ประเทศไทยเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ เป็นวันที่ 1 มกราคม ในสมัยคณะรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีท่านใด

ประเทศไทยเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ เป็นวันที่ 1 มกราคม ในสมัยคณะรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีท่านใด

ปฏิทินเดือนมกราคม ปี พ.ศ. 2494

Show


การเปลี่ยนปีปฏิทินของประเทศไทย

ณิชชา บูรณสิงห์ | 1 สิงหาคม 2563

...ประเทศไทยจึงมีวันขึ้นปีใหม่ตรงกับนานาประเทศ เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2484
และเป็นการเปลี่ยนการใช้ปีปฏิทินของประเทศไทยครั้งแรกเป็นต้นมา
ส่งผลให้ พ.ศ. 2483 เหลือเพียง 9 เดือน เนื่องจากได้ตัดสามเดือนสุดท้ายของ พ.ศ. 2483 ออก...

ตามจารีตประเพณีของไทยแต่โบราณได้ถือวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับคติแห่งพุทธศาสนา ซึ่งถือช่วงฤดูเหมันต์หรือฤดูหนาวเป็นการเริ่มต้นปี ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงเป็นวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 เป็นวันขึ้นปีใหม่ ซึ่งถือตามปฏิทินทางจันทรคติ คือ การนับวันเดือนปีโดยใช้การโคจรของพระจันทร์เป็นเกณฑ์ และจากหลักฐานปรากฏในศิลาจารึกในสมัยสุโขทัยเป็นราชธานี สมเด็จพระเจ้าปราสาททองทรงเปลี่ยนมาใช้จุลศักราช โดยใช้วันเถลิงศก (วันขึ้นจุลศักราชใหม่) เป็นวันขึ้นปีใหม่ ซึ่งยังคงใช้ปฏิทินจันทรคติ ถึงแม้ว่าปฏิทินราชการจะใช้จันทรคติ แต่ทางคณะสงฆ์ยังนิยมใช้เทียบปีในรูปแบบพุทธศักราชอย่างเป็นทางการ

จนกระทั่งในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นว่า ไทยได้มีการติดต่อกับประเทศต่าง ๆ มากขึ้น การใช้ปฏิทินจันทรคติไม่เหมาะสมและไม่สะดวก เพราะวันไม่ตรงกับปฏิทินสากล พระองค์จึงทรงได้โปรดเกล้าฯ เปลี่ยนจากปฏิทินจันทรคติมาใช้ปฏิทินสุริยคติ คือ การนับวันเดือนปี โดยใช้การโคจรของพระอาทิตย์เป็นเกณฑ์ ตามแบบสากลปฏิทินเกรโกเรียนแทน โดยกำหนดแบ่งให้หนึ่งปีมี 12 เดือน และในแต่ละเดือนจะมี 28-31 วัน ตามปฏิทินสากล พระองค์ทรงให้กรมพระยาเทววงศ์วโรปการเป็นผู้ตั้งชื่อเดือน ได้แก่ เดือนแรกของปี คือ เดือนเมษายน จนถึงเดือนสุดท้ายของปี คือ เดือนมีนาคม เริ่มใช้วันที่ 1 เมษายน 2432


คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติปีปฏิทิน พศ...

ต่อมาในพุทธศักราช 2483 สมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี เห็นว่า การกำหนดวันขึ้นปีใหม่ของไทยไม่เหมาะสม เพราะประเทศต่าง ๆ ส่วนใหญ่ต่างถือวันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ และเพื่อสะดวกในการติดต่อกับประเทศต่าง ๆ ดังนั้น รัฐบาลจึงได้มีแต่งตั้งคณะกรรมการ ซึ่งประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญในวิชาการที่เกี่ยวกับเรื่องปีปฏิทิน ทำการศึกษาค้นคว้าและจัดทำรายงานเสนอต่อรัฐบาล โดยมีความเห็นเป็นเอกฉันท์ให้เปลี่ยนจากวันที่ 1 เมษายน เป็น 1 มกราคม เพื่อให้สอดคล้องกับนานาประเทศ จึงได้มีการเสนอร่างพระราชบัญญัติปีปฏิทิน พ.ศ. .... ในวันที่ 1 สิงหาคม 2483 โดยมีเหตุผลว่า เพื่ออนุโลมตามปีประเพณีของไทยแต่โบราณที่ถือวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่และให้ตรงกับที่นิยมใช้ในต่างประเทศที่เจริญแล้ว จากนั้น ที่ประชุมรับหลักการวาระที่ 1 และมีมติตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติปีปฏิทิน พศ... จำนวน 9 คน ประกอบด้วย พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร หลวงวิจิตรวาทการ หม่อมเจ้าวิวัฒน์ไชย ไชยยันต์ นายเดือน บุนนาค นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ นายฟื้น สุพรรณสาร นายเตียง ศิริขันธ์ นายชอ้อน อำพล และนายบุญเท่ง ทองสวัสดิ์

ประเทศไทยเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ เป็นวันที่ 1 มกราคม ในสมัยคณะรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีท่านใด

พ.ร.บ. ปีประติทิน พุทธศักราช 2483 หน้าแรก

ประเทศไทยเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ เป็นวันที่ 1 มกราคม ในสมัยคณะรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีท่านใด

พ.ร.บ. ปีประติทิน พุทธศักราช 2483 หน้าสอง

ประเทศไทยเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ เป็นวันที่ 1 มกราคม ในสมัยคณะรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีท่านใด

พ.ร.บ. ปีประติทิน พุทธศักราช 2483 หน้าสาม

ประเทศไทยเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ เป็นวันที่ 1 มกราคม ในสมัยคณะรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีท่านใด

พ.ร.บ. ปีประติทิน พุทธศักราช 248 หน้าสุดท้าย


พระราชบัญญัติปีปฏิทิน พุทธศักราช 2483

ต่อมาในวันที่ 29 สิงหาคม 2483 มีการพิจารณาวาระที่ 2 และ 3 โดยที่ประชุมมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว และประกาศใช้พระราชบัญญัติปีปฏิทิน พุทธศักราช 2483 เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2483 ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงปีปฏิทิน โดยกำหนดให้วันที่ 1 มกราคมของทุกปีเป็นวันขึ้นปีใหม่ และให้ถือเป็นจารีตประเพณีของชาติ โดยให้หน่วยงานราชการหยุดทำการ 2 วัน คือ วันที่ 31 ธันวาคม เป็นวันสิ้นปี และวันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่

ดังนั้น ประเทศไทยจึงมีวันขึ้นปีใหม่ตรงกับนานาประเทศ เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2484 และเป็นการเปลี่ยนการใช้ปีปฏิทินของประเทศไทยครั้งแรกเป็นต้นมา และส่งผลให้ พ.ศ. 2483 เหลือเพียง 9 เดือน เนื่องจากได้ตัดสามเดือนสุดท้ายของ พ.ศ. 2483 ออก ทำให้เดือนมกราคม กุมภาพันธ์ และมีนาคม พ.ศ. 2483 หายไป และ พ.ศ. 2484 มี 12 เดือน เพื่อให้สอดคล้องกับปฏิทินสากลที่ใช้อยู่ในต่างประเทศทั่วโลก โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม และสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม นับจากนั้นเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน

ข้อมูลจาก : รายการ ร้อยเรื่อง...เมืองไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

จอมพล
แปลก พิบูลสงคราม
น.ร., ร.ว., ป.จ., ม.ป.ช., ม.ว.ม.
ประเทศไทยเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ เป็นวันที่ 1 มกราคม ในสมัยคณะรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีท่านใด
แปลก ประมาณทศวรรษ 2480
นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 3
ดำรงตำแหน่ง
16 ธันวาคม พ.ศ. 2481 – 1 สิงหาคม พ.ศ. 2487
(5 ปี 228 วัน)
กษัตริย์ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล
ก่อนหน้า พระยาพหลพลพยุหเสนา
ถัดไป ควง อภัยวงศ์
ดำรงตำแหน่ง
8 เมษายน พ.ศ. 2491 – 16 กันยายน พ.ศ. 2500
(9 ปี 161 วัน)
กษัตริย์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
ผู้ว่าการแทน สฤษดิ์ ธนะรัชต์
ก่อนหน้า ควง อภัยวงศ์
ถัดไป พจน์ สารสิน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ดำรงตำแหน่ง
21 ธันวาคม พ.ศ. 2481 – 22 สิงหาคม พ.ศ. 2484
นายกรัฐมนตรี ตัวเอง
ก่อนหน้า ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์
ถัดไป หลวงเชวงศักดิ์สงคราม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ดำรงตำแหน่ง
16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2485 – 7 มีนาคม พ.ศ. 2485
นายกรัฐมนตรี ตัวเอง
ก่อนหน้า สินธุ์ กมลนาวิน
ถัดไป ประยูร ภมรมนตรี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
ดำรงตำแหน่ง
22 กันยายน พ.ศ. 2477 – 19 สิงหาคม พ.ศ. 2484
นายกรัฐมนตรี พระยาพหลพลพยุหเสนา
ตัวเอง
ก่อนหน้า พระยาพหลพลพยุหเสนา
ถัดไป มังกร พรหมโยธี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ดำรงตำแหน่ง
14 กรกฎาคม พ.ศ. 2482 – 22 สิงหาคม พ.ศ. 2484
นายกรัฐมนตรี ตัวเอง
ก่อนหน้า เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ
ถัดไป ดิเรก ชัยนาม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
ดำรงตำแหน่ง
4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2497 – 23 มีนาคม พ.ศ. 2497
นายกรัฐมนตรี ตัวเอง
ก่อนหน้า นายวรการบัญชา
ถัดไป ศิริ สิริโยธิน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ดำรงตำแหน่ง
13 ตุลาคม พ.ศ. 2492 – 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2493
นายกรัฐมนตรี ตัวเอง
ก่อนหน้า พระองค์เจ้าวิวัฒนไชย
ถัดไป พระมนูภาณวิมลศาสตร์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
ดำรงตำแหน่ง
24 มีนาคม พ.ศ. 2495 – 2 สิงหาคม พ.ศ. 2498
นายกรัฐมนตรี ตัวเอง
ก่อนหน้า สถาปนาตำแหน่ง
ถัดไป หลวงสุนาวินวิวัฒ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสหกรณ์
ดำรงตำแหน่ง
12 กันยายน พ.ศ. 2500 – 16 กันยายน พ.ศ. 2500
นายกรัฐมนตรี ตัวเอง
ก่อนหน้า ศิริ สิริโยธิน
ถัดไป วิบูลย์ ธรรมบุตร
ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
ดำรงตำแหน่ง
13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2483 – 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2486
ก่อนหน้า สถาปนาตำแหน่ง
ถัดไป สฤษดิ์ ธนะรัชต์
ผู้บัญชาการทหารบก คนที่ 12
ดำรงตำแหน่ง
4 มกราคม พ.ศ. 2481 – 5 สิงหาคม พ.ศ. 2487
ก่อนหน้า พระยาพหลพลพยุหเสนา
ถัดไป พลโท หลวงเกรียงศักดิ์พิชิต (พิชิต เกรียงศักดิ์พิชิต)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2440
เมืองนนทบุรี ประเทศสยาม
เสียชีวิต 11 มิถุนายน พ.ศ. 2507 (66 ปี)
จังหวัดคานางาวะ ประเทศญี่ปุ่น
พรรค พรรคเสรีมนังคศิลา (พ.ศ. 2498)
การเข้าร่วม
พรรคการเมืองอื่น
คณะราษฎร
คู่สมรส ท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม
บุตร 6 คน
ลายมือชื่อ
ประเทศไทยเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ เป็นวันที่ 1 มกราคม ในสมัยคณะรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีท่านใด
การเข้าเป็นทหาร
รับใช้
ประเทศไทยเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ เป็นวันที่ 1 มกราคม ในสมัยคณะรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีท่านใด
สยาม
ประเทศไทยเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ เป็นวันที่ 1 มกราคม ในสมัยคณะรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีท่านใด
 
ไทย
สังกัด

  • ประเทศไทยเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ เป็นวันที่ 1 มกราคม ในสมัยคณะรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีท่านใด
     
    กองทัพบกไทย
  • ประเทศไทยเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ เป็นวันที่ 1 มกราคม ในสมัยคณะรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีท่านใด
     
    กองทัพไทย

ประจำการ พ.ศ. 2459 – 2500
ยศ
ประเทศไทยเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ เป็นวันที่ 1 มกราคม ในสมัยคณะรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีท่านใด
จอมพล
ประเทศไทยเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ เป็นวันที่ 1 มกราคม ในสมัยคณะรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีท่านใด
จอมพลเรือ
ประเทศไทยเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ เป็นวันที่ 1 มกราคม ในสมัยคณะรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีท่านใด
จอมพลอากาศ[1]
บังคับบัญชา กองทัพไทย
การยุทธ์
  • การปฏิวัติสยาม
  • กบฏบวรเดช
  • สงครามโลกครั้งที่สอง
    • กรณีพิพาทอินโดจีน
    • สงครามแปซิฟิก
  • กบฏวังหลวง

จอมพล แปลก พิบูลสงคราม หรือ ป. พิบูลสงคราม หรือบรรดาศักดิ์เดิม หลวงพิบูลสงคราม (นามเดิม แปลก ขีตตะสังคะ ; 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2440 – 11 มิถุนายน พ.ศ. 2507) เป็นนายทหารและนักการเมืองชาวไทย ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีระหว่างปี 2481 ถึง 2487 และ 2491 ถึง 2500 รวมระยะเวลา 15 ปี 11 เดือน นับเป็นนายกรัฐมนตรีไทยที่ดำรงตำแหน่งนานที่สุด และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

เดิมเขาเป็นหัวหน้าสมาชิกคณะราษฎรสายทหารบกชั้นยศน้อย เป็นผู้มีบทบาทในการเมืองไทยตั้งแต่การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 และยิ่งมีฐานะทางการเมืองดีขึ้นอีกหลังบังคับบัญชาทหารฝ่ายรัฐบาลปราบกบฏบวรเดชในปี 2476 นับแต่นั้นเขาดำรงตำแหน่งในรัฐบาลคณะราษฎรมาโดยตลอด ในปี 2481 เขาได้เป็นนายกรัฐมนตรี และเขาเริ่มแสดงความเป็นผู้เผด็จการมากขึ้นจนเริ่มแตกแยกกับคณะราษฎรสายพลเรือน ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เขาออกประกาศรัฐนิยมหลายข้อ เปลี่ยนชื่อประเทศจาก "สยาม" มาเป็น "ไทย" ยกเลิกประเพณีเก่าแล้วหันมารับวัฒนธรรมตะวันตกที่มองว่าทันสมัยมากยิ่งขึ้น เขาดำเนินนโยบายเป็นพันธมิตรทางทหารกับญี่ปุ่น จนในปี 2487 เขาลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีหลังแพ้เสียงในสภาในร่างกฎหมายสำคัญ ประกอบกับสถานการณ์โลกขณะนั้นญี่ปุ่นกำลังแพ้สงคราม

หลังรัฐประหารปี 2490 เขาได้รับทาบทามกลับมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกช่วงหนึ่ง เขาถือเป็นหนึ่งในผู้นำในการเมืองสามเส้าในช่วงนั้น แต่ไม่มีฐานกำลังที่มั่นคงของตนเอง ทำให้พยายามสร้างความชอบธรรมโดยเข้าร่วมกับสหรัฐอย่างเต็มตัวในสงครามเย็น และพยายามเปลี่ยนรูปแบบการปกครองมาเป็นประชาธิปไตยแบบเน้นเลือกตั้ง กระนั้นเขาพ่ายการแข่งขันชิงอิทธิพลกับกลุ่มกษัตริย์นิยมจนพ้นจากตำแหน่งในรัฐประหารปี 2500 นำโดยจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ นับแต่นั้นเขาลี้ภัยในประเทศญี่ปุ่นจนเสียชีวิต

ปฐมวัยและการศึกษา[แก้]

วัยเด็ก[แก้]

จอมพล ป.พิบูลสงคราม มีชื่อเดิมว่า "แปลก ขีตตะสังคะ" ชื่อจริงคำว่า "แปลก" เนื่องจากเมื่อแรกเกิดบิดามารดาเห็นว่าหูทั้งสองข้างอยู่ต่ำกว่าตา ผิดไปจากบุคคลธรรมดา จึงให้ชื่อว่า แปลก

แปลก ขีตตะสังคะ เกิดเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2440 บิดาชื่อ นายขีด และมารดา ชื่อ นางสำอางค์ ในสกุล ขีตตะสังคะ บ้านเกิดเป็นเรือนแพขนาดใหญ่ 2 ชั้น ที่ปากคลองบางเขนเก่า ตรงข้ามวัดปากน้ำไม่ห่างจากศาลากลางจังหวัดนนทบุรี และ วัดเขมาภิรตาราม ตำบลบางเขน อำเภอเมืองนนทบุรี ​จังหวัดนนทบุรี อาชีพครอบครัว ประกอบอาชีพเกษตรกรรม สวนทุเรียนและสวนผลไม้

เด็กชายแปลก ขีตตะสังคะ เป็นบุตรคนที่สองในพี่น้อง 5 คน พี่ชาย คนโตชื่อ "ประกิต" (รับราชการทหารได้ยศ พลตรี) คนที่สามเป็นหญิงชื่อ "เปลี่ยน" คนที่สี่เป็นชายชื่อ "ปรุง" คนสุดท้ายชื่อ "ครรชิต" (รับราชการทหารได้ยศ พลตรี)

การศึกษา[แก้]

ประเทศไทยเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ เป็นวันที่ 1 มกราคม ในสมัยคณะรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีท่านใด

การเข้าสู่อาชีพทหาร[แก้]

เขาเข้าสู่ระบบศึกษาครั้งแรกที่ โรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม จังหวัดนนทบุรี เมื่อ พ.ศ. 2452 อายุได้ 12 ปี ได้เข้าเรียนในโรงเรียนนายร้อยทหารบก โดยบิดาขอร้องให้ พล.ต.พระยาสุรเสนา​ช่วยนำฝากเข้าเรียนพร้อมกับพี่ชาย "ประกิต" ศึกษาที่โรงเรียนนายร้อยเป็นเวลา 6 ปี (นักเรียนชั้นประถม 3 ปี นักเรียนชั้นมัธยม 3 ปี) ได้เป็น"นักเรียนทำการนายร้อย" เมื่ออายุได้ 18 ปี (9 พ.ค. 2458) สังกัด "เหล่าปืนใหญ่" โดยได้เป็น "ว่าที่ร้อยตรี" (1 พ.ย. 2458)

การสมรส[แก้]

นักเรียนทำการนายร้อยว่าที่ร้อยตรีแปลก เข้าประจำการเหล่าปืนใหญ่ที่ 7 พิษณุโลก และไม่นานนักได้พบรักกับท่านละเอียด พิบูลสงคราม (ขณะนั้นสกุล พันธ์กระวี) ซึ่งเป็น "นักเรียนชั้นสูงสุดเพียงคนเดียว" ในโรงเรียนผดุงนารี โรงเรียนของคณะมิชชันนารี และเป็นโรงเรียนหญิงแห่งแรกของพิษณุโลก ทั้งทำหน้าที่ "ครูฝึกหัด" ฝึกหัดสอน "ชั้นเล็ก ๆ" ในโรงเรียนแห่งนี้ด้วย ไม่นานนักทั้งสองก็ทำพิธีหมั้นและพิธีแต่งงานเมื่อวันที่ 14 มกราคม 2459 เมื่อว่าที่ร้อยตรีแปลกอายุย่างเข้า 20 ปี ท่านผู้หญิงละเอียดย่างเข้า 15 ปี มีบุตร 6 รายได้แก่ พลตรี อนันต์ พิบูลสงคราม พลเรือโท ประสงค์ พิบูลสงคราม ร้อยเอกหญิง จีรวัสส์ ปันยารชุน รัชนิบูล ปราณีประชาชน พัชรบูล เบลซ์ นิตย์ พิบูลสงคราม

อาชีพทหาร – การศึกษา[แก้]

หลังการแต่งงานได้ 3 เดือนและเป็นนักเรียนทำการนายร้อยเหล่าปืนใหญ่ที่ 7 พิษณุโลกครบ 2 ปี ก็ได้รับยศเป็น "ร้อยตรี" (23 พ.ค. 2460) และย้ายเข้ากรุงเทพเพื่อศึกษาต่อในโรงเรียนเหล่าทหารปืนใหญ่ที่บางซื่อตามระเบียบการศึกษา โดยพาครอบครัวมาด้วย การศึกษา 2 ปีใน โรงเรียนแห่งนี้แต่ละปีประกอบด้วย 6 เดือนแรกเรียนประจำอยู่ ณ ที่ตั้ง 4 เดือนถัดมาไปฝึกในสนามยิงปืนโคกกระเทียม ลพบุรี อีก 2 เดือนท้าย ซ้อมรบในสนามต่างจังหวัด

เมื่อสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเหล่าทหารปืนใหญ่ ได้กลับกรมต้นสังกัดประจำการที่ปืน 7 พิษณุโลก แต่ไม่นานนักก็ได้ย้ายมาประจำกรมทหารปืนใหญ่ที่ 1 รักษาพระองค์ (1 ส.ค. 2462) ในตำแหน่งนายทหารสนิทของผู้บังคับบัญชากรม พลตรี หม่อมเจ้าปรีดิเทพย์พงษ์ เทวกุล ปีถัดมาได้รับยศ "ร้อยโท" (24 เม.ย 2463)

1 เมษายน พ.ศ. 2464 นายร้อยโทแปลกได้เข้าศึกษาต่อในโรงเรียนเสนาธิการทหารบก เป็นรุ่นที่ 10 หลักสูตรการศึกษา 2 ปี โรงเรียนเสนาธิการทหารบกเป็นโรงเรียนนายทหารขั้นสูงที่มีนายทหารจำนวนมากประสงค์เข้าศึกษาต่อ แต่โรงเรียนนี้รับนักเรียนได้ประมาณรุ่นละ 10 นาย และนักเรียนที่สอบได้ที่ 1 ของรุ่นจะได้รับทุนไปศึกษาวิชาการเพิ่มเติมที่ต่างประเทศ ในรุ่นของนายร้อยโทแปลกมีผู้สอบไล่ผ่านในปีที่ 2 เพียง 7 นาย และนายร้อยโทแปลกสอบไล่ได้เป็นลำดับที่ 1 ของรุ่นในปีสุดท้ายนี้

การศึกษาที่ฝรั่งเศส[แก้]

เมื่อจบการศึกษา นายร้อยโทแปลกได้ย้ายไปประจำกรมยุทธศาสตร์ทหารบก (1 มี.ค. 2466) และปีถัดมาได้เดินทางไปศึกษาวิชาทหารปืนใหญ่ ต่อที่ ประเทศฝรั่งเศส โดยเดินทางไปเรือลำเดียวกับนายร้อยตรีทัศนัย มิตรภักดี นายทหารม้าได้รับทุนไปศึกษาต่อประเทศฝรั่งเศสเช่นกัน

การศึกษาในประเทศฝรั่งเศสประมาณ 3 กว่าปีนั้น นายร้อยโทแปลกเริ่มต้นด้วย 8 เดือนแรกเรียนภาษาฝรั่งเศสกับครอบครัวนายโมเร็ล เดือนมีนาคม พ.ศ. 2467 จึงศึกษาวิชาคำนวณที่มหาวิทยาลัยซอร์บอนน์ในกรุงปารีส และเรียนภาษาฝรั่งเศสเพิ่มเติมที่ L'ecole alliance française หลังจากนั้นได้เข้าประจำกรมทหารปืนใหญ่ (École d'application de l'artillerie) ที่เมืองฟงแตนโบล สำเร็จการศึกษาได้รับประกาศนียบัตร และได้เข้าร่วมการประลองยุทธ ณ ค่าย Valdahon (Doubs) ตั้งแต่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2470 ต่อมาแปลกในยศร้อยเอกได้รับบรรดาศักดิ์เป็น หลวงพิบูลสงคราม เมื่อพ.ศ. 2471[2]

สมาชิกคณะราษฎร[แก้]

สมาชิกร่วมก่อตั้ง[แก้]

พันตรีหลวงพิบูลสงครามเป็นหนึ่งในคณะนายทหารผู้ร่วมก่อการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 โดยเป็นนายทหารปืนใหญ่ รุ่นน้องของพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา 2 ปี ที่โรงเรียนนายร้อยทหารบก และเป็นสมาชิกคณะราษฎรยุคก่อตั้งซึ่งมีทั้งหมด 7 คน ตั้งแต่ยังศึกษาอยู่ในประเทศฝรั่งเศส โดยถือเป็นผู้นำของคณะทหารบกยศชั้นผู้น้อย

ซึ่งก่อนหน้านั้นระหว่างมีการประชุมกันครั้งแรกของคณะราษฎรที่ยาวนานติดต่อกัน 4 คืน 5 วัน ที่ประเทศฝรั่งเศส เมื่อต้นปี พ.ศ. 2469 ร้อยโทแปลกที่สมาชิกคณะราษฎรคนอื่น ๆ ได้เรียกว่า "กัปตัน" และยกให้เป็นหัวหน้ากลุ่ม[3] ได้เสนอว่าหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้วให้สำเร็จโทษพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ แต่ทางนายปรีดี พนมยงค์ ผู้นำคณะราษฎรฝ่ายพลเรือน ได้คัดค้าน โดยยกเหตุผลว่าหากกระทำเช่นนั้นแล้ว จะทำให้เกิดความวุ่นวายและความรุนแรงขึ้นทั่วประเทศเหมือนเช่นการปฏิวัติรัสเซีย[4] และการปฏิวัติแห่งอังกฤษ

รับราชการ[แก้]

หลังจากจบการศึกษาในฝรั่งเศส นายร้อยโทแปลกได้กลับมารับราชการ ในปี พ.ศ. 2470 นายร้อยโทแปลกได้เดินทางกลับเข้าประเทศไทยและเข้าประจำสังกัดเดิมและได้รับเลื่อนยศเป็น "ร้อยเอก" ปีถัดมาย้ายไปดำรงตำแหน่ง "หัวหน้ากองตรวจอากาศสำหรับใช้ทดลอง กรมจเรทหารปืนใหญ่" เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 พันตรี หลวงพิบูลสงครามได้เข้าร่วมกับคณะราษฎร ในเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยเป็นกำลังสำคัญในสายทหารบก และเมื่อปี พ.ศ. 2477 ท่านได้เลื่อนยศเป็นพันเอก และดำรงตำแหน่งรองผู้บัญชาการทหารบก ครั้นเมื่อ วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2481 ท่านได้เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ต่อจากพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา โดยการลงมติของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และในช่วงที่ดำรงตำแหน่งก็ได้เลื่อนยศเป็นพลตรี และเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2484 ภายหลังจากที่กองทัพไทยมีชัยชนะต่ออินโดจีนฝรั่งเศส คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ (พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล) ได้ประกาศพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ พระราชทานยศจอมพล จอมพลเรือ จอมพลอากาศ แก่พลตรีหลวงพิบูลสงคราม ในเวลาต่อมาเมื่อรัฐบาลจะยกเลิกบรรดาศักดิ์ไทย หลวงพิบูลสงครามในฐานะนายกรัฐมนตรีพร้อมด้วยคณะรัฐมนตรีชุดที่ 9 จึงลาออกจากบรรดาศักดิ์ โดยหลวงพิบูลสงครามเลือกใช้ราชทินนามเป็นนามสกุล ใช้ว่า จอมพลแปลก พิบูลสงคราม[5] ต่อมาหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้ว จอมพล ป. เริ่มมีบทบาทสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ จากเป็นแกนนำในการรัฐประหาร 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 และเป็นผู้บัญชาการกองกำลังผสม ในการปราบกบฏบวรเดช เมื่อปี พ.ศ. 2476 จนได้รับความไว้วางใจ ให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และนายกรัฐมนตรีไทยในเวลาต่อมา

การเถลิงอำนาจ[แก้]

ดูบทความหลักที่: กบฏพระยาทรงสุรเดช

การประชุมครั้งสุดท้ายในประเทศไทยก่อนที่จะลงมือจริงไม่กี่วัน พันเอกพระยาทรงสุรเดชซึ่งเป็นคนวางแผนการทั้งหมด นัดประชุมที่ร้านกาแฟของชาวจีนแห่งหนึ่งเพื่ออธิบายแผนการปฏิวัติ เมื่ออธิบายเสร็จแล้วก็สอบถามที่ประชุมว่าใครมีแผนที่ดีกว่านี้ไหม หลวงพิบูลสงครามไม่ออกความเห็นแต่กลับสอบถามว่า "แล้วใต้เท้ามีแผนสองไหม?" แล้วพระยาทรงสุรเดชก็ตอบกลับว่า "มีสิ แต่ผมไม่บอกคุณหรอก แค่ออกความเห็นคุณยังไม่มีปัญญา คุณบัดซบแบบนี้ ผมจะบอกคุณได้ยังไง"

หลังเลิกประชุม หลวงพิบูลสงครามก็เอ่ยกับนายทวี บุณยเกตุ ซึ่งเป็นอีกคนเข้าร่วมประชุมไว้ว่า "ไอ้พระยาทรงกับผมนี่อยู่ร่วมโลกกันไม่ได้แล้ว" ซึ่งในส่วนนี้ได้พัฒนากลายมาเป็นความขัดแย้งกันระหว่างหลวงพิบูลสงครามกับพระยาทรงสุรเดชในเวลาต่อมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีกบฏพระยาทรงสุรเดช ในปี พ.ศ. 2482[4]

นายกรัฐมนตรีสมัยที่หนึ่ง[แก้]

ประเทศไทยเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ เป็นวันที่ 1 มกราคม ในสมัยคณะรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีท่านใด

รัฐนิยม[แก้]

นับแต่จอมพล ป. ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีใน พ.ศ. 2481 ได้มีนโยบายในการสร้างชาติ ซึ่งมีแนวโน้มเป็นลัทธิชาตินิยม เช่น ออกกฎหมายคุ้มครองอุตสาหกรรมภายในประเทศ มีการสงวนอาชีพบางอย่างไว้เฉพาะคนไทย และปลูกฝังให้ประชาชนนิยมใช้สินค้าไทย ด้วยคำขวัญว่า "ไทยทำ ไทยใช้ ไทยเจริญ" รัฐบาลจอมพล ป. ได้เปลี่ยนแปลงประเพณีและวัฒนธรรมบางอย่าง เพื่อให้สอดคล้องกับการการเปลี่ยนแปลงการปกครอง และให้เกิดความทันสมัย เช่น ประกาศให้ข้าราชการเลิกนุ่งผ้าม่วง เลิกสวมเสื้อราชปะแตน และให้นุ่งกางเกงขายาวแทน มีการยกเลิกบรรดาศักด์ และยศข้าราชการพลเรือน มีการเปลี่ยนชื่อประเทศจาก "สยาม" เป็น "ไทย" ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2482 และเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จากวันที่ 1 เมษายน ตามโบราณราชประเพณีพระราชจักรีวงศ์ เป็นวันที่ 1 มกราคมของทุกปี เพื่อให้สอดคล้องกับหลักโลกตะวันตก โดยเริ่มเปลี่ยนในปี พ.ศ. 2484 ทำให้ ปี พ.ศ. 2483 มีเพียง 9 เดือน

มีการสร้างชาติด้วยวัฒนธรรมใหม่ โดยจัดตั้งสภาวัฒนธรรมแห่งชาติขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2485 เพื่อจัดระเบียบการดำเนินชีวิตของคนไทยให้เป็นแบบอารยประเทศ โดยประกาศรัฐนิยมฉบับต่าง ๆ อาทิ สั่งห้ามประชาชนกินหมากโดยเด็ดขาด ให้ผู้หญิงเลิกนุ่งโจงกระเบน เปลี่ยนมานุ่งผ้าถุงแทน ให้สวมหมวก สวมรองเท้า ไม่ส่งเสริมศิลปะและดนตรีไทยเดิมแต่ส่งเสริมดนตรีสากล ฯลฯ โดยมีคำขวัญในสมัยนั้นว่า "มาลานำไทยสู่มหาอำนาจ" หากผู้หญิงคนใดไม่ใส่หมวกจะถูกตำรวจจับและปรับ และยังวางระเบียบการใช้คำแทนชื่อเป็นมาตรฐาน เช่น ฉัน, ท่าน, เรา มีคำสั่งให้ข้าราชการไทยกล่าวคำว่า "สวัสดี" ในโอกาสแรกที่พบกัน และมีการตัดตัวอักษรที่ออกเสียงซ้ำกันจึงมีการเปลี่ยนแปลงการสะกดคำมากมาย เช่น กระทรวงศึกษาธิการ เขียนเป็น กระซวงสึกสาธิการ เป็นต้น เมื่อจอมพล ป. พิบูลสงคราม หลุดจากอำนาจหลังสงครามโลกครั้งที่สองยุติ รัฐนิยมก็ถูกยกเลิกไปโดยปริยาย อักขรวิธีภาษาไทยได้กลับไปใช้แบบเดิมอีกครั้งหนึ่ง อย่างไรก็ดี วัฒนธรรมที่สังคมไทยเริ่มรับมาจากตะวันตกหลายรูปแบบในขณะนั้น ยังคงอยู่ต่อมาแม้ว่าจะไม่มีการบังคับใช้ตาม "รัฐนิยม" อีกต่อไป และได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมไทยสมัยใหม่ไปแล้ว[6]

สงครามโลกครั้งที่สอง[แก้]

ประเทศไทยเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ เป็นวันที่ 1 มกราคม ในสมัยคณะรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีท่านใด

ในช่วงต้นสงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดสงครามอินโดจีนระหว่างไทยกับฝรั่งเศส จากปัญหาเรื่องการใช้แม่น้ำโขงเป็นเส้นแบ่งพรมแดน ระหว่างไทยกับอินโดจีน ซึ่งอยู่ในครอบครองฝรั่งเศสมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 โดยฝรั่งเศสไม่ยอมตกลงเรื่องการใช้ร่องน้ำลึกเป็นเส้นเขตแดน ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2483 ฝรั่งเศสส่งเครื่องบินมาทิ้งระเบิดเมืองนครพนม การรบระหว่างฝรั่งเศสกับไทยจึงเริ่มขึ้น ฝรั่งเศสโจมตีไทยทางอรัญประเทศ รัฐบาล จอมพล ป. ส่งทหารไทยเข้าไปในอินโดจีนทางด้านเขมร แต่ในที่สุดญี่ปุ่นเสนอตัวเข้าไกล่เกลี่ย จนมีการส่งผู้แทนไปลงนามอนุสัญญาโตเกียว เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 ในครั้งนั้นไทยได้ดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขงคืน รวมทั้งทางใต้ตรงข้ามปากเซ คือ แขวงจัมปาศักดิ์ และดินแดนในเขมรที่เสียให้ฝรั่งเศสไปเมื่อปี พ.ศ. 2450 กลับคืนมาด้วย และในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2484 พลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา ได้เป็นผู้วางศิลาฤกษ์ก่อสร้าง อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานระลึกถึงชัยชนะของไทยต่อฝรั่งเศส และ 1 ปีต่อมา จอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นผู้กระทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2485

หลังจากกรณีพิพาทอินโดจีน จอมพล ป. ได้ประกาศให้ประเทศไทยดำรงสถานะเป็นกลางไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดจนกระทั่งญี่ปุ่นทำการยกพลขึ้นบกเพื่อขอทางผ่านไปโจมตีพม่าและมาเลเซีย จอมพล ป. ในฐานะนายกรัฐมนตรีไทย ต้องใช้ความพยายามอย่างมากในการประคับประคองประเทศชาติ ให้ผ่านพ้นวิกฤตจึงประกาศเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่นและเข้าร่วมฝ่ายอักษะ[7] ทั้งนี้มีการบอกเล่ากันว่า ท่านขอพระราชทานยศจอมพลให้กับตนเองเพราะท่านต้องการมีอำนาจอย่างเบ็ดเสร็จ[7] ในระหว่างสงครามจอมพล ป. ได้ทำการตกลงช่วยเหลือญี่ปุ่นด้านการรบ เพราะหวังว่าจะได้ดินแดนเพิ่มเติมเข้ามาครอบครอง โดยประเทศไทยได้รับจังหวัดมาลัย อีกทั้งได้ส่งกองทัพพายัพเข้าดินแดนบางส่วนของพม่าจัดตั้งสหรัฐไทยเดิม หลังสงครามถูกไต่สวนในฐานะอาชญากรสงครามอยู่ระยะหนึ่ง ตาม พระราชบัญญัติอาชญากรรมสงคราม ที่รัฐบาลไทยประกาศใช้เป็นกฎหมายหลังสงครามโลก (มีผู้วิเคราะห์ว่า ส่วนหนึ่งเพื่อมิให้ต้องส่งตัวผู้นำรัฐบาลและนายทหารไทยในยุคนั้นไปให้ศาลอาชญากรรมสงครามระหว่างประเทศ ที่สัมพันธมิตรตั้งขึ้นที่โตเกียวและเนือร์นแบร์กพิพากษาคดี แต่ให้ศาลไทยเป็นผู้พิพากษาแทน ซึ่งเป็นผลดีต่อชีวิตของอาชญากรรมสงครามเหล่านี้ที่เป็นคนไทยรอดพ้นจากโทษประหารชีวิตทั้งหมด) อย่างไรก็ดี ศาลไทยได้พิจารณาเห็นว่า กฎหมายย่อมไม่มีผลย้อนหลัง จึงปล่อยตัวเป็นอิสระ หลังจากนั้นก็ได้ประกาศยุติบทบาททางการเมืองทั้งหมด กลับไปใช้ชีวิตเรียบง่ายอยู่บ้านที่ อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี โดยปลูกผักต่าง ๆ เพื่อเลี้ยงชีพอดมื้อกินมื้อ

โดยจอมพลแปลกได้ถูกให้ออกจากประจำการเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2488 [8]

เหตุการณ์หลังสงครามโลกสิ้นสุด[แก้]

ประเทศไทยเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ เป็นวันที่ 1 มกราคม ในสมัยคณะรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีท่านใด

จอมพล ป. หลุดพ้นจากโทษอาชญากรสงครามและได้รับการปล่อยตัวจากเรือนจำและได้กลับมามีบทบาททางการเมืองอีกครั้งภายหลังคณะทหารแห่งชาติก่อการรัฐประหารปี พ.ศ. 2490 สำเร็จ

ภายหลังที่สงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลงเมื่อ พ.ศ. 2488 จอมพล ป. ได้ตกอยู่ในสถานะต้องโทษอาชญากรสงครามและถูกคุมขังในเรือนจำเป็นระยะเวลาหนึ่ง ก่อนที่คณะทหารแห่งชาติที่นำโดยพลโท ผิน ชุณหะวัณ ได้นำกลุ่มทหารนอกราชการที่นิยมจอมพลป. ก่อรัฐประหารปี พ.ศ. 2490 ยึดอำนาจจากรัฐบาลพลเรือตรีหลวงถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์[9] จนทำให้จอมพล ป. ได้กลับมามีบทบาททางการเมืองอีกครั้งและได้กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งในเดือนเมษายน พ.ศ. 2491 เกิดการแย่งชิงอำนาจระหว่างสามกลุ่มอำนาจ ได้แก่ คณะราษฎรสายพลเรือนนำโดยนายปรีดี พนมยงค์ คณะราษฎรสายทหารของจอมพล ป. และกลุ่มเสรีไทยนำโดยหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช เห็นได้จากในระยะเวลา 3 ปีนี้ มีการเปลี่ยนแปลงนายกรัฐมนตรีทั้งสิ้น 5 คน คณะรัฐมนตรี 8 คณะ (คณะที่ 12 ถึง 20 และการรัฐประหารอีก 1 ครั้ง (พ.ศ. 2490 นำโดยจอมพล ผิน ชุณหะวัณ)

นายกรัฐมนตรีสมัยที่สอง[แก้]

ความผกผันทางการเมือง ใน พ.ศ. 2491 จอมพล ป. ก็ได้หวนกลับมาคืนสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกครั้งจากการทำรัฐประหาร ซึ่งการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในคราวนี้ได้ดำรงตำแหน่งยาวนานถึง 9 ปี ผ่านวิกฤตและเหตุการณ์กบฏจนเกือบจะเอาชีวิตไม่รอดหลายครั้ง เช่น กบฏเสนาธิการ, กบฏวังหลวง, กบฏแมนฮัตตัน รวมทั้งยังเคยยึดอำนาจตัวเองด้วย จึงได้รับฉายาในช่วงที่ยังไม่หลุดจากอำนาจว่า "โจโฉ นายกฯ ตลอดกาล"[10]

จอมพล ป. ได้รับอีกฉายาหนึ่งว่า "จอมพลกระดูกเหล็ก" เพราะมีชีวิตทางการเมืองอย่างเหลือเชื่อ เคยถูกลอบสังหารมาแล้วถึง 3 ครั้ง[11] แต่ก็รอดชีวิตมาได้ทุกครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเหตุการณ์กบฏแมนฮัตตัน ในปี พ.ศ. 2494 ที่ท่านถูกจี้ลงเรือศรีอยุธยา ถูกทิ้งระเบิดผ่านเตียงที่เคยนอนอยู่อย่างเฉียดฉิว ทั้ง ๆ ที่เหตุการณ์ครั้งนั้นมีผู้เสียชีวิตจำนวนมากนับร้อย

ความขัดแย้งกับสถาบันกษัตริย์[แก้]

ประเทศไทยเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ เป็นวันที่ 1 มกราคม ในสมัยคณะรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีท่านใด

หลังจากจอมพล ป. รัฐประหารในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2494 ได้ยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2492 และกลับไปใช้รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2475 เพื่อเป็นการลดอำนาจพระมหากษัตริย์ พระองค์เจ้าธานีนิวัตทรงบันทึกปฏิกิริยาของพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลว่า "ท่านกริ้วมาก ทรงตำหนิหลวงพิบูลอย่างแรงหลายคำ ท่านว่าฉันไม่พอใจมากที่คุณหลวงทำเช่นนี้"[12]:48–9 ต่อมาทรงพยายามเจรจาต่อรองกับรัฐบาลขอให้เพิ่มเติมพระราชอำนาจบางอย่าง เช่น ให้ทรงเลือกสมาชิกวุฒิสภาได้[12]:49 ใน พ.ศ. 2496 พระองค์ขัดแย้งกับรัฐบาลเรื่องพระราชบัญญัติจำกัดการถือครองที่ดิน ทรงชะลอการลงพระปรมาภิไธย แต่สุดท้ายก็ผ่านเป็นกฎหมาย[12]:50[a]

ต่อมาในปี พ.ศ. 2498 จอมพล ป. ได้จัดให้พระองค์และสมเด็จพระบรมราชินีเสด็จเยือนภาคอีสานโดยทางรถไฟ ผลปรากฏชัดว่าพระองค์เป็น ที่นิยมของประชาชนจำนวน มาก ดังนั้น จอมพล ป. จึงได้ตัดงบประมาณในการเสด็จครั้งต่อไป[13] เดือนมกราคม 2499 พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลมีพระราชดำรัสวิจารณ์กองทัพที่เข้ามามีบทบาททางการเมือง (หมายถึงจอมพล ป.) นับเป็นการฉีกประเพณีที่พระมหากษัตริย์ทรงไม่แสดงความเห็นทางการเมืองนับแต่ปี 2475[14] ในปี 2499 ขั้วอำนาจจอมพล ป. และพลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์ พยายามชักชวนปรีดี พนมยงค์กลับประเทศเพื่อต่อสู้คดีสวรรคตอีก เพื่อช่วยคานอำนาจกับขั้วอำนาจจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ และศักดินาที่มีอำนาจเพิ่มขึ้นในเวลานั้น ด้านรัฐบาลสหรัฐเตือนจอมพล ป. ว่าจะทำให้เกิดความวุ่นวาย สุดท้ายจึงไม่ได้ดำเนินการ[14]

บอกคุณพ่อของหลาน [ปรีดี] ด้วยนะว่า ลุงอยากให้กลับมาช่วยลุงทำงานให้ชาติ ลุงคนเดียวสู้ศักดินาไม่ไหวแล้ว

— ป. พิบูลสงครามกับปาล พนมยงค์, มิถุนายน 2500[14]

เหตุการณ์ที่น่าจะเป็นฟางเส้นสุดท้ายคือการรื้อฟื้นคดีสวรรคต ร. 8 และแผนนำปรีดี พนมยงค์กลับประเทศ[12]:51 ตั้งแต่เดือนเมษายน 2500 พระองค์และกลุ่มกษัตริย์นิยมเคลื่อนไหวเตรียมรัฐประหาร มีการอภิปรายในสภาผู้แทนราษฎรว่า พระองค์ทรงพระราชทานเงินสนับสนุนแก่พรรคประชาธิปัตย์ 700,000 บาท และมีรายงานว่าพระองค์ทรงเสด็จฯ ไปบ้านพักของหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมชในยามวิกาลอย่างลับ ๆ อยู่เสมอ[12]:52

ในโอกาสฉลองกึ่งพุทธกาล พ.ศ. 2500[15][16] รัฐบาลได้กราบบังคมทูลเชิญพระมหากษัตริย์เสด็จมาทรงเป็นประธานซึ่งก็ทรงตอบรับเป็นที่เรียบร้อย แต่ครั้นถึงวันงานทรงพระประชวรปัจจุบันทันด่วน ทำให้นายกรัฐมนตรีตัดสินใจเป็นประธานเปิดพิธีเอง และในเดือนสิงหาคมปีดังกล่าว จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้บัญชาการทหารบก ออกมาโจมตีรัฐบาลของจอมพลแปลกว่าละเมิดพระราชอำนาจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งข่าวการระหองระแหงกันระหว่างพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและรัฐบาลดังกล่าว ทำให้สาธารณะเริ่มไม่ไว้วางใจรัฐบาลมากขึ้น[17]

แปลก พิบูลสงคราม ในปี 2498

เมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2500 จอมพลแปลกขอพระราชทานพระบรมราชวโรกาสเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทเพื่อขอให้ทรงสนับสนุนรัฐบาล[18] พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงเตือนจอมพลแปลกว่าขอให้ลาออกจากตำแหน่งเสียเพื่อมิให้เกิดรัฐประหาร แต่จอมพลแปลกปฏิเสธ[19] เย็นวันดังกล่าว จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ยึดอำนาจการปกครองจากรัฐบาลทันที และสองชั่วโมงหลังจากการประกาศยึดอำนาจ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ใช้กฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร[20] และได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้จอมพล สฤษดิ์เป็นผู้รักษาพระนครฝ่ายทหารโดยไม่มีผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

จอมพล ป. หลบหนีไปด้วยรถยนต์ส่วนตัวกับผู้ติดตามเพียง 2 คนอย่างหวุดหวิด โดยผ่านไปทางประเทศกัมพูชา ก่อนจะลี้ภัยทางการเมืองที่ประเทศญี่ปุ่น ซึ่ง ณ ที่นั่น ครอบครัวได้รับการต้อนรับอย่างดี ทั้งนี้เพราะทางรัฐบาลญี่ปุ่นถือว่าพิบูลสงครามเป็นผู้ที่มีบุญคุณต่อญี่ปุ่น[11] เคยยินยอมให้ทหารญี่ปุ่นผ่านเข้าประเทศไทยในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองด้วยดี ไม่ต้องมีการสู้รบยืดเยื้ออันรังแต่จะทำให้มีแต่ความสูญเสียด้วยกันทั้งสองฝ่าย ซึ่งท่านก็ได้พำนักอยู่ที่นั่นจนตราบถึงแก่อสัญกรรม

ลี้ภัยและปัจฉิมวัย[แก้]

จอมพล ป. พิบูลสงคราม ถึงแก่อสัญกรรม เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2507 ในเวลาประมาณ 20.30 น. ณ บ้านพักส่วนตัว ชานกรุงโตเกียว สิริอายุได้ 66 ปี โดยก่อนตาย ยังมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงเหมือนคนปกติ ยังรับประทานอาหารมื้อเที่ยงพร้อมกับครอบครัวและคนสนิทได้เหมือนปกติ แต่ทว่าเมื่อถึงเวลาเย็นก็ได้ทรุดลงและถึงแก่ความตายอย่างกะทันหัน (ซึ่งในเรื่องนี้บางส่วนเชื่อกันว่าเป็นการลอบวางยาพิษ ทั้งนี้เนื่องจากก่อนหน้านั้น จอมพล ป. เริ่มได้สานสัมพันธ์กับปรีดี พนมยงค์ อดีตนายกรัฐมนตรี ทางจดหมาย โดยมีผู้อาสาเดินจดหมายให้ และใช้รหัสลับแทนชื่อในการติดต่อกัน)[21]

ร่างจอมพล ป. ได้มีพิธีฌาปนกิจขึ้นที่ประเทศญี่ปุ่น ก่อนที่จะมีการนำอัฐิกลับคืนสู่ประเทศไทยในวันที่ 27 มิถุนายน ในปีเดียวกัน โดยมีพิธีรับอย่างสมเกียรติจากทั้ง 3 เหล่าทัพ[22]

บทบาททางสังคม[แก้]

จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่ริเริ่มองค์กรและหน่วยงานสำคัญ ๆ ของประเทศหลายองค์กร ที่พัฒนาและเจริญรุ่งเรืองมาจนปัจจุบัน ซึ่งล้วนแต่เป็นหน่วยงานที่มีความเฉพาะของแต่ละวิชาชีพ เช่น รัฐวิสาหกิจ, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดล ในปัจจุบัน), มหาวิทยาลัยศิลปากร, มหาวิทยาลัยบูรพา(วิทยาลัยวิชาการศึกษา ต่อมาเป็น มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางแสน ก่อนจะมาเป็น มหาวิทยาลัยบูรพา ซึ่งนับได้ว่าเป็นการนำเอาสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่ออกมาสู่ภูมิภาค เป็นแห่งแรก) รวมทั้งเป็นผู้ที่ใช้อำนาจยึดสถานที่ต่าง ๆ ที่เคยเป็นที่ประทับของเชื้อพระวงศ์ และที่อยู่ของบุคคลสำคัญก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาใช้เป็นสถานที่ราชการ เช่น วังบางขุนพรหม, วังสวนกุหลาบ, บ้านมนังคศิลา, บ้านพิษณุโลก, บ้านนรสิงห์ เป็นต้น[23]

ผู้ก่อตั้งโทรทัศน์แห่งแรกของประเทศ[แก้]

หลังจากความคิดของเสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม ในช่วงปี พ.ศ. 2473-พ.ศ. 2475 ของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ว่าต้องการที่จะให้ประเทศสยาม มีกิจการแพร่ภาพออกอากาศโทรทัศน์ ไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในปี พ.ศ. 2475 เป็นผลต้องประสบความล้มเหลวในขณะนั้น[24] อย่างไรก็ดีโทรทัศน์ถือกำเนิดขึ้นอีกครั้งภายใต้กรมประชาสัมพันธ์ นับเป็นแห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และแห่งแรกของทวีปเอเชีย บนภาคพื้นแผ่นดินใหญ่ (Asia Continental) แพร่ภาพออกอากาศในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2498 ในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งข้าราชการกลุ่มหนึ่งของกรมประชาสัมพันธ์ แสดงความคิดเห็นเรื่องการจัดตั้งโทรทัศน์มาตั้งแต่ พ.ศ. 2493 ว่า "ถึงเวลาแล้วที่ประเทศไทยควรมี Television แล้ว"

วันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2493 จอมพล ป. พิบูลสงคราม ผู้นำรัฐบาลมอบหมายให้ กรมประชาสัมพันธ์เสนอ "โครงการจัดตั้งวิทยุโทรภาพ" ต่อคณะรัฐมนตรี ต่อมาวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2493 คณะรัฐมนตรีลงมติให้จัดตั้งวิทยุโทรภาพและให้ตั้งงบประมาณใน พ.ศ. 2494

ในวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2493 จอมพล ป. เขียนข้อความด้วยลายมือ ถึง พล.ต.สุรจิต จารุเศรณี อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ในขณะนั้น ให้ศึกษาจัดหาและจัดส่ง "Television"

วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2498 ซึ่งถือเป็นวันชาติในสมัยนั้น จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้เป็นประธาน ในพิธีเปิดสำนักงาน และที่ทำการสถานีโทรทัศน์ไทยทีวี ช่อง 4 บางขุนพรหม และเริ่มแพร่ภาพออกอากาศอย่างเป็นทางการ เรียกชื่อตามอนุสัญญาสากลวิทยุ HS1/T-T.V. สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งแรกบนผืนแผ่นดินใหญ่แห่งเอเชีย เครื่องส่งโทรทัศน์เครื่องนี้มีกำลังส่ง 10 กิโลวัตต์ ขาวดำ ระบบ 525 เส้นต่อภาพ 30 ภาพต่อวินาที (ต่อมาออกอากาศระบบวีเอชเอฟ ย่านความถี่ที่ 3 ช่อง 9 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 จนถึงปี พ.ศ. 2561 และในขณะนี้ใช้ชื่อว่า ช่อง 9 เอ็มคอต เอชดี ปัจจุบันออกอากาศในระบบยูเอชเอฟ ย่านความถี่ที่ 5 ช่อง 40 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 ในระบบดิจิตอล ความคมชัดละเอียดสูง ทางช่องหมายเลข 30)(ก่อนหน้านี้ สถานีเคยออกอากาศคู่ขนานกันทั้งสองระบบ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 จนถึงปี พ.ศ. 2561)

ตลาดนัดกรุงเทพมหานคร[แก้]

ในปี พ.ศ. 2491 จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ประกาศนโยบายจัดตั้งตลาดนัดทั่วประเทศทุกสุดสัปดาห์ ในกรุงเทพฯ มีการจัดตลาดนัดขึ้นที่สนามหลวง ซึ่งเรียกว่า ตลาดนัดสนามหลวง หรือ ตลาดนัดกรุงเทพมหานคร ปัจจุบัน ตลาดนัดสนามหลวงได้ย้ายออกไปจากบริเวณสนามหลวงแล้ว โดยไปอยู่ที่ ตลาดนัดจตุจักร แทน

บ้านพักคนชรา[แก้]

บ้านพักคนชราบางแค หรือ บ้านบางแค เดิมใช้ชื่อว่า "สถานสงเคราะห์คนชราบ้านบางแค" ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2496 ในสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี นับเป็นสถานสงเคราะห์ผู้สูงอายุแห่งแรกของประเทศไทย เพื่อให้การสงเคราะห์ผู้สูงอายุตามนโยบายสวัสดิการสังคมของรัฐ โดยเริ่มเปิดดำเนินการในสมัยของนายปกรณ์ อังศุสิงห์ เป็นอธิบดีกรมประชาสงเคราะห์[25] ปัจจุบันอยู่ภายใต้การสนับสนุนของ มูลนิธิบ้านบางแคในพระอุปถัมภ์พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ

ชื่อสถานที่อันเนื่องด้วยนาม[แก้]

  1. จังหวัดพิบูลสงคราม อดีตจังหวัดของประเทศไทย
  2. มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จังหวัดพิษณุโลก
  3. หอประชุมจอมพล ป.พิบูลสงคราม โรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม จังหวัดนนทบุรี
  4. โรงเรียนชุมชนพิบูลสงคราม จังหวัดนครศรีธรรมราช
  5. โรงเรียนพิบูลสงครามอุปถัมภ์ จังหวัดราชบุรี
  6. ถนนพิบูลสงคราม จังหวัดนนทบุรี
  7. โรงเรียนวัดราษฎร์นิยมธรรม(พิบูลสงคราม) กรุงเทพมหานคร
  8. โรงเรียนพิบูลอุปถัมภ์ กรุงเทพมหานคร
  9. โรงเรียนพิบูลสงเคราะห์1 จังหวัดลพบุรี
  10. โรงเรียนค่ายพิบูลสงคราม จังหวัดลพบุรี
  11. โรงเรียนพิบูลวิทยาลัย จังหวัดลพบุรี
  12. โรงเรียนสาธิต "พิบูลบำเพ็ญ" มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี
  13. สนามยิงปืนพิบูลสงคราม จังหวัดลพบุรี
  14. โรงเรียนนครหลวง(พิบูลประเสริฐวิทย์) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
  15. ค่ายพิบูลสงคราม กองบัญชาการกองพลทหารปืนใหญ่ จังหวัดลพบุรี
  16. พิพิธภัณฑ์จอมพล ป.พิบูลสงคราม ภายใน ศูนย์การทหารปืนใหญ่ จังหวัดลพบุรี
  17. สนามกอล์ฟ จอมพล ป.พิบูลสงคราม ภายในมณฑลทหารบกที่ 13 จังหวัดลพบุรี
  18. โรงเรียนพิบูลประชาสรรค์ กรุงเทพมหานคร
  19. โรงเรียนหินกอง(พิบูลอนุสรณ์) จังหวัดสระบุรี
  20. โรงเรียนพุทธิรังสีพิบูล จ.ฉะเชิงเทรา

ลำดับสาแหรก[แก้]

ลำดับสาแหรกของแปลก พิบูลสงคราม
4. สง ขีตตะสังคะ
2. ขีด ขีตตะสังคะ
5. ทับ ขีตตะสังคะ
1. แปลก พิบูลสงคราม
3. สำอางค์ ขีตตะสังคะ

เกียรติยศและบำเหน็จความชอบ[แก้]

ยศทหาร[แก้]

  • 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2459: ร้อยตรี[26]
  • 24 เมษายน พ.ศ. 2463: ร้อยโท[27]
  • 20 ตุลาคม พ.ศ. 2470: ร้อยเอก[28]
  • 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2473: พันตรี[29]
  • 17 เมษายน พ.ศ. 2476: พันโท[30]
  • 1 เมษายน พ.ศ. 2477: พันเอก[31]
  • 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2478: นาวาเอก[32]
  • 12 มีนาคม พ.ศ. 2479: นาวาอากาศเอก[33]
  • 1 เมษายน พ.ศ. 2482: พลตรี พลเรือตรี พลอากาศตรี [34]
  • 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2484: จอมพล จอมพลเรือ จอมพลอากาศ[35]

บรรดาศักดิ์[แก้]

  • 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2471: หลวงพิบูลสงคราม[2]
  • 5 ธันวาคม พ.ศ. 2484: ลาออกจากบรรดาศักดิ์[36]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย[แก้]

จอมพล หลวงพิบูลสงคราม (แปลก พิบูลสงคราม) ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดของไทย ดังนี้

เครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ[แก้]

ประเทศปีที่ได้รับเครื่องอิสริยาภรณ์แพรแถบอ้างอิง
ประเทศไทยเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ เป็นวันที่ 1 มกราคม ในสมัยคณะรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีท่านใด
 
ไรช์เยอรมัน
พ.ศ. 2480 เครื่องอิสริยาภรณ์กาชาดเยอรมัน พร้อมดารา [52]
ประเทศไทยเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ เป็นวันที่ 1 มกราคม ในสมัยคณะรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีท่านใด
 
อิตาลี
พ.ศ. 2480 เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎแห่งอิตาลี ชั้นที่ 1
ประเทศไทยเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ เป็นวันที่ 1 มกราคม ในสมัยคณะรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีท่านใด
[53]
ประเทศไทยเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ เป็นวันที่ 1 มกราคม ในสมัยคณะรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีท่านใด
 
ฝรั่งเศส
พ.ศ. 2481 เครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์ ชั้นที่ 1 แกรนด์ครอส
ประเทศไทยเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ เป็นวันที่ 1 มกราคม ในสมัยคณะรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีท่านใด
[54]
ประเทศไทยเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ เป็นวันที่ 1 มกราคม ในสมัยคณะรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีท่านใด
 
อิตาลี
พ.ศ. 2481 เครื่องราชอิสริยาภรณ์นักบุญมอริสและลาซารัส ชั้นสูงสุด
ประเทศไทยเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ เป็นวันที่ 1 มกราคม ในสมัยคณะรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีท่านใด
[55]
ประเทศไทยเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ เป็นวันที่ 1 มกราคม ในสมัยคณะรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีท่านใด
 
ไรช์เยอรมัน
พ.ศ. 2482 เครื่องอิสริยาภรณ์อินทรีเยอรมัน ชั้นที่ 1
ประเทศไทยเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ เป็นวันที่ 1 มกราคม ในสมัยคณะรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีท่านใด
[56]
ประเทศไทยเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ เป็นวันที่ 1 มกราคม ในสมัยคณะรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีท่านใด
 
บริเตนใหญ่
พ.ศ. 2482 เครื่องราชอิสริยาภรณ์นักบุญไมเคิลและจอร์จ ชั้นสูงสุด รับพระราชทานจากสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 แห่งสหราชอาณาจักร
ประเทศไทยเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ เป็นวันที่ 1 มกราคม ในสมัยคณะรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีท่านใด
[57]
ประเทศไทยเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ เป็นวันที่ 1 มกราคม ในสมัยคณะรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีท่านใด
 
ญี่ปุ่น
พ.ศ. 2485 เครื่องราชอิสริยาภรณ์อาทิตย์อุทัย ขั้นสูงสุด ประดับดอกคิริ
ประเทศไทยเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ เป็นวันที่ 1 มกราคม ในสมัยคณะรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีท่านใด
[58]
ประเทศไทยเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ เป็นวันที่ 1 มกราคม ในสมัยคณะรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีท่านใด
 
ฟิลิปปินส์
พ.ศ. 2498 เครื่องอิสริยาภรณ์ซิกาตูนา ชั้นที่ 1
ประเทศไทยเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ เป็นวันที่ 1 มกราคม ในสมัยคณะรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีท่านใด
[59]
ประเทศไทยเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ เป็นวันที่ 1 มกราคม ในสมัยคณะรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีท่านใด
 
สหรัฐ
10 ธันวาคม พ.ศ. 2489 ลีเจียนออฟเมอริต ชั้นสูงสุด หัวหน้าผู้บัญชาการ รับพิธีประดับอิสริยาภรณ์จากรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ณ กระทรวงกลาโหม กรุงวอชิงตัน
ประเทศไทยเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ เป็นวันที่ 1 มกราคม ในสมัยคณะรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีท่านใด
[59]
ประเทศไทยเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ เป็นวันที่ 1 มกราคม ในสมัยคณะรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีท่านใด
 
เบลเยียม
พ.ศ. 2498 เครื่องราชอิสริยาภรณ์เลออปอล ชั้นที่ 1
ประเทศไทยเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ เป็นวันที่ 1 มกราคม ในสมัยคณะรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีท่านใด
[59]
ประเทศไทยเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ เป็นวันที่ 1 มกราคม ในสมัยคณะรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีท่านใด
 
เนเธอร์แลนด์
พ.ศ. 2498 เครื่องราชอิสริยาภรณ์สิงโตเนเธอร์แลนด์ ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์
ประเทศไทยเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ เป็นวันที่ 1 มกราคม ในสมัยคณะรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีท่านใด
[59]
ประเทศไทยเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ เป็นวันที่ 1 มกราคม ในสมัยคณะรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีท่านใด
 
เยอรมนี
พ.ศ. 2498 เครื่องอิสริยาภรณ์คุณธรรมแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ชั้นที่ 1
ประเทศไทยเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ เป็นวันที่ 1 มกราคม ในสมัยคณะรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีท่านใด
[59]
ประเทศไทยเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ เป็นวันที่ 1 มกราคม ในสมัยคณะรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีท่านใด
 
อิตาลี
พ.ศ. 2498 เครื่องอิสริยาภรณ์คุณธรรมแห่งสาธารณรัฐอิตาลี ชั้นที่ 1
ประเทศไทยเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ เป็นวันที่ 1 มกราคม ในสมัยคณะรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีท่านใด
[59]
ประเทศไทยเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ เป็นวันที่ 1 มกราคม ในสมัยคณะรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีท่านใด
 
เดนมาร์ก
พ.ศ. 2498 เครื่องราชอิสริยาภรณ์แดนเนอโบร ชั้นที่ 1
ประเทศไทยเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ เป็นวันที่ 1 มกราคม ในสมัยคณะรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีท่านใด
[59]
ประเทศไทยเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ เป็นวันที่ 1 มกราคม ในสมัยคณะรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีท่านใด
 
ลาว
พ.ศ. 2498 เครื่องราชอิสริยาภรณ์ล้านช้างร่มขาว ชั้นที่ 1
ประเทศไทยเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ เป็นวันที่ 1 มกราคม ในสมัยคณะรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีท่านใด
[60]
ประเทศไทยเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ เป็นวันที่ 1 มกราคม ในสมัยคณะรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีท่านใด
 
กัมพูชา
พ.ศ. 2498 เครื่องอิสริยยศพระราชาณาจักรกัมพูชา ชั้นมหาเสรีวัฒน์
ประเทศไทยเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ เป็นวันที่ 1 มกราคม ในสมัยคณะรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีท่านใด
[61]
ประเทศไทยเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ เป็นวันที่ 1 มกราคม ในสมัยคณะรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีท่านใด
 
พม่า
พ.ศ. 2499 เครื่องอิสริยาภรณ์สิริสุธรรมะ ชั้นอรรคมหาสิริสุธรรมะ
ประเทศไทยเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ เป็นวันที่ 1 มกราคม ในสมัยคณะรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีท่านใด
[62]
ประเทศไทยเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ เป็นวันที่ 1 มกราคม ในสมัยคณะรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีท่านใด
 
กรีซ
พ.ศ. 2499 เครื่องราชอิสริยาภรณ์จอร์จที่ 1 ชั้นที่ 1
ประเทศไทยเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ เป็นวันที่ 1 มกราคม ในสมัยคณะรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีท่านใด
[63]
ประเทศไทยเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ เป็นวันที่ 1 มกราคม ในสมัยคณะรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีท่านใด
 
สเปน
พ.ศ. 2496 เครื่องราชอิสริยาภรณ์กิตติคุณทหารแห่งสเปน ชั้น อัศวินมหากางเขน
ประเทศไทยเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ เป็นวันที่ 1 มกราคม ในสมัยคณะรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีท่านใด
[64]
ประเทศไทยเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ เป็นวันที่ 1 มกราคม ในสมัยคณะรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีท่านใด
 
สเปน
พ.ศ. 2500 เครื่องราชอิสริยาภรณ์กิตติคุณฝ่ายทหารเรือแห่งสเปน ชั้นที่ 1
ประเทศไทยเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ เป็นวันที่ 1 มกราคม ในสมัยคณะรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีท่านใด
[65]

เชิงอรรถ[แก้]

  1. อย่างไรก็ดี กฎหมายนี้ยกเลิกไปหลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2500

อ้างอิง[แก้]

  1. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศพระบรมราชโองการ 28 กรกฎาคม 2484
  2. ↑ 2.0 2.1 ราชกิจจานุเบกษา. พระราชทานบรรดาศักดิ์ เล่ม 45 หน้า 580. วันที่ 20 พฤษภาคม 2471
  3. หน้า 163, เจ้าฟ้าประชาธิปกราชันผู้นิราศ โดย นายหนหวย (พ.ศ. 2530, จัดพิมพ์จำหน่ายโดยตัวเอง)
  4. ↑ 4.0 4.1 สองฝั่งประชาธิปไตย, "2475" .สารคดีทางไทยพีบีเอส: 26 กรกฎาคม 2555
  5. ราชกิจจานุเบกษา ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่องพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ข้าราชการกราบถวายบังคมลาออกจากบรรดาศักดิ์
  6. "โหมโรง, รัฐนิยม, จอมพล ป. พิบูลสงคราม ประวัติศาสตร์ที่ต้องไม่บิดเบือน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-07-31. สืบค้นเมื่อ 2005-05-29.
  7. ↑ 7.0 7.1 หนังสือ 2484 ญี่ปุ่นบุกไทย โดย ส.คลองหลวง
  8. เรื่องให้นายทหารออกจากประจำการ
  9. รัฐประหาร 2490 “รุ่งอรุณแห่งแสงเงินแสงทองของวันใหม่” ศิลปวัฒนธรรม. 5 กันยายน พ.ศ. 2563
  10. คอลัมน์ ส่วนร่วมสังคมไทย โดย นรนิติ เศรษฐบุตร หน้า 8 เดลินิวส์ฉบับวันศุกร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2554
  11. ↑ 11.0 11.1 หนังสือประชาธิปไตยบนเส้นขนาน โดย วินทร์ เลียววาริณ, (กรุงเทพมหานคร, พ.ศ. 2540) ISBN 9748585476
  12. ↑ 12.0 12.1 12.2 12.3 12.4 ใจจริง, ณัฐพล (2556). ขอฝันใฝ่ในฝันอันเหลือเชื่อ: ความเคลื่อนไหวของขบวนการปฏิปักษ์ปฏิวัติสยาม (พ.ศ. 2475-2500) (1 ed.). ฟ้าเดียวกัน. ISBN 9786167667188.
  13. สิทธิพล เครือรัฐติกาล (2015). สถาบันพระมหากษัตริย์กับนโยบายต่างประเทศของไทยยุคสงครามเย็น. ฟ้าเดียวกัน. pp. Page ปีที่ 6 ฉบับที่ 4 น.163.
  14. ↑ 14.0 14.1 14.2 สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล: พูนศุข พนมยงค์ ให้สัมภาษณ์กรณีสวรรคต พฤษภาคม 2500
  15. Handley, Paul M. (2006). The King Never Smiles. Yale University Press. pp. Page 129–130, 136–137. ISBN 0-300-10682-3.
  16. Thak Chaloemtiarana (1979). Thailand: The Politics of Despotic Paternalism. Social Science Association of Thailand. pp. Page 98.
  17. Thak Chaloemtiarana (1979). Thailand: The Politics of Despotic Paternalism. Social Science Association of Thailand, Page 98. (อังกฤษ)
  18. Suwannathat-Pian, Kobkua (1995). Thailand's Durable Premier. Oxford University Press. pp. Page 30. ISBN 967-65-3053-0.
  19. Suwannathat-Pian, Kobkua (1995). Thailand's Durable Premier. Oxford University Press, Page 30. ISBN 967-65-3053-0. (อังกฤษ)
  20. พระบรมราชโองการให้ใช้กฎอัยการศึกษาทั่วราชอาณาจักร. (2500, 16 กันยายน). ราชกิจจานุเบกษา, (เล่มที่ 74, ตอน 76). (4 มิถุนายน 2551).
  21. หนังสืออำนาจ ๒ โดย รุ่งมณี เมฆโสภณ (มีนาคม, พ.ศ. 2555) ISBN 978-616-536-079-1
  22. กาลานุกรมสยามประเทศไทย 2485-2554" (2554) โดย ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ดร. ISBN 978-974-228-070-3
  23. บทบาททางสังคม ยุคสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม
  24. เมื่อเริ่มกิจการโทรทัศน์ในประเทศไทย จากบล็อก โอเคเนชั่น
  25. ประวัติความเป็นมาของบ้านบางแค
  26. พระราชทานยศนายทหารบก (หน้า 499)
  27. พระราชทานยศทหารบก (หน้า 342)
  28. ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศพระราชทานยศทหาร
  29. พระราชทานยศ (หน้า 625)
  30. ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศพระราชทานยศทหาร
  31. ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศพระราชทานยศทหารบก
  32. ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศพระราชทานยศทหารบก
  33. ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศพระราชทานยศทหารอากาศ
  34. ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่องพระราชทานยศทหาร
  35. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ พระราชทานยศจอมพล จอมพลเรือ และจอมพลอากาศ (นายพลตรี หลวงพิบูลสงคราม), เล่ม 58, ตอน 0ก, 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2484, หน้า 981
  36. ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้ข้าราชการกราบถวายบังคมลาออกจากบรรดาศักดิ์ เล่ม 58 หน้า 4525. วันที่ 6 ธันวาคม 2484
  37. ↑ 37.0 37.1 ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศพระบรมราชโองการ, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ก หน้า ๙๘๖-๙๘๗, ๒๘ กรกฎาคม ๒๔๘๔
  38. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๕๙ ตอนที่ ๒๔ ง หน้า ๙๗๑, ๗ เมษายน ๒๔๘๕
  39. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๕๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๙๔๗, ๒๕ มิถุนายน ๒๔๘๓
  40. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๕๔ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๒๑๓, ๑๓ ธันวาคม ๒๔๘๐
  41. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญกล้าหาญ, เล่ม ๖๑ ตอนที่ ๒๖ ง หน้า ๗๑๗, ๒๗ เมษายน ๒๔๘๗
  42. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิและเครื่องหมายเปลวระเบิดสำหรับผู้ได้กระทำความชอบได้รับบาดเจ็บ, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๘๑๐, ๑๕ เมษายน ๒๔๘๔
  43. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๔๒ ง หน้า ๒๕๐๔, ๑๐ สิงหาคม ๒๔๘๖
  44. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความ เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ, เล่ม ๕๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๐๗๙, ๓๐ กันยายน ๒๔๗๗
  45. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความ เรื่อง พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มราชการแผ่นดิน, เล่ม ๕๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๑๕๖, ๑๘ พฤศจิกายน ๒๔๗๗
  46. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา, เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๖๕ ง หน้า ๓๙๐๑, ๑๔ ธันวาคม ๒๔๘๖
  47. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน, เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๔๓ ง หน้า ๒๕๘๙, ๑๗ สิงหาคม ๒๔๘๖
  48. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๗๔ ตอนที่ ๕๙ ง หน้า ๑๖๔๘, ๒ กรกฎาคม ๒๕๐๐
  49. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญ, เล่ม ๔๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๐๓๔, ๙ พฤศจิกายน ๒๔๗๓
  50. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๕๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๙๖๐, ๒๘ พฤศจิกายน ๒๔๘๑
  51. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๗๐ ตอนที่ ๑๐ ง หน้า ๕๓๐, ๓ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๖
  52. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้ประดับตราต่างประเทศ, เล่ม ๕๔ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๖๔, ๑๐ พฤษภาคม ๒๔๘๐
  53. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้ประดับตราต่างประเทศ, เล่ม ๕๔ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๖๒๗, ๑ พฤศจิกายน ๒๔๘๐
  54. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๕๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๑๗๘, ๑๓ มีนาคม ๒๔๘๑
  55. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๕๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๐๙๘, ๑๒ ธันวาคม ๒๔๘๑
  56. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้ประดับเครื่องราชอิสสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๕๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๕๙๔, ๑๑ มีนาคม ๒๔๘๒
  57. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๕๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๖๕๐, ๔ ธันวาคม ๒๔๘๒
  58. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๕๙ ตอนที่ ๑๔ ง หน้า ๔๓๔, ๓ มีนาคม ๒๔๘๕
  59. ↑ 59.0 59.1 59.2 59.3 59.4 59.5 59.6 ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๗๒ ตอนที่ ๖๓ ง หน้า ๒๐๘๕, ๒๓ สิงหาคม ๒๔๙๘
  60. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๗๒ ตอนที่ ๖๗ ง หน้า ๒๑๒๙, ๓๐ สิงหาคม ๒๔๙๘
  61. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๗๒ ตอนที่ ๗๕ ง หน้า ๒๒๗๘, ๒๐ กันยายน ๒๔๙๘
  62. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๗๓ ตอนที่ ๑๑ ง หน้า ๓๘๕, ๓๑ มกราคม ๒๔๙๙
  63. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๗๓ ตอนที่ ๑๐๓ ง หน้า ๓๗๔๓, ๑๑ ธันวาคม ๒๔๙๙
  64. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๗๐ ตอนที่ ๒๗ ง หน้า ๑๘๙๖, ๒๘ เมษายน ๒๔๙๖
  65. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๗๔ ตอนที่ ๕๑ ง หน้า ๑๓๐๔, ๔ มิถุนายน ๒๕๐๐

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • นายกรัฐมนตรีคนที่ 3 จอมพล แปลก พิบูลสงคราม เก็บถาวร 2005-04-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ประวัติที่เว็บไซต์สำนักเลขาธิการรัฐมนตรี
  • ผู้บัญชาการทหารบก ลำดับที่ 12 จอมพล แปลก พิบูลสงคราม เก็บถาวร 2002-08-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน , ประวัติที่เว็บไซต์กองทัพบก
  • โหมโรง, รัฐนิยม, จอมพล ป. พิบูลสงคราม ประวัติศาสตร์ที่ต้องไม่บิดเบือน เก็บถาวร 2013-07-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  • Duncan Stearn:A Slice of Thai History: The Japanese invasion of Thailand, 8 December 1941 Pattaya Mail – Pattaya's First English Language Newspaper (part one) Columns (part two) Columns (part three)
  • Kopkuea Suwannathat-Phian (1989). Foreign Policies of Phibunsongkhram Government: 1938–1944 (PDF). Bangkok: Thammasat University Press. ISBN 9745724165.

ข้อใดคือเหตุผลที่เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ จาก 1 เมษายน เป็น 1 มกราคม

เหตุผลเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จาก 1 เมษายน เป็น 1 มกราคม 1. เป็นการไม่ขัดกับหลักพุทธศาสนาในด้านการนับวัน เดือน และการร่วมฉลองปีใหม่ด้วยการท่าบุญ 2. เป็นการเลิกวิธีน่าเอาลัทธิพราหมณ์มาคร่อมศาสนาพุทธ 3. ท่าให้เข้าสู่ระดับสากลทีใช้อยู่ในประเทศทัวโลก 4. เป็นการฟื้นฟูวัฒนธรรม คตินิยม และจารีตประเพณีของชาติไทย

ประเทศไทยเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จากวันที่ 1 เมษายนมาเป็นวันที่ 1 มกราคมในรัชกาลใด

พ.ศ. 2477 ประกาศให้มีงานรื่นเริงขึ้นปีใหม่ในวันที่ 1 เมษายน เพื่อฟื้นฟูประเพณีวันขึ้นปีใหม่ที่ซบเซา พ.ศ. 2484 มีมติให้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จากวันที่ 1 เมษายน มาเป็นวันที่ 1 มกราคม

สมัยรัฐบาลใดประกาศ ให้ใช้ วันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่

ทั้งนี้ การปรับเปลี่ยนนี้ได้มีพระบรมราชโองการให้ตราพระราชบัญญัติปีประดิทิน ปี 2483 ซึ่งตรงกับสมัยของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 ประกาศให้วันที่ 1 มกราคมของทุกปี เป็นวันขึ้นปีใหม่ โดยมีจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ซึ่งมีการประกาศอย่างเป็นทางการ ณ วันที่ ...

ผู้ที่ทำการเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ของไทยเป็นวันที่ 1 มกราคม มาจนถึงปัจจุบัน คือ ใคร

ต่อมาก็ได้มีการพิจารณาเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมา โดยมี หลวงวิจิตรวาทการ เป็นประธานคณะกรรมการ และที่ประชุมก็ได้มีมติเป็นเอกฉันท์ให้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ เป็นวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2484 ในวันที่ 24 ธันวาคม ในสมัยคณะรัฐบาลของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม โดยเหตุผลสำคัญก็คือ