โครงสร้างของชุมชน ประกอบด้วย 3 ส่วนคือ

โครงสร้างของชุมชน ประกอบด้วย 3 ส่วนคือ
การศึกษาการพัฒนาชุมชน การทำความเข้าใจเรื่อง “ชุมชน” นับว่าเป็นพื้นฐานที่สำคัญใน การศึกษาชุมชนอย่างน้อยควรจะตอบคำถามได้ว่าชุมชนคืออะไร  มีองค์ประกอบและโครงสร้างอย่างไร ภารกิจหน้าที่ของชุมชนมีอะไรบ้าง ตลอดทั้งลักษณะสำคัญของชุมชนทั้งในชุมชนเมืองและชนบท ทั้งนี้เพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับนำความรู้เกี่ยวกับชุมชน ไปใช้ให้เกิดความเหมาะสมในโอกาสในการศึกษา
ชุมชนอีกต่อไป

ความหมายของชุมชน
ชุมชนหมายถึง กลุ่มคนที่มาอยู่รวมกันในเขต หรือบริเวณเดียวกันที่แน่นอน มีวิถีการดำเนินชีวิตคล้ายกัน มีความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มีปฎิสัมพันธ์ต่อกัน และกันอยู่ภายใต้กฎระเบียบกฎเกรฑ์เดียวกัน ดังนั้นชุมชนจึงมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้
1. คน  (People ) คนเป็นองค์ประกอบสำคัญยิ่งของชุมชน  หากปราศจากคนเสียแล้วจะเป็นชุมชนไม่ได้
2.ความสนใจร่วมกัน (Common Interest ) คนที่อยู่ในชุมชนนั้นจะต้องมีความสนใจอย่างใดอย่างหนึ่งร่วมกัน  และความสนใจดังกล่าวเป็นผลมาจากการอยู่ร่วมกันในอาณาเขตบริเวณเดียวกัน
3.อาณาบริเวณ ( Area ) คนและสถานที่เกือบจะแยกกันไม่ได้ ต่างก็เป็นส่วนประกอบสำคัญ และมีส่วนสัมพันธ์กันมีคนก็ต้องมีสถานที่ แต่การจะกำหนดขอบเขต และขนาดของสถานที่ของชุมชนหนึ่งๆเป็นเรื่องยาก
4. ปะทะสังสรรค์ต่อกัน (Interaction )  เมื่อมีคนมาอยู่ร่วมชุมชนเดียวกัน แต่ละคนต้องมีจะต้องมีการติดต่อแลกเปลี่ยนและปฎิบัติต่อกัน
5. ความสัมพันธ์ของสมาชิก ( Relationship ) ความสัมพันธ์ต่อกันของสมาชิกในชุมชนเป็นสิ่งที่ผูกพันให้สมาชิกอยู่ร่วมกันในชุมชนนั้น
6.วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี  ( Cultural  Traditions)  ตลอดจนแบบแผนของการดำเนินชีวิตในชุมชน ( Pattern of  Community Life )  ซึ่งส่วนใหญ่มีลักษณะคล้ายคลึง และเป็นรูปแบบเดียวกัน

องค์ประกอบของชุมชน
          1. องค์ประกอบด้านมนุษย์
      เป็นองค์ประกอบที่มีบทบาทสำคัญยิ่งในชุมชน จากวิวัฒนาการของมนุษย์ เป็นต้นมาจนถึงวันนี้ มนุษย์ชอบอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม หรือนอกจากจำเป็นต้องรวมกันเป็นกลุ่ม สรุปได้ว่า ในทุกชุมชนไม่มีใครเลยถูกทอดทิ้งอยู่คนเดียว โดยไม่มีการไปมาหาสู่ติดต่อกับบุคคลอื่นในชุมชนนั้น
          2. องค์ประกอบด้านที่สิ่งมนุษย์ประดิษฐ์ขึ้น
      สิ่งที่มนุษย์คิดค้นประดิษฐ์ขึ้น มีหลากหลายลักษณะ ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม
และได้นำไปใช้ในชุมชน ไม่ว่าจะเป็นเครื่องอำนวยความสะดวก หรือสิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิต  เช่น วิทยุ  โทรทัศน์ ตู้เย็น พัดลม อาหาร  เครื่องนุ่งห่ม  ที่อยู่อาศัย เครื่องทุ่นแรง  รถยนต์   นอกจากสิ่งที่เป็นวัตถุแล้ว มนุษย์ยังสร้างแนวความคิด ปรัชญา ค่านิยม ความเชื่อ ความรู้ต่างๆ เหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นทั้งนั้น  องค์ประกอบเหล่านี้แตกต่างกันไป ในแต่ละชุมชน ซึ่งมีสภาพและระดับต่างกัน
          3 .องค์ประกอบด้านสิ่งที่ธรรมชาติสร้างขึ้น
      สิ่งที่ธรรมชาติสร้างขึ้นมาหมายรวมทุกอย่าง ที่เกี่ยวข้องกับพืช สัตว์  ทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งหลาย ซึ่งทุกชุมชนจะมีสิ่งที่ธรรมชาติสร้างขึ้นเป็นส่วนประกอบอยู่ทั้งนั้น สิ่งต่างๆแต่ละชนิดในชุมชนที่ธรรมชาติสร้างขึ้น จะมีความสัมพันธ์ต่อกันเหมือนองค์ประกอบที่กล่าวมาแล้วทั้ง 2 ประเภท  เช่น สภาพอากาศที่แห้งแล้งจะทำให้ดินแตกระแหง และไม่มีน้ำเพียงพอสำหรับการเจริญเติบโตของพืชผลทั้งหลาย  เป็นต้นองค์ประกอบของชุมชนทั้ง  3  ประการ จะมีความสัมพันธ์ และมีการปฎิบัติต่อกันองค์ประกอบที่อยู่ภายในชุมชนหนึ่งๆ เริ่มจากองค์ประกอบด้านมนุษย์ นอกจากจะมีความสัมพันธ์และปฏิบัติต่อกันแล้ว ยังจะต้องไปมีความสัมพันธ์ต่อสิ่งที่ธรรมชาติสร้างขึ้นด้วย  เช่น มนุษย์ร่วมมือกันไปช่วยกันตัดไม้ในป่า  แล้วนำมาสร้างบ้านเรือนที่อยู่อาศัย เป็นต้น

ลักษณะของชุมชน ชนบทและชุมชนเมือง
      ได้มีการจัดแบ่งประเภทของชุมชน ออกเป็นเป็นประเภทต่างๆ  โดยใช้หลักเกณฑ์ในการแบ่งแตกต่างกันอออกไป เช่นแบ่งตามจำนวนพลเมือง แบ่งตามหน่วยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ แบ่งตามความสัมพันธ์กับหน่วยงานของรัฐ   แบ่งตามลักษณะพิเศษของประชาชน   แบ่งตามลักษณะด้านนิเวศวิทยา แบ่งตามกิจกรรมทางสังคม แบ่งตามหน่วยการปกครอง   และแบ่งตามลักษณะของคนในชุมชน  เป็นต้น
          1.  ชุมชนชนบท  ( Rural  Community )
      ชุมชนชนบท เป็นบริเวณที่ผู้คนอาศัยอยู่กันตามภูมิประเทศ  ที่อยู่นอกเขตเมืองโดยมีบ้านเรือน กระจัดกระจายทั่วไป    และรวมกันอยู่เป็นหมู่ ซึ่งใช้เป็นศูนย์กลางในการกระทำกิจกรรมร่วมกัน  โดยคนในชุมชนมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด ด้วยเหตุนี้ เมื่อกล่าวถึงชุมชนชนบทจึงเป็นที่เข้าใจตรงกันว่า  เป็นชุมชนที่อยู่ในบริเวณของตำบลและหมู่บ้าน ซึ่งเป็นหน่วยการปกครองท้องที่หน่วยหนึ่งของ
รัฐบาล
          2.  ชุมชนเมือง  ( Urban  Community )
      ชุมชนเมือง  หมายถึง  อาณาบริเวณที่มีประชากรอยู่ร่วมกันจำนวนหนึ่ง  และต้องมีความหนาแน่นมากพอสมควร    เป็นบริเวณที่มีอาคารบ้นเรือนหนาแน่นอยู่ในเขตการปกครองแบบใดแบบหนึ่ง ประชาชนส่วนใหญ่ในชุมชน มีการประกอบอาชีพทีแตกต่างกันออกไป  มีความเจริญเป็นศูนย์กลางต่างๆ และรวมทั้งความเสื่อมโทรมต่างๆ อยู่ด้วย เช่น  สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ  เป็นต้น 

โครงสร้างของชุมชน ประกอบด้วย 3 ส่วนคือ

ที่มาของภาพ : http://p-power.org/learnDetail.php?l_id=0032

โครงสร้างของชุมชน ประกอบด้วย 3 ส่วนคือ
โครงสร้างของชุมชน ประกอบด้วย 3 ส่วนคือ

โครงสร้างของชุมชนประกอบด้วย 3 ส่วนคืออะไรบ้าง

โครงสร้างของชุมชน ประกอบด้วย 3 ส่วนคือ 1. กลุ่มคน หมายถึง การที่คน 2 คนหรือมากกว่านั้นเข้ามาติดต่อเกี่ยวข้องกัน และมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันทางสังคมในชั่วเวลาหนึ่งด้วย ความมุ่งหมายอย่างใดอย่างหนึ่งร่วมกัน.
โครงสร้างพื้นฐานทางสังคมของชุมชน.
ความคิดพื้นฐานของประชาชน.
บรรทัดฐานของชุมชน.
วิถีประชาธิปไตย.

โครงสร้างของชุมชนประกอบด้วยอะไรบ้าง

3. โครงสร้างของชุมชนประกอบด้วย 3.1 บุคคล 3.2 กลุ่มคน 3.3 สถานภาพและบทบาท 3.4 ระบบสังคม 3.5 สถาบันทางสังคม 3.6 การแบ่งชนชั้นทางสังคมเมือง และสังคมชนทบ

การมีส่วนร่วมในชุมชน มีอะไรบ้าง

การเข้ามามีส่วนร่วมของชุมชนจึงควร ประกอบด้วย (1) การวิเคราะห์สังเคราะห์ปัญหาของชุมชน (2) การวางแผนที่เหมาะสมและสอดคล้องกับวิถีชีวิต (3) การก าหนดกิจกรรม (4) การด าเนินกิจกรรม และ (5) การประเมินผลกิจกรรม โดยให้ความส าคัญกับการใช้ชุมชน เป็นศูนย์กลางในการเข้ามามีส่วนร่วม หน่วยงานภาครัฐคอย ช่วยเหลือ ให้คาแนะนาหรืออานวยความ ...

ความสําคัญของชุมชน มีอะไรบ้าง

ชุมชน เป็นรูปแบบของการเกาะเกี่ยวสัมพันธ์กันของมนุษย์ ซึ่งไม่จำกัดว่าจะต้องอยู่ร่วมกันในอาณาบริเวณหนึ่งเท่านั้น ชุมชนได้รับความสนใจว่าเป็นพลังในการขับเคลื่อนที่จะไปสู่การมีชีวิตที่ดีร่วมกัน ซึ่งอาจมีในหลายรูปแบบ อาทิ : ชุมชนหมู่บ้าน ซึ่งเป็นชุมชนตามพื้นที่การปกครอง, ชุมชนที่มีขอบเขตกว้างขวาง ซึ่งได้แก่ ชุมชนของผู้ที่มี ...