อาหารไม่ย่อย พะอืดพะอม วิธีแก้

อาหารไม่ย่อย พะอืดพะอม วิธีแก้

5 เทคนิคป้องกัน “อาหารไม่ย่อยในผู้สูงอายุ” ผู้ใหญ่ในบ้านชอบบ่นว่าจุกท้อง แน่นท้องบ่อยๆ รู้สึกเหมือนอาหารไม่ย่อย ว่าแต่…อาหารไม่ย่อยนี่มีอาการแบบไหนนะ วันนี้เรามีเทคนิคดีๆ มาฝาก เพื่อแก้ไขปัญหาความไม่สบายตัวนี่ของผู้สูงอายุ

“อาหารไม่ย่อย” คืออะไร?

“อาหารไม่ย่อย” เป็นอาการที่เกิดขึ้นระหว่างทานอาหารหรือหลังทานอาหารที่เกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย โดยส่วนมากจะพบได้บ่อยในผู้ใหญ่หรือผู้สูงอายุ

ไม่สบายท้อง จุกเสียด แน่นท้อง…อาการ “อาหารไม่ย่อย”

ผู้ที่มีลักษณะอาหารไม่ย่อยมักจะรู้สึกไม่สบายท้องตรงบริเวณยอดอกหรือใต้ลิ้นปี่ มีอาการปวดท้องช่วงบน จุกเสียด แน่นท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ มีลมในท้อง เรอบ่อย แสบท้อง เรอเปรี้ยว คลื่นไส้ อาเจียน รู้สึกอึดอัด ไม่สบายตัว หรือมีอาการแสบร้อนกลางทรวงอกหลังทานอาหาร โดยอาการดังกล่าวจะดีขึ้นและสามารถหายได้เองเมื่อเวลาผ่านไป บางคนอาจเป็นๆ หายๆ เรื้อรัง แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นสัญญาณของโรคและการเจ็บป่วยในระบบย่อยอาหารได้ด้วย

เครียด กินเร็ว กินอาหารไม่ตรงเวลา…สาเหตุของ “อาหารไม่ย่อย”

ความจริงแล้วสาเหตุของการเกิดความไม่สบายตัวนี้มีได้หลายอย่าง ตั้งแต่พฤติกรรมการกินอาหาร เช่น กินอาหารไม่ตรงเวลา กินเร็ว กินมากไป ฯลฯ หรือพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น สูบบุหรี่ เครียด หรือดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน แอลกอฮอล์ หรือน้ำอัดลมมากเกินไป ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นสาเหตุได้ทั้งสิ้น

แค่ปรับพฤติกรรม…ก็ป้องกันได้

การป้องกันอาการไม่ย่อยนั้นไม่ใช่เรื่องยาก แต่หากเป็นผู้สูงอายุด้วยแล้วอาจต้องระวังเป็นพิเศษ เราสามารถปรับพฤติกรรมการกินและการใช้ชีวิตได้ง่ายๆ ด้วยเทคนิคเหล่านี้!

1.หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง มีรสเผ็ด หรืออาหารสำเร็จรูป
2.ในแต่ละมื้อควรทานอาหารให้ตรงเวลาเสมอ
3.ไม่ทานอาหารในปริมาณที่มากเกินไป หากรู้สึกว่าหิวบ่อยควรแบ่งอาหารเป็นมื้อเล็กๆ หลายมื้อ แทนการกินอาหารมากๆ ในมื้อเดียว
4.หากิจกรรมทำให้ไม่ให้เครียด หรือนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
5.งดทานอาหารอย่างน้อย 3 ชั่วโมงก่อนเข้านอน

“อาหารไม่ย่อย” ไม่ใช่เรื่องน่ากลัว เพียงแค่รู้จักปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต ก็สามารถห่างไกลโรคนี้ได้ไม่ยาก!

สอบถามรายละเอียด

ศูนย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ อาคาร 1 ชั้น 2
โรงพยาบาลเปาโล โชคชัย 4
โทร.02-514-4141 ต่อ 1210 – 1211

ใครเคย อาหารไม่ย่อย บ้าง ?

อาหารไม่ย่อย เกิดจากระบบย่อยอาหารทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ทำให้มีแก๊สในระบบย่อย และเกิดกรดเกินในกระเพาะ ทำให้เกิดอาการจุก เสียด แน่น บริเวณลิ้นปี่

สาเหตุของปัญหาที่พบบ่อยมีดังนี้

  • การย่อยทำงานไม่มีประสิทธิภาพ เกิดจากการรีบเร่งกินอาหาร รีบเคี้ยวรีบกลืน หรือกินอาหารปริมาณมากเกินไป ทำให้เสียเวลาในกระบวนการย่อยนาน เพราะเอนไซม์ในน้ำลายย่อยอาหารไม่ทัน นอกจากนั้นแล้วยังทำให้น้ำย่อยในกระเพาะหลั่งได้น้อยลงอีกด้วย
  • ความไวต่ออาหารบางประเภท เช่น อาหารจำพวกแป้งสาลี นม โดยเฉพาะอาหารที่มีเส้นใยมาก เพราะเป็นตัวดูดซับน้ำไว้ เมื่อพองตัวจะทำให้ท้องอืด เกิดอาการจุกแน่น
  • การออกกำลังกายเร็วเกินไปหลังกินอาหารก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ เพราะทำให้เลือดที่ควรจะไปเลี้ยงระบบย่อยอาหารถูกดึงไปเลี้ยงกล้ามเนื้อแทน ทำให้เลือดไปเลี้ยงระบบย่อยไม่เพียงพอ
อาหารไม่ย่อย พะอืดพะอม วิธีแก้
หลีกเลี่ยงออกกำลังกายหลังกินอาหารเสร็จ ป้องกันอาหารไม่ย่อย
  • แก๊สในระบบทางเดินอาหารมาก เกิดจากการดื่มเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลและอัดแก๊สบางชนิด หรือการกินผลไม้หลังกินอาหารที่มีไขมัน เนื่องจากไขมันย่อยช้า ผลไม้จึงบูดก่อนที่จะได้ย่อย ทำให้เกิดแก๊สขึ้น
  • กรดเกินในกระเพาะ เกิดจากความเครียดมีผลกระตุ้นให้กล้ามเนื้อกระเพาะอาหารบีบรัดตัว ซึ่งเป็นการสร้างกรดในกระเพาะ นอกจากนี้การดื่มเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีนและแอลกอฮอล์ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้กรดในกระเพาะอาหารหลั่งมากขึ้น

อ่านหนัาถัดไป

ติดตามคำแนะนำจาก กูรูสุขภาพ ทำตามง่าย เห็นผลจริง คลิกเลย!

“อาหารไม่ย่อย” สัญญาณปัญหาระบบทางเดินอาหาร

ศูนย์ : ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ

บทความโดย : พญ. เพ็ญประไพ หงษ์ศรีสุวรรณ์

อาหารไม่ย่อย พะอืดพะอม วิธีแก้

หลังกินข้าวแล้วเกิดอาการท้องอืด จุดเสียด แน่นท้อง เหมือนอาหารไม่ย่อยทุกที ทรมานจนหลายครั้งต้องพึ่งยาช่วยย่อยอาหาร ยาลดกรด แม้อาการจะดีขึ้นและหายไปเองเมื่อเวลาผ่านไป แต่หากปล่อยทิ้งไว้ไม่รักษา หรือไม่หาสาเหตุอาจกลายเป็นภาวะอาหารไม่ย่อยเรื้อรัง ก่อให้เกิดโรคและการเจ็บป่วยในระบบทางเดินอาหารที่รุนแรงได้


อาหารไม่ย่อย

อาหารไม่ย่อย (Dyspepsia) เป็นอาการไม่สบายท้องบริเวณยอดอกหรือใต้ลิ้นปี ที่สามารถเกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวัน ช่วงระหว่างหรือหลังกินอาหาร ทำให้เกิดอาการอึดอัด ไม่สบายท้อง มีอาการหลายอย่างร่วมกัน พบได้เกือบทุกวัย ตั้งแต่วัยเด็ก วัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ โดยเฉพาะในผู้ใหญ่ที่จะพบได้มากกว่าในเด็ก ส่วนโอกาสการเกิดอาการมีใกล้เคียงกันทั้งในผู้ชายและผู้หญิง บางคนเป็นครั้งคราว บางคนอาจเป็นๆ หายๆ เรื้อรัง


ต้นเหตุ...ภาวะอาหารไม่ย่อย

บ่อยครั้งที่ไม่สามารถทราบได้แน่ชัดว่า สาเหตุของอาการอาหารไม่ย่อยมาจากอะไร แต่โดยส่วนใหญ่มักเกิดจาก

  1. พฤติกรรมการกิน เช่น กินอาหารเร็วเกินไปซึ่งการเคี้ยวอาหารไม่ละเอียดจะทำให้อาหารย่อยได้ยากขึ้น หรือกินอาหารในปริมาณมากเกินไปในแต่ละมื้อซึ่งส่งผลให้น้ำย่อยอาหารไม่เพียงพอที่จะย่อยอาหารได้ รวมไปถึงการกินอาหารไม่ตรงเวลา กินอาหารมัน หรือกินอาหารที่มีรสเผ็ด ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ หรือน้ำอัดลมมากเกินไป
  2. พฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น การสูบบุหรี่ มีภาวะอ้วน หรือน้ำหนักเกินกว่ามาตรฐาน และการตั้งครรภ์
  3. ปัญหาด้านอารมณ์และจิตใจ เช่น มีภาวะความเครียด วิตกกังวล จะส่งผลทำให้กระเพาะอาหารสร้างกรดมากกว่าปกติ
  4. ปัญหาด้านสุขภาพหรือการเจ็บป่วยต่างๆ เช่น
    • การเกิดแผลในกระเพาะอาหารหรือภายในลำไส้เล็ก ทั้งจากการติดเชื้อแบคทีเรียเอชไพโลไร (H.pylori) และจากสาเหตุอื่น
    • ภาวะท้องผูก ภาวะกรดไหลย้อนหรือเป็นโรคกรดไหลย้อน
    • อวัยวะในระบบย่อยอาหารเกิดการอักเสบ เช่น กระเพาะอาหารอักเสบ หลอดอาหารอักเสบ ลำไส้เล็กหรือตับอ่อนอักเสบ ซึ่งมีหน้าที่ผลิตเอนไซม์ย่อยอาหาร
    • ลำไส้อุดตัน ภาวะลำไส้ขาดเลือด
    • โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร และมะเร็งหลอดอาหาร พบได้น้อย และส่วนใหญ่จะพบในคนอายุตั้งแต่ 40-50 ปีขึ้นไป
  5. ผลข้างเคียงของยาบางชนิดที่มีต่อระบบย่อยอาหาร จนนำไปสู่อาการอาหารไม่ย่อยได้ เช่น การใช้ยาปฏิชีวนะเป็นประจำ ยาแก้ปวด ยาสเตียรอยด์ และจำพวกยาต้านอักเสบ เช่น ยาแอสไพริน ยาไอบูโพรเฟน และยาไดโคลฟีแนค เป็นต้น

จุกเสียด แน่นท้อง อาการเด่นอาหารไม่ย่อย

เมื่อเกิดภาวะอาหารไม่ย่อยจะทำให้มีอาการเด่นเลย คือ จุดเสียด แน่นท้อง ไม่สบายท้องตรงบริเวณยอดอกหรือใต้ลิ้นปี่ รวมทั้งมีอาการอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างร่วมกัน เช่น ท้องอืด ท้องเฟ้อ มีลมในท้อง เรอบ่อย แสบท้อง เรอเปรี้ยว เป็นต้น โดยอาการจะเป็นเฉพาะบริเวณระดับเหนือสะดือขึ้นไป และจะไม่มีอาการปวดท้องในระดับใต้สะดือและไม่มีความผิดปกติเกี่ยวกับการขับถ่ายร่วมด้วย

ทั้งนี้ อาหารไม่ย่อยที่เกิดขึ้นไม่บ่อยครั้ง อาจไม่เป็นอันตรายอะไร แต่หากมีอาการอาหารไม่ย่อยมากกว่า 1 สัปดาห์ขึ้นไป หรือร่วมกับอาการเหล่านี้ เช่น อาเจียนอย่างรุนแรง อาเจียนเป็นเลือด หรืออาเจียนออกมาเป็นสีดำคล้ำ น้ำหนักลดไม่มีสาเหตุ กลืนอาหารลำบาก เป็นต้น ควรรีบมาพบแพทย์


ตรวจเช็ค รักษาให้ถูกวิธี

การดูแลรักษาภาวะอาหารไม่ย่อย ต้องรักษาที่ต้นเหตุตามลักษณะอาการที่เป็น โดยเบื้องต้นแพทย์จะวินิจฉัย จากประวัติอาการ การตรวจร่างกาย และจากการที่ให้ผู้ป่วยรับประทานยาลดกรด หรือยาช่วยย่อยอาหาร ร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร หลังจากนั้นจะดูอาการประมาณ 3-4 สัปดาห์

หากไม่ดีขึ้นหรือมีอาการมากขึ้น ก็อาจมีการตรวจอื่นๆ เพิ่มเติมตามดุลยพินิจของแพทย์ เช่น การตรวจเลือด หรือการตรวจลมหายใจหาการติดเชื้อแบคทีเรียเอชไพโลไร และการส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหาร โดยแพทย์จะใช้เครื่องมือพิเศษที่มีกล้อง (Endoscope) ติดอยู่ตรงส่วนปลายท่อ สอดเข้าไปทางปากของผู้ป่วย แล้วตรวจดูอวัยวะภายในเพื่อหาความผิดปกติผ่านภาพจากกล้อง

อย่างไรก็ตาม อาหารไม่ย่อยควรป้องกันที่สาเหตุและหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง รวมทั้งการปรับพฤติกรรมการรับประทาน เช่น เลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง มีรสเผ็ด หรืออาหารสำเร็จรูป กินอาหารให้ตรงเวลาและกินพอดีไม่เยอะจนเกินไป พร้อมทั้งเรียนรู้วิธีบริหารจัดการรับมือกับความเครียด หาวิธีผ่อนคลาย ก็จะช่วยให้ห่างไกลอาการอาหารไม่ย่อยได้


Tags : 

อาหารไม่ย่อย แผลในกระเพาะอาหาร ระบบทางเดินอาหาร กินอาหารไม่ตรงเวลา จุดเสียดแน่นท้อง ส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหาร