กีฬาเพื่อสุขภาพ ภาษาอังกฤษ

1.1.1 มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
1.1.2 มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ
1.1.3 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลาและความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม
1.1.4 เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์

1.2.1 Brainstorming
1.2.2 Team Teaching

1.3.1 การแสดงออกและการมีส่วนร่วมในกิจกรรม
1.3.2 จิตพิสัย

2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
2.1.2 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา

2.2.1 Team Base Learning
2.2.2 Jigsaw Teaching
2.2.3 Brainstorming

2.3.1 การแสดงออกและการมีส่วนร่วมในกิจกรรม
2.3.2 งานที่มอบหมาย
2.3.3 การสอบ

3.1.1 มีทักษะปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ
3.1.2 มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างมีระบบ

3.2.1 Team Base Learning
3.2.2 Jigsaw Teaching
3.2.3 Team Teaching
3.2.4 Brainstorming

3.3.1 การแสดงออกและการมีส่วนร่วมในกิจกรรม
3.3.2 การนำเสนอผลงาน

4.1.1 มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
4.1.2 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.1.3 สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
4.1.4 สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม

4.2.1 Team Base Learning
4.2.2 Jigsaw Teaching
4.2.3 Team Teaching
4.2.4 Brainstorming

4.3.1 การแสดงออกและการมีส่วนร่วมในกิจกรรม
4.3.2 กรณีศึกษา

5.1.1 สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม
5.1.2 สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
5.1.3 สามารถใช้ภาษาไทยหรือต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ

5.2.1 Team Base Learning
5.2.2 Jigsaw Teaching
5.2.3 Team Teaching
5.2.4 Brainstorming

5.3.1 การแสดงออกและการมีส่วนร่วมในกิจกรรม
5.3.2 กรณีศึกษา
5.3.3 โครงงาน
5.3.4 การนำเสนอผลงาน

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย
(หลักสูตรปรับปรุงพ.ศ. 2561)

ชื่อหลักสูตร
     ภาษาไทย:  หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย
     ภาษาอังกฤษ:  Bachelor of Science Program in Sports and Exercise Science

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
     ชื่อเต็ม:  วิทยาศาสตรบัณฑิต  (วิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย)
     ชื่อย่อ:  วท.บ. (วิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย)
     ชื่อเต็ม:  Bachelor of Science (Sports and Exercise Science)
     ชื่อย่อ:  B.Sc. (Sports and Exercise Science)

วิชาเอกของหลักสูตร/แขนงวิชา
     -

จุดเด่นของหลักสูตร
     เป็นหลักสูตรที่มีคุณภาพตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกายได้รับการปรับปรุงหลักสูตรให้มีความทันสมัยและดำเนินการสอนโดยคณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ มีประสบการณ์มีความรู้ความเชี่ยวชาญในแต่ละด้านเน้นทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ที่นำไปใช้ได้จริง อีกทั้งยังมีอุปกรณ์สิ่งอำนวยความสะดวกและสื่อการเรียนการสอนที่ครบครัน มีความพร้อมในด้านหนังสือตำราและวารสารงานวิจัยในสาขาต่าง ๆ ที่ทันสมัยทั้งนี้เพื่อผลิตบัณฑิตให้เป็นผู้ที่มีความเป็นเลิศทางวิชาการและวิชาชีพ ควบคู่คุณธรรมและจริยธรรม พร้อมที่จะก้าวไปเป็นบุคลากรทางด้านวิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกายที่มีความรู้ความสามารถมีทักษะในการปฏิบัติหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพทั้งเพื่อการพัฒนากีฬาสู่ความเป็นเลิศในทุกระดับและการออกกำลังกายทุกรูปแบบเพื่อการมีสุขภาพที่ดี
     หลักสูตรนี้จะให้โอกาสนิสิตได้เรียนรู้อย่างเต็มที่ผ่านรายวิชาที่ครอบคลุมเนื้อหากลุ่มวิชาต่างๆ ทั้งกลุ่มสุขภาพและสมรรถภาพทางกาย กลุ่มวิทยาศาสตร์การฝึกกีฬากลุ่มวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายคลินิกและกลุ่มการจัดการทางการกีฬาโดยตลอดหลักสูตรนิสิตจะได้รับการศึกษาพัฒนาความรู้และทักษะด้านต่าง ๆ ผ่านวิธีการเรียนการสอนที่มีความหลากหลายรวมถึงการศึกษาดูงานในหน่วยงานที่มีความเกี่ยวข้องการเรียนรู้จากการฝึกประสบการณ์ทำงานด้านการพัฒนากีฬาเพื่อความเป็นเลิศกับนักกีฬาของมหาวิทยาลัยทีมกีฬาอาชีพ และนักกีฬาทีมชาติไทยซึ่งเข้ามาเก็บตัวฝึกซ้อมที่ศูนย์กีฬามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒเป็นประจำการฝึกปฏิบัติงานด้านการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพในศูนย์ออกกำลังกาย มศว (SWU Fitness Center) นอกจากนี้นิสิตจะออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพรวมถึงการทำโครงงานวิจัยในหัวข้อที่ตนมีความสนใจในชั้นปีที่ 4

อาชีพที่ประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
     สามารถประกอบอาชีพนักวิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกายทั้งในภาครัฐและภาคเอกชนอาชีพที่เกี่ยวข้องด้านวิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกายอื่น ๆเช่น

  1. นักวิทยาศาสตร์การกีฬา
  2. นักวิจัยทางด้านการกีฬาและการออกกำลังกาย
  3. นักวิชาการทางด้านการกีฬาและการออกกำลังกาย
  4. นักพัฒนาชุมชนทางการกีฬาการออกกำลังกายและสุขภาพ
  5. ผู้จัดโครงการส่งเสริมพัฒนาและบริการทางด้านกีฬาและการออกกำลังกาย
  6. ผู้ฝึกสอนกีฬาด้านการพัฒนาสมรรถภาพทางกาย (โค้ชฟิตเนส)  เช่น ในทีมกีฬาอาชีพ ทีมกีฬาระดับชาติสโมสรกีฬาต่าง ๆ ชมรมกีฬา ฯลฯ
  7. ผู้ฝึกสอนการออกกำลังกาย เช่นในศูนย์ออกกำลังกายต่าง ๆ  โรงแรม ศูนย์สุขภาพองค์รวมของโรงพยาบาล ฯลฯ
  8. ผู้ให้คำแนะนำการออกกำลังกายในสถานประกอบการต่าง ๆ เช่น บริษัทเอกชน เป็นต้น 
  9. พนักงานของรัฐในส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกับงานทางด้านวิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย
  10. ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับงานทางด้านวิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย