สถิติ โรคหัวใจและ หลอดเลือด ใน ประเทศไทย 2564

สถิติ โรคหัวใจและ หลอดเลือด ใน ประเทศไทย 2564

สถิติ โรคหัวใจและ หลอดเลือด ใน ประเทศไทย 2564

��Ҥ�ᾷ���ä������觻������㹾�к���Ҫٻ�����
��� 5 �Ҥ��������к���� 50 �� ����ٹ���Ԩ�� ��� ྪú��յѴ���� ��ا෾� 10310
The Heart Association of Thailand under the Royal Patronage of H.M. The King 5th Floor Royal Golden Jubilee Building, 2 Soonvijai New Petchburi Road , Bangkok 10310 Thailand ��./ Tel 02-718-0061 ����� / Fax 02-718-0065 Email :

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์

สถิติ โรคหัวใจและ หลอดเลือด ใน ประเทศไทย 2564

แพทย์ชี้คนไทยเสียชีวิตด้วย "โรคหัวใจ" เฉลี่ยชั่วโมงละ 2 คน พร้อมแนะแนวทางการดูแลสุขภาพที่ดีต่อใจให้แก่คนใกล้ตัว

จากการรายงานสถิติขององค์การอนามัยโลก (WHO) ในปี 2563 พบว่า กลุ่ม "โรคหัวใจ" และหลอดเลือดเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของคนทั่วโลก หรือประมาณ 17.9 ล้านคน และจากสถิติในประเทศไทย พบผู้เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดมากถึง 6 หมื่นราย โดยอุบัติการณ์ล่าสุดพบว่ามีผู้เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจขาดเลือดเฉลี่ยชั่วโมงละ 2 คน

สถิติ โรคหัวใจและ หลอดเลือด ใน ประเทศไทย 2564

รศ.พญ.ศริญญา ภูวนันท์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กล่าวว่า โรคหัวใจเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของคนไทยมากเป็นอันดับ 3 รองจากโรคมะเร็ง และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี จากสถิติของกระทรวงสาธารณสุขพบว่า มีผู้เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจขาดเลือด 18,922 คน หรือเฉลี่ยชั่วโมงละ 2 คน โดยโรคหัวใจที่สำคัญมีด้วยกันหลายประเภท ได้แก่ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคลิ้นหัวใจ โรคกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด อาการของโรคหัวใจ มีได้ตั้งแต่ไม่มีอาการเลยไปจนถึงอาการเหนื่อยหอบง่าย นอนราบแล้วอึดอัดต้องลุกขึ้นมานั่งช่วงกลางคืน เจ็บหน้าอกซึ่งมีลักษณะเฉพาะ ใจสั่นเต้นเร็ว หรือเป็นลมหมดสติที่ไม่ได้เกิดจากการเป็นลมแดด หรือการยืนนาน หรืออาจถึงกับเสียชีวิตเฉียบพลันโดยไม่มีอาการนำมาก่อนเลยก็ได้ อาจเรียกได้ว่าเป็นภัยเงียบอย่างแท้จริง

สถิติ โรคหัวใจและ หลอดเลือด ใน ประเทศไทย 2564

การรักษา "โรคหัวใจ" ในแต่ละประเภทมีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ดังนั้น สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับการรักษาโรคหัวใจคือต้องวินิจฉัยให้ได้ว่าเป็นโรคหัวใจประเภทไหน และรุนแรงระดับใด (มาก ปานกลาง น้อย เป็นต้น) และการวินิจฉัยดังกล่าวต้องมีความแม่นยำ เพราะอาจมีผลต่อชีวิตผู้ป่วยและการรักษาได้

สถิติ โรคหัวใจและ หลอดเลือด ใน ประเทศไทย 2564

“การซักประวัติ ตรวจร่างกาย และการใช้หูฟังฟังเสียงหัวใจของแพทย์เป็นวิธีการนำมาซึ่งการวินิจฉัยโรคหัวใจที่ดี แต่บ่อยครั้งอาจไม่เพียงพอ ต้องอาศัยการตรวจเพิ่มเติมที่ละเอียดมากขึ้น ปัจจุบันมีการตรวจเพิ่มเติมทางด้านหัวใจหลายประเภท และมีจุดเด่นและข้อจำกัดแตกต่างกัน ดังนั้น ผู้ป่วยบางรายอาจต้องได้รับการตรวจเพิ่มเติมมากกว่าหนึ่งชนิด เช่น การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจหรือ EKG; การตรวจวิ่งสายพานหรือ Stress Test; การตรวจทางภาพถ่ายรังสีแบบธรรมดา จนถึง เอ็กซ์เรย์คอมพิวเตอร์ หรือ เอ็กซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือ CT scan cardiac MRI; การฉีดสีหลอดเลือดหัวใจ  และการตรวจที่จัดได้ว่าเป็นหนึ่งในการตรวจที่สำคัญที่สุด คือ การตรวจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจขั้นสูง (Echocardiography)” รศ.พญ.ศริญญา อธิบายเพิ่มเติม

“อย่างไรก็ตาม การดูแลรักษาสุขภาพให้ดีอยู่เสมอและการป้องกันการเกิด "โรคหัวใจ" น่าจะดีกว่าการต้องมาตรวจรักษาอย่างแน่นอน ดังนั้น ประชาชนควรเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงอาหารรสหวานจัด มันจัด ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคหัวใจ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและพักผ่อนให้เพียงพอ ตรวจสุขภาพปีละ 1 ครั้ง ก็จะช่วยให้เราห่างไกลจากโรคหัวใจได้” รศ.พญ.ศริญญา กล่าวทิ้งท้าย

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ร่วมรณรงค์เนื่องในวันหัวใจโลก วันที่ 29 ก.ย. 2565 ตามคำขวัญ สหพันธ์หัวใจโลก (The World Heart Federation) คือ USE HEART FOR EVERY HEART: ใช้ใจเพื่อรักษาหัวใจทุกดวง ให้ห่างไกลจากโรคหัวใจและหลอดเลือด การเสียชีวิตทั่วโลกมีสาเหตุสำคัญจากโรคหัวใจและหลอดเลือดมากถึงร้อยละ 32 หรือประมาณ 17.9 ล้านคน สำหรับประเทศไทยพบผู้เสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดมากถึงปีละ 7 หมื่นราย 

วันนี้ (28 กันยายน 2565) นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค เปิดเผยว่า วันที่ 29 กันยายน ทุกปี เป็นวันหัวใจโลก (World Heart Day) โรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของคนไทยและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกกลุ่มวัย สาเหตุเกิดจากหลอดเลือดไปเลี้ยงที่หัวใจตีบตัน ขาดความยืดหยุ่น เนื่องจากการสะสมของไขมัน โปรตีน ที่บริเวณผนังด้านในของหลอดเลือด ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ คือ อายุ เพศ ประวัติครอบครัว ระดับความดันโลหิต ระดับน้ำตาลในเลือด ระดับไขมันในเลือด ภาวะอ้วน โดยโรคนี้มักเป็นโรคแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ความเสี่ยงจะเพิ่มมากขึ้นเมื่อผู้ป่วยมีความเครียดหรือไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดหรือระดับความดันโลหิตได้ตามเป้าหมายการรักษาของแพทย์

นายแพทย์โอภาส กล่าวต่อไปว่า หัวใจเป็นอวัยวะสำคัญของร่างกายจึงควรดูแลสุขภาพให้มีหัวใจที่แข็งแรงเพื่อชีวิตที่ยืนยาว สำหรับวันหัวใจโลกในปี 2565 ถือเป็นโอกาสสำคัญที่ทั่วโลกให้ความสำคัญกับการดูแลรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือดโดย ใช้ใจเพื่อรักษาหัวใจทุกดวง ด้วยหลัก 3 ประการ ดังนี้ 1.ใช้ใจเพื่อมนุษยชาติ (FOR HUMANITY) สร้างความเท่าเทียมในการเข้าถึงบริการสุขภาพให้ครอบคลุมประชาชนรวมถึงกลุ่มเปราะบาง กระทรวงสาธารณสุขไม่หยุดนิ่งในการดำเนินการพัฒนาระบบสุขภาพเพื่อการดูแลประชาชนอย่างเท่าเทียม สามารถเข้าถึงระบบบริการสุขภาพโดยไม่มีข้อจำกัด การพัฒนาเทคโนโลยีทางด้านการแพทย์อย่างแพร่หลายเพื่อให้ประชาชนได้รับบริการสุขภาพที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ 

มีแอปพลิเคชั่นในการติดตามสุขภาพและให้คำแนะนำในการปฏิบัติตน การตรวจคัดกรองสุขภาพ การนัดหมายเข้ารับบริการ การตรวจติดตามและการรับยาอย่างต่อเนื่อง 2.ใช้ใจดูแลธรรมชาติ (FOR NATURE) มลพิษทางอากาศเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในการทำให้โลกมีสภาพแวดล้อมที่ดีต่อสุขภาพหัวใจ กรมควบคุมโรค แนะนำให้ประชาชนตรวจเช็คคุณภาพอากาศก่อนออกจากบ้าน หลีกเลี่ยงการเข้าไปในพื้นที่ที่มีค่าฝุ่น PM2.5 สูง หากเข้าไปในพื้นที่เสี่ยงต้องสวมใส่หน้ากากป้องกันฝุ่น และช่วยกันลดกิจกรรมที่ทำให้เกิดฝุ่น PM2.5 เช่น งดเผาขยะ งดจุดธูป หมั่นเช็คสภาพรถ เพื่อลดควันดำ เป็นต้น 3.ใช้ใจเพื่อตัวคุณ (FOR YOU) ความเครียดเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจวายมากขึ้นถึงสองเท่าเช่นเดียวกับการนอนหลับไม่เพียงพอ ไม่ออกกำลังกาย และไม่สามารถปรับสมดุลการใช้ชีวิตได้ กระทรวงสาธารณสุขแนะนำวิธีการปฏิบัติตนเพื่อสุขภาพดีหลีกเลี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดด้วยหลัก 3อ. 2ส. ดังนี้ กินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ควบคุมอารมณ์-ความเครียด ไม่สูบบุหรี่และไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

สถิติ โรคหัวใจและ หลอดเลือด ใน ประเทศไทย 2564

ทางด้านนายแพทย์กฤษฎา หาญบรรเจิด ผู้อำนวยการกองโรคไม่ติดต่อ กล่าวว่า กรมควบคุมโรคเน้นย้ำให้ประชาชนดูแลสุขภาพตนเอง รู้เลขเสี่ยง เลี่ยงโรคไม่ติดต่อ (Know Your Numbers & Know Your Risks) รู้ค่าน้ำหนัก ส่วนสูง ระดับความดันโลหิต ระดับน้ำตาลและระดับไขมันในเลือด ไม่สูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นพื้นฐานเบื้องต้นของการดูแลสุขภาพ นอกจากนี้ ประชาชนควรเลือกรับประทานอาหารลดหวาน มัน เค็ม ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ มีวิธีจัดการความเครียดอย่างเหมาะสม และควรได้รับการตรวจสุขภาพประจำปีทุกๆปีเพื่อค้นหาความเสี่ยงของโรคไม่ติดต่อในระยะต้นเพื่อลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด

*สามารถกดติดตาม และแชร์ข่าวสำนักข่าว Hfocus ที่ https://www.facebook.com/Hfocus.org

  • ข่าว

  • โรคหัวใจและหลอดเลือด
  • วันหัวใจโลก

  • 776 views