สีสายไฟมาตรฐาน มอก 11-2531

สายไฟฟ้า เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ส่งพลังงานไฟฟ้าจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งโดยกระแสไฟฟ้าจะ เป็นตัวนำพลังงานไฟฟ้าผ่านไปตามสายไฟจนถึงเครื่องใช้ไฟฟ้า สายไฟทำด้วยสารที่ยอมให้กระแสไฟฟ้าผ่านได้ เรียกว่าตัวนำไฟฟ้า และตัวนำไฟฟ้าที่ใช้ทำสายไฟเป็นโลหะที่ยอมให้กระแสไฟฟ้าผ่านได้ดี ลวดตัวนำแต่ละชนิดยอมให้กระแสไฟฟ้าผ่านได้ต่างกัน ตัวนำไฟฟ้าที่ยอมให้กระแสไฟฟ้าผ่านได้มากเรียกว่ามีความนำไฟฟ้ามากหรือมีความต้านทานไฟฟ้าน้อย ลวดตัวนำจะมีความต้านทานไฟฟ้าอยู่ด้วย โดยลวดตัวนำที่มีความต้านทานไฟฟ้ามากจะยอม ให้กระแสไฟฟ้าผ่านได้น้อย

 

ประเภทของสายไฟฟ้า

สายไฟฟ้าแบ่งออกเป็น 2 จำพวกคือสายไฟแรงดันต่ำ และ สายไฟแรงดันสูง

สายไฟฟ้าแรงดันต่ำ (Low Voltage Power cable)

เป็นสายไฟที่ใช้กับแรงดันไม่เกิน 750 V. เป็นสายหุ้มฉนวน ทำด้วยทองแดงหรืออะลูมิเนียม โดยทั่วไปเป็นสายทองแดงสายขนาดเล็กจะเป็นตัวนำเดี่ยว แต่สายขนาดใหญ่เป็นตัวนำตีเกลียว วัสดุฉนวนที่ใช้กับสายแรงดันต่ำคือ Polyvinyl Chloride (PVC) และ Cross-Linked Polyethylene (XLPE)

 สาย IEC-01

สายไฟฟ้าตาม มอก.11-2553 ที่ในท้องตลาดนิยมเรียกว่า ทีเอชดับเบิลยู (THW) เป็นสาย ไฟฟ้าชนิดทนแรงดัน 750 V เป็นสายเดี่ยว นิยมใช้กันอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะใน โรงงานอุตสาหกรรม เนื่องจากใช้ในวงจรไฟฟ้า 3 phase ได้ ปกติจะเดินร้อยในท่อร้อยสาย ชื่อ THW เป็นชื่อตามมาตรฐานอเมริกัน ซึ่งเป็นสายชนิดทนแรงดัน 600 V อุณหภูมิใช้งานที่ 75 องศาเซลเซียส แต่ในประเทศไทยนิยม เรียกสายที่ผลิตตาม มอก. 11 -2531 ว่า สาย THW เนื่องจากมีโครงสร้างคล้ายกันและรู้กันทั่วไปในท้องตลาด

 การใช้งาน

เดินลอย ต้องยึดด้วยวัสดุฉนวน (insulator)

เดินในช่องเดินสาย ในสถานที่แห้ง

ห้ามเดินฝังดินโดยตรง ห้ามใส่ท่อฝังดิน

ห้ามเดินในรางเดินสาย

  

สาย VAF

สายไฟตาม มอก.11-2531 ที่ตามท้องตลาดเรียกว่า สายชนิด วีเอเอฟ (VAF) เป็นสายที่นิยมใช้กันมากตามบ้านในประเทศไทย เป็นสายชนิด ทนแรงดัน 300 V มีทั้งชนิดที่เป็นสายเดี่ยว สายคู่ และที่มีสายดินอยู่ด้วย มีชนิด 2 แกน หรือ 3 แกน เป็นสายแบน ตัวนำนอกจากจะมีฉนวนหุ้ม แล้วยังมีเปลือกหุ้มอีกชั้นหนึ่ง สายคู่จะนิยมรัดด้วยเข็มขัดรัดสาย(Clip) ใช้ในบ้านอยู่อาศัยทั่วไป สายชนิดนี้ห้ามใช้ในวงจร 3 phase ที่มีแรงดัน 380 V (ในระบบ 3 phase แต่แยกไปใช้งานเป็นแบบ 1 phase แรงดัน 220 V. จะใช้ได้)

การใช้งาน

เดินเกาะผนัง

เดินในช่องเดินสาย ในสถานที่แห้ง

ห้ามเดินฝังดินโดยตรง ห้ามใส่ท่อฝังดิน

ห้ามเดินในท่อร้อยสาย

 

สาย VCT

เป็น สายชนิดทนแรงดัน 300 โวลต์มีทั้งชนิดเป็นสายเดี่ยวสายคู่และที่มีสายดินอยู่ด้วย ถ้าเป็นสายเดี่ยวจะเป็นสายกลมและถ้าเป็นชนิด 2 แกนหรือ 3 แกนจะเป็นสายแบน ตัวนำนอกจากจะมีฉนวนหุ้มแล้วยังมีเปลือกหุ้มอีกชั้นหนึ่งสายคู่จะนิยมเดิน ตามฝาผนังด้วยเข็มขัดรัดสาย (Clip) หรือเดินในช่องเดินสาย แต่ห้ามเดินฝังดินโดยตรง การจะเดินสายประเภทนี้ใต้ดินจะต้องเดินในท่อฝังดินที่มีการป้องกันน้ำซึม เข้าท่อ ใช้ในบ้านอยู่อาศัยทั่วไปสายชนิดนี้ห้ามใช้ในวงจร 3 เฟสที่มีแรงดัน 380 โวลต์เช่นกัน (ในระบบ3เฟสแต่แยกไปใช้งานเป็นแบบ1 เฟสแรงดัน 220 โวลต์จะใช้ได้)

 

การใช้งาน

ใช้งานทั่วไป ต่อเข้ากับอุปกรณ์ไฟฟ้าเช่นสว่านไฟฟ้า หรือเดินสายเข้าเครื่องจักรขนาดใหญ่ที่เคลื่อนที่ได้

สาย NYY

สายไฟฟ้าตาม มอก.11-2531 ตามท้องตลาดนิยมเรียกว่าสายชนิด เอ็นวายวาย (NYY) มีทั้งชนิดแกนเดียว และหลายแกนสายหลายแกน ก็จะเป็นสายชนิดกลมเช่นกัน สายชนิดนี้ทนแรงดันที่ 750 V. นิยมใช้อย่างกว้างขวางเช่นกัน เนื่องจากว่ามี ความทนต่อสภาพแวดล้อม เพราะมีเปลือกหุ้มอีกชั้นหนึ่ง บางทีเรียกว่าเป็นสายฉนวน 3 ชั้น ความจริงแล้วสายชนิดนี้มีฉนวนชั้นเดียว อีกสองชั้นที่เหลือเป็นเปลือกเปลือกชั้นในทำหน้าที่เป็นแบบ (Form) ให้สายแต่ละแกนที่ตีเกลียวเข้าด้วยกันมีลักษณะกลม แล้วจึงมีเปลือกนอกหุ้ม อีกชั้นหนึ่งทำหน้าที่ป้องกันความเสียหายทางกายภาพ

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ปรับปรุงแก้ไขมาตรฐานสายไฟฟ้า โดยยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสายไฟฟ้าทองแดงหุ้มฉนวนโพลิไวนิลคลอไรด์ มอก.11-2531กำหนดมาตรฐานใหม่ เป็นมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสายไฟฟ้าหุ้มฉนวนพอลิไวนิลคลอไรด์ แรงดันไฟฟ้าที่กำหนดไม่เกิน 450/750 โวลต์ เลขที่ มอก.11-2553 ซึ่งจะประกาศเป็นมาตรฐานบังคับต่อไป

โดยเหตุผลที่ทำการเปลี่ยนนั้น เนื่องจากมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสายไฟฟ้าทองแดงหุ้มฉนวนพอลิไวนิลคลอไรด์มีการประกาศใช้มานาน จึงปรับปรุงแก้ไขให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล

สีสายไฟมาตรฐาน มอก 11-2531

ทำความเข้าใจเกี่ยวกับ มาตรฐานสายไฟ มอก.11-2553 ที่มีผลบังคับใช้ไปแล้ว

การเปลี่ยนมาตรฐานและสีของสายไฟนั้น สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ได้เปลี่ยนมาตรฐานเป็น มอก11_2553 ซึ่งต้องการเปลี่ยนสีขนาดแรงดันและชื่อของของสายให้ตรงกับมาตรฐาน IEC code ซึ่งมีใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลก และร่วมถึงประเทศที่อยู่นี้กลุ่ม AEC ด้วย เมื่อมีกฎหมายสีของฉนวนสายไฟชนิดตัวนำทองแดงหุ้มฉนวนพีวีซีเปลี่ยน ตาม มอก.11-2553 นั้น แต่ในส่วนของสายไฟประเภท CV ซึ่งเป็นฉนวนประเภท XLPE นั้นผู้ผลิตได้ทำการเปลี่ยนให้เอง ซึ่งไม่มีกฎหมายบังคับ เพราะเห็นว่าจะทำให้มีสีไปในทางเดี่ยวกัน

ในเมื่อกฎหมายการผลิตสายไฟมีการเปลี่ยน ในส่วนของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท) ซึ่งเป็น สถาบันอิสระที่ทำมาตรฐานต่างๆ เกี่ยวกับด้านวิศวกรรม ซึ่งรวมถึงมาตรฐานการติดตั้งระบบไฟฟ้า สำหรับประเทศไทยด้วย ซึ่งมาตรฐานนี้ไม่ถือเป็นกฎหมายบังคับใช้ แต่หลายๆองค์กร เช่น การไฟฟ้า MEA ,PEA ร่วมทั้งกรมโยธาธิการและผังเมือง และหน่วยงานต่างๆ หรือแม้แต่ในกฎหมายบางมาตราเกี่ยวกับ พรบ. ควบคุมอาคาร ก็ได้นำมาตรฐานนี้มาอ้างอิงและบังคับใช้

ดังนั้นเมื่อมาตรฐานสายไฟมีการปรับปรุง ทางคณะกรรมการ ของ วสท. จึงถือโอกาสนี้ปรับปรุงมาตรฐานใหม่ให้มีมาตรฐานตรงกับมาตรฐานสายไฟใหม่และปรับปรุงเกี่ยวกับการหาขนาดกระแสของสายไฟ ร่วมถึงสายที่ใช้ในวงจรช่วยชีวิต และรายละเอียดปลีกย่อยต่างเพิ่มเติม ร่วมไปในครั้งนี้ด้วย เพื่อคำนึงถึงความปลอภัยในการติดตั้งและการใช้ไฟฟ้าเป็นหลัก นั้นจึงเป็นที่มาของการปรับปรุง มาตรฐาน วสท. ฉบับปี 2556 ครับ

การกำหนดสีของสายไฟฟ้าตาม มอก. 11–2531 กำหนดสีอย่างไร

มาตรฐานฉบับใหม่กำหนดให้ สายดินเป็นสีเขียวแถบเหลือง สายนิวทรัลเป็นสีฟ้า สำหรับสายเส้นไฟจะใช้สีน้ำตาล สีดำ และสีเทา ตามลำดับ สรุปดังนี้ สายแกนเดี่ยว ไม่กำหนดสี สาย 2 แกน สีฟ้า และน้ำตาล

สายไฟฟ้าตาม มอก 11

สายไฟฟ้าตาม มอก.11-2531 ที่ในท้องตลาดนิยมเรียกว่า ทีเอชดับเบิลยู (THW) เป็นสาย ไฟฟ้าชนิดทนแรงดัน 750 โวลต์ เป็นสายเดี่ยว นิยมใช้กันอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะใน โรงงานอุตสาหกรรม เนื่องจากใช้ในวงจรไฟฟ้า 3 phase ได้ ปกติจะเดินร้อยในท่อร้อยสาย ชื่อ THW เป็นชื่อตามมาตรฐานอเมริกัน ซึ่งเป็นสายชนิดทนแรงดัน 600 โวลต์ อุณหภูมิใช้ ...

สายไฟมอก 11

ข้อมูลสีฉนวนสายไฟฟ้าตามมาตรฐาน มอก.11-2553. สายไฟฟ้า 60227 IEC 01 (THW) ขนาด 1.5 – 10 ตร.มม. มีสีฉนวนสายไฟฟ้ามาตรฐาน 10 สี ได้แก่ สีฟ้า,สีน้ำตาล,สีดำ,สีเทา,สีแดง,สีเหลือง,สีน้ำเงิน,สีขาว,สีเขียว และ สีเขียวแถบเหลือง

มาตรฐานของสายไฟฟ้า มอก. 11

มาตรฐานการแบ่งสีสายไฟ มอก. 11-2553 ปัจจุบัน ได้มีการระบุสีของแกนสายไฟฟ้า ว่าการแสดงด้วยสีจะต้องไม่เกิน 5 แกน และต้องหลีกเลี่ยงสี ขาว และแดง ซึ่งให้กำหนดรูปแบบสีดังนี้ 1. สายแกนเดี่ยว : ไม่ระบุสี 2. สาย 2 แกน : ฟ้า ( N), น้ำตาล (L) 3. สาย 3 แกน : เขียวแถบเหลือง (G), ฟ้า ( N), น้ำตาล (L) หรือ น้ำตาล(L1), ดำ (L2), เทา(L3)