สงกรานต์ 2565 เล่นน้ําได้ไหม

#สงกรานต์ทิพย์ คืออะไร

หลังรอลุ้นมาสักพักใหญ่ ๆ ว่า สงกรานต์ จะสามารถจัดกิจกรรมรื่นเริงเหมือนที่จัดงานสงกรานต์ก่อนยุคโควิด-19 หรือไม่ แม้ช่วงปลายปี ที่ประชุม ครม. มีมติเพิ่มวันหยุดพิเศษช่วงวันสงกรานต์ ประกอบกับต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา หลาย ๆ จังหวัดก็ตระเตรียมจัดงานสงกรานต์ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่ เพราะมั่นใจว่า วันสงกรานต์ปีนี้จะไม่เงียบเหงาเหมือนปีที่เกิดวิกฤต COVID

ล่าสุด เมื่อวันที่ 19 มีนาคม ที่ประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) ชุดใหญ่ มีมติขยายเวลา ต่ออายุ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ออกไปเป็นระยะเวลา 2 เดือน คือ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน – 31 พฤษภาคม จากเดิมสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม ส่วนเทศกาลสงกรานต์ 2565 ที่ประชุม ศบค. ชุดใหญ่ ดังนี้

สงกรานต์ 2565 หยุดกี่วัน วันไหนบ้าง ?

ตามมติที่ประชุม ครม. เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม ได้กำหนดวันหยุดราชการเพิ่มเป็นกรณีพิเศษช่วงเทศกาลสงกรานต์ เพิ่มเติม 1 วัน นั่นคือ วันจันทร์ที่ 12 เมษายน เมื่อนำมารวมกับวันหยุดตามเทศกาล ส่งผลให้เทศกาลสงกรานต์นี้ มีวันหยุดรวมกัน 6 วัน คือ ตั้งแต่วันเสาร์ที่ 10 เมษายน จนถึงวันพฤหัสบดีที่ 15 เมษายน

สงกรานต์ 2565 เดินทางข้ามจังหวัดได้ไหม 

ประชาชนสามารถเดินทางข้ามจังหวัด เพื่อท่องเที่ยวช่วงเทศกาลสงกรานต์ได้ตามปกติ ไม่ต้องกักตัว เว้นแต่จังหวัดนั้น ๆ มีมาตรการให้กักตัว

สงกรานต์ 2565 ทำกิจกรรมอะไรได้บ้าง
  • พิธีสรงน้ำพระ รวมถึงกิจกรรมอื่น ๆ ทางศาสนา
  • พิธีรดน้ำดำหัวขอพรผู้ใหญ่ ตามประเพณีนิยมหรือตามรูปแบบที่ วธ. กำหนด
  • การเดินทางข้ามจังหวัด เพื่อไปท่องเที่ยวต่างจังหวัด สามารถดำเนินการได้ทุกพื้นที่

ทั้งนี้ ทุกกิจกรรมที่กล่าวมาในข้างต้น ต้องปฏิบัติตามมาตรการ D-M-H-T-T ประกอบด้วย

สงกรานต์ 2565 เล่นน้ําได้ไหม

  • D >> Distancing >> เว้นระยะห่าง
  • M >> Mask Wearing >> สวมหน้ากาก
  • H >> Hand washing >> ล้างมือบ่อย ๆ
  • T >> Testing >> ตรวจอุณหภูมิก่อนเข้างาน

รวมถึงหลีกเลี่ยงการสัมผัส ส่วนสถานที่จัดกิจกรรมควรเป็นพื้นที่โล่งแจ้ง อากาศระบายได้ดี

สงกรานต์ 2565 ห้ามทำกิจกรรมอะไร
  • งดการจัดกิจกรรมที่มีการรวมกลุ่มคนจำนวนมาก
    – งดการจัดกิจกรรมรวมกลุ่มเล่นสาดน้ำ
    – งดการจัดคอนเสิร์ต
  • งดการจัดกิจกรรมที่มีการสัมผัสกันใกล้ชิด อาทิ ประแป้ง หรือเล่นปาร์ตี้โฟม เป็นต้น

ส่วนกิจกรรมอื่น ๆ นอกจากนี้ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด หรือคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร

เมื่อที่ประชุม ศบค. มีมติออกมาเช่นนี้ หลาย ๆ จังหวัดที่เตรียมจัดงานสงกรานต์ 65 เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว อาจต้องปรับแผนจัดกิจกรรมเสียใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับมติที่ออกมา แต่ที่แน่ ๆ ใครที่เตรียมตัวไปมันส์กับคอนเสิร์ต ปาร์ตี้โฟม หรือตั้งด่านสาดน้ำหน้าบ้านยังต้องงดเว้นไปก่อนอีก 1 ปีนะ

ที่มา : ศูนย์ข้อมูล COVID-19


READ MORE :
  • วันหยุดสงกรานต์ 2564 ธนาคาร-ราชการ หยุดยาว 6 วัน เหมือนกันไหม ?
  • ที่เที่ยวสงกรานต์ภูเก็ต 2564 ต้อนรับวันหยุดยาวที่ไม่ควรพลาด!
  • 7 ที่เที่ยวหน้าร้อน 2564 ทั้งภูเขา น้ำตก ทะเล มีครบ !
  • ส่อง 8 ครีมกันแดดกันน้ำ กันเหงื่อ มีไว้สงกรานต์นี้อุ่นใจ
  • 8 ที่เที่ยวสงกรานต์เชียงใหม่ หยุดยาวนี้ไปม่วนกัน!

สงกรานต์ 2565 เล่นน้ําได้ไหม

สงกรานต์ 2565 เล่นน้ําได้ไหม

สงกรานต์ กทม. เคาะละ แค่ ปะพรม สาดไม่ได้

สวมแมสตลอดเวลาด้วย. แมสกันน้ำ ต้องเข้าแล้วนะ

เด่วสรุปให้ฟัง

ทำไรได้บ้าง?

ประพรม 

COVID Free Setting

เว้นระยะ  1 คน ต่อ 4 (ตรม.)

สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา

ห้ามทำอะไรบ้าง!!

ห้ามประแป้ง ปาร์ตี้โฟม

ห้าม บริโภคและขาย แอลกอฮอล์ ในพื้นที่จัดงาน

พื้นที่สาธารณะห้ามสาด แป้ง โฟม เด็ดขาด เช่น ท้องถนน

แอลกอฮอล์ล่ะ?

ขายและบริโภค รอบสถานที่จัดงานตามปกติ

SHA หรือ SHA + ถึง 23.00 น

ย้ำว่า ก่อนกลับ ตจว.
- หากมีความเสี่ยง งดเดินทาง

- ตรวจ ATK ก่อนเดินทาง 72 ชม.

หลังกลับจากงานสงกรานต์

- สังเกตอาหารตนเอง 7 วัน

- งดพบปะผู้คน

- ตรวจ ATK เมื่อมีอาการน่าสงสัย

- WFH ตามความเหมาะสม

มาดูกันให้ชัดๆ ว่าสรุปแล้ว สงกรานต์ 2565 สามารถเล่นน้ำได้หรือไม่ แล้วข้อห้ามในการจัดงานรื่นเริงหรือกิจกรรมต่างๆ มีอะไรบ้าง รวมถึงการเตรียมตัวก่อนร่วมงานสงกรานต์ 2565 ควรทำอย่างไร

ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค.ชุดใหญ่ ครั้งที่ 5/2565 เมื่อวันศุกร์ที่ 18 มีนาคม 2565 มีมติเห็นชอบมาตรการป้องกันโรคโควิด-19 ในการจัดงานช่วงเทศกาล สงกรานต์ ประจำปี 2565 “ร่วมสืบสานวัฒนธรรมไทย สงกรานต์วิถีใหม่ รับผิดชอบต่อครอบครัว และสังคม” และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการ ดังนี้

การเตรียมตัวก่อนร่วมงานสงกรานต์ปี 65

  • ให้พิจารณาตรวจ ATK ก่อนเดินทาง หรือ ก่อนร่วมงานภายใน 72 ชั่วโมง
  • ผู้จัดงาน และกิจการ/กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับงานสงกรานต์ให้ลงทะเบียนบนระบบ TSC2+ และประเมินตนเองตามประเภทมาตรการ COVID Free Setting ได้แก่

    • การจัดกิจกรรมพิเศษ (แสดงคอนเสิร์ต/ดนตรี งานอีเวนท์ งานเทศกาล มหกรรม)
    • การจัดกิจกรรมรวมกลุ่มในชุมชน ศาสนสถาน ร้านอาหาร ขนส่งสาธารณะ ฯลฯ

ระหว่างช่วงงานสงกรานต์ พื้นที่จัดงานสงกรานต์ ที่มีการจัดเตรียมสถานที่และควบคุมกำกับ

  • อนุญาตให้เล่นน้ำ และจัดกิจกรรมตามประเพณี เช่น รดน้ำดำหัว สรงน้ำพระ การละเล่น การแสดงทางวัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น ขบวนแห่ การแสดงดนตรี โดยต้องปฏิบัติตามมาตรการ COVID Free Setting และมีการกำกับอย่างเคร่งครัด
  • ห้ามประแป้ง ปาร์ตี้โฟม จำหน่ายและบริโภคแอลกอฮอล์ในพื้นที่จัดงาน
  • กำหนดช่องทางเข้า-ออกจากงาน จัดจุดคัดกรอง และควบคุมความหนาแน่นในพื้นที่จัดงาน (1 ต่อ 4 ตารางเมตร)
  • สวมหน้ากากตลอดเวลา พกเจลแอลกอฮอล์ รักษาระยะห่าง ตลอดเวลาที่ร่วมงาน

พื้นที่สาธารณะไม่มีการควบคุม เช่น ท้องถนน ฯลฯ

  • ห้ามเล่นน้ำ ประแป้ง และปาร์ตี้โฟม
  • สามารถจัดกิจกรรมรวมกลุ่มในครอบครัว เช่น รดน้ำดำหัว จัดกิจกรรมในที่มีการระบายอากาศได้ดี หรือที่โล่ง ไม่หนาแน่นหรือคับแคบ สวมหน้ากากตลอดเวลา
  • งดกิจกรรมการสัมผัสใกล้ชิด หรือใช้สิ่งของร่วมกัน
  • เลี่ยงการรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มร่วมกันเป็นเวลานาน
  • ผู้สูงอายุที่ยังไม่ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ ควรได้รับวัคซีนให้ครบก่อนร่วมกิจกรรมสังสรรค์ และสัมผัสใกล้ชิดลูกหลาน
  • ผู้ติดเชื้อและผู้สัมผัสเสี่ยงสูงห้ามร่วมกิจกรรม

หลังกลับจากงานสงกรานต์

  • สังเกตอาการตนเอง 7 วัน
  • หลีกเลี่ยงพบปะกับผู้คนจำนวนมาก หากพบว่ามีอาการสงสัยติดเชื้อ ให้ทำการตรวจ ATK
  • พิจารณามาตรการ WFH ให้เป็นไปตามความเหมาะสม และการพิจารณาของหน่วยงาน

อย่างไรก็ตาม วันนี้ (24 มี.ค.) เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ที่ทำเนียบรัฐบาล ถึงกรณีที่มีกระแสเรียกร้องจากสังคมให้ผ่อนคลายมาตรการช่วงเทศกาลสงกรานต์เพิ่มเติม ว่า กระทรวงวัฒนธรรมเสนอในที่ประชุม ศบค. ที่ผ่านมาแล้วว่า ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ให้เล่นน้ำสงกรานต์ตามแบบประเพณีวัฒนธรรม ส่วนหน่วยงานใดจะขอยกเว้นกิจกรรมอะไรก็เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดและคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร นำเสนอที่ประชุมศูนย์ปฏิบัติการ ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศปก.ศบค.) หรือ ศบค.ชุดเล็ก เพื่อนำเสนอที่ประชุม ศบค.ชุดใหญ่ ต่อไป

พร้อมกับย้ำว่า ขณะนี้ยังมีเวลาให้พิจารณา ซึ่งในส่วนของกระทรวงสาธารณสุขต้องดูมาตรการที่เสนอมาว่ามีมาตรการอะไรบ้าง

ขณะที่ผู้สื่อข่าวถามว่า เบื้องต้นมีการเสนอให้เล่นน้ำในพื้นที่โซนนิ่ง นพ.โอภาส กล่าวว่า ยังไม่เห็นวิธีการที่จะทำจริงๆ ชัดๆ ว่าจะทำอย่างไร แต่ยังมีเวลา หากมีมาตรการอะไรก็ให้เสนอเข้ามาจะได้ร่วมกันพิจารณา

เมื่อถามเพิ่มเติมว่า จะถือว่ากระทรวงสาธารณสุขปิดตายเรื่องการเล่นน้ำในช่วงเทศกาลสงกรานต์หรือไม่ นพ.โอภาส ระบุว่า ต้องดูว่ามีการเสนอมาตรการอะไรมาก่อน เพราะขณะนี้ยังไม่เห็น เห็นแต่จากข่าว คงต้องขอดูก่อน