หลักการพื้นฐานของประชาธิปไตย 6 ข้อ

1)      หลักอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน  หมายถึง  ประชาชนเป็นเจ้าของ  อำนาจสูงสุดในการปกครองรัฐ

2)      หลักความเสมอภาค  หมายถึง  ความเท่าเทียมกันในสังคมประชาธิปไตย  ถือว่าทุกคนที่เกิดมาจะมีความ

      เท่าเทียมกันในฐานะการเป็นประชากรของรัฐ  ได้แก่  มีสิทธิเสรีภาพ  มีหน้าที่เสมอภาคกัน ไม่มีการแบ่งชนชั้น

      หรือการเลือกปฏิบัติ  ควรดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ไม่ข่มเหงรังแกคนที่อ่อนแอหรือยากจนกว่า

3)      หลักนิติธรรม  หมายถึง  การใช้หลักกฎหมายเป็นกฎเกณฑ์การอยู่ร่วมกัน เพื่อความสงบสุขของสังคม

4)      หลักเหตุผล  หมายถึง  การใช้เหตุผลที่ถูกต้องในการตัดสินหรือยุติปัญหาในสังคม

5)      หลักการถือเสียงข้างมาก  หมายถึง  การลงมติโดยยอมรับเสียงส่วนใหญ่ในสังคมประชาธิปไตย  ครอบครัว

       ประชาธิปไตย  จึงใช้หลักการถือเสียงข้างมากเพื่อลงมติในประเด็นต่าง ๆ  ได้อย่างสันติวิธี

6)      หลักประนีประนอม  หมายถึง  การลดความขัดแย้งโดยการผ่อนหนักผ่อนเบาให้กัน  ร่วมมือกันเพื่อเห็นแก่ประโยชน์

      ของส่วนรวมเป็นสำคัญ

      หลักการทางประชาธิปไตยจึงเป็นหลักการสำคัญที่นำมาใช้ในการดำเนินชีวิตในสังคม  เพื่อก่อให้เกิดความสงบสุข

 ในสังคมได้

หลักการสำคัญของการปกครองระบอบประชาธิปไตย

หลักการพื้นฐานของประชาธิปไตย 6 ข้อ

ประชาธิปไตย (อังกฤษ: democracy) เป็นระบอบการปกครองแบบหนึ่งซึ่งการบริหารอำนาจรัฐมาจากเสียงข้างมากของพลเมืองผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย โดยพลเมืองอาจใช้อำนาจของตนด้วยตนเองหรือผ่านผู้แทนที่เลือกไปใช้อำนาจแทนก็ได้ ประชาธิปไตยยังเป็นอุดมคติที่ว่าพลเมืองทุกคนในชาติร่วมกันพิจารณากฎหมายและการปฏิบัติของรัฐ และกำหนดให้พลเมืองทุกคนมีโอกาสแสดงความยินยอมและเจตนาของตนเท่าเทียมกัน

หลักการสำคัญของการปกครองระบอบประชาธิปไตย

  1. หลักความเสมอภาค

– ความเสมอภาคทางการเมือง ประชาชนทุกคนสามารถมีส่วนร่วมทางการเมืองได้อย่างเท่าเทียมกัน        – ความเสมอภาคทางเศรษฐกิจ ประชาชนทุกคนต้องไม่ถูกกีดกันในการประกอบอาชีพ การประกอบการต้องเป็นไปอย่างเสรีเป็นธรรมไม่มีการผูกขาดทางการค้ารูปแบบการจัดแสดง

– ความเสมอภาคทางโอกาส บุคคลสามารถจะได้รับการศึกษา การรักษาพยาบาลและการให้บริการจากรัฐอย่างเท่าเทียมกัน

  1. หลักสิทธิ เสรีภาพและหน้าที่

สิทธิ คือ อำนาจอันชอบธรรม หรือประโยชน์ที่กฎหมายรับรองและคุ้มครอง

เสรีภาพ คือ การมีอิสระที่จะกระทำสิ่งใด ๆ โดยต้องไม่ละเมิดเสรีภาพของผู้อื่น

หน้าที่ คือ สิ่งที่บุคคลต้องปฏิบัติหรืองดเว้นจากการปฏิบัติบุคคลย่อมมีสิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่ซึ่งการใช้สิทธิ เสรีภาพต้องไม่ไปละเมิดสิทธิของผู้อื่น และต้องปฏิบัติหน้าที่ของตนภายใต้กฎหมาย

  1. หลักนิติธรรม

การใช้กฎหมายเป็นหลักในการบริหารประเทศ บุคคลทุกคนต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย เจ้าหน้าที่ของรัฐต้องใช้กฎหมายต่อทุกคนอย่างเท่าเทียมกันโดยไม่เลือกปฏิบัติ

  1. หลักการใช้เหตุผล

คือ การใช้หลักเหตุผลมาเป็นพื้นฐานในการตัดสินใจ และหากมีการตัดสินปัญหาด้วยการออกเสียงต้องยอมรับมติของเสียงข้างมาก แต่ต้องเคารพสิทธิของเสียงส่วนน้อย

  1. หลักการมีส่วนร่วมทางการเมือง

การปกครองระบอบประชาธิปไตยนั้น ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศทั้งทางตรงและทางอ้อม ทางตรง เช่น การออกเสียงประชามติ การเสนอถอดถอน ฯลฯ ทางอ้อม เช่น การเลือกตัวแทนเข้าไปทำหน้าที่บริหารประเทศแทนตน

– ทางตรง คือการใช้สิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ เช่น การแสดงความคิดเห็น การออกเสียงประชามติ การขอรับรู้ข้อมูลข่าวสารราชการ การชุมนุม การร้องทุกข์ส่วนราชการ

– ทางอ้อม คือ การเลือกตั้งตัวแทน เช่น ส.ส. , ส.ว. ไปทำหน้าที่ในการออกกฎหมายและบริหารประเทศ

26 พฤศจิกายน 2565

หลักการพื้นฐานของประชาธิปไตย มีกี่ประการ

ทฤษฎีหนึ่งมองว่าประชาธิปไตยประกอบด้วยหลักการพื้นฐานสามประการ ได้แก่ การควบคุมจากล่างขึ้นบน (อำนาจอธิปไตยอยู่ในมือของอำนาจระดับล่างสุด) ความเสมอภาคทางการเมือง และบรรทัดฐานทางสังคมซึ่งสะท้อนหลักการสองข้อแรก แลร์รี ไดมอนด์ นักรัฐศาสตร์ชาวอเมริกัน มองว่ามีสี่องค์ประกอบ ได้แก่ ระบบการเมืองที่เลือกและเปลี่ยนรัฐบาลผ่านการ ...

หลักความเสมอภาคมีอะไรบ้าง

1. ความมีสิทธิเท่าเทียมกันระหว่างชายหญิง (มาตรา 3 วรรค 2) 2. ข้อห้ามมิให้เลือกปฏิบัติอันเนื่องมาจากเพศ เชื้อชาติ ศาสนา ภาษา (มาตรา 3 วรรค 3) 3. ความมีสถานะเท่าเทียมกันระหว่างเด็กที่เกิดนอกสมรสกับเด็กที่บิดามารดาได้สมรสกันตามกฎหมาย(มาตรา6วรรค 5) 4. สิทธิอันเท่าเทียมกันต่อหน้าที่ในทางราชการ (มาตรา 12 วรรค 2)

วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 มีความสำคัญอย่างไร

การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของประวัติศาสตร์ไทยในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ซึ่งมีผลทำให้ราชอาณาจักรสยามเปลี่ยนรูปแบบประเทศจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ และเปลี่ยนรูปแบบการปกครองไปเป็นระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา เกิดขึ้น ...

หลักการสำคัญของรัฐธรรมนูญมีอะไรบ้าง

ในวิชากฎหมาย แนวคิดประชาธิปไตยตะวันตกได้ถ่ายทอดอยู่ในรูปแบบของทฤษฎีกฎหมายที่เรียก รัฐธรรมนูญนิยม (constitutionalism) ซึ่งตั้งอยู่บนหลักการสามประการ คือ การรับรองสิทธิเสรีภาพของประชาชน การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ และการเสริมสร้างเสถียรภาพและประสิทธิภาพให้กับรัฐบาล รัฐธรรมนูญของไทยหลายฉบับได้ยอมรับแนวคิดดังกล่าวและนำมาเป็น ...