ออกหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย ผิด

  • หน้าแรก

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0702/5521 ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และการออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย กรณีผู้รับโอน กิจการชำระหนี้ค่าบริการ

เลขที่หนังสือ : กค 0702/5521
วันที่ :3 กันยายน 2551
เรื่อง : ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และการออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย กรณีผู้รับโอน กิจการชำระหนี้ค่าบริการ
ข้อกฎหมาย : มาตรา 50 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ           บริษัท อ. (บริษัทผู้รับโอน) ประกอบกิจการให้เช่า ให้เช่าซื้อเครื่องจักร และให้บริการ หลังการขาย ได้รับโอนกิจการทั้งหมด (ทรัพย์สิน หนี้สิน สิทธิ หน้าที่ต่าง ๆ) จาก บริษัท อ. (บริษัทผู้โอน) ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2550 บริษัทผู้โอน ได้จดทะเบียนเลิกบริษัท ตั้งแต่วันที่ 7 พฤศจิกายน 2550 และคาดว่า ในการเรียกเก็บเงินจากลูกหนี้คงค้างที่ได้ถูกโอนขายมานั้น ลูกหนี้จะทำการจ่ายเงินมายังบริษัทผู้รับโอนโดยตรง พร้อมทั้งจะออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายในนามของผู้รับโอน แต่ยังมีลูกค้าบางรายชำระเงินค่าบริการเมื่อครบ กำหนดชำระเงินและออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายในนามบริษัทผู้โอน เนื่องจากลูกค้าเหล่านั้นอยู่ต่างจังหวัดหรือมีหน่วยงานภายในหลายแผนก จึงทำให้การติดต่อประสานงานเรื่องการโอนขายกิจการทั้งหมดระหว่างบริษัทผู้โอนและผู้รับโอนไม่ทั่วถึง บริษัทผู้รับโอนขอทราบว่า

          1. กรณีบริษัทผู้รับโอน ได้รับเงินและหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายจากลูกหนี้ที่รับโอน มาโดยในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายออกในนาม บริษัทผู้รับโอน บริษัทผู้รับโอน มีสิทธินำ ภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่าย นั้นไปใช้ในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2550 ได้หรือไม่

          2. หากลูกหนี้ชำระเงินโดยหักภาษี ณ ที่จ่ายและออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ในนามบริษัทผู้โอน บริษัทผู้โอน มีสิทธินำภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายนั้นไปใช้ในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2550 ได้หรือไม่

แนววินิจฉัย           กรณีบริษัทผู้โอนได้โอนกิจการทั้งหมดให้แก่บริษัทผู้รับโอน บริษัทผู้รับโอนย่อมได้รับไป ทั้งทรัพย์สิน หนี้สิน สิทธิ และหน้าที่ของบริษัทผู้โอนทั้งหมด ในการโอนเจ้าหนี้ของบริษัทผู้โอนมาให้บริษัทผู้รับโอนเป็นผู้ชำระหนี้ ทำให้บริษัทผู้รับโอนตกเป็นลูกหนี้เนื่องจากการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ ซึ่งสามารถกระทำได้โดยการแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ ตามมาตรา 350 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และในการโอนลูกหนี้มาให้บริษัทผู้รับโอนโดยให้ลูกหนี้ ของบริษัทผู้โอนชำระหนี้ให้แก่บริษัทผู้รับโอน ซึ่งการโอนลูกหนี้ของบริษัทผู้โอนมาเป็นลูกหนี้ของบริษัทผู้รับโอน โดยบริษัทผู้รับโอนรับโอนความเป็นเจ้าหนี้มาเป็นของบริษัทผู้รับโอน จึงเป็นการเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้ ซึ่งสามารถกระทำได้โดยการแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้ ตามมาตรา 349 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดังนั้น บุคคลใดเป็นเจ้าหนี้ หรือลูกหนี้ของบริษัทผู้โอน บุคคลนั้นจะเป็นเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ของบริษัทผู้รับโอนต่อไป กรณี หลังจากโอนกิจการแล้ว เมื่อลูกหนี้ได้ชำระค่าบริการให้แก่บริษัทผู้รับโอน ลูกหนี้ต้องออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายให้แก่ผู้รับเงินได้ ซึ่งถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้แล้วตาม มาตรา 50 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร โดยระบุนามของบริษัทผู้รับโอนเป็นผู้รับเงิน ซึ่งบริษัท ผู้รับโอนมีหน้าที่ในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล และรับผิดในการเสียภาษีแทนบริษัทผู้โอน หากลูกหนี้ของบริษัทผู้โอนชำระเงินโดยหักภาษี ณ ที่จ่ายและออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายระบุนามของบริษัทผู้โอนเป็นผู้รับเงิน จึงเป็นการออกหนังสือรับรอง การหักภาษี ณ ที่จ่ายผิดพลาดในส่วนของการระบุชื่อผู้รับเงินได้ ดังนั้น ลูกหนี้ผู้จ่ายเงินได้ ต้องออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายฉบับใหม่ โดยแก้ไขชื่อให้บริษัทผู้รับโอนเป็น ผู้รับเงินได้ ทั้งนี้ บริษัทผู้โอน ไม่สามารถนำภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายนั้นไปใช้ในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2550
เลขตู้ : 71/36128

ขอบคุณบทความจาก ::www.rd.go.th

ยื่นแบบหัก ณ ที่จ่ายผิด ทำไงดี

ยื่นแบบหัก ณ ที่จ่ายผิด ทำไงดี หากเรายื่น ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ผิดไปไม่ว่าจะเป็น ยื่นขาด, ยื่นเกิน, ยื่นผิดคน, ยื่นผิดแบบ
.
.
เราจะแก้ปัญหาอย่างไรหลักๆก็คือ
1⃣ กรณียื่นขาด เราก็ต้องยื่นแบบเพิ่มเติม และกรอกเฉพาะจำนวนที่ขาดลงไป
.
2⃣ กรณียื่นเกิน จะต้องยื่นแบบเพิ่มเติม และกรอกส่วนต่างที่ยื่นเกินโดยใส่วงเล็บด้วย และยื่นพร้อมกับแบบ ค10 เพื่อขอคืนภาษีที่ชำระไว้เกิน
.
3⃣ ยื่นแล้วกรอกข้อมูลผิด แบบนี้ต้องขอแก้ไขโดยใช้ แบบ ปป.01 กรอกข้อมูลให้ถูกต้อง และแนบเอกสารหลักฐานเช่น ใบเสร็จรับเงินไปด้วยจ้า
.
4⃣ ยื่นผิดแบบ เช่น ยื่นแบบภงด 53 แทน ภงด3 แบบนี้ไม่ต้องยื่นใหม่ ถ้าข้อมูลถูกแล้วสามารถยื่นแบบ ปป.02 เพื่อขอหยวนๆกับสรรพากรได้เลยจ้า อย่าลืมแนบหลักฐานเช่นใบเสร็จรับเงินไปด้วยนะครับ

ออกหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย ผิด
ออกหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย ผิด
ออกหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย ผิด
ออกหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย ผิด
ออกหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย ผิด
ออกหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย ผิด
ออกหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย ผิด
ออกหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย ผิด
ออกหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย ผิด

CR> youtube.com

บริการสอบบัญชี > ONESIRI-ACC.com

Post Views: 13,843