เศรษฐกิจ ไทย ก่อน สงครามโลก ครั้งที่ 2

Titleสภาวะทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมของประเทศไทย ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง / อุบล จิระสวัสดิ์ = The political, economic and social conditions of Thialand during the Second World War / Ubol Chirasawadi

ปฏิเสธได้ยากว่านายทุน(เชื้อสาย)จีน เข้ามามีบทบาทในระบบเศรษฐกิจไทยเป็นอย่างมาก จากการศึกษาความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมไทยในอดีต ผู้ศึกษาข้อมูลพบจุดเปลี่ยนที่นำมาสู่การเข้ามาของ “นายทุนจีน” แทนที่นายทุนฝรั่ง ส่วนหนึ่งมาจากยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2

บทความเรื่อง “การ ‘ปรับตัว’ ของ ‘นายทุนจีน’ สะท้อนความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมไทยในทศวรรษ 2490” โดย ณัฏฐพงษ์ เลี่ยววิวัฒน์อุทัย เผยแพร่ในนิตยสาร ศิลปวัฒนธรรม ฉบับสิงหาคม 2551 อธิบายไว้ดังนี้ (จัดย่อหน้าใหม่ – กองบรรณาธิการออนไลน์)


“…สงครามโลกครั้งที่ 2 ได้ทำให้ ‘ทุนยุโรป’ ที่เคยมีอิทธิพลสูงในวงธุรกิจการเงินต้องปิดกิจการไปจึงเกิดช่องว่างในธุรกิจด้านนี้ขึ้น คอมประโดร์และเสมียนพนักงานที่เคยทำงานในสำนักงานสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศจึงพยายามจะตั้งธนาคารของตัวเองขึ้นมา เพื่อทำธุรกิจด้านการแลกเปลี่ยนเงินตราและสนับสนุนการค้าระหว่างประเทศของบริษัทในกลุ่มตนเอง เช่น นายลิ้ม ธรรมจารีย์ คอมประโดร์เก่าของธนาตารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ เป็นผู้จัดการของธนาคารไทย จำกัด เป็นต้น

การประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์ไทยในระยะแรก ภายหลังสงครามเลิกใหม่ๆ ยังมิได้เข้าไปมีบทบาทเกี่ยวข้องกับระบบเศรษฐกิจเท่าไรนัก กิจกรรมหลักมักได้แก่การให้บริการแก่ธุรกิจการค้าระหว่างประเทศเป็นสำคัญ โดยเฉพาะด้านการส่งออกและนำเข้า นอกจากนั้นกิจการส่วนใหญ่ของธนาคารยังมุ่งไปในทางช่วยเหลือ ‘กลุ่มการค้า’ ในวงแคบๆ ภายในประเทศและต่างประเทศที่มีเครือข่ายการค้าด้วยกันอยู่แล้ว เช่น ธนาคารหวั่งหลี ที่ตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนธุรกิจการค้าของตระกูลหวั่งหลีเป็นหลัก เป็นต้น

ธนาคารกรุงเทพ ถือกำเนิดขึ้นท่ามกลางเปลวไฟของสงคราม จากการริเริ่มของกลุ่มขุนนาง ข้าราชการ พ่อค้าคหบดีและอดีตพนักงานธนาคารสยามกัมมาจล กลุ่มคนเหล่านี้ได้ชักชวนกันเข้ามาร่วมหุ้นก่อตั้งธนาคารกรุงเทพเมื่อปลายปี 2487 ก่อนสงครามจะสงบราว 1 ปี ทั้งคณะผู้ก่อตั้งและคณะกรรมการชุดแรกของธนาคารกรุงเทพ จำกัด ล้วนประกอบด้วยบุคคลที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดี และได้รับความเชื่อถือในวงสังคมเวลานั้น

นับตั้งแต่ประธานกรรมการธนาคาร คือ พลเอก เจ้าพระยารามราฆพ (ม.ล. เฟื้อ พึ่งบุญ) อดีตข้าราชสำนักในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็เคยร่วมงานที่ธนาคารสยามกัมมาจลมาก่อน หลวงรอบรู้กิจ (นายทองดี ลีลานุช) ข้าราชการกรมรถไฟหลวงหรือการรถไฟแห่งประเทศไทยในปัจจุบัน ตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายกี่บัญชีและเคยรักษาการตำแหน่งผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวง ผู้ได้ลาออกจากงานก่อนที่จะเกษียณ เพื่อร่วมคิดร่วมตั้งธนาคารกรุงเทพขึ้น หลวงบรรณกรโกวิท (นายเปา จักกะพาก) อดีตนายช่างใหญ่กรมไปรษณีย์โทรเลข นายสวัสดิ์ โสตถิทัต อดีตอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลขและผู้อำนวยการธนาคารออมสิน และนายถวิล มีสมกลิ่น ผู้จัดการบริษัทข้าวไทยทวีผล นายห้างชิน โสภณพนิช นักธุรกิจที่ต้องการก่อตั้งธนาคารพาณิชย์เพื่ออำนวยประโยชน์ในการทำธุรกิจให้กับพ่อค้าในประเทศไทย

แม้ว่าสงครามเกาหลีได้มีส่วนอย่างสำคัญในการสร้างสรรค์ภาวะเศรษฐกิจและการธนาคารของประเทศไทยเพราะภาวะสงครามเป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดความต้องการสินค้าออกต่างๆ อย่างกว้างขวาง แต่คณะกรรมการชุดแรกของธนาคารภายใต้การนำของหลวงรอบรู้กิจไม่ประสบความสำเร็จในการบริหารและสร้างความเจริญก้าวหน้าให้กับธนาคารได้ตามมุ่งหวัง ความตั้งใจที่จะให้ธนาคารสามารถให้บริการแก่ตลาดในประเทศเหมือนอย่างที่สาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศกระทำกับลูกค้าของตน ก็สัมฤทธิผลดีในระดับหนึ่งเท่านั้น

ทั้งนี้เพราะผู้บริหารของธนาคารบางคนไม่ได้ยึดมั่นอยู่กับนโยบายนี้เสมอไป ผู้บริหารกลุ่มหนึ่งมีความคิดว่า ถ้าเอาเงินที่ลูกค้านำมาฝากไปลงทุนในธุรกิจที่ดินที่กำลังรุ่งเรืองในช่วงหลังสงครามน่าจะเป็นสิ่งที่ดีกว่าเพราะอย่างน้อยก็จะมีที่ดินเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันเต็มที่ จึงได้มีการนำเงินฝากส่วนหนึ่งของธนาคารไปลงทุนเพื่อประโยชน์ส่วนตัว คือ ซื้อที่ดินแถวพระโขนงกักตุนไว้มากเกินไปจนทำให้เกิดความไม่สมดุลระหว่างเงินฝากกับเงินปล่อยกู้ และกลายเป็นการคาดการณ์ที่ผิดพลาด เนื่องจากไม่สามารถขายที่ดินนั้นได้ ธนาคารกรุงเทพจึงประสบปัญหาขาดสภาพคล่องหรือขาดแคลนทุนหมุนเวียน ตั้งแต่ช่วงปลายปี 2494 ถึงต้นปี 2495 จึงได้มีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารชุดใหม่

ปรากฏว่า นายชิน โสภณพนิช ได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่คนต่อมา ซึ่งภายใต้การบริหารงานของคณะกรรมการชุดใหม่นี้ได้เกิดความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ขึ้นมากมาย ซึ่งล้วนสะท้อนภาพการขยายตัวของระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยในขณะนั้นได้เป็นอย่างดี…”


หมายเหตุ : คัดเนื้อหาส่วนหนึ่งจากบทความ “การ ‘ปรับตัว’ ของ ‘นายทุนจีน’ สะท้อนความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมไทยในทศวรรษ 2490” เขียนโดย ณัฏฐพงษ์ เลี่ยววิวัฒน์อุทัย เผยแพร่ในนิตยสาร ศิลปวัฒนธรรม ฉบับสิงหาคม 2551

เศรษฐกิจของประเทศจะดีหรือไม่ อาจพิจารณาได้จากหลายปัจจัยด้วยกัน แต่ปัจจัยหนึ่งที่สามารถนำมาชี้วัดได้ ก็คือ ความเพียงพอของสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นในการดำรงชีวิต หากประเทศนั้นไม่มีสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิตแล้ว แม้จะมีปริมาณเงินในระบบมากก็ไม่สำคัญ เพราะปริมาณเงินในระบบนั้นไม่สอดคล้องกับปริมาณสินค้าและบริการ

ในบทความนี้จะนำผู้อ่านย้อนกลับไปพิจารณาสภาพเศรษฐกิจของไทยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง

สาเหตุของเงินเฟ้อหลังมหาสงคราม

ภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 สภาพปัญหาทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศไม่ต่างกันมาก ด้วยต้องเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนสินค้าจำเป็น และภาวะเงินเฟ้อ กล่าวเฉพาะในด้านปัญหาเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นในประเทศไทยช่วงสงครามมหาเอเชียบูรพา ผู้เขียนได้ชี้แจงสาเหตุไว้แล้วในบทความก่อน และข้อยกมาสรุปเอาไว้ในบทความนี้ถึงสาเหตุทั้ง 2 ประการที่นำไปสู่ภาวะเงินเฟ้อ ดังนี้

ประการแรก คือ ประเทศไทยออกจากมาตรฐานปริวรรตเงินปอนด์สเตอร์ลิง (Sterling exchange standard) กล่าวคือ ในช่วงปี พ.ศ. 2475 เป็นต้นมานั้นประเทศไทยใช้มาตรฐานปริวรรตสเตอร์ลิงโดยเอาค่าเงินบาทไปผูกไว้กับค่าเงินปอนด์ของประเทศสหราชอาณาจักร แต่เมื่อสงครามมหาเอเชียบูรพาเริ่มต้นขึ้นประเทศไทยได้เข้าเป็นพันธมิตรกับจักรวรรดิญี่ปุ่นและประกาศสงครามกับอังกฤษและสหรัฐอเมริกา จึงทำให้ต้องตัดขาดความสัมพันธ์ทางการค้าและรวมถึงการจำเป็นต้องเปลี่ยนมาใช้มาตรฐานปริวรรตเงินเยน (Yen exchange standard) พร้อมทั้งกำหนดค่าเงินบาทให้เท่ากับเงินเยน กล่าวคือ กำหนดให้ 100 บาท เท่ากับ 100 เยน ทั้ง ๆ ที่ในขณะนั้นค่าเงินบาทมีมากกว่าค่าเงินเยนโดยอัตราเปรียบเทียบ 100 บาท ต่อ 155.70 เยน สภาพดังกล่าวทำค่าเงินบาทลดลงประมาณร้อยละ 36

ประการที่สอง คือ ธนาคารแห่งประเทศไทยต้องพิมพ์ธนบัตรเพื่อชดเชยงบประมาณขาดดุล และต้องพิมพ์ธนบัตรเพื่อให้จักรวรรดิญี่ปุ่นใช้ในราชการสงครามภายในประเทศไทย

ผลจากปัจจัยทั้งสองประการนี้ทำให้ประเทศไทยมีปริมาณเงินเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยในช่วงระยะเวลาไม่ถึง 3 ปี อัตราเงินเฟ้อในประเทศไทยเพิ่มขึ้นถึง 10 เท่าตัว นับตั้งแต่สงครามมหาเอเชียบูรพาเริ่มต้นขึ้น ซึ่งตลอดระยะเวลาสงครามรัฐบาลจะได้พยายามด้วยวิธีการต่าง ๆ นานาประการเพื่อบรรเทาภาวะเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นในประเทศไทย แต่การแก้ไขดังกล่าวก็ไม่มีประสิทธิภาพมากนัก เพราะสาเหตุของปัญหาบางประการไม่สามารถแก้ไขได้ในสภาวะที่สงครามยังดำเนินอยู่ต่อไป เช่น รัฐบาลไม่สามารถลดการพิมพ์ธนบัตรเพื่อให้จักรวรรดิญี่ปุ่นใช้ในราชการสงครามภายในประเทศไทยไทยได้ เป็นต้น

การแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2

แม้สงครามโลกครั้งที่ 2 จะสิ้นสุดลงปัญหาเงินเฟ้อก็ยังดำเนินต่อไปโดยรัฐบาลก็ไม่สามารถแก้ไขได้โดยง่าย ดังเช่นที่นายควง อภัยวงศ์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นได้ตอบกระทู้ถามของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรว่า “...ภาวะเงินการเงินของเราเวลานี้เปรียบเสมือนคนไข้หนัก การแก้ไขปัญหาจำเป็นต้องใช้การผ่าตัด...” คำกล่าวของนายควงในข้างต้นนั้นไม่ได้เกินจริงไปเสียเลย เพราะหากพิจารณาจากปริมาณเงินเฟ้อในปี พ.ศ. 2488 มีปริมาณเงินหมุนเวียนจำนวน 2,560,579,208 บาท และได้เพิ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2489 เป็น 3,029,570,987 บาท ปริมาณเงินดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่า แม้รัฐบาลพยายามอย่างเต็มที่ในการแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อตลอดช่วงเวลาที่สงครามเดินไปนั้นกระทำได้ยากมาก

ในช่วงปลายของสงครามโลกครั้งที่ 2 รัฐบาลและธนาคารแห่งประเทศไทยได้ดำเนินการหลายวิธีด้วยกันเพื่อจะลดอัตราเงินเฟ้อ โดยในช่วงปี พ.ศ. 2488 รัฐบาลได้ยกเลิกการใช้ธนบัตรใบละ 1,000 บาท โดยกำหนดให้ธนบัตรใบละ 1,000 บาทไม่สามารถนำไปชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย แต่ผู้ครอบครองธนบัตรสามารถนำธนบัตรใบละ 1,000 บาท ไปจดทะเบียนที่คลังทุกแห่งทั่วไปประเทศเพื่อขอเปลี่ยนเป็น “พันธบัตรออมทรัพย์” ที่ให้ดอกเบี้ยร้อยละ 1 ต่อปีแทนได้ และพันธบัตรดังกล่าวจะไถ่ถอนไม่ได้จนกว่าจะครบระยะเวลา 1 ปี วิธีการดังกล่าวนี้เรียกว่าเป็นการ “แช่เย็น” ธนบัตร ซึ่งทำเพื่อดึงเงินออกจากมือของประชาชน ด้วยวิธีการดังกล่าวทำให้สามารถลดเงินหมุนเวียนในระบบไปได้ประมาณ 371.5 ล้านบาท และทำให้ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคจำเป็นบางอย่างลดลง สาเหตุที่รัฐบาลและธนาคารแห่งประเทศไทยต้องนำวิธีการดังกล่าวมาใช้ก็เพื่อทำให้เกิดอุปสรรคต่อการเก็งกำไรซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของเงินเฟ้อ อย่างไรก็ตาม วิธีการดังกล่าวนั้นไม่ใช่ว่าจะใช้ได้ผลดีไปตลอด เพราะในท้ายที่สุดปัญหาสำคัญก็ยังคงดำรงอยู่คือการพิมพ์ธนบัตรเพื่อให้ทหารญี่ปุ่นใช้ในช่วงสงคราม

นอกจากนี้ รัฐบาลได้ตราพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2489 ซึ่งให้อำนาจรัฐบาลเข้ามากำกับการประกอบกิจการธนาคารเป็นครั้งแรก โดยผลของพระราชบัญญัติฉบับนี้ได้กำหนดให้ธนาคารทุกธนาคารจะต้องตั้งเงินสดสำรองไว้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของเงินฝาก และอย่างน้อยร้อยละ 10 จะต้องนำไปฝากไว้กับธนาคารแห่งประเทศไทย โดยอัตราส่วนเงินสดสำรองนี้ธนาคารแห่งประเทศไทยมีอำนาจปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ต้องตั้งเงินสดสำรองนี้เป็นวิธีการป้องกันเพื่อไม่ให้ธนาคารพาณิชย์ปล่อยกู้อันจะทำให้เกิดการหมุนเวียนเงินออกสู่ระบบมากจนเกินไป

อีกวิธีการหนึ่งที่รัฐบาลเคยคิดจะนำมาใช้เพื่อลดปริมาณเงินในระบบ แต่สุดท้ายก็ไม่ได้นำมาใช้ คือ การแบ่งขายทองคำจากทุนสำรองเงินตราภายในประเทศ เพื่อหวังไถ่ถอนธนบัตรจากการหมุนเวียนอย่างไรก็ตาม วิธีการดังกล่าว รัฐบาลและธนาคารแห่งประเทศไทยมีความเห็นในส่วนของวิธีการที่แตกต่างกันในแง่รูปแบบของการไถ่ถอน จึงเป็นเหตุให้พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชย ทรงลาออกจากตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย พร้อมรองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย

ความท้าทายของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อหลังสงคราม

ในเวลาต่อมาเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง การแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อก็ยังไม่สามารถแก้ไขได้โดยง่าย โดยรัฐบาลมีความท้าทายอยู่ 2 ประการ ได้แก่

ประการแรก รัฐบาลต้องพยายามจับจ่ายใช้สอยเงินในการฟื้นฟูประเทศอย่างไรที่จะไม่ทำให้ภาวะเงินเฟ้อทวีความรุนแรงขึ้นไปอีก ซึ่งเรื่องดังกล่าวนี้ทำได้ยากมาก ด้วยเหตุที่สภาวะหลังสงครามประชาชนได้รับความบอบช้ำทางเศรษฐกิจรัฐบาลจึงเก็บภาษีได้น้อย ทำให้การจัดทำงบประมาณแบบสมดุลทำได้ยาก แต่รัฐบาลก็ต้องบูรณะประเทศทำให้รัฐบาลต้องจัดทำงบประมาณแบบขาดดุล และทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทยต้องให้รัฐบาลกู้ยืมเงิน

ประการที่สอง ปัญหาข้าวที่เกิดขึ้นตามความตกลงสัญญาสมบูรณ์แบบ (รายละเอียดได้กล่าวไว้ในบทความก่อน) เพราะในช่วงแรกนั้นรัฐบาลจำเป็นต้องใช้เงินจำนวนมากเพื่อปฏิบัติตามพันธกรณีตามความตกลงสัญญาสมบูรณ์แบบในการซื้อข้าวจากประชาชนเพื่อส่งมอบให้กับสหประชาชาติ

อย่างไรก็ตาม เมื่อในเวลาต่อมาได้เจราจาแก้ไขปัญหาข้าวตามความตกลงสัญญาสมบูรณ์แบบแล้ว ประจวบกับสินค้าส่งออกของไทยมีราคาดีขึ้น ประกอบกับสินค้าส่งออกของไทยมีราคาดีขึ้น ทำให้รัฐบาลได้เงินตราต่างประเทศเข้ามามากขึ้นในช่วง พ.ศ. 2491-2494 และด้วยการที่รัฐบาลสามารถควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตราได้อย่างมีประสิทธิภาพภายใต้ระบบแลกเปลี่ยนเงินหลายอัตรา ทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทยสะสมเงินตราต่างประเทศได้เป็นจำนวนมาก สถานะทางเศรษฐกิจของประเทศไทยในตอนนี้จึงเป็นการได้เปรียบดุลการค้า

ในช่วงหลัง พ.ศ. 2491 เป็นต้นมาถือได้ว่าเศรษฐกิจของประเทศไทยดีขึ้น ดัชนีค่าครองชีพของประชาชนมีความเปลี่ยนแปลงไปบ้างเล็กน้อยในทิศทางที่ดีขึ้น โดยจะเห็นได้ว่าในช่วงปี พ.ศ. 2491-2494 ดัชนีค่าครองชีพลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับอำนาจซื้อของเงินบาท แสดงให้เห็นว่าเงินเฟ้อได้คลี่คลายลงบ้าง ราคาสินค้าและบริการปรับตัวลดลง (ตารางที่ 1)

 

ตารางที่ 1: แสดงอำนาจการซื้อของเงินบาทและดัชนีค่าครองชีพ

พ.ศ.อำนาจซื้อของเงินบาทดัชนีค่าครองชีพ2491100.0100.02492104.196.02493100.999.2249490.8116.1249581.6122.6249674.1134.9249773.9135.3249870.7141.5

ที่มา: เงิน ศรีสุรักษ์, แรงงานในประเทศไทย, (กรุงเทพฯ : คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2504), น. 122; อ้างอิงจาก สมศักดิ์ นิลนพคุณ, “ปัญหาเศรษฐกิจของไทยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 และการแก้ไขของรัฐบาลระหว่าง พ.ศ. 2488 – 2489,” (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2557), น. 178.

 

สถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศไทยกลับมาประสบวิกฤตอีกครั้งหนึ่ง เมื่อปี พ.ศ. 2495 เพราะสินค้าออกที่สำคัญของไทยกลับมามีราคาต่ำลงอีกครั้งหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้าวและยางพาราซึ่งเป็นสินค้าส่งออกสำคัญ เป็นผลให้ประเทศไทยต้องเสียเปรียบดุลการค้าอีกครั้งหนึ่ง ในขณะเดียวกันรัฐบาลยังต้องบูรณะฟื้นฟูประเทศ ทำให้จำเป็นต้องจัดงบประมาณแบบขาดดุลอีกครั้ง ซึ่งรัฐบาลแก้ปัญหานี้โดยการขอกู้เงินจากธนาคารแห่งประเทศไทย จึงเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้ปริมาณหมุนเวียนเงินมากขึ้นอีกครั้งทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้ออีกครั้งหนึ่ง

ในท้ายที่สุดอาจกล่าวได้ว่า การแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อในประเทศไทยนั้นเป็นปัญหายืดเยื้อและใช้ระยะเวลาแก้ไขอย่างยาวนาน รัฐบาลต้องทุ่มเทความตั้งใจเป็นอย่างมากเพื่อแก้ไขวิกฤตการณ์ในครั้งนั้น และเมื่อสถานการณ์ทางเศรษฐกิจดีขึ้นได้ไม่นาน ประเทศไทยก็ต้องกลับมาประสบปัญหาทางเศรษฐกิจอีกครั้งหนึ่ง โดยนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2492-2498 งบประมาณรายจ่ายของประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ทางด้านการคลังประเทศไทยมีแนวโน้มจะจัดนโยบายการคลังแบบขาดดุลโดยตลอด ในขณะที่อัตราการขาดดุลทางงบประมาณก็เพิ่มขึ้นเช่นเดียวกันพร้อม ๆ กับปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบที่เพิ่มขึ้น (ตารางที่ 2)

 

ตารางที่ 2: แสดงจำนวนดุลงบประมาณแผ่นดินและปริมาณเงิน (ล้านบาท)

พ.ศ.งบประมาณรายได้งบประมาณรายจ่าย+ งบเกินดุล
- งบขาดดุลเงินกู้จากธนาคารชาติจำนวนเงินหมุนเวียน2490966.01,217.2- 221.211.82,044.824911,962.21,685.0+ 7.236.62,206.624921,929.82,237.3- 307.5330.92,363.224932,143.32,591.7- 447.9333.83,042.824942,523.33,418.5- 888.2910.73,756.524953,346.94,433.9- 1,087.01,844.33.676.324963,940.95,240.6- 1,299.71,478.94,016.924974,265.95,493.8- 1,227.91,478.94,548.324984,383.05,025.5- 645.3552.35,178.7

ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย, ที่ระลึกวันครบรอบปีที่ยี่สิบ 10 ธันวาคม 2505, (กรุงเทพฯ: ศิวพรการพิมพ์, 2505), น. 56; อ้างอิงจาก สมศักดิ์ นิลนพคุณ, “ปัญหาเศรษฐกิจของไทยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 และการแก้ไขของรัฐบาลระหว่าง พ.ศ. 2488 – 2489,” (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2557), น. 180.

 

 


สมศักดิ์ นิลนพคุณ, “ปัญหาเศรษฐกิจของไทยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 และการแก้ไขของรัฐบาลระหว่าง พ.ศ. 2488 – 2489,” (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2557), น. 126.

เพิ่งอ้าง, น. 176.

พระราชกำหนดพันธบัตรออมทรัพย์ในภาวะคับขัน พุทธศักราช 2488, มาตรา 4.

พระราชกำหนดพันธบัตรออมทรัพย์ในภาวะคับขัน พุทธศักราช 2488, มาตรา 5.

ธนาคารแห่งประเทศไทย, “เมื่อ ‘บาท’ เกือบเป็น ‘เหรียญ’,” ธนาคารแห่งประเทศไทย, (2557) สืบค้นเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2563, จาก https://www.bot.or.th/Thai/phrasiam/Documents/Phrasiam_3_2557/No.17.pdf, น. 42-43.

เพิ่งอ้าง.

เพิ่งอ้าง.

พระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พุทธศักราช 2488, มาตรา 10.

ธารทอง ทองสวัสดิ์, “เศรษฐกิจไทยในช่วง พ.ศ. 2488 – 2504,” ใน เศรษฐกิจไทย, (กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2553), น. 290.

ธนาคารแห่งประเทศไทย, อ้างแล้ว เชิงอรรถที่ 5, น. 43.

สมศักดิ์ นิลนพคุณ, อ้างแล้ว เชิงอรรถที่ 1, น. 179.

ระบบการแลกเปลี่ยนหลายอัตรา เกิดขึ้นมาจากความพยายามของรัฐบาลในการควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศเพื่อควบคุมปริมาณเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย จึงกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราขึ้นมาเป็นอัตราเดียวในตอนแรก แต่การกำหนดในลักษณะดังกล่าวล้มเหลวเนื่องจากอัตราดังกล่าวต่ำกว่าอัตราในตลาดมืด ทำให้ในเวลาต่อมามีการกำหนดอัตรา 2 อัตราคือ อัตราทางการ และอัตราในท้องตลาด (ยอมรับอัตราในตลาดมืด).

ดัชนีเป็นฐานดัชนี 100.

ในปี พ.ศ. 2491 ประเทศไทยมีงบประมาณเกินดุล เนื่องจากรัฐบาลสามารถเจรจากับอังกฤษให้สามารถขายข้าวตามราคาตลาดโลกได้ ทำให้รัฐบาลมีรายได้เกินดุล.

  • บทความ

  • เกร็ดประวัติศาสตร์

  • ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจไทย
  • สงครามโลกครั้งที่ 2
  • เงินเฟ้อ
  • ค่าเงินบาท
  • ธนาคารแห่งประเทศไทย
  • พระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2489
  • ค่าครองชีพ
  • งบประมาณแผ่นดิน
  • เขมภัทร ทฤษฎิคุณ

พื้นที่โฆษณา/ประชาสัมพันธ์

สถาบันปรีดี พนมยงค์ ประกาศรับสมัครงานสถาบันปรีดี พนมยงค์ ประกาศรับสมัครงาน

แนะนำหนังสือ : ปรัชญาสังคมนิยมวิทยาศาสตร์ประชาธิปไตย อุดมการณ์เพื่อชาติและราษฎรไทยแนะนำหนังสือ : ปรัชญาสังคมนิยมวิทยาศาสตร์ประชาธิปไตย อุดมการณ์เพื่อชาติและราษฎรไทย