัยจากอันตรายที่มาพร้อมปัญหานี้

ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ การแก้ไข

มลพิษทางอากาศ คือการปนเปื้อนของสารเคมี สารประกอบทางกายภาพ และสารทางชีววิทยาในสิ่งแวดล้อม จนก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงของชั้นบรรยากาศ ส่วนใหญ่มักเกิดจากการเผาผลาญของเครื่องยนต์ ยานพาหนะ การทำอุตสาหกรรม หรือแม้แต่ไฟป่า โดยสารในมลพิษทางอากาศที่ส่งผลต่อสุขภาพของมนุษย์ ได้แก่ อนุภาคขนาดเล็กที่ถูกกำจัดไม่หมด ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ โอโซน ไนโตรเจนไดออกไซด์ และซัลเฟอร์ไดออกไซด์

มลพิษทางอากาศแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

มลพิษทางอากาศภายนอก เป็นมลพิษที่เกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อมภายนอกอาคาร อาทิ

  • อนุภาคที่เกิดจากการเผาไหม้ของพลังงานเชื้อเพลิง เช่น น้ำมัน ถ่านหิน เป็นต้น
  • ก๊าซพิษ ได้แก่ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ไนโตรเจนไดออกไซด์ คาร์บอนมอนอกไซด์ หรือไอระเหยจากสารเคมีต่าง ๆ
  • โอโซนระดับพื้นดิน ซึ่งเป็นโอโซนชนิดที่ไม่ดีต่อสุขภาพ และเป็นส่วนประกอบสำคัญของหมอกควันที่เป็นพิษในบริเวณตัวเมือง
  • ควันจากยาสูบ ซึ่งประกอบไปด้วยสารเคมีที่เป็นพิษและสารก่อความระคายเคือง ส่งผลให้ผู้สูดดมเสี่ยงติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจและโรคหอบหืด

มลพิษทางอากาศภายใน เป็นมลพิษที่เกิดขึ้นภายในอาคารหรือที่พักอาศัย เช่น

  • อนุภาคจากการเผาไหม้ของก๊าซหุงต้ม เช่น คาร์บอนมอนอกไซด์ เรดอน เป็นต้น
  • สารเคมีที่ใช้ภายในบ้าน
  • สารเคมีที่ใช้ในการก่อสร้าง เช่น แร่ใยหิน ฟอร์มาดิไฮด์ ตะกั่ว เป็นต้น
  • สารก่อภูมิแพ้ต่าง ๆ จากภายในและนอกอาคาร เช่น ฝุ่น สารก่อภูมิแพ้จากแมลงสาบและหนู เป็นต้น
  • ควันจากยาสูบ
  • ราและเกสรดอกไม้

นอกจากนี้ สารต่าง ๆ ที่อยู่ภายนอกอาคารอาจเข้าสู่ภายในอาคารจากการเปิดหน้าต่าง ประตู หรืออุปกรณ์ระบายอากาศได้เช่นกัน

มลพิษทางอากาศส่งผลอย่างไรต่อสุขภาพ ?

มลพิษทางอากาศอาจส่งผลให้เกิดการระคายเคืองตามอวัยวะต่าง ๆ เช่น ตา คอ และปอด โดยหากอยู่ในพื้นที่ที่มีมลพิษทางอากาศสูงอาจมีอาการแสบตา ไอ และแน่นหน้าอกได้

อย่างไรก็ตาม อาการที่เกิดขึ้นจากมลพิษทางอากาศของแต่ละคนอาจแสดงออกแตกต่างกัน เด็ก ๆ มักรู้สึกถึงความผิดปกติจากมลพิษทางอากาศได้ช้ากว่าผู้ใหญ่ แต่จะมีอาการป่วยที่รุนแรงมากกว่า เช่น หลอดลมอักเสบ และอาการปวดหู ผู้ใหญ่บางรายอาจมีอาการรุนแรงหรือไม่มีอาการใด ๆ แสดงให้เห็น ส่วนผู้ป่วยโรคหัวใจ โรคปอด โรคหอบหืด หรือโรคถุงลมโป่งพอง อาจไวต่อการสัมผัสกับมลพิษทางอากาศ รวมทั้งมีอาการได้ง่ายและรุนแรงกว่าคนทั่วไป

ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา มีการศึกษาพบว่ามลพิษทางอากาศส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพร้ายแรงหลายประการ เช่น โรคเกี่ยวระบบทางเดินหายใจอย่างหอบหืดหรือความผิดปกติในการทำงานของปอด โรคที่เกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด การคลอดก่อนกำหนด หรือแม้แต่การเสียชีวิต นอกจากนี้ ล่าสุดองค์การอนามัยโลกได้เปิดเผยว่ามลพิษทางอากาศภายนอกยังเป็นสารที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งอีกด้วย

บรรเทาอาการจากมลพิษทางอากาศอย่างไร ?

มลพิษทางอากาศส่งผลกระทบต่อร่างกายและอาจทำให้เกิดอาการไอ จาม เจ็บ คัดจมูก และน้ำมูกไหล ซึ่งในเบื้องต้นอาจบรรเทาได้ด้วยวิธีต่อไปนี้

กลั้วคอและล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ

น้ำเกลือทางการแพทย์มีฤทธิ์ทำความสะอาดและให้ความชุ่มชื้นกับเนื้อเยื่อภายในโพรงจมูกและลำคอ ซึ่งช่วยชะล้างสารก่อการระคายเคืองที่อยู่ในจมูกและลำคอและลดอาการระคายเคืองได้ หากมีอาการระคายคอ มีน้ำมูก หรือคัดจมูก อาจใช้วิธีนี้บรรเทาเบื้องต้นได้

ใช้ยาแก้แพ้

ยาแก้แพ้ (Antihistamine) เป็นยาที่ช่วยลดการยับยั้งการหลั่งของสารฮิสตามีน (Histamine) ซึ่งเป็นสารที่ไปกระตุ้นให้เกิดอาการต่าง ๆ เมื่อร่างกายได้รับสารก่ออาการแพ้ อย่างฝุ่น ควัน หรือสารเคมี

ใช้ยาลดน้ำมูก

ยาลดน้ำมูก (Decongestants) อาจช่วยบรรเทาอาการมีน้ำมูกและลดอาการบวมของเนื้อเยื่อในโพรงจมูกที่เป็นสาเหตุของอาการคัดจมูกได้ ยาลดน้ำมูกมีทั้งแบบเม็ดและแบบสเปรย์พ่นจมูก

ใช้ยาแก้ไอ

การสูดดมมลพิษต่อเนื่องกัน อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองภายในระบบทางเดินหายใจจนทำให้เกิดอาการไอ โดยในเบื้องต้นอาจบรรเทาได้ด้วยการใช้ยากดอาการไอ (Antitussive) หากมีอาการไอไม่มีเสมหะที่เกิดจากการระคายเคืองทั่วไป

นอกจากนี้ การระคายเคืองภายในลำคออาจเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดการติดเชื้อและทำให้มีเสมหะร่วมกับอาการไอด้วย จึงอาจเลือกใช้ยาละลายเสมหะ (Mucolytics) อย่างยาคาร์โบซิสเทอีน (Carbocysteine) 2.25 กรัมต่อวัน ยาบรอมเฮกซีน (Bromhexine) ครั้งละ 8-16 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง ยาเอ็นอะซิทิลซิสเทอิน (N-Acetyl-Cystein) หรือ NAC 600 มิลลิกรัมต่อวัน ยากลุ่มนี้จะช่วยลดความข้นเหนียวของเสมหะและช่วยให้ขับเสมหะออกได้ง่ายขึ้น แต่ปริมาณดังกล่าวอาจมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นอยู่กับอายุและโรคประจำตัวของผู้ป่วย ทั้งนี้ ยังมียาขับเสมหะ (Expectorants) ที่ช่วยขับเสมหะได้เช่นกัน 

ในปัจจุบันยาแก้ไอมีหลายรูปแบบไม่ว่าจะแบบเม็ด แบบน้ำ รวมไปถึงแบบเม็ดฟู่ละลายน้ำ ซึ่งยาชนิดเม็ดฟู่ละลายน้ำอาจช่วยให้ร่างกายสามารถดูดซึมตัวยาได้ง่ายและนำไปใช้ได้เร็วขึ้น อีกทั้งยังเหมาะกับผู้ที่ไม่สามารถกลืนยาเม็ดขนาดใหญ่หรือผู้สูงอายุที่มีปัญหาในการดูดซึมได้

อย่างไรก็ตาม การใช้ยาควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์และเภสัชกร เนื่องจากยาแต่ละชนิดอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงในการใช้ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ในเด็ก หญิงตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัว

นอกจากนี้ หากผู้ป่วยมีอาการระคายคอหรือเจ็บคอที่ไม่รุนแรงก็สามารถใช้สเปรย์ที่มีส่วนผสมของน้ำมันหอมระเหยจากสมุนไพร อย่างดอกคาโมไมล์ ยูคาลิปตัส มะกรูด หรือเปปเปอร์มิ้นต์ ซึ่งอาจช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอหรือระคายเคืองภายในคอ ซึ่งอาจช่วยให้การทำงานหรือการทำกิจกรรมระหว่างวันดำเนินได้อย่างราบรื่น สเปรย์พ่นคอมีจำหน่ายตามร้านขายยาทั่วไป ผู้ที่มีข้อสงสัยควรปรึกษาเภสัชกรก่อนใช้งานเสมอ

คุณภาพของอากาศวัดได้อย่างไร ?

ในประเทศไทย คนทั่วไปรับรู้คุณภาพของอากาศได้จากผลวัดที่จัดทำโดยกรมควบคุมมลพิษ เรียกว่าดัชนีคุณภาพอากาศ ซึ่งเป็นรายงานข้อมูลเกี่ยวกับอากาศที่หน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมนำเสนอแก่ประชาชนทั่วไปเป็นระยะ เพื่อให้รับรู้ถึงสถานการณ์มลพิษทางอากาศและความเสี่ยงต่อสุขภาพ

ดัชนีคุณภาพอากาศของประเทศไทยแบ่งออกเป็น 5 ระดับ และมีการใช้สีเป็นสัญลักษณ์ ซึ่งค่าดัชนีคุณภาพอากาศที่ถือว่าเป็นปกติคือ 100 หากสูงกว่าแสดงว่าในอากาศมีความเข้มข้นของมลพิษค่อนข้างสูงหรือสูงมาก โดยเกณฑ์การวัดมีดังนี้

  • 0-50 ใช้สีฟ้าเป็นสัญลักษณ์ หมายถึง คุณภาพของอากาศอยู่ในระดับดี และไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพ
  • 51-100 ใช้สีเขียวเป็นสัญลักษณ์ หมายถึง คุณภาพของอากาศอยู่ในระดับปานกลาง และไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพ
  • 101-200 ใช้สีเหลืองเป็นสัญลักษณ์ หมายถึง คุณภาพของอากาศมีผลกระทบต่อสุขภาพ ผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายนอกอาคาร เด็กและผู้สูงอายุไม่ควรทำกิจกรรมภายนอกอาคารนาน ๆ
  • 201-300 ใช้สีส้มเป็นสัญลักษณ์ หมายถึง คุณภาพของอากาศมีผลกระทบต่อสุขภาพมาก ผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจควรหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมนอกอาคาร เด็กและผู้สูงอายุควรลดการออกกำลังกายนอกอาคาร
  • มากกว่า 300 ใช้สีแดงเป็นสัญลักษณ์ หมายถึง คุณภาพของอากาศเป็นอันตราย ผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจควรอยู่แต่ภายในอาคาร บุคคลทั่วไปควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายนอกอาคาร

วิธีป้องกันมลพิษทางอากาศ

การป้องกันตนเองจากมลพิษทางอากาศเป็นสิ่งที่พึงกระทำเพื่อสุขภาพที่ดี โดยวิธีป้องกันตัวเองและครอบครัวจากผลกระทบของมลพิษทางอากาศในเบื้องต้น ทำได้ดังต่อไปนี้

การป้องกันผลกระทบจากมลพิษทางอากาศภายนอก

  • อยู่ภายในอาคารให้มากที่สุดระหว่างวัน และหลีกเลี่ยงการอยู่ภายนอกอาคารบริเวณที่มีมลพิษทางอากาศสูงเป็นเวลานาน
  • หากต้องออกไปข้างนอก ควรหลีกเลี่ยงช่วงเวลาเร่งด่วน อาจออกแต่เช้าตรู่หรือรอหลังพระอาทิตย์ตก เนื่องจากแสงอาทิตย์จะส่งผลให้โอโซนระดับภาคพื้นดินซึ่่งเป็นองค์ประกอบหลักของมลพิษทางอากาศในเมืองและส่งผลเสียต่อสุขภาพ มีระดับสูงขึ้น
  • เมื่ออยู่ภายนอกอาคาร ควรหายใจช้า ๆ และอย่าทำกิจกรรมที่ส่งผลให้อัตราการหายใจเพิ่มขึ้น เพราะจะทำให้ได้รับมลพิษทางอากาศมากขึ้น

    สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ มีอะไรบ้าง

    สารมลพิษต่าง ๆในสิ่งแวดล้อมได้ 3 ประเภทใหญ่ได้แก่ 1. พวกที่สามารถย่อยสลายได้โดยวิธีการทางชีววิทยา 2. พวกที่ไม่สามารถจะย่อยสลายได้โดยขบวนการทางชีววิทยา 3. สารมลพิษที่เป็นก๊าซ ได้แก่ ก๊าซพิษต่าง ๆ เช่น คาร์บอนมอนนอกไซด์ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ คลอรีน เป็นต้น

    การปฏิบัติตนในข้อใดช่วยลดอากาศเป็นพิษ

    8วิธีที่เราช่วยลดปัญหามลพิษของอากาสได้.
    1. ลดกินเนื้อ สนับสนุนพืชออร์แกนิก ... .
    2. ประหยัดพลังงานมากขึ้น ... .
    3. ใช้พลังงานทางเลือกหมุนเวียน ... .
    4. นำขยะมาใช้ใหม่ ... .
    5. เดินทางแบบไม่ใช้พลังงานเชื้อเพลิง ... .
    6. อยู่กับอากาศธรรมชาติ ... .
    7. มีส่วนร่วมในการสร้างเมืองคุณภาพ ... .
    8. จัดทำออฟฟิศสีเขียว.

    อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดมลพิษสิ่งแวดล้อม

    การเกิดปัญหามลพิษทางอากาศจากการกระทำของมนุษย์ เช่น เกิดจากความต้องการพลังงานเพื่อใช้ในครัวเรือน ใช้ในภาคอุตสาหกรรม และภาคเกษตรกรรม รวมทั้งมลพิษทางอากาศที่เกิดจากการใช้รถยนต์ เรือยนต์ หรือเครื่องบิน ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซออกไซด์ของไนโครเจนสารประกอบไฮโดรคาร์บอน ซึ่งมีผลต่อสุขภาพของคนเราโดยตรง ...

    มลพิษทางสิ่งแวดล้อมคืออะไร

    มลพิษทางสิ่งแวดล้อม คือ การเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมที่ผิดแปลกไปจากเดิมเนื่องมาจากการกระทำของมนุษย์ทั้งทางตรงและทางอ้อม ทำให้เกิดการเปลี่ยนทางด้านกายภาพ ชีวภาพ ความสมบูรณ์ของสิ่งมีชีวิต จึงมีผลกระทบต่อมนุษย์โดยตรง หรือทางอ้อมผ่านทางทรัพยากรทางธรรมชาติ เช่น ทางน้ำ ดิน อากาศ ผลิตผล พืช และสัตว์ ที่มนุษย์ต้องใช้ปัจจัย ...