คุณลักษณะ เฉพาะ ของการพัฒนา 4G เป็น 5G

เทคโนโลยี 5G เริ่มเข้ามาใกล้ตัวเรามากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งช่วงนี้หลายคนน่าจะเริ่มเห็นจากทีวีหรือสื่อต่างๆ บ่อยขึ้น โดยการมาของ 5G นั้น นอกจากยกระดับความเร็วในการใช้งานอินเทอร์เน็ตบนสมาร์ทโฟนหรืออุปกรณ์เคลื่อนที่แล้ว ยังเป็นเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายที่สามารถเข้ามาเพิ่มศักยภาพในภาคอุตสาหกรรม รวมถึงภาคการศึกษาและด้านการแพทย์ได้ด้วย 

แต่เชื่อว่าหลายคนอาจสงสัยว่า 5G จะทำได้ขนาดนั้นจริงหรือ? เพราะขนาดเทคโนโลยี 4G ที่เราใช้งานกันอยู่ในปัจจุบันยังทำไม่ได้ถึงขนาดนั้นเลย เพราะฉนั้นเราไปไขคำตอบ และรู้จักเทคโนโลยี 5G นี้พร้อมกันครับ และขอหยิบยกข้อมูลในด้านของผู้ใช้งานอย่างเราๆ มาบอกเล่ากัน เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจ

5G เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายเจเนเรชั่นที่ 5 ที่มีการพัฒนาเพิ่มขีดความสามารถในเรื่องของความเร็ว Upload และ Download บนเครือข่ายไร้สายให้เสถียร และเร็วขึ้น โดยหากเปรียบเทียบกับเทคโนโลยี 4G ที่ใช้กันอยู่ตอนนี้ 5G จะสามารถทำความเร็วได้เร็วกว่าถึง 10 เท่า ซึ่ง 5G ทำความเร็วสูงสุดได้ถึง 20 Gbps ในขณะที่ 4G นั้นสามารถทำได้สูงสุดที่ 1Gbps เท่านั้น 

  • ความเร็วสูงสุดในการรับ-ส่งข้อมูล : 20 Gbps
  • Latency ในการเชื่อมต่อปลายทางทำได้เร็วและนิ่งขึ้น (<1ms) จึงทำให้เหมาะกับการใช้งานเชิงอุตสาหกรรมมากขึ้น
  • รองรับการใช้งานเครือข่ายในปริมาณที่มากกว่า 4G ถึง 10 เท่า
  • ทำความเร็วได้สูงสุดถึง 20 Gbps
  • ช่วงคลื่นความถี่เพิ่มขึ้น 30 GHz 

คุณลักษณะ เฉพาะ ของการพัฒนา 4G เป็น 5G

เปรียบเทียบ 4G กับ 5G เปลี่ยนแปลงอย่างไร?

หลายคนอาจยังนึกภาพไม่ออกว่า การเปลี่ยนแปลงจาก 4G มาสู่ 5G นั้น มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร ดีขึ้นแค่ไหน ลองมาดูภาพนี้กันครับ

คุณลักษณะ เฉพาะ ของการพัฒนา 4G เป็น 5G

  • Latency : ค่าการตอบสนองต่อการ รับ-ส่ง สัญญาณ โดยค่านี้เลขยิ่งน้อยยิ่งตอบสนองได้ดี ซึ่ง 5G มีค่า Latency น้อยกว่า 1 ms ในขณะที่ 4G จะอยู่ที่ประมาณ 10 ms 
  • Data Traffic : การรองรับการส่งข้อมูลในระยะ 1 เดือน ด้านของ 5G สามารถรองรับได้มากถึง 50 Exabytes ในขณะที่ 4G จะรองรับอยู่ที่ประมาณ 7.2 Exabytes เท่านั้น
  • Peak Data Rates : ความเร็วสูงสุดในการรับ-ส่งข้อมูลนั้น 5G สามารถทำได้ถึง 20 Gbps ส่วน 4G จะอยู่ที่ 1 Gbps
  • Available Spectrum : ช่วงคลื่นความถี่ฝั่ง 5G สามารถใช้ได้ถึง 30 GHz ส่วน 4G ใช้ได้เพียงแค่ 3GHz เท่านั้น
  • Connection Density : การรองรับความหนาแน่นในการเชื่อมต่อ ฝั่ง 5G รองรับได้มากถึง 1 ล้านคนต่อตารางกิโลเมตร ในขณะที่ด้าน 4G รองรับได้เพียง 1 แสนคนต่อตารางกิโลเมตร เท่านั้น

ด้วยคุณสมบัติของเทคโนโลยี 5G ที่เพิ่มขึ้นหลายอย่างไม่ว่าจะเป็น ความเร็ว ความนิ่ง และการรองรับการใช้งาน Data ในปริมาณที่มาก ทำให้เหมาะกับการใช้งานในเชิงอุตสาหกรรม และการแพทย์ ซึ่งเราน่าจะได้กันมาบ้างแล้ว เช่น การนำมาใช้คู่กับเทคโนโลยี AR เพื่อใช้วิเคราะห์ผู้ป่วยสำหรับคุณหมอ หรือจะเป็นการเชื่อมต่อกับรถยนต์ไร้คนขับ เป็นต้น

คุณลักษณะ เฉพาะ ของการพัฒนา 4G เป็น 5G

แต่ในด้านของผู้ใช้งานนั้น เทคโนโลยี 5G จะเข้ามาช่วยยกระดับให้ผู้ใช้งานอย่างเราสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตด้วยความเร็วที่สูงขึ้น ทำให้เราสามารถเลือกรับชมคอนเทนท์ภาพยนตร์ด้วยความละเอียดระดับ 4K ได้สบายมาก รวมไปถึงการใช้งานร่วมกับ loT ก็ทำได้สะดวกและสเถียรมากขึ้นด้วย

คุณลักษณะ เฉพาะ ของการพัฒนา 4G เป็น 5G

ส่วนทางด้านดีไวซ์หรือสมาร์ทโฟนนั้น ตอนนี้หลายแบรนด์ใหญ่เช่น Qualcomm, Samsung, Zyxel, Huawei และอีกหลายแบรนด์ ได้ร่วมมือกันพัฒนาอุปกรณ์อย่าง "สมาร์ทโฟน" ให้สามารถรองรับการใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงอย่าง 5G ให้ได้ทั่วโลก และน่าจะเริ่มได้เห็นสมาร์ทโฟนรุ่นที่รองรับออกมาวางจำหน่ายกันในช่วงปลายปี 2019 นี้แน่นอน

คุณลักษณะ เฉพาะ ของการพัฒนา 4G เป็น 5G

ถึงแม้เทคโนโลยี 5G ในไทยเราจะยังใช้งานในรูปแบบผู้ใช้งานแบบ 4G ที่เราใช้งานกันในตอนนี้ แต่ก็ใกล้มากๆ แล้ว ที่เราจะได้สัมผัสและลองใช้งานเทคโนโลยี 5G เชิงพาณิชย์ในประเทศไทย เพราะตามไทม์ไลน์เราน่าจะได้เริ่มใช้งานกันเต็มรูปแบบก็ประมาณปี 2020 - 2021 ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องใกล้ตัวที่ทุกคนจะมองข้ามไป แถม 5G ยังเป็นเทคโนโลยีที่จะเข้ามาช่วยยกระดับทั้งในแง่ของการใช้งาน และภาคอุตสาหกรรมให้ก้าวไกลยิ่งขึ้น ด้วยมาตราฐานการเชื่อมต่อที่เร็วขึ้น นิ่งกว่าเครือข่าย 4G ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันถึง 10 เท่า

ปิดฉากไปแล้วกับการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 700, 2600 MHz และ 26 GHz เพื่อนำมาให้บริการ 5G ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เมื่อวันที่ 16 ก.พ.ที่ผ่านมา

สำหรับโอเปอเรเตอร์เจ้าเดิมและเจ้าใหม่เข้ามาแข่งขันกันอย่างสนุก เพราะมี 2 รัฐวิสาหกิจอย่าง บมจ.กสท โทรคมนาคม (CAT) และบมจ.ทีโอที (TOT) เข้าร่วมด้วย สุดท้ายจบการประมูลคิดเป็นวงเงินที่สร้างรายได้เข้ารัฐเป็นค่าใบอนุญาตสูงถึง 100,521 ล้านบาท แบ่งเป็น คลื่น 700 MHz วงเงินรวม 51,460 ล้านบาท ตามด้วย 2600 MHz วงเงินรวม 37,433.89 ล้านบาท และ 26 GHz วงเงินรวม 11,627.29 ล้านบาท

สำหรับเทคโนโลยีคลื่นความถี่ 5G จะดีกว่า 4G หรือมีความแตกต่างกันอย่างไร ??

ศ.วิเชียร เปรมชัยสวัสดิ์ รองประธานสภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย อธิบายความแตกต่างระหว่างเทคโนโลยี 4G และ 5G ประกอบด้วย 5 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1.ความหน่วง (Latency) ปัจจุบัน 4G มีความหน่วงเฉลี่ยอยู่ที่ 30-50 millisecond (1 ต่อ 1,000 วินาที) แต่ถ้าเป็น 5G ความหน่วงลดลงเหลือแค่ไม่ถึง 1 millisecond เป็นสิ่งสำคัญมากเกี่ยวกับการเชื่อมต่อระหว่างกันไม่เกิดความช้า กระตุก เรียกว่าทั่วไปว่า lag

หากความหน่วงระหว่างต้นทางกับปลายทางน้อยจะช่วยเพิ่มความเสถียรในอุปกรณ์ที่ต้องใช้ความน่าเชื่อถือสูง อาทิ Telemedicine เป็นการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเหลือผู้ป่วยตอบโต้กับบุคลากรทางการแพทย์กันได้แบบ Real-time หรือนำมาประยุกต์ใช้ช่วยผ่าตัดทางไกล ด้วยระบบคอมพิวเตอร์หุ่นยนต์และการผ่าตัดผ่านกล้อง และใช้ควบคุมระบบขนส่งรถยนต์ อาทิ รถยนต์ไร้คนขับที่ต้องอาศัยความปลอดภัยสูง เป็นต้น

2.ความเร็วสูงขึ้น เป็นประเด็นเกี่ยวข้องกับผู้ใช้งานทั่วไป อาทิ ผู้ใช้สมาร์ทโฟนเชื่อมต่อกับระบบอินเตอร์เน็ตด้วยเทคโลโลยี 5G สามารถรองรับกับการใช้บริการจำนวนมากด้วยความเร็วสูง ยกตัวอย่างเรื่องใกล้ตัวคือการโหลดภาพยนต์เป็น Full HD แค่หลักวินาที จากเดิมต้องใช้เวลาหลายนาทีหรือบางครั้งเป็นชั่วโมง และอีกหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ถูกระดับขึ้น อย่าง ธุรกิจสื่อ การรายงานถ่ายทอดสดมีความเสถียรมากขึ้น

3. ยกระดับเทคโนโลยีโลกเสมือน หรือ Augmented Reality (AR) และ Virtual Reality (VR) ซึ่ง 5G ทำให้อุตสาหกรรมเทคโนโลยีโลกเสมือนกลายเป็นที่น่าจับตามองนำมาประยุกต์ใช้งานในโลกธุรกิจ มีโอกาสอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเสี่ยงได้รับผลกระทบด้านลบเช่นกัน

4.เทคโนโลยี 5G เข้ามารองรับการใช้งานอุปกรณ์ Internet of Things (IoT) ได้ครอบคลุมมากขึ้น อาทิ เก็บข้อมูลและเชื่อมต่อได้หลายอุปกรณ์ในเวลาพร้อมกัน เนื่องจากเทคโนโลยี 4G ในพื้นที่ 1 ตารางกิโลเมตร สามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ IoT ได้ประมาณ 10,000 อุปกรณ์ แต่เทคโนโลยี 5G สามารถเชื่อมต่อได้ถึง 1,000,000 อุปกรณ์ สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมที่ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตของเครื่องจักร, การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart City) นำเทคโนโลยีเชื่อมต่อความต้องการของประชาชนกับระบบงานบริการของทางภาครัฐและเอกชนให้มีประสิทธิภาพสูงสุด และ Smart home เชื่อมโยงอุปกรณ์ที่สำคัญกับการใช้ชีวิตประจำวันภายในบ้าน เป็นต้น

5.เทคโนโนยี 5G สามารถใช้สัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่บนอุปกรณ์ที่มีความเร็วสูงระดับ 500 กิโลเมตรต่อชั่วโมงได้ จากปัจจุบัน 4G บนอุปกรณ์ที่มีความเร็วสูงระดับ 350 กิโลเมตรต่อชั่วโมงเท่านั้น ทำให้ผู้ใช้อยู่ในรถไฟความเร็วสูงสามารถใช้งานได้ตามปกติ

"คลื่นความถี่ 5G ถ้าหากเริ่มใช้งานจริง มีโอกาสสร้างกระทบและสร้างประโยชน์ให้กับหลายอุตสาหกรรม เพราะ 5G จะถูกนำมาเชื่อมต่อกับเทคโนโลยีหลัก ได้แก่ อุปกรณ์ IoT ,ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และหุ่นยนต์ (Robot) ดังนั้นภาคธุรกิจต่างๆต้องปรับตัวไปสู่เรื่องของดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและลดค่าใช้จ่าย"ศ.ดร.วิเชียร กล่าว

เมื่อวันที่ 16 ก.พ.63 สำนักข่าว"อินโฟเควสท์"รายงานผลการประมูลคลื่นความถี่ 5G ประกอบด้วย คลื่น 700 MHz มี 3 ใบอนุญาต ใบละ 5 MHz มีผู้เข้าร่วมประมูล 3 ราย ปรากฎว่า บมจ.กสท โทรคมนาคม ประมูลได้ 2 ใบอนุญาต รวมราคา 34,306 ล้านบาท และ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด (AWN) ในเครือ บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส(ADVANC) ประมูลได้ 1 ใบ ด้วยราคา 17,154 ล้านบาท/ใบ จาก ราคาเริ่มต้น 8,792 ล้านบาท/ใบ ส่วนบริษัท ทรู มูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (TUC)ในเครือบมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น (TRUE) ประมูลไม่ได้ ทั้งนี้ รายได้ประมูลรวม 51,460 ล้านบาท

คลื่น 2600 MHz ประมูลได้ทั้งหมดจำนวน 19 ใบอนุญาต ใบละ 10 MHz ราคาประมูลได้รวม 37,433.89 ล้านบาท โดย ADVANC ประมูลได้ 10 ใบอนุญาต เป็นเงิน 19,561 ล้านบาท ได้คลื่นความถี่ในย่าน 2500-2600 MHz ขณะที่ TRUE ประมูลได้ 9 ใบอนุญาต เป็นเงิน 17,872.89 ล้านบาท (ราคาประมูล. 17,560 ล้านบาท ค่ากำหนดย่านความถี่ 268.89 ล้านบาท) ส่วน กสท.ประมูลไม่ได้

ส่วนคลื่น 26 GHz มีจำนวน 27 ใบอนุญาต ใบละ100 MHz ประมูลได้ 26 ใบอนุญาต รวมมูลค่าทั้งหมด 11,627.29 ล้านบาท ผู้ที่ประมูลได้ ได้แก่ ADVANC ได้ 12 ใบอนุญาต ราคารวม 5,345 ล้านบาท TRUE ประมูลได้ 8 ใบอนุญาต ราคารวม 3,576.89 ล้านบาท ทีโอที ประมูลได้ 4 ใบอนุญาต รวม 1,795 ล้านบาท และ DTAC ประมูลได้ 2 ใบอนุญาต รวม 910 ล้านบาท

ทั้งนี้ ADVANC ประมูลคลื่นได้มากที่สุด 23 ใบอนุญาต ใน 3 คลื่นความถี่ (700MHz,2600MHz,26GHz) รวมราคา 42,066 ล้านบาท TRUE ประมูลคลื่นได้ 17 ใบอนุญาต 2 คลื่นความถี่ (2600MHz ,26GHz ) รวมราคา 21,449.78 ล้านบาท DTAC ประมูลได้คลื่น 26 GHz 2 ใบอนุญาต รวมราคา 910 ล้านบาท บมจ.กสท โทรคมนาคม ได้ 2 ใบอนุญาต คลื่น 700 MHz รวมราคา 34,306 ล้านบาท และ ทีโอที ประมูลได้ 4 ใบอนุญาต คลื่น 26 GHz รวมราคา 1,795 ล้านบาท

ข้อใดคือคุณลักษณะและคุณสมบัติที่มีในเทคโนโลยี 5G

ความรวดเร็วของ 5G ถือว่าเข้ามามีบทบาทค่อนข้างมากเลยครับ ด้วยการรับส่งข้อมูลที่รวดเร็วกว่า 4G ถึง 24 เท่า เราจึงสามารถดาวน์โหลดไฟล์หนังขนาด 4K และ 8K ได้ภายในไม่กี่วินาที รวมถึงยังช่วยให้การสืบหาข้อมูลต่าง ๆ บน Mobile Internet ใช้เวลาได้รวดเร็วเพียงเสี้ยววิ และรองรับการใช้งานแบบเรียลไทม์ได้มากขึ้นด้วยครับ

คลื่นความถี่สัญญาณ 5G มีคุณสมบัติอย่างไร

5G สามารถทำงานในย่านความถี่ช่วงกว้างขึ้น (ช่วงคลื่นต่ำ ช่วงคลื่นกลาง ช่วงคลื่นสูง) โดยการขยายทรัพยากรคลื่นความถี่วิทยุจากช่วงต่ำกว่า 3 GHz ที่ใช้ใน 4G ไปจนถึง 100 GHz และสูงกว่านั้น 5G สามารถทำงานได้ทั้งในย่านความถี่ต่ำและคลื่นมิลลิเมตร (mmWave) ซึ่งเพิ่มความจุขึ้นอย่างมาก ให้อัตราการโอนถ่ายข้อมูลหลาย Gbps และเวลาแฝง ...

ความแตกต่าง 4G กับ 5G ต่างกันอย่างไรบ้าง

คุณสมบัติของอินเทอร์เน็ตก็คงทิ้งเรื่องความเร็วความแรงไม่ได้อยู่แล้ว ซึ่ง 5G นั้นจะมีความเร็วในการรับ - ส่งข้อมูลอยู่ที่ 20 Gbps ซึ่งเร็วกว่า 4G ถึง 20 เท่า ในความเร็ว 1 Gbps ถือว่าได้ใจไปเลยสำหรับคอหนัง คอเกม และผู้ที่ต้องการอัปโหลด ดาวน์โหลดไฟล์ข้อมูลขนาดใหญ่ หรือแทบจะครอบคลุมทุกการใช้งาน ยกตัวอย่างเทคโนโลยี AR ( ...

การสื่อสารแบบไร้สายในยุค 5G มีลักษณะหรือคุณสมบัติที่แตกต่างจากยุค 4G อย่างไร

คุณสมบัติของเทคโนโลยี 5G.
ความเร็วสูงสุดในการรับ-ส่งข้อมูล : 20 Gbps..
Latency ในการเชื่อมต่อปลายทางทำได้เร็วและนิ่งขึ้น (<1ms) จึงทำให้เหมาะกับการใช้งานเชิงอุตสาหกรรมมากขึ้น.
รองรับการใช้งานเครือข่ายในปริมาณที่มากกว่า 4G ถึง 10 เท่า.
ทำความเร็วได้สูงสุดถึง 20 Gbps..
ช่วงคลื่นความถี่เพิ่มขึ้น 30 GHz..