หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย คือ

Show

เพื่อน ๆ ทราบไหมครับว่า ทำไมยอดเงินเดือนจริง ๆ ที่โอนเข้าบัญชีจากทางบริษัท ถึงน้อยกว่าเงินเดือนที่ระบุไว้ตอนทำสัญญาว่าจ้าง หรือทำไมตอนรับงานนอก ผู้ว่าจ้างโอนเงินให้เราน้อยกว่าค่าจ้างที่ตกลงกันไว้นิด ๆ หน่อย ๆ ทั้งนี้ อย่าเพิ่งตกใจไปครับ เพราะโดยปกติ เงินส่วนที่ถูกหักไปนั้น คือ เงินภาษีหัก ณ ที่จ่าย นั่นเอง วันนี้ เรามาดูกันครับว่า ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คืออะไร แล้วเกี่ยวข้องกับการยื่นภาษีที่สรรพากรในแต่ละปีอย่างไร

 

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คือ รูปแบบหนึ่งของการเสียภาษี โดยเงินรายได้ของเราจะถูกหักทันทีจากผู้จ่ายเพื่อนำส่งให้สรรพากร

วอย่างเช่น ยุ้ย พนักงานออฟฟิศ มีรายได้เดือนละ 30,000 บาท และโบนัสปีละ 1 เดือน จากข้อมูลนี้ ช่วยให้ฝ่ายบัญชีของบริษัทสามารถประมาณรายได้ทั้งปีของยุ้ยได้เป็น 30,000 x 13 = 390,000 บาท ยุ้ยเคยให้ข้อมูลกับทางบริษัทว่า เธอทำประกันชีวิตไว้ปีละ 20,000 บาท ซึ่งบริษัทจะเก็บข้อมูลนี้เพื่อคำนวณเป็นค่าลดหย่อน และคำนวณเป็นภาษีเงินได้ที่ยุ้ยจะต้องจ่ายในปีนั้น ๆ ก่อนที่จะหารด้วย 12 เพื่อเฉลี่ยเป็น “ภาษีหัก ณ ที่จ่าย” หรือก็คือเงินที่จะถูกหักออกจากเงินเดือนของยุ้ยในทุก ๆ เดือนนั่นเอง เมื่อถึงปลายปี บริษัทจะส่งหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย เพื่อสรุปเงินได้ของยุ้ย และยอดภาษี ณ ที่จ่าย ที่ถูกหักไปตลอดทั้งปี ซึ่งหากยุ้ยไม่มีการเปลี่ยนแปลงรายได้ หรือค่าลดหย่อนตามที่แจ้งไว้กับบริษัทแล้ว ยุ้ยก็ไม่ควรจะต้องเสียภาษีเพิ่มเติมอีก แต่หากยุ้ยมีรายได้เสริม เช่น รับจ้างเขียนบทความ ยุ้ยก็มีหน้าที่ต้องแสดงหลักฐานเพิ่ม สำหรับหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ที่ต้องแสดงก็คือเอกสารที่ได้รับจากบริษัทที่ว่าจ้างยุ้ยเขียนบทความนั่นเอง ทั้งนี้ เพื่อนำมาคำนวณหารายได้รวมจากทั้งสองงาน ภาษีที่ควรจะต้องชำระ และนำมาเปรียบเทียบกับยอดภาษีหัก ณ ที่จ่าย รวมทั้งปี เพื่อพิจารณาว่า จะได้รับภาษีคืน หรือต้องชำระเพิ่ม

ในกรณีที่ไม่ได้รับค่าจ้างเป็นเงินเดือน เงินได้ก็ถูกหัก ณ ที่จ่ายเช่นกัน ตัวอย่างการหักภาษี ณ ที่จ่ายแบบนี้ก็คือ แอน โปรแกรมเมอร์ฟรีแลนซ์ รับค่าจ้างเป็นโปรเจกต์ ปีที่ผ่านมา แอนรับงานทั้งสิ้นสี่โปรเจกต์ แอนตกลงราคาค่าจ้างสำหรับโปรเจกต์แรกเป็นเงิน 20,000 บาท โดยผู้ว่าจ้าง ทำการหัก ภาษี ณ ที่จ่าย 3% หรือคิดเป็นเงิน 600 บาทเพื่อส่งให้กับสรรพากร และโอนเงินเข้าบัญชีให้แอน จำนวน 19,400 บาท ซึ่งการหักภาษี ณ ที่จ่าย สำหรับอีกสามโปรเจกต์ที่เหลือก็เป็นไปในลักษณะเดียวกัน ดังนั้น เมื่อถึงเวลายื่นภาษี แอนต้องนำหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ซึ่งก็คือเอกสารที่ได้รับจากนายจ้างของทั้งสี่โปรเจกต์ มาคำนวณเพื่อหาจำนวนภาษีที่ควรจะเสียจริงทั้งปี ซึ่งแอนมีโอกาสที่ต้องชำระภาษีเพิ่มหากผลจากการคำนวณมียอดสูงกว่าภาษี ณ ที่จ่าย ที่ถูกหักไปแล้วตลอดทั้งปี และในทางกลับกัน แอนก็มีโอกาสที่จะได้รับเครดิตเงินภาษีคืน หากแอนได้เสียภาษี ณ ที่จ่าย รวมทั้งปีแล้วสูงกว่าภาษีที่คำนวณได้

นับได้ว่า การหักภาษี ณ ที่จ่าย คือเทคนิคหนึ่งในการลดภาระการเสียภาษีก้อนใหญ่ครั้งเดียวในแต่ละปี ด้วยการทยอยนำส่งให้สรรพากรทันทีที่ได้รับรายได้ เช่น ในกรณีของยุ้ยที่จ่ายภาษีทุกเดือน หรือแอนที่จ่ายภาษีเมื่อได้รับค่าจ้างในแต่ละโปรเจกต์

 

สรุปได้ว่า ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คือเงินภาษีที่ผู้จ่ายเงินจะหักออกจากเงินที่จะจ่ายให้กับผู้รับ โดยผู้จ่ายเงินมีหน้าที่นำเงินภาษีหัก ณ ที่จ่าย นำส่งให้กับสรรพากร ส่วนผู้รับเงินก็จะได้รับหนังสือรับรองการหัก ณ ที่จ่าย จากผู้จ่าย เพื่อเป็นหลักฐานในการยื่นแบบภาษีกับสรรพากรว่าได้ชำระภาษี ในรูปแบบของภาษีหัก ณ ที่จ่าย ที่ทยอยจ่ายไว้แล้วในระหว่างปีเป็นจำนวนเท่าไหร่นั่นเองครับ

สำหรับบทความด้านภาษีอื่น ๆ สามารถเลือกอ่านได้ที่นี่นะครับ

หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย คือ

หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย หรือที่มีชื่อเล่นว่า “ใบ 50 ทวิ” เอกสารสำคัญที่ทุกคนใช้เป็นหลักฐานการยื่นภาษี แต่น้อยคนทีเข้าใจรายละเอียดอย่างถูกต้อง วันนี้มาพูดคุยกันสบาย ๆ กับทุกประเด็นที่น่าสนใจของใบ 50 ทวิกัน

ใบ 50 ทวิ คืออะไร?

  • จริง ๆ ก็เริ่มมาจากหลักการทางภาษีที่พื้นฐานที่สุดเลยก็คือ “เมื่อมีรายได้ ก็ต้องจ่ายภาษี เพียงแต่รัฐมองว่า ลำพังจะรอเก็บภาษีทีเดียวปีละครั้ง ก็อาจจะเป็นภาระก้อนใหญ่เกินไปสำหรับผู้จ่ายภาษีบางคน หรือถ้ามีใครเลี่ยงภาษีขึ้นมา รัฐก็จะเสียสภาพคล่อง
  • รัฐก็เลยให้ผู้ที่มีหน้าที่จ่ายรายได้ให้เขา เป็นตัวแทนของรัฐ ช่วยหักภาษีส่วนนึงจากรายได้ของเขาส่งให้รัฐ ก่อนจะจ่ายที่เหลือให้กับผู้มีสิทธิรับรายได้
  • เราเรียกภาษีที่ถูกหักไปก่อนส่วนนึงนี้ว่า “ภาษีหัก ณ ที่จ่าย” เพราะไหน ๆ ก็ต้องจ่ายภาษีกันอยู่แล้ว งั้นทยอยจ่ายตั้งแต่ตอนนี้ จะได้ไม่เป็นภาระก้อนใหญ่ทีหลัง รัฐก็ไม่เสียสภาพคล่องด้วย
  • ก็เลยเป็นที่มาของใบ 50 ทวิ (หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย) คือเอกสารที่จะแสดงรายละเอียดให้เห็นว่า มีการหักภาษี ณ ที่ที่จ่ายเงินนำส่งให้รัฐไปก่อนเท่าไหร่ จากที่ต้องจ่ายจริงคือเท่าไหร่ เหลือเท่าไหร่

เปิดบัญชีกองทุนประหยัดภาษี SSF RMF กับ FINNOMENA สะดวก รวดเร็ว เปิดออนไลน์ ไม่ต้องส่งเอกสารให้ยุ่งยาก พร้อมเลือกซื้อกองทุนประหยัดภาษีมากกว่า 10 บลจ.
คลิก https://finno.me/open-plan

ทำไมใบ 50 ทวิ ถึงสำคัญ?

  • เพราะเป็นตัวชี้ชะตาว่า เมื่อคำนวณรายได้ทั้งปีแล้ว เรามีภาระภาษีที่แท้จริงเท่าไหร่ ได้จ่ายผ่านการถูกหัก ณ ที่จ่ายไปก่อนแล้วเท่าไหร่
  • รัฐจะต้องเรียกให้จ่ายค่าภาษีเพิ่ม กรณีภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายไปนั้นยังน้อยกว่าที่ต้องจ่ายจริง
  • รัฐต้องคืนค่าภาษีให้ กรณีที่ภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายมากกว่าที่ต้องจ่ายจริง

ใครมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย และออกใบ 50 ทวิ? 

  • ผู้รับบทบาทนี้คือผู้ที่มีหน้าที่จ่ายเงินให้เรา
  • กรณีลูกจ้างบริษัท ู้ที่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายออกให้ก่อน และออกใบ 50 ทวิให้เราเป็นหลักฐานยื่นภาษี ก็คือนายจ้างของเรา
  • แต่กรณีของพนักงานเงินเดือน จะมีข้อสังเกตว่าค่าภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายแต่ละเดือน จะคำนวณจากการประมาณการรายได้ทั้งปี หักค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อนต่าง ๆ เท่าที่นายจ้างมีข้อมูล แล้วหารเฉลี่ยเพื่อหัก ณ ที่จ่ายเป็นรายเดือนไป
  • ดังนั้นถ้าปีไหนที่นายจ้างประเมินแล้วว่า รายได้ของเราทั้งปียังไม่ถึงเกณฑ์เสียภาษี ก็อาจไม่มีการหักภาษี ณ ที่จ่าย แต่จะยังมีหน้าที่ออกใบ 50 ทวิให้เป็นหลักฐานอยู่เหมือนเดิม
  • นอกจากนี้ในใบ 50 ทวิของพนักงานเงินเดือน จะมีรายละเอียดเกี่ยวกับเงินสมทบประกันสังคม และเงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพถ้ามี ระบุเอาไว้ให้ด้วย ซึ่งก็ใช้เป็นหลักฐานการลดหย่อนภาษีด้วยประกันสังคม และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้ไปในตัว
  • กรณีฟรีแลนซ์ที่รับค่าจ้าง ก็จะถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายแตกต่างกันไปตามเนื้องานแต่ละประเภท ตามที่กฎหมายกำหนด อย่างค่าจ้างบริการทั่วไป เช่น จ้างรีวิวสินค้า จ้างทำกราฟฟิค ก็จะถูกกำหนดอัตราภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่ 3% เป็นต้น และถ้ายอดที่จ่ายเป็นจำนวนไม่ถึง 1,000 บาท ก็ไม่ต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย

ความเข้าใจผิดเบื้องต้นของใบ 50 ทวิ

  • แม้ว่าถูกหัก ณ ที่จ่ายแล้ว ได้ใบ 50 ทวิแล้ว ก็ยังคงมีหน้าที่ในการยื่นภาษีและเสียภาษีตามเกณฑ์ปกติ เพราะการหักภาษี ณ ที่จ่ายเป็นเพียงการทยอยหักภาษีให้ “เบื้องต้น เท่านั้น
  • ใบ 50 ทวิ เป็นเพียงหลักฐานการหัก ณ ที่จ่าย แต่ไม่ใช่หลักฐานของประเภทเงินได้ จริงอยู่ว่าในมุมของคนที่เค้าจ่ายเงิน และออกใบ 50 ทวิให้เรา จะต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับประเภทเงินได้ของเราประมาณนึง แต่ในบางครั้งก็อาจเกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนได้ เช่น จ้างงานกันเป็นลักษณะจ้างรับเหมา ซึ่งเป็นเงินได้ประเภทที่ 7 แต่ระบุในใบ 50 ว่าเป็นค่าจ้างทั่วไป ซึ่งเป็นเงินได้ประเภทที่ 2
  • การลงประเภทเงินได้ต่างไปจากเนื้องานจริงเป็นเรื่องใหญ่พอสมควรในทางภาษี เพราะเงินได้ต่างประเภทกันจะหักค่าใช้จ่ายได้ไม่เท่ากัน ภาระทางภาษีก็จะไม่เท่ากันด้วย
  • สิ่งที่เราต้องยืนยันกับตัวเองให้ได้คือเงินที่เราได้รับมาเป็นเงินได้จากการทำงานลักษณะตามประเภทอะไร ตอนยื่นภาษีประจำปีก็จะได้ยื่นตามนั้นให้ถูกต้อง
  • ถ้าให้ดีที่สุดก็ควรพูดคุยกับนายจ้างหรือผู้ว่าจ้างให้เข้าใจตรงกัน ว่าเงินที่จ่ายเป็นเงินได้ประเภทอะไร จะได้ลงข้อมูลในใบ 50 ให้ถูกต้องตรงกัน

เราควรจะได้รับใบ 50 ทวิเมื่อไร?

  • จะมี deadline ที่กฎหมายกำหนดไว้ให้อยู่แล้วว่าฝั่งผู้จ่ายเงินจะต้องรีบออกใบ 50 ทวิให้ผู้รับเงินภายในเมื่อไหร่
  • กรณีพนักงานเงินเดือน นายจ้างจะมีหน้าที่ออกใบ 50 ทวิให้ภายในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ของปีถัดจากปีรับเงินได้
  • กรณีฟรีแลนซ์ ผู้ว้าจ้างมีหน้าที่ออกใบ 50 ทวิให้ทันทีที่ได้จ่ายเงิน

ทำใบ 50 ทวิหาย จะทำยังไง จะยื่นภาษีไม่ได้ใช่มั้ย

  • ไม่เป็นไร ถ้าทำหาย ติดต่อผู้จ่ายเงินให้ออกให้ใหม่ได้
  • ถ้าตอนยื่นภาษีไม่มีใบ 50 ทวิตัวจริง แต่ได้บันทึกเป็นภาพถ่ายเก็บเอาไว้ มั่นใจว่ามีข้อมูลเงินได้เป็นตัวเลขที่ถูกต้อง ก็สามารถกรอกยื่นภาษีไปก่อนได้
  • แต่เมื่อตามเอกสารตัวจริงมาได้แล้ว ทีนี้ให้เก็บเอาไว้ให้ดี เผื่อว่ามีประเด็นทางภาษีอะไรในอนาคต จะได้ไม่ต้องตามหาเอกสารใหม่ให้ลำบาก

ถ้าได้รับเงินมา แบบที่ไม่มีใบ 50 ทวิให้ แบบนี้ก็ไม่ต้องยื่นภาษีใช่มั้ย

  • ไม่ใช่ เพราะใบ 50 ทวิเป็นเพียงหนังสือรับรองการหัก ณ ที่จ่าย ไม่ใช่หนังสือรับรองเงินได้ ดังนั้นถ้าเรามีเงินได้ที่ไม่ได้รับยกเว้นตามกฎหมาย ก็ต้องยื่นภาษีเสมอ
  • ส่วนหลักฐาน ก็อาจอ้างอิงสัญญาจ้างงาน หรือ Statement บัญชีธนาคารที่รับเงินได้ก็ยังได
  • หากเราหนีภาษี จะมีสิทธิลุ้นรับโทษทางภาษีก้อนใหญ่ ย้อนหลังได้สูงสุดถึง 10 ปี

อ่านเพิ่มเติม ลดหย่อนภาษี: ทุกเรื่องที่ต้องรู้ รวบรวมมาให้แล้ว!

เปิดบัญชีกองทุนประหยัดภาษี SSF RMF กับ FINNOMENA สะดวก รวดเร็ว เปิดออนไลน์ ไม่ต้องส่งเอกสารให้ยุ่งยาก พร้อมเลือกซื้อกองทุนประหยัดภาษีมากกว่า 10 บลจ.
คลิก https://finno.me/open-plan

หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย คือ

ผู้เขียน

หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย คือ

FINNOMENA CHANNEL

FINNOMENA CHANNEL อีกหนึ่งช่องทางความรู้ทางการเงิน และการลงทุน จาก FINNOMENA ในรูปแบบ Video Content