อยุธยาเป็นราชธานีเป็นเวลากี่ปี

            นอกจากชุมชนชาวเอเชียที่ถูกกวาดต้อนมาแล้วก็ยังมีชุมชนของกลุ่มผู้ค้าขายและผู้เผยแผ่ศาสนาทั้งชาวเอเชียจากส่วนอื่นและชาวตะวันตก เช่น ชุมชนชาวฝรั่งเศสที่บ้านปลาเห็ด ปัจจุบันอยู่ทางทิศใต้นอกเกาะอยุธยาใกล้กับวัดพุทไธสวรรย์ ซึ่งภายหลังบ้านปลาเห็ตได้เปลี่ยนชื่อเป็นบ้านเซนต์โยเซฟ หมู่บ้านญี่ปุ่นอยู่ริมแม่น้ำระหว่างหมู่บ้านชาวมอญและโรงกลั่นสุราของชาวจีน ถัดไปเป็นชุมชนชาวฮอลันดาทางใต้ของชุมชนฮอลันดาเป็นถิ่นพำนักของชาวอังกฤษ,มลายู และมอญจากพะโค นอกจากนี้ก็ยังมีชุมชนของชาวอาหรับ เปอร์เซีย และกลิงก์ (คนจากแคว้นกลิงคราฎร์จากอินเดีย)ส่วนชุมชนชาวโปรตุเกสตั้งอยู่ตรงข้ามชุมชนญี่ปุ่น ชาวโปรตุเกสส่วนใหญ่มักสมรสข้ามชาติพันธุ์กับชาวสยาม จีน และมอญ ส่วนชุมชนชาวจาม มีหลักแหล่งแถบคลองตะเคียนทางใต้ของเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยาเรียกว่า ปทาคูจาม มีบทบาทสำคัญด้านการค้าทางทะเล และตำแหน่งในกองทัพเรือ เรียกว่า อาษาจาม และเรียกตำแหน่งหัวหน้าว่าพระราชวังสัน

ความสัมพันธ์กับแคว้นละโว้ทางเครือญาติ โดยผ่านการแต่งงานกัน อันเป็นธรรมเนียมที่เป็นการผูกสัมพันธ์กันเพื่อสร้างความแข็งแกร่งทางการเมืองและเศรษฐกิจของรัฐในยุคโบราณ ที่ได้รับสืบมาจากอินเดีย

แต่เรื่องที่ยังคงเป็นประเด็นถกเถียงกันเกี่ยวกับการสถาปนากรุงศรีอยุธยานั้น นอกจากคำถามที่ว่า พระเจ้าอู่ทองเป็นใคร มาจากไหน? แล้ว ก็คงหนีไม่พ้นเรื่องของวันที่สถาปนาราชธานีแห่งนี้ขึ้นมา ว่าสรุปแล้ว กรุงศรีอยุธยา สถาปนาในวันเดือนปีไหนกันแน่?

เป็นที่รับรู้กันโดยทั่วไปว่ากรุงศรีอยุธยานั้นสถาปนาขึ้นเมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 1893 โดยมีการอ้างอิงจากพระราชพงศาวดารของไทยฉบับต่างๆ ดังความที่ปรากฏในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ กล่าวไว้ว่า

อยุธยาเป็นราชธานีเป็นเวลากี่ปี
สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 หรือ “พระเจ้าอู่ทอง” พระมหาหษัตริย์ผู้สถาปนากรุงศรีอยุธยา

“ศักราช ๗๑๒ ขาลศก วัน ๖  ๕  ค่ำเพลารุ่งแล้ว ๓ นาฬิกา ๙ บาด แรกสถาปนากรุงพระนครศรีอยุทธยา”

ทั้งนี้จะสังเกตว่าในพระราชพงศาวดารนั้นจะใช้ “จุลศักราช” เป็นหลัก ในขณะปัจจุบันนิยมใช้ “พุทธศักราช” แทน ซึ่งจุลศักราชนั้นจะช้ากว่าพุทธศักราชอยู่ 1,181 ปี ดังนั้นเมื่อนำจุลศักราช 712 ที่ปรากฏในพระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐฯ ที่นำมาอ้างอิงในข้างต้น บวกกับ 1,181 ก็จะได้เท่ากับเป็นปี พ.ศ.1893 พอดี ซึ่งก็ตรงกับข้อมูลที่หลายๆ ท่านทราบดีอยู่แล้ว

แต่ในจดหมายเหตุลาลูแบร์ ซึ่งเดินทางเข้ามายังกรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช กลับระบุว่า ปีที่สถาปนากรุงศรีอยุธยานั้นคือปี ค.ศ. 1351 ซึ่งเมื่อแปลงเป็นพุทธศักราชแล้ว ก็จะได้ตรงกับปี พ.ศ. 1894

ตัวเลขปีที่ได้มาจากหลักฐานชิ้นนี้จึงไม่ตรงกับเอกสารพระราชพงศาวดารของฝ่ายไทย จึงทำให้เกิดข้อสงสัย เพราะคิดว่ามองสิเออร์ลาลูแบร์ไม่น่าจะระบุตัวเลขคลาดเคลื่อน เนื่องจากได้เข้ามาอยู่ในกรุงศรีอยุธยาและจดรายละเอียดเกี่ยวกับดินแดนรวมถึงผู้คนของที่นี่ไว้อย่างรอบด้าน

ในหนังสือ “ศรีรามเทพนคร รวมความเรียงว่าด้วยประวัติศาสตร์อยุธยาตอนต้น” ของอาคม  พัฒิยะ และนิธิ เอียวศรีวงศ์ พบว่าทั้ง 2 ท่านเชื่อว่าปี พ.ศ. 1894 เป็นปีที่สถาปนากรุงศรีอยุธยา ทำให้เกิดข้อสงสัยว่าเหตุใดทั้ง 2 ท่าน จึงไม่ใช้ศักราชตามเอกสารพระราชพงศาวดารไทย

จนในที่สุดก็ได้ข้อสมมติฐานที่น่าสนใจว่า เดิมทีชาวสยามแต่ครั้งอยุธยา ได้ถือเอาช่วงหลังวันสงกรานต์ คือวันที่ 16-17 เมษายนเป็นวันขึ้นศักราชใหม่นั่นเอง ไม่ใช่วันที่ 1 มกราคมเหมือนในปัจจุบัน

ส่วนวันขึ้นปีใหม่ในปัจจุบันนั้น ได้ตั้งขึ้นตามนโยบายของจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ที่ต้องการทำให้ประเทศไทยก้าวเข้าสู่ความเป็นสากลในเวทีโลก เมื่อปี พ.ศ. 2483 ที่ผ่านมานี้เอง

ดังนั้นหากยึดตามการนับวันแบบอยุธยาแล้ว วันที่ 4 มีนาคม จุลศักราช 712 จึงน่าจะตรงกับ พ.ศ. 1894 มากกว่า เพราะยังไม่เข้าสู่วันสงกรานต์ที่ต้องขึ้นศักราชใหม่นั่นเอง

โดยในส่วนนี้ตรงกับความคิดเห็นของ ดร.ตรงใจ หุตางกูร นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ ที่ได้อธิบายไว้ว่า

“พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐระบุวันเดือนปีแห่งการสถาปนากรุงศรีอยุธยา ไว้ด้วยระบบปฏิทินจันทรคติว่า ตรงกับ “ศักราช 712 ขาลศก วันศุกร์ ขึ้น 6 ค่ำ เดือนห้า เวลารุ่งแล้ว 3 นาฬิกา 9 บาท แรกสถาปนากรุงพระนครศรีอยุธยา ที่ผ่านมา ได้มีการคำนวณปรับเทียบวันเดือนปีดังกล่าวกับระบบปฏิทินสุริยคติ จึงได้ว่า ตรงกับ “วันศุกร์ที่ 4 มีนาคม จุลศักราช 712” จากนั้น จึงแปลงเลขจุลศักราชดังกล่าวเป็นเลขพุทธศักราช ด้วยการบวก 1181 เข้าไป จึงได้ว่า ตรงกับ “วันศุกร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ.1893” 1 วันเดือนปีดังกล่าวจึงเป็นที่เผยแพร่กันโดยทั่วไปอย่างไรก็ตาม วันสถาปนากรุงศรีอยุธยาดังกล่าวมี “จุดลักลั่นทางปฏิทิน” อยู่ 2 จุด คือ “เลขวันที่” กับ “เลขพุทธศักราช” เพราะที่ถูกต้องตรงตาม “ปฏิทินไทยสากล” ซึ่งขึ้นปีใหม่วันที่ 1 มกราคม ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ ต้องตรงกับ “วันศุกร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 1894”

อยุธยาเป็นราชธานีเป็นเวลากี่ปี
ภาพวาด ซีมง เดอ ลา ลูแบร์ ราชทูตฝรั่งเศสจากราชสำนักพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ผู้เข้ามาเจริญไมตรีกับกรุงศรีอยุธยาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์

ดังนั้นนี่จึงอาจเป็นคำอธิบายว่าเหตุใดมองสิเออร์ลาลูแบร์ จึงได้ระบุปีที่สถาปนากรุงศรีอุธยาว่าตรงกับปี พ.ศ. 1894 คงเพราะบุคคลท่านนี้ได้เดินทางมาจากโลกตะวันตกซึ่งมีการนับการขึ้นศักราชใหม่ในวันที่ 1 มกราคม ดังนั้นปีศักราชใหม่ของโลกตะวันตกจึงเร็วกว่าของไทยอยู่ประมาณ 3-4 เดือนนั่นเอง

แต่หากยึดตามบริบทปัจจุบันที่ประเทศไทยได้เข้าสู่ความเป็นอารยะสากลในเวทีโลกในการนับวันเวลามาตั้งแต่ช่วงทศวรรรษ 2480 โดยถือเอาวันที่ 1 มกราคมเป็นวันขึ้นศักราชใหม่ จึงควรนับว่าวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 1894 เป็นวันสถาปนากรุงศรีอยุธยาด้วยเช่นกัน

สมัยอยุธยาอยู่ในช่วงเวลาใด

อาณาจักรอยุธยา
• 2231–2310
ราชวงศ์บ้านพลูหลวง
ยุคประวัติศาสตร์
สมัยกลางและสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา
• สถาปนา
พ.ศ. 1893
• รัฐร่วมประมุขกับอาณาจักรสุโขทัย
พ.ศ. 2011
อาณาจักรอยุธยา - วิกิพีเดียth.wikipedia.org › wiki › อาณาจักรอยุธยาnull

สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาเมื่อใด

จดหมายเหตุโหรระบุว่าพระเจ้าอู่ทองรามาธิบดีเสด็จพระราชสมภพวันจันทร์ ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 5 ปีขาล จ.ศ. 676 (ตรงกับวันจันทร์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 1857) ได้ทรงสถาปนาเมืองหลวงขึ้นในบริเวณที่หนองโสนเมื่อ จ.ศ. 712 ปีขาล โทศก วันศุกร์ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 5 เวลา 3 นาฬิกา 9 บาท ตรงกับวันศุกร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 1893 หรือ 12 มีนาคม พ.ศ. 1894 ...

อยุธยามีนามราชธานีว่าอะไร

3 เม.ย.1893 668 ปี สถาปนาราชธานี อโยธยาศรีรามเทพนคร!

อยุธยารุ่งเรืองที่สุดในสมัยของใคร

อย่างที่ออเจ้าได้เห็นกันในละคร “บุพเพสันนิวาส” หรือได้เรียนมาในวิชาประวัติศาสตร์ว่า สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเป็นยุคทองแห่งการค้าและการทูตของกรุงศรีอยุธยา มีต่างชาติเข้ามาค้าขาย จนอโยธยาติดอันดับเมืองท่าสำคัญของเอเชีย