บริษัทมีความน่าเชื่อถือ ภาษาอังกฤษ

คุยเฟื่องเรื่องกองทุน : ตราสารหนี้ที่อันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่าระดับที่ลงทุนได้ กับตราสารที่ไม่ได้จัดอันดับ ...ความสับสนของตลาดตราสารหนี้ไทย

15 ธันวาคม 2559

          สัปดาห์ที่ผ่านมาผมได้มีโอกาสมาอบรมต่อใบอนุญาตผู้ค้าตราสารหนี้กับ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย หรือ Thai Bond Market Association  ซึ่งในการมาอบรมครั้งนี้ผมได้รับข้อมูลข่าวสารดีๆ มากมาย ประเด็นหนึ่งที่สะดุดใจผมเป็นพิเศษ คือ เรื่องของปริมาณตราสารหนี้ที่ไม่ได้รับการจัดอันดับ หรือ Non-rated bond ที่มีปริมาณเพิ่มขึ้นจาก 2-3 ปี ก่อนหลายเท่าตัว ประเด็นนี้ทั้งทางธนาคารแห่งประเทศไทยและสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ก็เฝ้าระวังกันอย่างใกล้ชิดเช่นกัน  สำหรับตราสารหนี้ Non-rated ระยะสั้น ถ้านับถึงสิ้นเดือนสิงหาคม 2559 มีปริมาณคงค้างในตลาดประมาณ 80,000 ล้านบาท ซึ่งถ้าเทียบกับตลาดตราสารหนี้ทั้งหมดที่มีขนาดรวมกว่า 10 ล้านล้านบาท หรือตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชนที่มีขนาด 3ล้านล้านบาท ก็ยังถือว่าไม่มากนัก

          แต่สิ่งที่มันผิดปกติสำหรับตลาดตราสารหนี้ไทย คือ เราแทบจะไม่มีตราสารหนี้ Non-investment grade หรือตราสารที่อันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่าระดับที่ลงทุนได้อยู่เลย คือมีเพียง 2 พันล้านบาทเท่านั้น  แต่กลับมีตราสาร Non-rated ถึงแปดหมื่นล้านบาท  แต่พอไปอ่านคำนิยามคำแปลของตราสาร Non-investment grade แล้วก็เริ่มเข้าใจ เพราะท่านแปลมาจากภาษาอังกฤษตรงตัว ว่า เป็นตราสารหนี้ที่อันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่าระดับที่ลงทุนได้ ตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้สูง บางครั้งก็ถูกเรียกว่า junk bond แปลตรงตัวว่า "ขยะ" ไม่สามารถลงทุนได้ กล่าวคือแค่ชื่อก็ขายไม่ได้แล้ว ไม่มีใครเอา ถ้าหากไปดูคำบรรยายที่ครบถ้วนของสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ท่านว่ากลุ่มนี้คือ บริษัทที่ได้รับการจัดอันดับต่ำกว่า BBB- ลงมา (คือ BB+ จนถึง C)

บริษัทมีความน่าเชื่อถือ ภาษาอังกฤษ

          แต่พอมาดูคำบรรยายของตราสาร Non-rated ท่านกลับแปลว่า ตราสารที่ไม่ได้รับการจัดอันดับ ที่ปรึกษาทางการเงินบางแห่งแปลเข้าข้างผู้ออกตราสารว่า ตราสารที่ไม่ต้องได้รับการจัดอันดับ พูดสั้นๆ คือ กลุ่มที่ไม่ได้จัดอันดับ ฟังดูแล้วเสมือนว่าจะดูดีกว่า กลุ่มที่อันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่าระดับที่ลงทุนได้ หรือตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้สูง  ด้วยเหตุนี้บ้านเราจึงแทบจะไม่มีบริษัทที่อยู่ในกลุ่ม Non-investment grade นี้เลย  ปัจจุบันที่มีอยู่ 2 บริษัทก็เป็นบริษัทเดิมที่เคยเป็นระดับลงทุนได้แต่ถูกลดอันดับลงมา ไม่มีบริษัทใดเลยที่ออกตราสารครั้งแรกในสถานะที่เป็น non-investment grade เช่น BB หรือ BB+

          เพื่อนผมที่เคยอยู่สถาบันการจัดอันดับเคยเล่าให้ฟังว่า ในประเทศไทย หากบริษัทใดได้รับผลการประเมินเบื้องต้นว่าจะได้อันดับความน่าเชื่อถือ ประมาณ BB- ถึง BB+ ก็จะปฏิเสธการรับบริการต่อ และขอให้บริษัทจัดอันดับไม่เปิดเผยข้อมูลนั้นกับสาธารณะ ปรากฏการณ์นี้ต่างจากตลาดที่พัฒนาแล้วในต่างประเทศมาก เพราะในตลาดเหล่านั้นผู้ออกตราสารจะเลือกที่บอกนักลงทุนว่าตนได้รับการจัดอันดับ BB หรือ BB+ มากกว่าที่จะเป็น Non-rated เพราะในตลาดของเขาการออกตราสาร Non-rated จะถูกตีความว่าแย่กว่า Non-investment grade เสียอีก และต้องจ่ายดอกเบี้ยที่สูงมากไม่แพ้กลุ่มที่ได้รับการจัดอันดับระดับ CCC ลงไป

บริษัทมีความน่าเชื่อถือ ภาษาอังกฤษ

          แต่ด้วยกฎและโครงสร้างระบบการเงินในประเทศไทยที่อยู่ในภาวะดอกเบี้ยต่ำและนักลงทุนไล่แสวงหาผลตอบแทน  ประกอบกับยังให้ความไว้วางใจตัวกลางการจัดจำหน่ายตราสารมากกว่าที่จะพึ่งการวิเคราะห์ด้วยตนเอง จึงเกิดปรากฏการณ์ที่ตลาด Non-rated เติบโตอย่างรวดเร็วในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ผมสังเกตุว่านักลงทุนส่วนใหญ่แม้ว่าจะเป็น High Net Worth หรือผู้มีเงินลงทุนสูงก็มิได้มีความสามารถในการวิเคราะห์ แยกแยะบริษัท Non-rated เหล่านี้  ซึ่งถ้านักลงทุนสามารถทราบคร่าวๆได้ว่างบการเงินของบริษัท Non-rated นั้นสามารถเทียบกลับไปที่ตารางการจัดอันดับได้ BB หรือ B หรือ CCC แล้วหากได้อันดับประมาณนั้นในต่างประเทศเขาให้ผลตอบแทนกันเท่าใดคงจะเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจลงทุนที่ดีไม่น้อยเลยนะครับ

โดย คุณสมิทธ์ พนมยงค์
       ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
       บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ไทยพาณิชย์ จำกัด

บริษัทมีความน่าเชื่อถือ ภาษาอังกฤษ


ช่วงนี้คนเปลี่ยนงานกันเยอะนะครับ แน่นอนว่าตั้งแต่ประเทศเราเกิดกระแสเห่อ AEC มา เรียกได้ว่าบริษัท ห้างร้าน กิจการทุกที่ก็เอาแต่สัมภาษณ์เป็นภาษาอังกฤษกันทั้งนั้น! ถ้าใครยัง “หวั่นๆ” กับการสัมภาษณ์ภาษาอังกฤษ กดเซฟ Blog นี้ไว้เลยครับ หรือจะพิมพ์แปะฝาบ้านก็ได้ เพราะ Blog นี้ช่วยคุณได้ชัวร์ป๊าบบบบบ! มาเริ่มกันเลยกับคำถามแรกครับ...

- Tell me about yourself. -

- เล่าเรื่องของตัวเองให้ฟังหน่อย -

คำแนะนำ : คำถามนี้เปิดโอกาสให้คุณเล่าเรื่องให้ตัวเองดูดี แต่ควรเล่าอย่างมีชั้นเชิง โดยคุณอาจพูดถึงงานอดิเรกที่คุณทำที่ช่วยสะท้อนแง่มุมดีๆในตัวคุณ เช่น I enjoy going to a marathon running program. ฉันชอบลงวิ่งมาราธอน การที่คุณชอบวิ่งมาราธอนอาจหมายถึงคุณเป็นคนมีความมุ่งมั่น อดทน ชอบความท้าทาย และรักสุขภาพ!

หรือจะบอกว่า In my freetime, I like to go to a volunteering event. ในเวลาว่าง ฉันมักจะชอบไปทำงานอาสาสมัคร การที่คุณชอบทำงานอาสา แสดงให้เห็นว่าคุณเป็นคนจิตใจดี ชอบช่วยเหลือผู้อื่น และประสานงานกับผู้อื่นได้ดี เป็นต้น

เมื่อคุณพูดถึงแง่มุมสนุกๆในตัวคุณไปแล้ว คุณอาจกลับมาที่เรื่องงาน โดยใช้ประโยคว่า...

"In addition to those interests and passions”

ในส่วนที่นอกเหนือจากงานอดิเรกความสนใจของผมแล้ว

“my professional life is a huge part of who I am”
การทำงานก็เป็นพาร์ทที่สำคัญที่ทำให้ผมเป็นผมอย่างเช่นทุกวันนี้ครับ

“I'd like to talk a bit about some of the strengths which I would bring to this job."

ผมขอกล่าวถึงจุดแข็งของผมที่ผมสามารถนำมาใช้ในงานตำแหน่งนี้นะครับ

...จากตรงนี้คุณก็สามารถเล่าถึงจุดแข็งและประสบการณ์การทำงานที่ผ่านมาได้เลยครับ

ข้อควรระวัง : อย่าพูดมากเกินไป ควรพูดให้สั้น กระชับ ได้ใจความ และไม่ต้องเล่าถึงเรื่องส่วนตัว พ่อแม่พี่น้อง หรืออะไรที่ไม่ได้มีจุดเด่น และอย่าพูดถึงข้อดีเป็นสิบๆข้อ ให้เลือกข้อที่เด่นๆมาพูดจะดีกว่า ควรหลีกเลี่ยงเรื่องศาสนาและการเมืองเพื่อไม่ให้ดูเป็นคนชอบตัดสิน (A judgmental person) ครับ

- Why should we hire you? -

- ทำไมเราต้องจ้างคุณ -

คำแนะนำ : คุณอาจเจอคำถาม “Why should we hire you?” ทำไมเราต้องจ้างคุณ หรือ “What makes you the best fit for this position?” อะไรทำให้คุณคิดว่าคุณเหมาะกับตำแหน่งนี้ คำตอบที่ควรตอบคือการ “ขายตัวเอง” ให้กับผู้สัมภาษณ์

“จงจำไว้ว่าบริษัทจ้างคน เพื่อมาแก้ปัญหา และคุณคือคนที่จะเข้ามาแก้ปัญหานั้น”

วิธีที่คุณจะตอบคำถามนั้นได้ดีที่สุด คือการทำความเข้าใจรายละเอียดของตำแหน่งที่คุณสมัคร และสกิลที่จำเป็นสำหรับงานนี้ รวมถึงเป้าหมายหรือวิสัยทัศน์ของบริษัท ก่อนที่จะนำเสนอเอกลักษณ์หรือจุดเด่นในตัวคุณที่ทำให้คุณเหนือกว่าผู้สมัครคนอื่น และอธิบายว่าคุณจะสามารถ “เอาชนะ” หรือ “แก้ไขปัญหา” ที่บริษัทมีได้อย่างไร

โดยคุณอาจใช้ประโยคว่า

“I have ……... ability to be an asset to your company.”

ดิฉันมีคุณสมบัติ…...ที่จะสร้างคุณค่าให้กับบริษัทของคุณค่ะ

“Your company provides many services that I have had experience with. I believe that my familiarity with the industry would make me a good fit for this position.”

องค์กรของคุณมีการให้บริการ (หรือสินค้า) ในหลายรูปแบบที่ดิฉันเคยมีประสบการณ์การทำงานด้วยมาก่อน ดิฉันเชื่อว่าความคุ้นเคยที่ดิฉันมีกับธุรกิจในรูปแบบนี้จะทำให้ดิฉันเหมาะสมกับตำแหน่งนี้ค่ะ

หรือจะกล่าวถึงปัญหา (Pain Point / Problem) ที่บริษัทกำลังมีอยู่ เช่น...

“You have explained that you are looking for a sales executive who is able to effectively manage over a dozen employees.”

จากที่คุณได้อธิบายว่าคุณกำลังมองหาพนักงานขายที่สามารถบริหารลูกทีมหลายคนได้ (บริษัทมีปัญหาในการหาคนมาบริหารฝ่ายขาย)

“In my 15 years of experience as a sales manager, I have developed strong motivational and team-building skills.”

จากประสบการณ์ของดิฉันที่เป็นผู้จัดการฝ่ายขายมา 15 ปี ฉันได้เรียนรู้ทักษะการสร้างทีมและสร้างแรงจูงใจมาเป็นอย่างดีเลยค่ะ

และอาจกล่าวเพิ่มเติมถึงใบประกาศนียบัตรหรือรางวัลที่ได้รับ เช่น “I was awarded manager-of-the-year for my new managment strategies. If hired, I will bring my leadership abilities and strategies for achieving profit gains to this position.”

ดิฉันได้รับรางวัลผู้จัดการแห่งปี สำหรับกลยุทธ์การบริหารงานรูปแบบใหม่ของดิฉัน ถ้าคุณจ้างดิฉัน ดิฉันจะนำทักษะความเป็นผู้นำและกลยุทธ์ในการทำกำไรมาสู่ที่นี่เองค่ะ!

ข้อควรระวัง : ถ้าคุณถูกถามกลับกันว่า "Why shouldn't we hire you?" ทำไมเราถึงไม่ควรจ้างคุณ คุณไม่ควรตอบกวนๆว่า “ถ้าไม่อยากได้คนเก่ง ก็ไม่ต้องจ้างสิยะ” หรือ “ถ้าคุณไม่อยากได้กำไร ก็ไม่ต้องจ้างดิฉันก็ได้” แต่ให้คุณบอกถึงคุณสมบัติกลางๆ ไม่ดีไม่ร้าย เช่น “ถ้าดิฉันเป็นคนพูดน้อย อาจจะไม่เหมาะกับบริษัทที่เฮฮาอย่างนี้ก็ได้มั้งคะ” เพราะจริงๆแล้วคุณสมบัติ “พูดน้อย” แบบนี้ไม่ได้เป็นคุณลักษณะ (Trait) ที่สร้างความเสียหายให้กับบริษัทแต่อย่างใด

- What are your salary expectations? -

- คุณคาดหวังเงินเดือนเท่าไหร่ -

คำแนะนำ : คุณควรศึกษาหาความรู้ว่าสายงานของคุณโดยเฉลี่ยแล้วได้เงินเดือนประมาณเท่าไหร่ ซึ่งตัวเลขนั้นจะทำให้คุณประเมินตนเองได้ว่าควรเรียกเงินเดือนเท่าไหร่ดี แต่สิ่งสำคัญคือ  “อย่ายอมรับเงินเดือนที่ต่ำกว่าที่คุณตั้งใจ เว้นเสียว่าทางบริษัทอาจชดเชยเป็นผลประโยชน์อื่นๆ” ซึ่งคุณต้องชั่งน้ำหนักเอาเองว่าคุณสามารถเอาชีวิตรอดในเงินเดือนเท่านั้นได้หรือไม่

เรื่องเงินเดือนเป็นเรื่องที่ต่อรองได้ คุณต้องแฟร์กับตัวเองด้วย ซึ่งคุณสามารถบอกกับผู้สัมภาษณ์ได้ด้วยประโยคตัวอย่างเหล่านี้...

“I understand that positions similar to this one pay in the range of ฿35,000 to ฿45,000. With my experience, I would like to receive something in the range of ฿40,000 to ฿42,000.”

ผมเข้าใจว่าตำแหน่งงานแบบนี้จะจ่ายที่ประมาณ 35,000 - 45,000 บาท ด้วยประสบการณ์ของผม ผมต้องการได้รับค่าตอบแทนที่ 40,000 - 42,000 บาทครับ

หรือ “I would like to be compensated fairly for my experience.” ผมต้องการรับค่าจ้างที่ยุติธรรมสำหรับประสบการณ์ของผมครับ

หรือ “The research I've done indicates that positions like this one pay ฿35,000 to ฿45,000 and something in that range would be acceptable to me as a starting salary.”

จากที่ผมทำการบ้านมา ตำแหน่งนี้จะจ่ายที่ประมาณ 35,000 - 45,000 บาท ดังนั้นถ้าผมได้รับเงินเดือนในช่วงดังกล่าวเป็นเงินเดือนเริ่มต้น ผมคิดว่าผมรับได้ครับ

และ “My salary requirements are flexible, but I do have significant experience in the field that I believe adds value to my candidacy.”

สามารถเจรจาได้ครับ แต่ผมมีประสบการณ์ในสายงานนี้มาอย่างดี ผมเชื่อว่าตรงนี้สามารถนำมาคิดเป็นเงินเดือนของผมได้

ข้อควรระวัง : หลายบริษัทที่คุณไปสัมภาษณ์มักจะพยายามกดเงินเดือนที่คุณเรียกอยู่แล้ว ฉะนั้นถ้าคุณต้องการตัวเลขใดให้บวกเพิ่มไป 15-20% ก่อนจะเจรจาจะดีกว่านะครับ

- What is your greatest strength? -

- จุดแข็งที่ใหญ่ที่สุดของคุณคืออะไร -

คำแนะนำ : ก่อนสัมภาษณ์คุณควรลิสต์ข้อดี จุดแข็ง สกิล และประสบการณ์ที่คุณมีออกมาก่อน และเลือกมาสัก 3-4 อย่างที่เด่นๆ และเกี่ยวข้องกับตำแหน่งที่คุณสมัครเท่านั้น อย่าพูดอะไรเรื่อยเปื่อยไม่มีโฟกัส เพราะมันจะลดความน่าเชื่อถือของข้อดีที่คุณเล่าไปก่อนหน้า และควรยกตัวอย่างว่าคุณได้ใช้ข้อดีเหล่านั้นทำอะไรมาบ้างในอดีต เพราะหากผู้สัมภาษณ์ถามว่า “คุณจะเอาข้อดีเหล่านั้นมาช่วยบริษัทได้อย่างไร” คุณจะได้คิดออกทันท่วงที

ตัวอย่างที่คุณอาจเอาไปใช้ได้

“I have extremely strong writing skills.” ดิฉันมีประสบการณ์ทางด้านการเขียนที่ดีมากค่ะ