รายได้เท่าไหร่ไม่ต้องยื่นภาษี

Skip to content

รายได้เท่าไหร่ไม่ต้องยื่นภาษี

รายได้เท่าไรต้องยื่นภาษี และถ้าไม่ยื่นจะมีปัญหาไหม?

February 08, 2019 12:45 PM

รายได้เท่าไหร่ไม่ต้องยื่นภาษี

แม้ว่าคุณจะไม่เสียภาษี แต่คุณยังต้องยื่นภาษีทำความเข้าใจเรื่องนี้ให้ดี จะได้ไม่มีความผิดย้อนหลัง

ช่วงยื่นภาษีปี 2561 นี้ มักจะมีมีหลายคนถามพรี่หนอมว่า "ไม่เสียภาษีต้องยื่นภาษีไหม" หรือไม่ก็ "ถ้ารายได้ไม่ถึง 150,000 บาท ไม่ต้องยื่นภาษีให้เสียเวลา จริงไหมครับ" วันนี้เลยถือโอกาสเขียนบทความเพื่อเล่าเรื่องนี้พร้อมกับอธิบายที่มาที่ไปให้ชัดเจนครับ 

ถ้าพูดให้ชัดๆ คือ เราต้องแยกเรื่องของการยื่นภาษี กับ การเสียภาษีออกจากกันก่อนครับ นั่นคือ จำนวนเงินที่กฎหมายกำหนดให้ยื่นภาษี ตาม มาตรา 56 แห่งประมวลรัษฏากร จะเป็นดังนี้ครับ 

นั่นคือกรณี สำหรับ "คนโสด" ต้องมีรายได้เงินเดือน (อย่างเดียว) ปีละ 120,000 บาทขึ้นไป หรือรายได้อื่นๆ ปีละ 60,000 บาทขึ้นไป มีหน้าที่ต้องยื่นภาษีแม้ว่าจะไม่เสียภาษีก็ตามครับ

สำหรับ "คนมีคู่" ที่มีรายได้จากเงินเดือน (อย่างเดียว) ปีละ 220,000 บาทขึ้นไป หรือรายได้อื่นๆ ปีละ 120,000 บาทขึ้นไป ก็ต้องมีหน้าที่ยื่นภาษีเช่นเดียวกันครับ โดยเหตุผลสั้นๆ ก็คือ

เพราะจำนวนที่ว่านี้ คือ ยอดที่คำนวณออกมาแล้วมีเงิน ได้สุทธิ = 0 บาท เมื่อไม่มีเงินได้สุทธิ ก็ไม่จำเป็นต้องยื่นภาษี แบบนี้ไงครับผม

ถ้าใครเข้าใจวิธีการคำนวณภาษี ก็จะรู้ดีว่า เงินได้สุทธิ มาจากการคำนวณโดย รายได้ -  ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน เมื่อหักทั้งหมดแล้วออกมาเป็น 0 บาท มันก็แปลว่าไม่มีเงินได้สุทธิ ดังนั้นก็ไม่เสียภาษีนั่นเองครับ

เอ๊ะ!! แต่เราจำได้นี่ว่า ถ้าคำนวณมาแล้ว เงินได้สุทธิ ไม่เกิน 150,000 บาท ก็ไม่ต้องเสียภาษีไม่ใช่เหรอ ทำไมไม่เป็นแบบนั้นล่ะ?

สำหรับยกเว้นเงินได้สุทธิ 150,000 บาทที่ไม่ต้องเสียภาษีนั้น มันเป็นอีกเรื่องที่ กฎหมายยกเว้นภาษีให้ ตามพระราชกฤษฏีกา 470 ซึ่งเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ออกมาเพื่อบรรเทาภาระภาษีที่ต้องจ่าย ต่างหากครับ


ทีนี้... ถ้าไม่ยื่นจะผิดไหม? 

เพราะยังไงก็ไม่เสียภาษีอยู่แล้ว

ถ้าตอบตามหลักของกฎหมายเลย การไม่ยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เมื่อมีรายได้ถึงเกณฑ์ที่กำหมายกำหนด (เกณฑ์ยื่นภาษีที่ว่ามา) ถือว่ามีความผิดทางกฎหมาย โดย ต้องระวางโทษค่าปรับไม่เกิน 2,000 บาท ตามมาตรา 35 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งในทางปฎิบัติสำหรับกรณีที่ไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรมสรรพากรจะมีการลดค่าปรับให้ด้วยความใจดี เหลือเพียง 200 บาทเท่านั้นครับ

เล่าอีกนิดหนึ่งครับว่า โดยปกติถ้าหากมีเงินภาษีต้องชำระ  กรมสรรพากรจะมีการคิดเงินเพิ่ม (ดอกเบี้ย) อีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน (นับเศษของเดือน = 1 เดือน) อีกด้วยครับ แต่เนื่องจากกรณีนี้ไม่มีภาษีทีต้องเสีย ก็เลยจะไม่เสียเงินเพิ่ม เสียแค่ค่าปรับอาญาเฉยๆ

เอาจริงๆ ถึงแม้ว่าค่าปรับที่ว่าอาจจะดูน้อยนิด และก็ไม่น่าจะมีใครคิดมาตามเราจริงๆหรอก แต่ข้อหนึ่งที่พรี่หนอมอยากชวนให้คิด ในกรณีที่เรายื่นภาษีไว้ตั้งแต่วันนี้ วันที่มีรายได้ถึงเกณฑ์ต้องยื่นเสียภาษีตามกฎหมาย แม้ว่าจะไม่เสียก็ตาม แต่ก็ถือว่าเราได้ทำตัวเป็นประโยชน์ต่อประเทศนี้ เพราะช่วยให้รัฐรู้ข้อมูลรายได้ที่ถูกต้องของประชาชนไทย  และเอาไปจัดการวิเคราะห์จัดสรรงบประมาณต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นครับ

สำหรับใครที่ยังยื่นภาษีไม่เป็น หรือเป็นมือใหม่ พรี่หนอมทำคลิปสอนไว้ สามารถดูได้เพิ่มเติมที่นี่เลยครับผม มีทั้งหมด 12 ตอนครับ (และกำลังจะทำเพิ่มอีกให้ครบ 15 ตอน ฮ่าๆ) 


ดังนั้น มายื่นภาษีกันเถอะครับ แม้ว่าเราจะไม่เสียภาษี
เพราะว่ามันเป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคน...

Related Story

ถ้าคุณมีรายได้จากงานประจำเพียงทางเดียว

  • ถ้าเงินเดือนไม่เกิน ฿10,000 = ไม่ต้องยื่นภาษี
  • ถ้าเงินเดือนไม่เกิน ฿26,583.33 = ต้องยื่นภาษี แต่ไม่ต้องเสียภาษี
  • ถ้าเงินเดือนเกิน ฿26,583.33 = ต้องยื่นภาษี และต้องเสียภาษีด้วย
  • ถ้าไม่ได้จ่ายประกันสังคมและเงินเดือนไม่เกิน ฿25,833.33 = ต้องยื่นภาษี แต่ไม่ต้องเสียภาษี
  • ถ้าไม่ได้จ่ายประกันสังคมและเงินเดือนเกิน ฿25,833.33 = ต้องยื่นภาษี และต้องเสียภาษีด้วย

รู้ไว้ไม่เสียหาย โครงสร้างภาษีปี 2563 มีผลกับ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยเฉพาะหน้าที่ของผู้มีรายได้จากงานประจำ (เงินได้ประเภทที่ 1) ในการ “ยื่นภาษี” และ “เสียภาษี” ยังไงบ้าง ทำไมรายได้เท่านี้ถึงไม่ต้องเสียภาษีเราไปดูกัน


โครงสร้างเบื้องต้น

การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จะคำนวณจาก เงินได้สุทธิ ซึ่งมีสูตรคำนวณเบื้องต้นคือ

เงินได้ - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน = เงินได้สุทธิ

ทั้งนี้ หากเงินได้สุทธิไม่เกิน ฿150,000 จะได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา


โครงสร้างภาษี 2563 ตอนนี้เป็นยังไงบ้าง?

ค่าลดหย่อนส่วนตัว

โครงสร้างภาษีตอนนี้ให้สิทธิ์ ค่าลดหย่อนส่วนตัว คนละ ฿60,000


สิทธิหักค่าใช้จ่าย

โครงสร้างภาษีตอนนี้ให้สิทธิหัก ค่าใช้จ่าย ของรายได้จากงานประจำ (เงินได้ประเภทที่ 1) ได้ 50% แต่ไม่เกิน ฿100,000


หน้าที่ยื่นภาษี

สำหรับใครที่มีรายได้จากงานประจำเพียงทางเดียว กฎหมายกำหนดว่า ผู้ที่มีรายได้จากงานประจำตลอดทั้งปี ไม่เกิน ฿120,000 (หรือเฉลี่ยเดือนละไม่เกิน ฿10,000) ไม่มีหน้าที่ต้องยื่นภาษี

หน้าที่ยื่นภาษี คือ หน้าที่ที่ต้องแสดงรายการภาษีว่ามีรายได้ ค่าภาษีและสิทธิลดหย่อนอย่างไรบ้าง ซึ่งโดยปกติผู้ที่ทำงานประจำจะมีหน้าที่ต้องยื่นภาษีประจำปี ปีละ 1 ครั้ง ระหว่างวันที่ 1 ม.ค. – 31 มี.ค. ของทุกปี

ทำไมเงินเดือนไม่เกิน ฿10,000 ไม่ต้องยื่นภาษี?

ที่กฎหมายใหม่กำหนดว่าเงินเดือนไม่เกิน ฿10,000 หรือรวมทั้งปีไม่เกิน ฿120,000 ไม่มีหน้าที่ต้องยื่นภาษีนั้น ไม่ใช่ตัวเลขที่กำหนดขึ้นมาเฉยๆ แต่มีที่มาที่ไปดังนี้

ถ้าเราได้รับเงินเดือนรวมตลอดทั้งปี ฿120,000 (หรือเฉลี่ยเดือนละ ฿10,000) เราจะสามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 50% ของเงินเดือนที่เราได้รับ นั่นคือ ฿60,000 และเมื่อเราเป็นผู้มีเงินได้ กฎหมายจึงมอบค่าลดหย่อนส่วนตัวให้ ฿60,000 อยู่แล้วทุกคน ดังนั้น จึงสรุปเป็นสูตรการคำนวณเงินได้สุทธิได้ว่า

เงินได้ ฿120,000 - ค่าใช้จ่าย ฿60,000 - ค่าลดหย่อน ฿60,000 = เงินได้สุทธิ ฿0

ดังนั้น เมื่อมี เงินได้สุทธิ ฿0 อยู่แล้ว จึงไม่มีค่าภาษีต้องเสียเพิ่มอยู่แล้ว ด้วยเหตุนี้ โครงสร้างภาษีใหม่จึงกำหนดว่าผู้ที่มีรายได้จากงานประจำตลอดทั้งปีไม่เกิน ฿120,000 หรือเฉลี่ยเดือนละไม่เกิน ฿10,000 ไม่มีหน้าที่ต้อง ยื่นภาษี


หน้าที่เสียภาษี

ตอนนี้โครงสร้างภาษีทำให้ผู้ที่มีรายได้จากงานประจำสามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 50% ของเงินเดือนที่ได้รับตลอดทั้งปีแต่ไม่เกิน ฿100,000 และให้ค่าลดหย่อนส่วนตัว ฿60,000 ด้วย แต่ค่าลดหย่อนจาก เงินสะสมกองทุนประกันสังคม ยังคงอยู่ที่เพดานสูงสุด ฿9,000 เท่าเดิม

ดังนั้น หากมีเงินเดือนเฉลี่ยเดือนละ ฿26,583.33 จะคำนวณเงินได้ตลอดทั้งปีได้ ฿319,000 (เงินเดือน ฿26,583.33 x 12 เดือน) โดยเราจะสามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 50% ของเงินเดือนที่เราได้รับ ซึ่งควรจะเป็น ฿159,500 แต่เนื่องจากโครงสร้างภาษีปัจจุบันจำกัดสิทธิหักค่าใช้จ่ายได้ไม่เกิน ฿100,000 จึงทำให้เราสามารถหักค่าใช้จ่ายจากเงินเดือนได้สูงสุดที่ ฿100,000

และเมื่อรวมกับค่าลดหย่อนส่วนตัว ฿60,000 และเงินสะสมกองทุนประกันสังคมที่เราถูกนายจ้างหักไปตอนรับเงินเดือนด้วยอีกเดือนละ ฿750 หรือรวมทั้งปีเป็นเงิน ฿9,000 จึงทำให้เราสามารถสรุปเป็นสูตรการคำนวณเงินได้สุทธิได้ว่า

เงินได้ ฿319,000 - ค่าใช้จ่าย ฿100,000 - ค่าลดหย่อน (฿60,000+฿9,000) = เงินได้สุทธิ ฿150,000
ดังนั้น เมื่อมีเงินได้สุทธิไม่เกิน ฿150,000 แม้จะยังคงมีหน้าที่ต้องยื่นภาษีตามปกติ แต่เราจึงไม่มีภาระภาษีต้องจ่ายแต่อย่างใด


หากคุณเป็นหนึ่งคนที่มีรายได้และต้องยื่นภาษีประจำปี แต่ยังไม่แน่ใจว่า รายได้ประจำปีของคุณต้องเสียภาษีหรือไม่ คุณสามารถคำนวณภาษีกับ iTAX ก่อนได้ หรือหากคุณมีรายได้ถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษี และต้องการตัวช่วยลดหย่อนภาษี สามารถมองหาตัวช่วยดีๆได้ที่ iTAX shop รับรองว่า เราสามารถช่วยให้คุณจ่ายภาษีได้ถูกลงแน่นอน!!


สรุป

ถ้าคุณมีรายได้จากงานประจำเพียงทางเดียว

  • ถ้าเงินเดือนไม่เกิน ฿10,000 = ไม่ต้องยื่นภาษี
  • ถ้าเงินเดือนไม่เกิน ฿26,583.33 = ต้องยื่นภาษี แต่ไม่ต้องเสียภาษี
  • ถ้าเงินเดือนเกิน ฿26,583.33 = ต้องยื่นภาษี และต้องเสียภาษีด้วย