แนวทางในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับทรัพยากรน้ำคือ

‘น้ำ’ คือ หนึ่งในปัจจัยที่มีความสำคัญต่อทั้งชีวิตมนุษย์, สัตว์ และธรรมชาติ จากความเจริญของเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งจำนวนมนุษย์ที่เพิ่มมากขึ้นจึงก่อให้เกิดปัญหามลพิษทางน้ำ ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่และต้องใช้เวลาในการแก้ไขมลพิษทางน้ำส่งผลเสียในหลายๆ ประการ เช่น ทำให้สัตว์น้ำล้มตาย, ระบบนิเวศพัง จนกระทั่งส่งผลให้สภาพแวดล้อมโดยรวมเสื่อมโทรมลงเพราะฉะนั้นการแก้ไขปัญหาน้ำ จึงไม่ใช่เป็นเพียงแค่หน้าที่ของใครคนใดคนหนึ่ง หรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้นแต่เป็นหน้าที่ของเราทุกคนที่ต้องปรับเปลี่ยนความคิดทัศนคติ และปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตในบางด้านเพื่อยกระดับน้ำให้มีความคุณภาพที่ดีขึ้น ด้วยแนวทางเหล่านี้

ด้วยการปลูกจิตสำนึก ในเรื่องของการอนุรักษ์แหล่งน้ำ โดยเริ่มจากตัวเองรวมทั้งคนในครอบครัว ค่อยๆ ขยายวงกว้างไปในแหล่งชุมชน, สังคม จนกระทั่งกลายเป็นปึกแผ่น ในเรื่องของการมีจิตสำนึกในการใช้น้ำทั่วประเทศ จากจุดเล็กๆ สามารถขยายใหญ่ได้ ถ้าทำอย่างต่อเนื่อง

ในแนวทางการฟื้นฟูธรรมชาติ มีหลักการที่เรียกว่าธรรมชาติบำบัด โดยหลักการนี้ตั้งอยู่ในภายใต้แนวคิดที่ว่าด้วย ธรรมชาติสามารถฟื้นฟูตัวเองได้ เพียงแต่ว่าจะต้องมีการปิดสถานที่ ไม่ให้เติมสิ่งปฏิกูลลงไปอีก หลังจากนั้นธรรมชาติก็จะค่อยๆ ฟื้นฟูตัวเอง แต่อย่างไรก็ตาม เราสามารถช่วยให้ธรรมชาติฟื้นฟูตัวเองได้ดีขึ้นด้วยการปลูกพืช ที่มีประโยชน์ในน้ำช่วยในการดักจับสิ่งปฏิกูลทั้งหลาย รวมทั้งยังเป็นการเติมออกซิเจนให้แก่น้ำ ทำให้น้ำฟื้นฟูตัวเองได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น

ถ้าเริ่มดำเนินการฟื้นฟูแล้ว ก็ต้องเลิกเติมของเน่าเสีย สิ่งปฏิกูลขยะลงไปในน้ำ เพราะต่อให้พยายามฟื้นฟูมากแค่ไหนแต่ถ้ายังมีผู้ที่ทิ้งขยะลงในน้ำ ก็ไม่มีความหมายอยู่ดี ซึ่งการทิ้งขยะที่ถูกต้องนั้น จะต้องนำไปทิ้งในถังขยะที่กทม.ได้จัดไว้ให้รวมทั้งฝึกหัดการแยกขยะ ไม่ว่าจะเป็นขยะสด, ขยะพลาสติก ที่สามารถรีไซเคิลได้ กระดาษ, ขวดแก้วและอื่นๆ อีกมากมาย โดยจะมีขยะบางประเภท เช่น หนังสือพิมพ์, กล่องกระดาษ, ขวดแก้ว, กระป๋องขวด, พลาสติกเมื่อสะสมไว้จำนวนมากแล้วก็ยังนำไปขายต่อเพื่อสร้างรายได้อีกทางหนึ่งด้วย

  1. ลดปริมาณการใช้น้ำในชีวิตประจำวัน

หรือ ใช้ให้มีคุณค่ามากขึ้น บางคนมีนิสัยชอบเปิดน้ำทิ้งขณะแปรงฟัง ก็แนะนำให้เปลี่ยนนิสัยปิดน้ำเสีย หรือเปลี่ยนมาเป็นการใช้แก้วด้วยการรองน้ำลงแก้ว นำน้ำที่ใช้ในการซักผ้าในการรดน้ำต้นไม้ เป็นต้น

  1. ใช้ EM Ball หรือ จุลินทรีย์ก้อน

ช่วยบำบัดน้ำเสียในแหล่งน้ำ บรรเทากลิ่นเหม็น อีกทั้งยังช่วยสลายไขมันที่อยู่ในแหล่งน้ำ แต่มีข้อพึงระวังในการใช้ คือจะต้องใช้กับน้ำที่มีการหมุนเวียน หรือน้ำที่มีการไหล ไม่ใช่กับน้ำในอ่าง หรือในบึงที่อยู่นิ่งเพราะมิฉะนั้นน้ำจะยิ่งเน่ากว่าเดิม

  1. ลดการใช้สารเคมีทางการเกษตร

เพื่อเป็นการป้องกันสารตกค้างในแผ่นดิน เมื่อฝนตกลงมา ก็จะทำให้เกิดการไหลของสารเคมีนั้นไปออกไปปะปน สู่แม่น้ำลำคลองได้ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่ทำให้เกิด มลพิษทางน้ำขึ้นได้นั่นเอง

และนี่ก็คือวิธีการง่ายๆ ที่ทุกคนสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับชีวิตจริงของแต่ละคนได้ ซึ่งถ้าคุณเป็นคนเมือง วิธีที่ง่ายที่สุดก็คือ การนำใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า ไม่เปิดน้ำทิ้งไว้ นำน้ำที่ยังสะอาดไปใช้ต่อ ถ้าคุณเป็นผู้ที่ทำเกษตรกรรม ก็เน้นวิธีการปลูกผักด้วยวิธีธรรมชาติ ไม่ใช้สารเคมีนอกจากจะไม่ทำให้แหล่งน้ำปนเปื้อนแล้ว ก็ยังส่งผลดีต่อสุขภาพและชีวิตของผู้ทานอีกด้วย

โลกของเราประกอบขึ้นด้วยพื้นดินและพื้นน้ำ โดยส่วนที่เป็นฝืนน้ำนั้น มีอยู่ประมาณ 3 ส่วน (75%) และเป็นพื้นดิน 1 ส่วน (25%) น้ำมีความสำคัญอย่างยิ่งกับชีวิตของพืชและสัตว์บนโลกรวมทั้งมนุษย์เราด้วยน้ำเป็นทรัพยากรที่สามารถเกิดหมุนเวียนได้เรื่อย ๆ ไม่มีวันหมดสิ้น เมื่อแสงแดดส่องมาบนพื้นโลก น้ำจากทะเลและมหาสมุทรก็จะระเหยเป็นไอน้ำลอยขึ้นสู่เบื้องบนเนื่องจากไอน้ำมีความเบากว่าอากาศ เมื่อไอน้ำลอยสู่เบื้องบนแล้ว จะได้รับความเย็นและกลั่นตัวกลายเป็นละอองน้ำเล็ก ๆ ลอยจับตัวกันเป็นกลุ่มเฆม เมื่อจับตัวกันมากขึ้นและกระทบความเย็นก็จะกลั่นตัวกลายเป็นหยดน้ำตกลงสู่พื้นโลก น้ำบนพื้นโลกจะระเหยกลายเป็นไอน้ำอีกเมื่อได้รับความร้อนจากดวงทิตย์ ไอน้ำจะรวมตัวกันเป็นเมฆและกลั่นตัวเป็นหยดน้ำกระบวนการเช่นนี้ เกิดขึ้นเป็นวัฏจักรหมุนเวียนต่อเนื่องกันตลอดเวลา เรียกว่า วัฏจักรน้ำทำให้มีน้ำเกิดขึ้นบนผิวโลกอยู่สม่ำเสมอ
แนวทางในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับทรัพยากรน้ำคือ
แนวทางในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับทรัพยากรน้ำคือ
แนวทางในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับทรัพยากรน้ำคือ

ประโยชน์ของน้ำ

น้ำเป็นแหล่งกำเนิดชีวิตของสัตว์และพืชคนเรามีชีวิตอยู่โดยขาดน้ำได้ไม่เกิน 3 วัน และน้ำยังมีความจำเป็นทั้งในภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาประเทศ ประโยชน์ของน้ำ ได้แก่
  • น้ำเป็นสิ่งจำเป็นที่เราใช้สำหรับการดื่มกิน การประกอบอาหาร ชำระร่างกาย ฯลฯ
  • น้ำมีความจำเป็นสำหรับการเพาะปลูกเลี้ยงสัตว์ แหล่งน้ำเป็นที่อยู่อาศัยของปลาและสัตว์น้ำอื่น ๆ ซึ่งคนเราใช้เป็นอาหาร
  • ในการอุตสาหกรรม ต้องใช้น้ำในขบวนการผลิตใช้ล้างของเสียใช้หล่อเครื่องจักรและระบายความร้อน ฯลฯ
  • การทำนาเกลือโดยการระเหยน้ำเค็มจากทะเล
  • น้ำเป็นแหล่งพลังงาน พลังงานจากน้ำใช้ทำระหัด ทำเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้าได้
  • แม่น้ำ ลำคลอง ทะเล มหาสมุทร เป็นเส้นทางคมนาคมขนส่งที่สำคัญ
  • ทัศนียภาพของริมฝั่งทะเลและน้ำที่ใสสะอาดเป็นแหล่งท่องเที่ยวของมนุษย์
ปัญหาของทรัพยากรน้ำปัญหาสำคัญ ๆ ที่เกิดขึ้น คือ1. ปัญหาการมีน้ำน้อยเกินไปเกิดการขาดแคลนอันเป็นผลเนื่องจากการตัดไม้ทำลายป่า ทำให้ปริมาณน้ำฝนน้อยลง เกิดความแห้งแล้งเสียหายต่อพืชเพาะปลูกและการเลี้ยงสัตว์2. ปัญหาการมีน้ำมากเกินไปเป็นผลมาจากการตัดไม้มากเกินไป ทำให้เกิดน้ำท่วมไหลบ่าในฤดูฝน สร้างความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สิน3. ปัญหาน้ำเสียเป็นปัญหาใหม่ในปัจจุบัน สาเหตุที่ทำให้เกิดน้ำเสีย ได้แก่
  • น้ำทิ้งจากบ้านเรือน ขยะมูลฝอยและสิ่งปฎิกูลที่ถูกทิ้งสู่แม่น้ำลำคลอง
  • น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม
  • น้ำฝนพัดพาเอาสารพิษที่ตกค้างจากแหล่งเกษตรกรรมลงสู่แม่น้ำลำคลอง
น้ำเสียที่เกิดขึ้นนี้ส่งผลเสียหายทั้งต่อสุขภาพอนามัย เป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำ และมนุษย์ ส่งกลิ่นเหม็น รบกวน ทำให้ไม่สามารถนำแหล่งน้ำนั้นมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งการอุปโภค บริโภค เกษตรกรรม และอุตสาหกรรม
แนวทางในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับทรัพยากรน้ำคือ
แนวทางในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับทรัพยากรน้ำคือ
ผลกระทบของน้ำเสียต่อสิ่งแวดล้อม
  • เป็นแหล่งแพร่ระบาดของเชื้อโรค เช่น อหิวาตกโรค บิด ท้องเสีย
  • เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลงนำโรคต่าง ๆ
  • ทำให้เกิดปัญหามลพิษต่อดิน น้ำ และอากาศ
  • ทำให้เกิดเหตุรำคาญ เช่น กลิ่นเหม็นของน้ำโสโครก
  • ทำให้เกิดการสูญเสียทัศนียภาพ เกิดสภาพที่ไม่น่าดู เช่น สภาพน้ำที่มีสีดำคล้ำไปด้วยขยะ และสิ่งปฎิกูล
  • ทำให้เกิดการสูญเสียทางเศรษฐกิจ เช่น การสูญเสียพันธุ์ปลาบางชนิดจำนวนสัตว์น้ำลดลง
  • ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศในระยะยาว
การอนุรักษ์น้ำดังได้กล่าวมาแล้วจะเห็นว่า น้ำมีความสำคัญและมีประโยชน์มหาศาล เราจึงควรช่วยแก้ไขปัญหาน้ำเสียหรือการสูญเสียทรัพยากรน้ำด้วยการอนุรักษ์น้ำ ดังนี้1. การใช้น้ำอย่างประหยัด การใช้น้ำอย่างประหยัดนอกจากจะลดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าน้ำลงได้แล้ว ยังทำให้ปริมาณน้ำเสียที่จะทิ้งลงแหล่งน้ำมีปริมาณน้อย และป้องกันการขาดแคลนน้ำได้ด้วย2. การสงวนน้ำไว้ใช้ ในบางฤดูหรือในสภาวะที่มีน้ำมากเหลือใช้ควรมีการเก็บน้ำไว้ใช้ เช่น การทำบ่อเก็บน้ำ การสร้างโอ่งน้ำ ขุดลอกแหล่งน้ำ รวมทั้งการสร้างอ่างเก็บน้ำ และระบบชลประทาน3. การพัฒนาแหล่งน้ำ ในบางพื้นที่ที่ขาดแคลนน้ำ จำเป็นที่จะต้องหาแหล่งน้ำเพิ่มเติม เพื่อให้สามารถมีน้ำไว้ใช้ ทั้งในครัวเรือนและในการเกษตรได้อย่างพอเพียง ปัจจุบันการนำน้ำบาดาลขึ้นมาใช้กำลังแพร่หลายมากขึ้นแต่อาจมีปัญหาเรื่องแผ่นดินทรุด4. การป้องกันน้ำเสีย การไม่ทิ้งขยะและสิ่งปฎิกูลและสารพิษลงในแหล่งน้ำ น้ำเสียที่เกิดจากโรงงานอุตสาหกรรม โรงพยาบาล ควรมีการบำบัดและขจัดสารพิษก่อนที่จะปล่อยลงสู่แหล่งน้ำ5. การนำน้ำเสียกลับไปใช้ น้ำที่ไม่สามารถใช้ได้ในกิจการอย่างหนึ่งอาจใช้ได้ในอีกกิจการหนึ่ง เช่น น้ำทิ้งจากการล้างภาชนะอาหาร สามารถนำไปรดต้นไม้ได้
แนวทางในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับทรัพยากรน้ำคือ

เครื่องเติมออกซิเจนให้แก่น้ำ ป้องกันมิให้น้ำเน่าเสีย


ที่มา : รวบรวมจาก กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม