รูป แบบ ของสารสนเทศ มี กี่ รูป แบบ อะไร บาง

ประเภทของระบบสารสนเทศ

            มีงานหลายงานทางธุรกิจที่ต้องการให้เกิดการทำงานที่เป็นอัตโนมัติระบบสารสนเทศจึงเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นมากขึ้น  ระบบสารสนเทศที่นำมาใช้เพื่อช่วยในการทำงานนั้นมีหลายระบบ บางระบบอาจออกแบบมาเพื่อช่วยให้สามารถรวบรวมข้อมูลได้รวดเร็ว  บางระบบอาจถูกออกแบบมาเพื่อช่วยในวิเคราะห์และตัดสินใจ  ระบบสารสนเทศเหล่านี้สามารถทำงานได้เสร็จภายในระับบย่อยเพียงระบบเดียว หรือสามารถทำงานร่วมกันในหลาย ๆ ระบบสำหรับองค์กรที่มีขนาดใหญ่    ระบบสารสนเทศสามารถแยกตามหน้าที่ที่แตกต่างกันได้ดังนี้ 

1. ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automatic System หรือ OAS )

            เป็นงานที่ต้องทำอยู่เป็นประจำ หรืองานทั่วไป ที่สามารถพบได้ในองค์กรทุกประเภท เช่น การส่งจดหมาย การพิมพฺ์เอกสารายงาน หรือ การจัดตารางเวลาซึ่งงานลักษณะนี้ ทำโดยระบบคอมพิวเตอร์อัตโนมัติ  ผู้ใช้สารสนเทศประเภทนี้สามารถนำโปรแกรมประยุกต์ เข้ามาช่วยงานแบบประจำได้ เช่น โปรแกรมประมวลผลคำ (Word Processing ) สมุดบัญชีอิเล็กทรอนิกส์ (Spreadsheet ) และโปรแกรมที่ใช้ติดต่อสื่อสารภายในและภายนอกองค์กร และเพื่อรองรับการขยายระบบใหญ่มากขึ้น ทำให้ระบบสำนักงานอัตโนมัติสามารถสร้างได้ด้วยโปรแกรมประยุกต์ (Application Software ) ที่มีขายตามร้านขายซอฟต์แวร์ระบบสำนักงานอัตโนมัตินี้มักถูกใช้งานโดยบุคคลทุกระดับในองค์กร 
 

 2. ระบบประมวลผลรายการประจำวัน (Transaction Processing System  หรือ TPS)

            บางครั้งเรียกว่าระบบประมวลผลข้อมูล ( Data Processing System )เป็นระบบที่มีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการจัดการข้อมุลพื้นฐาน โดยเน้นที่การประมวลผลรายการประจำวันและการเก็บรักษาข้อมูล การทำงานมัักเกิดขึ้นในหน่วยงานใด หน่วยงานหนึ่ง เท่านั้น เช่น ฝ่ายการเงิน ฝ่ายบัญชี โดยแต่ละฝ่ายจะมีการประมวลผลที่แยกจากกัน ข้อมูลจะถูกป้อนและจัดเก็บอยู่ในระบบ และข้อมูลเหล่านั้นจะถูกแก้ไขระหว่างการประมวลผลรายการประจำวัน จากนั้นผลลัพธืจะถูกแสดงตามระยะเวลาที่กำหนด เช่น ใบสั่งซื้อ สั่งจอง 
 

3. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ  (Management Information System หรือ MIS )

            เป็นระบบซึ่งรวบรวมข้อมูลและสาารสนเทศทั้งหมดในองค์กร และภายนอกองค์กรอย่างมีหลักเกณฑ์  จุดประสงค์ของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการจะเน้นให้ผู้บริหารมองเห็นแนวโน้มและภาพรวมขององค์กรในปัจจุบัน   รวมทั้งสามารถควบคุมและตรวจสอบผลงานของระดับปฏิบัติการด้วย ขอบเขตของรายการที่ได้จากระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการจะขึ้นอยู่กับลักษณะของสารสนเทศ และวัตถุประสงค์ในการใช้งาน โดยอาจมีรายงานตามสภาวการณ์ หรือสภาวการณ์ที่ผิดปกติ ตัวอย่างรายงานที่ได้จากระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ เช่น การวิเคราะหืการขายแยกตามพื้นที่ การวิเคราะห์ต้นทุน  งบประมาณประจำปี เป็นต้น 
 

4. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System หรือ DSS)

           เป็นระบสารสนเทศที่จัดทำขึ้นเพื่ิอให้ผู้ทำการตัดสินใจใช้ประกอบการตัดสินใจ ดังนั้นจึงเป็นระบบที่ง่ายต่อการเรียกใช้งานและการโต้ตอบทั้งนี้เพราะผู้บริหาร ระดับกลางขึ้นไปคุ้นเคยและจำเป็นต้องใช้การตัดสินใจบนประสบการณืต่อสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งที่ควบคุมได้ และทีไม่่สามารถควบคุมได้ ระบบสนับสนุนการตัดสินใจจึงเป็นระบบที่มีการผสมผสานสารสนเทศที่มีอยู่หรือเรียกใช้จากระบบสารสนเทสอื่น ๆ นำมาเปรียบเทียบ คำนวณ วิเคราะห์ คาดการณ์ โดยนำเสนอในรูปของกราฟิก แผนงานหรือแม้แต่ระบบปัญญาประดิษฐ์  เพื่อให้เกิดความสะดวกในการใช้สารสนเทศ สำหรับผู้ทำการตัดสินใจ นอกเหนือไปจากกงานหรือสถานการณ์ภายในที่ควบคุมได้ ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ จะได้รับการออกกแบบเพื่อให้สนับสนุนการตัดสินใจหลาย ๆ ด้าน พร้อมกัน    ดังนั้นสารสนเทศที่เกี่ยวข้องภายในองค์กรจึงได้รับการจัดระบบใหม่เพื่อให้สามารถแสดงความเกี่ยวข้องอย่างชัดเจน สามารถเรียกใช้ได้ทันที            

รูป แบบ ของสารสนเทศ มี กี่ รูป แบบ อะไร บาง
 ส่วนประกอบของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ 
รูป แบบ ของสารสนเทศ มี กี่ รูป แบบ อะไร บาง
          1. การจัดการข้อมูล  (Data Management )เป็นฐานข้อมูลที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ สถานการณ์ต่าง ๆ และถูกจัดการโดยซอฟต์แวร์ที่เรียกว่า ระบบจัดการ
ฐานข้อมูล (Database Management System หรือ DBMS  )

          2. การจัดการตัวแบบ (Model Management ) เป็นซอฟต์แวร์สำเร็จรูปที่รวมการทำงานหลาย ๆ อย่าง เช่น การทำงานด้านการเงิน สถิติ หรือตัวแบบเชิงปริมาณอื่น ๆ ที่มีความสามารถในการวิเคราะหืข้อมูล และมีซอฟต์ที่ช่วยในการจัดการที่เหมาะสมที่เรียกว่า ระบบจัดการฐานตัวแบบ  (Model Base anagement
System หรือ MBMS )

         3. การจัดการความรู้ (Knowledge Management ) เป็นส่วนที่ทำหน้าที่สนับสนุนส่วนอื่น ๆ หรือเป็นส่วนประกอบแบบอิสระไม่ขึ้นกับองค์ประกอบอื่น ๆ ช่วยให้ข้อมูลหรือความร้แก่ผู้ทำการตัดสินใจ 

         4. การติดต่อกับผู้ใช้ (User Interface ) ผู้ใช้สามารถติดต่อสื่อสารและสั่งงานระบบสนับสนุนการตัดสินใจโดยผ่านส่วนนี้ 

รูป แบบ ของสารสนเทศ มี กี่ รูป แบบ อะไร บาง

 ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ 

5. ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง (Executive Informaion Systyem  หรือ EIS )

                 เป็นระบบที่สร้างขึ้นเพื่อสนับสนุนสารสนเทศและการตัดสินใจสำหรับผู้บริหารระดับสูงโดยเฉพาะ โดยใช้หลักการและวิธีการเดียวกกับระบบสนับสนุนการตัดสินใจ แต่พัฒนาขึ้นมาเพื่อรองรับงานในองค์กรขนาดใหญ่ที่มีระบบการตัดสินใจที่ซับซ้อนต้องการความแม่นยำและรวดเร็วในการตัดสินใจจากสภาวะหรือผลกระทบภายนนอกองค์กร ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูงจะใช้ข้อมูลจาก 3 แหล่งคือ                      

                    1. ข้อมูลภายในองค์กร ได้แก่ งบประมาณ แผนรายจ่าย หรือแผนการเงิน 
                    2. ข้อมูลภายนอกองค์กร ได้แก่ สำนักข่าว ตลาดหุ้น
                    3. ข้อมูลที่ได้จากการประมวลผลรายการประจำวัน 

          แล้วนำมาเปรียบเทียบ คำนวณ วิเคราะห์ คาดการณ์ และยังสามารถแสดงแนวโน้มหรือคาดคะเนเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึันในอนาต

                

รูป แบบ ของสารสนเทศ มี กี่ รูป แบบ อะไร บาง

คุณสมบัติของระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง  
รูป แบบ ของสารสนเทศ มี กี่ รูป แบบ อะไร บาง
 

               - สนับสนุนการวางแผนกลยุทธ์ (Strategic Planning Support ) ผู้บริหารระดับสูงส่วนใหญ่ มักจะให้ความสำคัญต่อการวางแผนกลยุทธ์ขององค์กร  ดังนั้นผู้พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูงควรมีความรู้เรื่องกลยุทธ์ธุรกิจ และปัจจัยในการวางแผนกลยุทธ์ เพื่อให้สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการกำหนดกลยุทธ์ที่สมบูรณ์ 
               - เชื่อมโยงกับสิ่งแวดล้อมภายนอก (External Environment Focus)ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูงจะถูกออกแบบให้สามารถเชื่อมโยงกับ
แหล่งข้อมูลที่มาจากภายนอกองค์กรเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่มีความจำเป็นและสำคัญในการตัดสินใจ
               - มีความสามารถในการคำนวณภาพกว้าง ( Broad -based Computing Capabilities ) การตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูงส่วนใหญ่ จะมองภาพรวมของระบบ กว้าง ๆ ไม่ลงลึกในรายละเอียดดังนั้นการคำนวณที่ผูั้บริหารระัดับสูงต้องการจึงเป็น ลักษณะที่ง่าย ชัดเจนเป็นรูปธรรม ไม่ซับซ้อนมาก 
               - ง่ายต่อการเรียนรู้และใช้งาน (Exceptional Ease of learning and use ) ผู้บริหารระดับสูงอาจเป็นบุคคลที่ไม่มีความชำนาญด้านคอมพิวเตอร์ ดังนั้นระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูงจึงควรที่จะเลือกรูปแบบการแสดงผล หรือการโต้ตอบกับผู้ใช้งานที่ง่ายและรวดเร็ว
               - เป็นระบบเฉพาะสำหรับผู้บริหาร (Costomization ) ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูงที่ดีนั้นควรเป็นระบบเฉพาะผู้บริหารที่จะเข้าถึงข้อมุลได้ง่าย

6. ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Excpert System หรือ ES )

        มีลักษณะคล้ายระบบสารสนเทศประเภทอื่น ๆ คือ เป็นระบบคอมพิวเตอร์ ที่ช่วยผู้บริหารแก้ปัญหา หรือสนับสนุนการตัดสินใจ แต่จะแตกต่างจากระบบสารสนเทศประเภทอื่นตรงที่ ใช้หลักการทำงานด้วยปัญญาประดิษฐ์(Artificial Intelligence ) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้ มากกว่าการจัดการสารสนเทศ  ระบบผู้เชียวชาญเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเลียนแบบขั้นตอนและวิธีการในการคิด วิเคราะห์  เพื่อแก้ไขปัญหาโดยผู้เชี่ยวชาญในสาขาใด ๆ ระบบผู้เชี่ยวชาญสามารถนำไปใช้ในขั้นตอนการให้คำปรึกษา หรือสนับสนุนการแก้ไขปัญหาที่ยากและซับซ้่อน ณ สถานการณ์ใด ๆได้    ระบบผู้เชียวฃาญจะเลือกเฉพาะสาขาหรือ เฉพาะด้านที่ขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญ 
     

        การสร้างระบบผู้เชี่ยวชาญต้องการข้อมูลจำนวนมากจากผูั้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านนั้น ๆ เพื่อเก็บข้อมูลอย่างละเอียดลงในฐานข้อมูล ที่เรียกว่าฐานความรู้ จากนั้นกลไกการวินิจฉัย ซึ่งเปรียบได้กับสมองของระบบจะทำการตรวจสอบข้อมูลที่มีอยู่ในฐานความรู้ และเลือกข้อมูลที่เหมาะสมที่สุดด้วยวิธีการในการคิดหาคำตอบ อย่างมีเหตุผลและเป็นขั้นเป็นตอน พร้อมกับต้องมีส่วนของการติดต่อกับผู้ใชที่มีความสะดวก เพื่อให้เกิดความพึงพอใจ และใช้งานระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

 

รูป แบบ ของสารสนเทศ มี กี่ รูป แบบ อะไร บาง

                                                                                                            ระบบผู้เชี่ยวชาญ 

ที่มา : http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/bangkok/pichai_l/it01/it_type.htm

รูปแบบสารสนเทศมีกี่รูปแบบอะไรบ้าง

2) รูปแบบสารสนเทศ คือ ลักษณะภายนอกของสารสนเทศ แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ สื่อตีพิมพ์ สื่อไม่ตีพิมพ์ / สื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยแต่ละประเภทสามารถจ าแนก ได้ดังต่อไปนี้ (จุดหมาย อารมณ์สวะ, 2551 และ สานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาแห่งชาติ, 2558)

สารสนเทศมี 4 ประเภท อะไรบ้าง

1.3 ประเภทของสารสนเทศ.
1. ระบบการประมวลผลทางธุรกิจ (Transaction Processing System : TPS) ... .
2. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System : MIS) ... .
3. ระบบช่วยตัดสินใจ (Decision Support System : DSS) ... .
4. ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง (Executive Information System : EIS).

รูป แบบ ข้อมูลสารสนเทศ มี อะไร บาง

ผลลัพธ์หรือสารสนเทศ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ตามความต้องการขององค์กร รูปแบบของข้อมูลที่นำเข้าสู่ระบบการประมวลผล ของคอมพิวเตอร์มีดังนี้คือ 1.ตัวเลข (Numeric) 2.ตัวอักษรและข้อความ (Character and Text) 3.ภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว (Image and Animation)

ลักษณะของสารสนเทศ มีกี่ประการ อะไรบ้าง

กล่าวโดยสรุป จะเห็นได้ว่าคุณลักษณะของสารสนเทศที่มีคุณภาพนั้น ต้องมีคุณสมบัติที่ เหมาะสม ได้แก่ ชัดเจน เชื่อถือได้ มีความทันสมัยทันต่อเหตุการณ์ มีความถูกต้องแม่นยำ มีความ สมบูรณ์ครบถ้วน ตรงตามความต้องการ เรียกใช้ง่าย มีความยืดหยุ่น และต้องตรวจสอบได้