เหงื่อออก ตัวเย็น หน้ามืด ใจสั่น

อาการหน้ามืด ตาพร่า ค่อยๆ ดำมืดจนมองอะไรไม่เห็น เหงื่อออก มือเย็น ใจเต้นรัว ไม่มีแรง ไปจนถึงเป็นลมล้มพับไม่ได้สติ อาการเหล่านี้มีสาเหตุของอาการแตกต่างกัน แต่ที่พบได้บ่อยๆ มีอยู่ 7 สาเหตุ ดังนี้

8 สาเหตุที่พบบ่อยของ "อาการหน้ามืดเป็นลม"

  1. เป็นลมธรรมดา

เป็นสาเหตุที่พบได้มากที่สุด เกิดจากร่างกายอ่อนแอ เพิ่งฟื้นไข้ อดนอน หิวข้าว หิวน้ำ อดอาหาร อยู่ในที่ร้อนอบอ้าวหรือแออัด ไปจนถึงจิตใจอ่อนแอ เช่น เครียด วิตกกังวล หงุดหงิด โกรธ หรือหวาดกลัว

อาการที่พบ หัวใจเต้นช้าลง ความดันโลหิตตก ผู้ป่วยไม่มีสติอยู่ในระยะสั้นๆ เมื่อได้นอนในที่ราบจะค่อยๆ ฟื้นภายใน 5-10 นาที แต่อาจจะยังมึนงง อ่อนเพลีย คลื่นไส้ ไม่มีแรงอยู่อีก 1-2 ชั่วโมง หรือนานกว่านี้เล็กน้อย

การป้องกัน รักษาสุขภาพร่างกายและจิตใจให้แข็งแรงอยู่เสมอ ไม่อยู่ในที่ร้อนอบอ้าว ไม่อดข้าวอดน้ำหรืออดหลับอดนอน หากมีอาการมึนหัว ใจสั่น ใจเต้นเร็ว เหงื่อแตก มือเย็น ให้รีบหาที่นั่งพัก หรือนอนราบ ก่อนที่จะเป็นลมจนหมดสติ เพราะจะฟื้นตัวได้เร็วกว่ามาก

  1. เป็นลมเมื่อเปลี่ยนท่า

อาการที่พบ อาการเป็นลมเมื่อเปลี่ยนท่านั่ง ท่ายืน โดยเฉพาะหากนั่งหรือนอนอยู่แล้วลุกขึ้นยืนอย่างรวดเร็ว หรือเกิดจากการยืนอยู่เฉยๆ นานๆ มักเกิดกับ

  • ผู้สูงอายุ 
  • กินยาที่ทำให้ความดันโลหิตลดลง 
  • คนที่ปริมาตรเลือดหรือน้ำในร่างกายพร่อง (ลดลง) เช่น คนที่มีอาการตกเลือด มีอาการท้องเดินมากๆ
  • ระบบประสาทผิดปกติ

การป้องกัน ค่อยๆ เปลี่ยนท่านั่ง ท่ายืน ลุกขึ้นจากเตียงและเก้าอี้อย่างช้าๆ หรือตอนที่ลุกจากที่นอนให้นั่งก่อนสักพักค่อยลุกจากเตียง ขณะเปลี่ยนท่าอย่างช้าๆ ให้เกาะสิ่งต่างๆ รอบตัว เช่น หัวเตียง ก่อนลุก นอกจากนี้การออกกำลังกายบริหารขาโดยการเดินหรือการย่อตัว วันละหลาย ๆ ครั้ง ๆ ละหลาย ๆ นาที ก็ช่วยลดอาการเป็นลมเมื่อเปลี่ยนท่าได้

  1. เป็นลมเพราะเบ่ง

อาการที่พบ หน้ามืด เป็นลม เพราะกลั้นหายใจและเบ่งมากเกินไป เช่น เบ่งอุจจาระเมื่อท้องผูกมากๆ ยกของหนักๆ หรือผลัก/ดันของหนักๆให้เคลื่อนที่ การเบ่งทำให้เลือดเข้าสู่หัวใจน้อยลง เพราะต้องกลั้นหายใจแล้วเบ่ง ทำให้หัวใจสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายและสมองน้อยลง

การป้องกัน ไม่ควรเบ่งอย่างรุนแรง

  1. เป็นลมเพราะไอ

อาการที่พบ หน้ามืดหรือเป็นลมเพราะไอติดต่อกันนานๆ เช่น ผู้ป่วยโรคไอกรน (พบมากในเด็ก) โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง หรือโรคถุงลมพอง ที่มาจากการสูบบุหรี่ โดยการไอหนักๆ ติดๆ กัน ทำให้ต้องกลั้นหายใจ และหัวใจสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายและสมองไม่เพียงพอ เช่นเดียวกันกับการเบ่ง

การป้องกัน อย่าไออย่างรุนแรง หรือไอติดๆ กัน หากเป็นโรคที่มีอาการไอ ควรรีบรักษา

  1. เป็นลมเพราะปัสสาวะ

อาการที่พบ ในบางรายเบ่งปัสสาวะเพราะปัสสาวะ จึงเกิดอาการเป็นลมหน้ามืดเหมือนการเบ่งอุจจาระ รวมถึงคนที่เป็นลมหลังปัสสาวะ เพราะกระเพาะปัสสาวะโป่ง (เพราะไม่ได้ปัสสาวะเป็นเวลานาน หรือเพราะดื่มสุรา หรือน้ำ ทำให้มีปัสสาวะมาก) พอถ่ายปัสสาวะจนสุด กระเพาะปัสสาวะที่โป่งแล้วแฟบลงทันที ทำให้หลอดเลือดทั่วร่างกายขยายตัว ทำให้ความดันเลือดตก เลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ จึงเกิดอาการหน้ามืดเป็นลมได้ ส่วนใหญ่เกิดขึ้นกับผู้ชายที่ดื่มแอลกอฮอล์มากๆ

การป้องกัน อย่ากลั้นปัสสาวะนานๆ ถ้ากลั้นปัสสาวะมานานแล้วควรนั่งปัสสาวะ (ไม่ยืน) อย่าปัสสาวะจนสุด ค่อยกลับมาปัสสาวะต่อในอีก 5-10 นาที หากมีอาการบ่อยๆ หลังดื่มแอลกอฮอล? ควรลดการดื่มลง

  1. เป็นลมจากอารมณ์

อาการที่พบ มีทั้งเป็นลมจากอารมณ์เสียใจ ตกใจ โกรธ เครียด หรือหวาดกลัว รวมถึงเป็นลมจากการอุปาทานจากการผิดหวังอย่างรุนแรง หรือรู้สึกถูกทอดทิ้ง โดยผู้ป่วยจะยังมีอาการปกติ (ไม่หมดสติ) ไม่มีอาการหน้าซีด มือเท้าซีด ตัวเย็น หรือเหงื่อแตก ไม่ดีขึ้นแม้จะนอนราบลงแล้ว แต่อาการจะดีขึ้นหรือหายไปถ้าอยู่คนเดียวนอกจากเป็นลมยังอาจพบอาการอื่นๆ เช่น ชัก ปวดศีรษะรุนแรง ปวดท้องรุนแรง เป็นต้น

การป้องกัน แก้ไขความผิดหวังที่เป็นสาเหตุให้เบาบางลง อธิบายให้เข้าใจ ไม่ดุด่าหรือว่าว่าผู้ป่วยแกล้งเป็นลม เพราะที่จริงแล้วผู้ป่วยไม่ได้แกล้ง แต่ความผิดหวังนั้นถูกเปลี่ยนเป็นอาการทางกาย ครอบครัวควรให้ความใกล้ชิด ความอบอุ่น และความช่วยเหลือแก่คนไข้ จะป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยเป็นลมเพราะอารมณ์อีก

  1. เป็นลมเพราะหัวใจ

อาการที่พบ หัวใจทำงานผิดปกติ เช่น หัวใจเต้นผิดปกติ หัวใจหยุดเต้น หัวใจเต้นช้ากว่าปกติ หรือหัวใจเต้นเร็วเกินไป รวมไปถึงความผิดปกติของหัวใจอื่นๆ เช่น  ลิ้นหัวใจตีบ กล้ามเนื้อหัวใจตาย หัวใจถูกบีบอัด หลอดเลือดปอดถูกอุด หลอดเลือดเอออร์ตาแยก

การป้องกัน รักษาโรคหัวใจที่เป็นอยู่ให้อาการดีขึ้น

  1. เป็นลมเพราะสมองหรือระบบประสาท

อาการที่พบ เป็นหนึ่งในอาการของโรคประจำตัวที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาท เช่น โรคหลอดเลือดสมอง โรคลมชัก แต่พบอาการเป็นลมได้เพียงส่วนน้อย

การป้องกัน รักษาโรคประจำตัวที่เกี่ยวกับระบบประสาทให้ดี

หากคุณกำลังทำกิจกรรมประจำวันแล้วเกิดมีอาการเจ็บแน่นหน้าอก เหงื่อออก ใจสั่น ขึ้นมา นั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ที่เกิดจากการอุดตันของหลอดเลือดหัวใจทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันรุนแรง โดยระยะเวลาของการอุดตันที่นานขึ้นจะเพิ่มพื้นที่การตายของกล้ามเนื้อหัวใจ ส่งผลให้มีโอกาสเสียชีวิตอย่างกะทันหันได้


รู้จักหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน

ภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน เป็นกลุ่มอาการโรคหัวใจขาดเลือดที่เกิดขึ้นเฉียบพลัน ซึ่งร้อยละ 90 มีสาเหตุจากหลอดเลือดโคโรนารีอุดตันจากการแตกของคราบไขมัน ร่วมกับมีลิ่มเลือดอุดตัน ทำให้หลอดเลือดแดงตีบแคบลง เลือดผ่านได้น้อยลง และหากหลอดเลือดตีบจนอุดตัน ส่งผลให้ไม่มีการไหลเวียนของเลือดที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ ทำให้เนื้อเยื่อของหัวใจขาดเลือดไปเลี้ยงมีผลทำให้เซลล์ของกล้ามเนื้อหัวใจตาย หัวใจจะทำงานผิดปกติเนื่องจากกล้ามเนื้อหัวใจส่วนที่ตายไม่สามารถทำงานได้


อาการแสดงของหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน

เจ็บแน่น รู้สึกเหมือนหัวใจถูกบีบ หรือมีแรงดันจำนวนมากที่บริเวณกลางอกหรือที่อกข้างซ้าย โดยอาการอาจจะเกิดขึ้นไม่กี่นาทีแล้วก็หาย แต่จากนั้นก็อาจจะกลับมาเป็นอีก อาจจะมีร้าวไปที่แขนซ้ายหรือร้าวไปที่กราม ร่วมกับมีอาการเหงื่อออก มือเท้าเย็น วิงเวียน จะเป็นลม หมดแรง คลื่นไส้อาเจียน หายใจไม่อิ่ม จุกคอหอย จุกใต้ลิ้นปี่ คล้ายโรคกระเพาะ หรือกรดไหลย้อน

บางรายอาจมีอาการหายใจสั้นที่เกิดขึ้นจากความรู้สึกของตนเอง หรืออาจเกิดขึ้นขณะที่รู้สึกเจ็บและแน่นหน้าอก โดยอาการนี้อาจเกิดขึ้นจากหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ไอ หรือหายใจมีเสียง มีอาการเหนื่อยมากผิดปกติโดยไม่มีสาเหตุ

ปัจจัยเสี่ยงหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดหลอดเลือดตีบหรืออุดตัน จนนำไปสู่โรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่

  1. ปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้
    • เพศชาย จะมีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้มากกว่าผู้หญิง แต่ก็สามารถเกิดในผู้หญิงได้ด้วยเช่นกัน
    • อายุมากขึ้น จะมีผลทำให้หลอดเลือดเสียความยืดหยุ่นได้เองตามอายุ โดยผู้ที่มีอายุ 45 ปี ขึ้นไปมีโอกาสเสี่ยง
    • ประวัติในครอบครัว ผู้ที่มีญาติสายตรง (พ่อ แม่ หรือพี่น้อง) เป็นโรคหัวใจ จะทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันมากขึ้น
  2. ปัจจัยเสี่ยงที่เปลี่ยนแปลงได้ พฤติกรรมการใช้ชีวิต และการรับประทานอาหารอาจส่งผลให้เกิดความเสี่ยงโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันได้มากขึ้น แต่ความเสี่ยงก็สามารถลดลงได้หากปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ความเสี่ยงเหล่านี้ ได้แก่ การสูบบุหรี่ ความดันโลหิตสูง ภาวะคอเลสเตอรอลสูง ความดันโลหิตสูง การไม่ออกกำลังกาย การกินอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ โรคอ้วนหรือภาวะน้ำหนักเกิน โรคเบาหวาน รวมไปถึงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และความเครียดสามารถก่อให้เกิดความเสี่ยงโรคหัวใจ เนื่องจากความเครียดสามารถนำมาสู่พฤติกรรมที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพได้

การวินิจฉัยโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน

คนใกล้ชิดสามารถสังเกตอาการที่เกิดขึ้นได้เบื้องต้น หากมีอาการแน่น หรือเจ็บหน้าอก และหายใจลำบาก โดยเฉพาะคนที่มีปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจขาดเลือด ควรรีบไปพบแพทย์ทันที เมื่อมาพบแพทย์การซักประวัติเกี่ยวกับอาการ และการรักษาต่างๆ ที่จำเป็นในการวินิจฉัย และอาจมีการถามถึงประวัติครอบครัวว่ามีใครเป็นโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันหรือไม่ จากนั้นแพทย์จะทำการตรวจเพิ่มเติมด้วยวิธีต่างๆ ได้แก่

  1. การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram: ECG) เป็นการตรวจความสมบูรณ์ของคลื่นไฟฟ้าที่เกิดขึ้นในกล้ามเนื้อหัวใจ อัตราและจังหวะการเต้นของหัวใจว่ามีความผิดปกติหรือไม่
  2. การตรวจเลือด หากตรวจพบว่ามีโปรตีนเจือปนในเลือดมากเท่าใด ก็บ่งบอกว่าเป็นโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันได้
  3. การตรวจหัวใจด้วยเครื่องเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echocardiogram) แพทย์จะใช้อุปกรณ์ที่คล้ายเครื่องอัลตราซาวด์ตรวจบริเวณหน้าอก และใช้เสียงสะท้อนความถี่สูงเพื่อจำลองภาพ ขนาด และการทำงานของหัวใจ
  4. การตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย (Exercise Stress Test: EST) ใช้ในการตรวจหาความผิดปกติของระบบหัวใจและหลอดเลือด ที่ตรวจไม่พบในขณะที่ร่างกายหยุดพัก หรือไม่ได้ออกกำลังกายอย่างหนัก
  5. การใส่สายสวนหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Angiography) ด้วยการฉีดสารทึบสีเข้าไปในหลอดเลือดหัวใจ เอกซเรย์ดูว่ามีส่วนใดของหลอดเลือดอุดตันหรือตีบบางหรือไม่

การรักษาโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน

การรักษาโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน สามารถรักษาได้ด้วยวิธีต่างๆ อาทิ

  1. การรักษาด้วยการใช้ยา ซึ่งขึ้นอยู่กับระยะและความรุนแรง ได้แก่ การให้ยาสลายลิ่มเลือด เพื่อละลายลิ่มเลือดที่ปิดกั้นหลอดเลือด ทั้งนี้หากผู้ป่วยได้รับยาชนิดนี้ภายในระยะเวลาไม่นานตั้งแต่เริ่มเกิดอาการ การให้ยาต้านเกล็ดเลือด ที่ใช้ในการป้องกันการเกิดลิ่มเลือด และป้องกันไม่ให้ ลิ่มใหญ่ขึ้นกว่าเดิม และยาเพื่อช่วยลดอาการเจ็บหน้าอก ลดการทำงานของหัวใจ ช่วยให้การทำงานของหัวใจดีขึ้น
  2. การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน จะช่วยดันไขมันที่อุดตันหลอดเลือดอยู่ให้ไปชิดผนังหลอดเลือด ทำให้เลือดสามารถไหลผ่านจุดที่เคยตีบได้สะดวกขึ้น
  3. การผ่าตัดบายพาสหัวใจ เป็นการผ่าตัดเส้นเลือดที่เลี้ยงหัวใจ เพื่อทำทางเบี่ยงให้หลอดเลือดบริเวณที่มีการตีบหรือตัน ทำให้เลือดสามารถไหลผ่านได้ ส่งผลทำให้ออกซิเจนไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้มากขึ้น
หากคนใกล้ชิด หรือคุณมีอาการดังกล่าวอย่านิ่งนอนใจ มาพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพหัวใจ หรือตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี ทั้งนี้สิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ห่างไกลจากโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันได้ดีที่สุดก็คือการดูแลรักษาระบบหัวใจและหลอดเลือดให้แข็งแรงอยู่เสมอ ทั้งลดการสูบบุหรี่ ควบคุมน้ำหนัก ควบคุมความดันโลหิต ออกกำลังกาย ก็จะช่วยให้ลดความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดได้

เวียนหัว ใจสั่น เกิดจากอะไร

“ปัจจัยเสี่ยง” ที่ทำให้เกิดอาการใจสั่น ภาวะความเครียด การอ่อนเพลีย พักผ่อนไม่เพียงพอ ภาวะขาดน้ำ การเจ็บป่วยจากโรค เช่น ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ หรือทำงานมากเกินไป

อาการหน้ามืด เหนื่อยง่ายเกิดจากอะไร

เหนื่อยง่าย ใจสั่น วูบ หน้ามืด หมดสติบ่อย หลายครั้งที่ผู้ป่วยโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะไม่รู้ตัวเองว่าเป็นโรคดังกล่าว และมาถึงมือแพทย์ด้วยอาการหมดสติหรืออาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตแบบกะทันหันโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดช้า (Sinus node disease และ Atrioventricular block : AV block หรือ Heart block) คือ การที่หัวใจห้องบนไม่ทำงาน ...

โรคอะไรทำให้ใจสั่น

อาการใจสั่น เป็นอย่างไร?.
ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ.
โครงสร้างหัวใจผิดปกติแต่กำเนิด พันธุกรรม.
กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ห้องหัวใจโต.
โรคลิ้นหัวใจ โรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย.
ภาวะผิดปกติจากระบบอื่นๆ เช่น ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ ภาวะซีดเลือดจาง ความผิดปกติของเกลือแร่.
ความเครียด และสารเคมีบางชนิด เช่น ยา แอลกอฮอล์.

อาการใจสั่นมือสั่นเป็นอะไร

ใจสั่น (Palpitation) เป็นอาการที่รู้สึกว่าหัวใจเต้นไม่เป็นปกติ การเต้นของหัวใจขาดหายไป เต้นไม่เป็นจังหวะ เต้นไม่สม่ำเสมอ หรือเต้นเร็วกว่าปกติ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น ความเครียด ออกกำลังกายหนักเกินไป ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด หรือสาเหตุรุนแรงที่พบได้น้อย เช่น ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ (Arrhythmia) อาการใจสั่น