บทละครพูดคําฉันท์เรื่อง มัทนะพาธา

บทละครพูดคำฉันท์เรื่อง มัทนะพาธา ที่มาและเรื่องย่อ

Chisanucha

  • บทละครพูดคำฉันท์, มัทนะพาธา, วรรณคดีไทย

บทละครพูดคําฉันท์เรื่อง มัทนะพาธา
บทละครพูดคําฉันท์เรื่อง มัทนะพาธา

สารบัญ

บทละครพูดคําฉันท์เรื่อง มัทนะพาธา
บทละครพูดคําฉันท์เรื่อง มัทนะพาธา

บทละครพูดคําฉันท์เรื่อง มัทนะพาธา
บทละครพูดคําฉันท์เรื่อง มัทนะพาธา

บทละครพูดคำฉันท์เรื่อง มัทนะพาธา เป็นวรรณคดีที่ทรงคุณค่าทางวรรณศิลป์ได้รับการยกย่องว่าแต่งดีและมีความแปลกใหม่อีกเรื่องหนึ่ง น้อง ๆ หลายคนอาจจะเคยคุ้นหูกันมาบ้างตามสื่อต่าง ๆ เพราะวรรณคดีเรื่องนี้เป็นหนึ่งในเรื่องที่โด่งดังจึงมักถูกหยิบไปทำเป็นละครทางโทรทัศน์บ่อย ๆ แต่จะมีความเป็นมาอย่างไรนั้น วันนี้เราจะไปศึกษาเรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ

 

ประวัติความเป็นมาของบทละครพูดคำฉันท์เรื่อง มัทนะพาธา

 

บทละครพูดคําฉันท์เรื่อง มัทนะพาธา
บทละครพูดคําฉันท์เรื่อง มัทนะพาธา

 

มัทนะพาธาเป็นบทละครพูดคำฉันท์ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จเพราะมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงมีพระราชกุศลเพื่อสร้าง ตำนานแห่งดอกกุหลาบ จึงทรงผูกเรื่องขึ้นมาใหม่หมด ทรงให้ความสำคัญเรื่องความถูกต้อง และความสมจริงในรายละเอียดของเรื่อง ทั้งชื่อเรื่อง ชื่อตัวเอก และรายละเอียดต่างๆ เช่น ชื่อเรื่อง มัทนา มาจากศัพท์ มทน แปลว่า ความลุ่มหลงหรือความรัก และชื่อนางเอกของเรื่องก็มีความหมายว่าความเจ็บปวดและความเดือดร้อนเพราะความรัก ซึ่งตรงกับแก่นของเรื่อง

 

บทละครพูดคําฉันท์เรื่อง มัทนะพาธา
บทละครพูดคําฉันท์เรื่อง มัทนะพาธา

 

ลักษณะการประพันธ์

 

แต่งด้วยคำฉันท์ ที่ประกอบไปด้วยฉันท์และกาพย์ โดยที่ในตอนดำเนินเรื่องยาว ๆ จะใช้กาพย์ แต่ถ้าเน้นอารมณ์ตัวละคร เช่น คร่ำครวญหรือไหว้ครูก็จะใช้ฉันท์ แต่ในตอนที่ดำเนินเรื่องรวดเร็วก็จะใช้ร้อยแก้ว

 

บทละครพูดคําฉันท์เรื่อง มัทนะพาธา
บทละครพูดคําฉันท์เรื่อง มัทนะพาธา

 

เรื่องย่อ มัทนะพาธา

 

เป็นเรื่องสมมติว่าเกิดในอินเดียโบราณ เนื้อเรื่องแบ่งออกเป็นภาคสวรรค์และภาคพื้นโลกมนุษย์ เริ่มจากภาคสวรรค์ เทพบุตรสุเทษณ์หลงรักเทพธิดามัทนา แต่นางไม่รับรัก สุเทษณ์จึงขอให้วิทยาธรมายาวินใช้เวทมนตร์สะกดเรียกนางมา แต่ผลคือนางมัทนาเหม่อลอยอยู่ในมนต์ สุเทษณ์จึงขอให้มายาวินคลายมนต์ เมื่อได้สติแล้วนางมัทนาจึงปฏิเสธรัก สุเทษณ์โกรธจึงสาปให้นางมัทนาลงไปเกิดเป็นมนุษย์

นางมัทนาขอให้ตัวเองได้ไปเกิดเป็นดอกไม้ที่มีกลิ่นหอม สุเทษณ์จึงให้นางไปเกิดเป็นดอกกุหลาบ เป็นดอกไม้ที่งามทั้งกลิ่นและรูป แต่มีเฉพาะแค่ในสวรรค์ยังไม่เคยมีบนโลกมาก่อน โดยที่ดอกกุหลาบนั้นจะกลายเป็นมนุษย์แค่ 1 วัน 1 คืน ในวันเพ็ญของแต่ละเดือนเท่านั้น และนางจะพ้นสภาพจากการเป็นกุหลาบก็ต่อเมื่อนางมีความรัก แต่นางจะได้รับความทนทุกข์จากความรัก เมื่อถึงเวลานั้น ให้นางมาอ้อนวอนขอความช่วยเหลือกับเทพบุตรสุเทษณ์

นางมัทนาไปจุติเป็นกุหลาบในป่าหิมะวัน ฤษีกาละทรรศินจึงขุดไปปลูกในบริเวณอาศรมของตน ขณะทำการขุดก็ได้ยินเสียงผู้หญิงร้อง จึงรู้ว่าเป็นเทพธิดามาจุติ จึงเชิญนางมัทนาและสัญญาว่าจะปกป้องดูแล จึงทำการย้ายได้สำเร็จ หลังจากนั้นในคืนวันเพ็ญ ท้าวชัยเสนได้เสด็จออกล่าป่าและแวะมาพักที่อาศรมของฤษี เมื่อได้พบกับนางมัทนาที่แปลงร่างเป็นคนในคืนวันเพ้ญพอดีก็ตกหลุมรัก นางมัทนาก็มีใจเสน่หาต่อท้าวชัยเสนด้วยกัน ทั้งสองสาบานรักต่อกันทำให้นางมัทนาไม่ต้องกลับไปเป็นดอกไม้อีก

นางมัทนาตามท้าวชัยเสนกลับเมือง ทำให้นางจัณฑีผู้เป็นมเหสีโกรธมากจึงวางแผนใส่ร้ายว่านางเป็นชู้กับศุภางค์ผู้เป็นแม่ทัพ ท้าวชัยเสนเมื่อได้ยินข่าวก็เข้าใจผิด จึงสั่งประหารชีวิตทั้งคู่ แต่ทหารที่ได้รับคำสั่งมาประหารกลับรู้สึกสงสารนางจึงปล่อยไป นางมัทนากลับมายังป่าหิมะวันด้วยความโศกเศร้า จึงอ้อนวอนต่อเทพบุตรสุเทษณ์ให้มาช่วย เมื่อสุเทษณ์ลงมาก็ยื่นข้อเสนอให้นางมาเป็นคนรักเพื่อที่จะพากลับขึ้นไปบนสวรรค์ แต่นางมัทนายังคงปฏิเสธไม่รับรักอยู่ สุเทษณ์จึงโกรธและสาปให้นางมัทนากลายเป็นกุหลาบไปตลอดกาล ฝ่ายท้าวชัยเสนเมื่อเสร็จจากศึกสงครามก็เพิ่งรู้ความจริงว่านางมัทนาโดนใส่ร้ายจึงออกตามหา ก่อนจะพบว่านางได้กลายเป็นกุหลาบไปแล้ว จึงสั่งให้คนนำมาปลูกไว้ที่เมืองและดูแลไม่ให้ดอกไม้นี้สูญพันธุ์มาจนถึงทุกวันนี้

 

สรุปเนื้อเรื่อง

 

บทละครพูดคําฉันท์เรื่อง มัทนะพาธา
บทละครพูดคําฉันท์เรื่อง มัทนะพาธา

บทละครพูดคําฉันท์เรื่อง มัทนะพาธา
บทละครพูดคําฉันท์เรื่อง มัทนะพาธา

 

วรรณคดีอันทรงคุณค่าเรื่องนี้ได้สะท้อนเรื่องราวความรักในหลาย ๆ แง่มุม ทำให้เราได้เห็นโทษของการรักมากเกินไปมากขึ้นทำให้เกิดความทุกข์ เพื่อให้เข้าใจมากขึ้น น้อง ๆ จะได้เรียนรู้ตัวบทและคุณค่าของเรื่องนี้ในบทต่อไปค่ะ สำหรับบทเรียนในวันนี้น้อง ๆ สามารถตามดูการสอนของครูอุ้มได้ รับรองว่าจะสามารถจดจำเนื้อเรื่องของวรรณคดีได้อย่างครบถ้วน ไม่พลาดในการทำข้อสอบแน่นอนค่ะ

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

บทละครพูดคําฉันท์เรื่อง มัทนะพาธา
บทละครพูดคําฉันท์เรื่อง มัทนะพาธา

บทละครพูดคําฉันท์เรื่อง มัทนะพาธา
บทละครพูดคําฉันท์เรื่อง มัทนะพาธา

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

ดูคลิป

แนะนำ

แชร์

บทละครพูดคําฉันท์เรื่อง มัทนะพาธา
บทละครพูดคําฉันท์เรื่อง มัทนะพาธา

Present Perfect Continuous แบบเข้าใจง่ายและใช้ได้จริง

สวัสดีน้องๆ ม. 4 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาเรียนรู้เกี่ยวกับ Present Perfect Continuous ในภาษาอังกฤษกันครับ จะเป็นอย่างไรเราไปเริ่มกันเลยดีกว่าครับ

บทละครพูดคําฉันท์เรื่อง มัทนะพาธา
บทละครพูดคําฉันท์เรื่อง มัทนะพาธา

เรียนรู้ความเหมือนที่แตกต่างของคำพ้อง

  น้อง ๆ หลายคนคงจะเคยเห็นฝาแฝดกันมาบ้างใช่ไหมคะ แล้วรู้หรือเปล่าคะว่าในภาษาไทยเรานั้นก็มีฝาแฝดเหมือนกัน แต่ฝาแฝดนั้นถูกเรียกว่า คำพ้อง นั่นเองค่ะ หลายคำในภาษาไทยมีจุดที่เหมือนกันแต่ก็มีส่วนที่ต่างกันออกไปด้วย เพื่อไม่ให้สับสนว่าคำไหนคือคำไหน อ่านอย่างไร หมายความว่าอะไรกันแน่ วันนี้เราไปเรียนรู้เรื่องคำพ้องพร้อม ๆ กันเลยค่ะ   คำพ้อง   ความหมายของคำพ้อง     ประเภทของคำพ้อง     คำพ้องเสียง

บทละครพูดคําฉันท์เรื่อง มัทนะพาธา
บทละครพูดคําฉันท์เรื่อง มัทนะพาธา

การบรรยายตนเอง + Present Simple

สวัสดีนักเรียนชั้นม.2 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปดูวิธีการบอกข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับตัวเราในภาษาอังกฤษกันค่ะ ได้แก่ “ การบรรยายตนเอง + Present Simple “ พร้อมทั้งตัวอย่างสถานการณ์ใกล้ตัวกันค่ะ ไปลุยกันเลย   ทบทวน Present Simple Tense     ความหมาย: Present แปลว่า ปัจจุบัน ดังนั้น Present

บทละครพูดคําฉันท์เรื่อง มัทนะพาธา
บทละครพูดคําฉันท์เรื่อง มัทนะพาธา

ตัวผกผันของความสัมพันธ์

ตัวผกผันของความสัมพันธ์ ตัวผกผันของความสัมพันธ์ r คือความสัมพันธ์ใหม่ที่เกิดจากการสลับตำแหน่งของสมาชิกตัวหน้ากับสมาชิกตัวหลังของคู่อันดับทุกคู่ในความสัมพันธ์ r เขียนแทนด้วย   ซึ่ง = {(y, x) : (x, y ) ∈ r} เช่น r = {(1, 2), (3, 4), (5,

บทละครพูดคําฉันท์เรื่อง มัทนะพาธา
บทละครพูดคําฉันท์เรื่อง มัทนะพาธา

ภาษาชวา มลายู ในภาษาไทย มีลักษณะอย่างไร?

น้อง ๆ สงสัยกันไหมคะว่าในภาษาที่เราใช้พูดและใช้เขียนกันอยู่นี้ มีคำไหนบ้างที่ถูกหยิบยืมมาจากต่างประเทศ บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จักและศึกษาลงลึกถึงภาษาชวาและมลายู เป็นอีกหนึ่งภาษาที่เข้ามามีอิทธิพลกับภาษาไทยมาตั้งแต่สมัยอดีต ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้เรื่องนี้ด้วยกันเลยค่ะ   ความเป็นมาของการยืมคำจากภาษาชวา มลายู     ทางตอนใต้ของประเทศไทยติดต่อกับประเทศมาเลเซีย จึงทำให้มีการติดต่อค้าขายสานสัมพันธ์ไมตรีกันมาตั้งแต่สมัยอดีต โดยเดิมทีชาวชวาและชาวมลายูเคยใช้ภาษามลายูร่วมกัน ต่อว่าชาวชวามีภาษาเป็นของชนชาติตัวเอง แต่ก็ยังมีบางคำที่คล้ายคลึงกับภาษามลายูอยู่ 1. คำยืมภาษาชวา เพราะอิทธิพลของวรรณคดีสมัยอยุธยาตอนปลายเรื่องดาหลังและอิเหนา วรรณคดีเรื่องนี้เป็นที่นิยมถูกนำมาปรับปรุงและประพันธ์เป็นบทละคร โดยในเรื่องมีภาษาชวาอยู่เยอะมาก ทำให้เป็นที่รู้จักและถูกหยิบยืมมาใช้ในการประพันธ์เรื่อยมา

บทละครพูดคําฉันท์เรื่อง มัทนะพาธา
บทละครพูดคําฉันท์เรื่อง มัทนะพาธา

ตัวบ่งปริมาณและค่าความจริงของตัวบ่งปริมาณ

ตัวบ่งปริมาณ ตัวบ่งปริมาณ คือ สัญลักษณ์หรือข้อความที่เมื่อเราเอาไปเติมใน “ประโยคเปิด” แล้วจะทำให้ประโยคนั้นกลายเป็นประพจน์ ประโยคเปิด คือประโยคบอกเล่าหรือปฏิเสธที่ติดค่าตัวแปรที่ยัง “ไม่รู้ว่าเป็นจริงหรือเท็จ” โดยตัวแปรนั้นเป็นสมาชิกของเอกภพสัมพัทธ์ (Universe : U) ประโยคเปิด ยังไม่ใช่ประพจน์ (แต่เกือบเป็นแล้ว) เพราะเรายังไม่รู้ว่าเป็นจริงหรือเท็จ เช่น  “x มากกว่า 3” จะเห็นว่าตัวแปร คือ x ซึ่งเราไม่รู้ว่า x