หนังสือ สมเด็จวัดระฆัง PDF

ตำหนิ พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์พระประธาน

100% found this document useful (1 vote)

859 views

39 pages

Description:

พระเครื่อง, เครื่องราง, ของขลัง

Copyright

© © All Rights Reserved

Available Formats

PDF or read online from Scribd

Share this document

Did you find this document useful?

100% found this document useful (1 vote)

859 views39 pages

ตำหนิ พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์พระประธาน

Jump to Page

You are on page 1of 39

You're Reading a Free Preview
Pages 7 to 16 are not shown in this preview.

You're Reading a Free Preview
Pages 20 to 36 are not shown in this preview.

Reward Your Curiosity

Everything you want to read.

Anytime. Anywhere. Any device.

No Commitment. Cancel anytime.

หนังสือ สมเด็จวัดระฆัง PDF

หนังสือ สมเด็จวัดระฆัง PDF

ต๋อง ปฤษฎี Download

  • Publications : 0
  • Followers : 0

[Sample] หนังสือทำเนียบพระสมเด็จวัดระฆัง เล่ม 2

Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!

Create your own flipbook

  • Follow

  • Upload

  • 0

  • Embed

  • Share

Download สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พรหมรังสี) วัดระฆังโฆสิตาราม พระอมตเถระ แห่งยุค...

สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พรหมรังสี) วัดระฆังโฆสิตาราม พระอมตเถระ แห่งยุครัตนโกสินทร์ ผู้สร้างพระเครื่อง “พระสมเด็จฯ” อันศักดิ์สิทธิ์และเยี่ยมยอดที่สุด ในบรรดา พระเครื่องทั้งหลายของประเทศไทย เจ้าพระคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ วัดระฆังโฆสิตาราม จังหวัดธนบุรี นามเดิมว่า "โต" (กล่าวกันว่าเมื่อเป็นเด็ก รูปร่างท่านแบบบาง ผู้ใหญ่จึงตั้งชื่อให้ตรงกันข้าม (ข่มนาม) ว่า "โต" ) นามฉายาว่า "พฺรหมรังสี" เกิดในรัชกาลที่ ๑ (สร้างกรุงรัตนโกสินทร์ได้แล้ว๗ ปี) ณ บ้าน ตาบลไก่จ้น (ท่าหลวง) อาเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน ๕ ขึ้น ๑๒ ค่า ปีวอก จุลศักราช ๑๑๕๐ เวลาพระ บิณฑบาต ตรงกับวันที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ. ๒๓๓๑

มีผู้รู้ตาราโหราศาสตร์ได้ผูกดวงชาตาของท่านไว้ดังนี้ (ในหนังสือ "ประวัติขรัวโต" ของพระยาทิพโกษา) ดวงชะตาของเจ้าพระคุณ สมเด็จฯ นั้น สมเด็จพระมหาสมณะเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ (ผู้สร้างพระกริ่งปวเรศน์ผู้เขียน) ทรงคานวณถวายสมเด็จพระพุทธเจ้า หลวง ด้วยมีพระประสงค์จะทรงทราบว่า ผู้มีอายุตั้งแต่ ๘๐ ปีขึ้นไปจะมีดวงชะตาเป็นอย่างไร แล้วพระราชทานไปยัง สมเด็จกรมพระยา เทววงศ์วโรปการ ซึ่งได้ประทานให้แก่พระยาทิพโกษา ลอกคัดเก็บรักษาไว้อีกต่อหนึ่ง ดวงชะตาของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ที่ว่านี้ลัคนาสถิตราศี ใดหาทราบไม่ แต่ได้ค้นพบในที่อื่นอยู่ในหอพระสมุดแห่งชาติ ปรากฏว่าโหรวางลัคนาไว้ในราศีเมษ แต่พบในที่อื่นอยู่ในราศรีพฤษภ. (มหาเฮง วัดกัลยาณ์)

สาหรับดวงที่ท่านเห็นอยู่นี้ ผูกขึ้นจากข้อมูลการเกิดข้างต้น เพียงแต่ลงตาแหน่งดาวเพิ่มขึ้นจากเดิม ๓ ดวง คือ เนปจูน (น) พลูโต (พ) และแบคคัส (บ) โดยได้วางลัคนาไว้ที่ราศีพฤษภ เนื่องจากช่วงเวลาที่พระบิณฑบาต กว่าจะออกจากวัดตอนหกโมงเช้า พายเรือมากว่าจะ ถึงบ้านโยม ก็คงใช้เวลาอย่างน้อยเป็นชั่วโมง เพราะต้องรับบาตรเรื่อยมา เวลาที่ลงไว้ เมื่อวางลัคนา และเทียบกับอัตชีวประวัติ ตลอดจน อุปนิสัยของท่านแล้ว เชื่อว่า ถูกต้อง ตรงกับความเป็นจริง มากกว่าที่จะอยู่ในราศีเมษ (อ.เล็ก พลูโต )

วงศ์สกุลของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ กล่าวกันว่า เจ้าพระคุณสมเด็จฯ เป็นพระราชโอรส ในพระองค์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า นภาลัย และตลอดจนชั้นสามัญชนทั่วไป ก็เข้าใจกันว่าเป็นเช่นนั้น แต่เรื่องนี้ไม่เป็นที่กระจ่างแจ้งจึงไม่ขอยืนยัน มารดาชื่อเกสร (ธิ ดานายชัย) เดิมเป็นชาวบ้านตาบลท่าอิฐ อาเภอท่าโพธิ์ ต่อมาในสมัยหนึ่งการทานาไม่ได้ผลเพระฝนแล้งมาหลายปี จึงย้ายภูมิลาเนาไปอยู่ ณ บ้านไก่จ้น (ท่าหลวง) อาเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แต่อย่างน้อยที่สุดท่านต้องเป็นเชื้อพระวงศ์ในราชวงศ์จักรี (ความปรากฏในจดหมายเหตุ บัญีน้าฝน ของสมเด็จพระมหาสมณะเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ เล่ม ๓ หน้า ๔๔ ว่า "...วันเสาร์ แรม ๒ ค่า เดือน ๘ (ต้น) ปีวอก จุล. ๑๒๓๔ เวลา ๒ ยาม สมเด็จพระพุฒาจารย์ถึง "ชีพิตักษัย....." ดังนี้ส่อให้เห็นว่าท่าน ต้องเป็นเชื้อพระราชวงศ์) กล่าวกันว่าเมื่อท่านเกิดแล้ว ขณะที่ท่านยังเป็นทารกนอนเบาะ มารดาพาท่านไปพักอยู่ที่บ้านตาบลไชโย จังหวัด อ่างทอง พอท่านสอนเดินได้ มารดาก็พาท่านมาอยู่ ณ บ้านตาบลบางขุนพรหม จังหวัดพระนคร สืบมา (ในกาลหลังท่านจึงได้สร้าง พระพุทธรูปใหญ่ไว้ ณ ตาบลทั้งสามเป็นอนุสรณ์) เมื่อเยาว์วัย ท่านได้รับการศึกษาอักขรสมัยในสานัก เจ้าคุณอรัญญิก (เจ้าคุณอรัญญิกเป็นชาวเวียงจันทน์ เป็นผู้มีความรู้เชี่ยวชาญใน วิปัสสนาธุระ มีคนนับถือมาก นามเดิมของท่านเข้าใจว่าชื่อแก้ว) วัดอินทรวิหาร (วัดนี้เป็นวัดโบราณ ใครสร้างไม่ปรากฏที่กล่าวในหนังสื อ เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ว่า เจ้าพระคุณสมเด็จฯ เป็นผู้สร้างนั้น เห็นจะหมายความว่า ท่านได้ปฏิสังขรณ์เป็นครั้งแรก เดิมเรียกว่า "วัดบางขุนพรหมนอก" ต่อมาพระองค์เจ้าอินทวงศ์ในกรมพระราชวังบวรฯรัชกาลที่ ๓ ทรงปฏิสังขรณ์ แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น วัดอินทาราม ภายหลัง (ในรัชกาลที่ ๖) ทางการคณะสงฆ์ พิจารณาเห็นว่านามพ้องกับวัดอินทาราม (วัดบางยี่เรือใต้) คลองบางกอกใหญ่ จังหวัดธนบุรี จึงเปลี่ยนนามใหม่ว่า "วัดอินทรวรวิหาร" ปรากฏสืบมาจนทุกวันนี้

ครั้นอายุ ๑๒ ปี ในปีวอก พ.ศ. ๒๓๔๓ ได้บรรพชาเป็นสามเณร (จะบรรพชาที่วัดสังเวชฯ หรือ วัดอินทรวิหารไม่ทราบแน่ แต่ สันนิษฐานว่าจะบรรพชาที่วัดอินทรวิหาร ด้วยเป็นสานักที่ท่านเคยอยู่และศึกษาอักขรสมัยมาแต่แรก) เจ้าคุณบวรวิริยเถร (อยู่) เจ้าอาวาสวัด สังเวชวิศยาราม (เวลานั้นเรียกว่าวัดบางลาพูบน) จังหวัดพระนคร เป็นอุปัชฌาย์ ต่อมาจะเป็นปีใดไม่ปรากฏ ได้ย้ายสานักมาอยู่วัดระฆังฯ เพื่อศึกษาพระปริยัติธรรมต่อไป ในตอนที่เจ้าพระคุณสมเด็จฯ จะย้ายมาอยู่วัดระฆังฯ นั้นมีเรื่องเล่าว่า คืนวันหนึ่งพระอาจารย์ (เห็นจะเป็นสมเด็จพระพุทธโฆษา จารย์ (นาค) เปรียญเอก) นอนหลับฝันไปว่ามีช้างเผือกเชือกหนึ่งเข้ามากินหนังสือพระไตรปิฎกในตู้ของท่านจนหมดสิ้น แล้วตกใจตื่น ท่านได้ พิจารณาลักษณะการที่ฝันเห็นว่า "ชะรอยจะมีคนนาเด็กมาฝากเป็นศิษย์ และเด็กนั้นต้องกอปรไปด้วยสติปัญญาอันสูงส่ง ต่อไปจะเป็นผู้ทรง คุณเป็นอย่างวิเศษผู้หนึ่ง" ครั้นรุ่งเช้าท่านจึงสั่งพระและเณรว่า วันนี้ถ้ามีใครนาเด็กมาขอให้รอยพบท่านให้จนได้ เผอิญในวันนั้น เจ้าคุณ อรัญญิกได้พาสามเณรโตมาถวายเป็นศิษย์ศึกษาพระปริยัติธรรม พระอาจารย์นั้นก็ยินดีรับไว้ ด้วยพิเคราะห์เห็นพฤติการณ์เป็นจริงตามความ ฝัน เรื่องประวัติของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ อันเนื่องด้วยการศึกษาพระปริยัติธรรมนั้น ได้ฟังผู้หลักผู้ใหญ่เล่ากันมาว่า ท่านได้เล่าเรียนใน สานักสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (นาค) เปรียญเอก วัดระฆัง เป็นพื้น และได้เล่าเรียนต่อสมเด็จพระสังฆราช (สุก) วัดมหาธาตุบ้าง นอกจากนี้ จะได้เล่าเรียน ที่ใดอีกบ้าง หาทราบไม่ เล่าว่าเมื่อเป็นนักเรียนท่านมักได้รับคาชมเชยจากครูบาอาจารย์เสมอว่ามีความทรงจาดี ทั้งมีป ฏิภาณ อัดยอดเยี่ยม ดังมีเรื่องเล่าขานกัว่าเมื่อท่านเรียนพระปริยัติธรรมในสานักสมเด็จพระสังฆราชนั้น ก่อนจะเรียนท่านกาหนดว่า วันนี้ท่านจะ เรียนตั้งแต่นี่ถึงนั่น ครั้นถึงเวลาเรียนท่านก็เปิดหนังสือออกแปลตลอด ตามที่กาหนดไว้ท่านทาดังนี้เสมอ จนสมเด็จพระสังฆราชรับสั่งว่ า "ขรัว โตเขามาแปลหนังสือให้ฟัง เขาไม่ได้มาเรียนหนังสือกับฉันดอก"

ยังมีข้อน่าประหลาดอีกอย่างหนึ่ง ที่ท่านเรียนรู้ปริยัติธรรมแต่ไม่เข้าแปลหนังสือเป็นเปรียญ (ในสมัยก่อนนั้น การสอบพระปริยัติ ธรรมไม่ได้ออกเป็นข้อสอบเหมือนทุกวันนี้ การสอบในครั้งนั้นต้องสอบพระปริยัติธรรมต่อพระพักตร์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จ พระสังฆราช (สุก) ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เป็นการสอบด้วยปากเปล่า สุดแต่ผู้เป็นประธานกรรมการ และกรรมการจะสอบถามอย่างใด ต้องตอบให้ได้ ถ้าตอบไม่ได้ก็หมายความว่าตกเพียงแค่นั้น) และแปลกยิ่งกว่านั้นก็คือ มีผู้เรียกท่านว่ามหาโตมาตั้งแต่แรกบวช ( ปรากฏใน บัญชีรายนามพระสงฆ์พระราชทานฉันและสดัปกรณ์ราย ๑๐๐ ในงานพระราชพิธีวิสาขบูชา รัชกาลที่ ๓ วันแรม ๒ ค่า เดือน ๖ แต่ไม่ลงปี มี นามเจ้าพระคุณสมเด็จฯ เขียนว่า "มหาโต เปรียญเอก บางแห่งว่า มหาโต เปรียญ ๔ ประโยคแรก) แต่บางคนเรียกว่า "ขรัวโต" ทั้งนี้เพราะเห็นว่าท่านมักชอบทาอะไรแปลกๆ ไม่ซ้าแบบใคร นี้เป็นเรื่องธรรมดาของอัจฉริยบุคคล ซึ่งตามปรกติคนส่วนมาก ไม่ค่อย เข้าใจในอัจฉริยภาพอันมีความหมายสูง อัจฉริยบุคคลแทบทุกท่านเมื่อยังมีชีวิตอยู่ มักจะมีผู้เข้าใจว่าบ้าเสมอ มีมติอยู่ข้อหนึ่งว่า " อัจฉริย บุคคลและคนบ้านั้นอยู่ห่างกันเพียงก้าวเดียว" ว่าถึงความรอบรู้พระปริยัติธรรม ปรากฏว่าท่านเจ้าพระคุณสมเด็จฯ เป็นผู้แตกฉานในพระ

ไตรปิฏก มีชื่อทั้งเป็นผู้เรียนก็เรียนเก่งกว่าใคร เป็นครูก็สอนได้ดีเยี่ยม มีลูกศิษย์ลูกหามากมาย ศิษย์ที่เป็นเปรียญเอกและทรงสมณศักดิ์สูงคือ หม่อมเจ้าพระสมเด็จพระพุฒาจารย์ (ทัด) วัดพระเชตุพน เจ้าพระคุณสมเด็จฯ สิ้นชีพิตักษัย ณ หอสวดมนต์วัดระฆังโฆสิตาราม จังหวัดธนบุรี เมือเวลา ๒ ยาม (๒๔.๐๐น.) วันเสาร์แรม ๒ ค่า เดือน ๘ (ต้น) ปีวอก จุลศักราช ๑๒๓๔ ตรงกับวันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๑๕ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ คานวณอายุได้ ๘๕ ปี ครองพรรษาได้ ๖๕ พรรษา.

พระเครื่อง “พระสมเด็จฯ” พระสมเด็จฯ สร้างโดยพระคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ผู้เป็น “อมตะ” ของประเทศไทย ทรงได้รับการถวายพระ เกียรติจากวงการนักนิยมพระเครื่องนามว่า “จักรพรรดิแห่งพระเครื่อง” ที่มีอายุยืนยาวนานกว่าหนึ่งศตวรรษ จัดเป็นโบราณวัตถุที่มีค่า มหาศาลชิ้นหนึ่งที่สูงด้วยค่านิยม และเลิศด้วยพุทธานุภาพอันสูงส่งในด้านกฤตยาคมและอนุภาพ มีพุทธาคมวิเศษทางด้านแคล้วคลาด และ เมตตามหานิยม เป็นเลิศ สมเป็นยอดพระเครื่องอันดับหนึ่งของไทย อีกทั้งยังเป็นยอดสุดปรารถนาของนักสะสมพระเครื่องทั่วๆ ไป ซึ่งเป็นที่ ทราบกันว่า มวลสารวัสดุที่ท่านเจ้าพระคุณสมเด็จฯ นามาผสมผสานเป็นเนื้อพระนั้น ได้แก่ ผงดินสอผอง ผงที่เกิดจากการเขียนอักขระเลข ยันต์ หัวใจพระคาถาในกระดานชนวนแล้วลบเอาผง ได้ผงวิเศษคุณ 5 ประการ คือ ผงปถมัง ผงอิทธิเจ ผงตรีนิสิงเห ผงมหาราช และผง พุทธคุณ แล้วยังประกอบด้วยผงปูนขาว ได้จากเปลือกหอยนานาชนิดมาโขลกผสมเกสรดอกบัว เนื้อและเปลือกกล้วยหอมจันทร์ กล้วยน้าว้า น้ามันตั้งอิ๊ว ขี้ธูปในพระอุโบสถ ขี้ไคลใบเสมา น้าอ้อย เศษอาหารที่ท่านเจ้าพระคุณฯ ฉัน เศษชานหมาก ผงใบลานเผา ข้าวสุกก้นบาตร แร่ หินทราย ว่านต่างๆ และน้ามันจันทน์ ที่ท่านเจ้าพระคุณสมเด็จฯ เก็บเอาไว้แล้วประจุพระพุทธานุภาพด้วยยอดพระคาถาวิเศษ “ชินบัญชร คาถา” ซึ่งท่านเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้รจนาชึ้นไปด้วยสานวนโวหารอันไพจิตร สาหรับใช้ในการบริกรรมประจุพระพุทธานุภาพ พระปฎิมา กรรม ขนาดเล็ก ซึ่งเรียกว่า “พระเครื่อง” หรือ “พระสมเด็จฯ” การสร้างพระของท่านเจ้าพรพะคุณสมเด็จฯ เล่ากันว่า ผู้แกะแม่พิมพ์ถวายคือ “หลวงวิจารณ์ เจียรนัน” ช่างทองหลวงในราชสานัก ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 4 และสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) ได้สร้างพระพิมพ์สมเด็จไว้หลายพิมพ์ ท่านผู้ทรงคุณาวุฒิได้กล่าวไว้ว่า ท่านสร้างประมาณ 73 พิมพ์ ที่นิยมในปัจจุบันมีอยู่ไม่กี่พิมพ์ พระปรมาจารย์ของท่าน คือ สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (สุก ญาณสังวร) ทรง เป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (ชาวบ้านทั่วไปมักเรียกพระองค์ว่า "สังฆราชไก่เถื่อน" เพราะร่าลือกันว่า ทรง ช่าชองวิปัสสนาธุระถึงขนาดทาให้ไก่เถื่อนเชื่องด้วยอานาจพรหมวิหารได้) ซึ่งสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ได้ยึดแบบพิมพ์พระเครื่องของสมเด็จ พระสังฆราช (สุก ญาณสังวร) ได้แก่ “สมเด็จอรหัง” เป็นแบบอย่าง ซึ่งนับว่าเป็นต้นสกุลของพระสมเด็จ ฯ ที่มีชื่อเสียง เกียรติคุณโด่งดัง ตราบเท่าทุกวันนี้

พุทธลักษณะของพระสมเด็จฯ เป็นพระพุทธปฎิมาประทับนั่ง ปางสมาธิ การซ้อนพระชงฆ์ (แข้ง) มีทั้งแบบราบและแบบขัดเพชร ห่ม จีวร ปราศจากเครื่องทรง ประทับนั่งเหนือพระอาสนะ ฐานสิงห์ 3 ชั้น ภายใต้ประภามณฑล ลักษณะเป็นเส้นหวายผ่าซีก ผนังกรอบทรง สี่เหลี่ยมผืนผ้า จาแนกพุทธลักษณะตามวัด 3 วัดที่สร้าง คือ วัดระฆังโฆสิตาราม วัดบางขุนพรหม และ วัดเกศไชโย ดังนี้

พระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม จาแนกตามความนิยม ได้ 4 พิมพ์ 1. พิมพ์พระประธานหรือพิมพ์ใหญ่ จากการพิจารณาพิมพ์ใหญ่ วงการพระเครื่องแบ่งแยกคร่าวๆ เป็น 4 แม่พิมพ์ (ความเป็นจริงเกิน 10 พิมพ์) คือ พิมพ์ใหญ่เกศทะลุซุ้ม พิมพ์ใหญ่มีเส้นแซม พิมพ์ใหญ่เอวผาย พิมพ์ใหญ่อกกระบอก

2. พิมพ์เจดีย์สามารถแบ่งได้คร่าวๆ เป็น 3 แม่พิมพ์ ได้แก่ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง และ พิมพ์เล็ก ซึ่งความเป็นจริงแบ่งอย่างละเอียด น่าจะถึง 10 พิมพ์

3. พิมพ์ฐานแซม แยกย่อยได้ 2 แม่พิมพ์ คือ พิมพ์อกร่อง และ พิมพ์อกตัน ซึ่งความเป็นจริงน่าจะมีพิมพ์ย่อยเกิน 10 พิมพ์

4. พิมพ์เกศบัวตูม แยกได้ 3 แม่พิมพ์ คือ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง และ พิมพ์เล็ก

พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม สาหรับพระสมเด็จวัดบางขุนพรหมนั้นเสมือนตราด้วง ธนโกเศศ ท่านได้อาราธนาเรียนเชิญเจ้าประคุณสมเด็จโตเป็นองค์ประธานใน การสร้างพระสมเด็จวัดบางขุนพรหมด้วยการสร้างพิมพ์เพิ่มเติมจากวัดระฆังอีก 6 แม่พิมพ์ ได้แก่ พิมพ์เส้นด้าย พิมพ์สังฆาฏิ พิมพ์ฐานคู่ พิมพ์ อกครุฑ พิมพ์ปรกโพธิ์ และ พิมพ์ไสยาสน์

พิมพ์ใหญ่

พิมพ์เจดีย์

พิมพ์เส้นด้าย

พิมพ์เกศบัวตูม

พิมพ์ฐานแซม

พิมพ์ฐานคู่

พิมพ์อกครุฑ

พิมพ์ปรกโพธิ์

พิมพ์สังฆฎิ แต่ละพิมพ์ที่กล่าวมานี้ มีแม่พิมพ์ที่แยกย่อยอีกหลายพิมพ์ เช่น สมเด็จพิมพ์เส้นด้าย จะมีพิมพ์เส้นด้ายใหญ่ เส้นด้ายแขน กลม เส้นด้ายแขนหักศอก เป็นต้น อย่างไรก็ตามในการสร้างพระสมเด็จวัดบางขุนพรหมเป็นแบบเร่งร้อน มวลสารผงวิเศษจึงมีน้อย หนักไป ทางปูนเปลือกหอยเปลือกปู และในความเป็นจริงได้มีการแกะแม่พิมพ์ 4 แม่พิมพ์แบบวัดระฆังให้เป็นแม่พิมพ์ใหม่เพื่อเป็นเอกลักษณ์ของวัด

บางขุนพรหมด้วย ทั้งนี้และทั้งนั้นเพื่อจะทาให้ทันกาหนดเวลาบรรจุกรุ ที่น่าสนใจอย่างยิ่ง ขณะที่บรรจุกรุ พระสมเด็จวัดระฆังที่อยู่วัดระฆัง บางส่วนก็ได้นามาร่วมบรรจุกรุด้วย การพิจารณาจึงต้องละเอียดแยกให้ได้ว่า องค์ไหน คือ พระสมเด็จวัดระฆังฝากกรุ กับ สมเด็จวัดบางขุน พรหมยืมพิมพ์วัดระฆัง พระสมเด็จวัดเกศไชโย พระสมเด็จวัดเกศไชโยมีประวัติการสร้างอย่างยาวนาน มีทั้งนาไปแจก และ บางส่วนบรรจุกรุ พิมพ์ทรงมีจานวนมากมายหลายพิมพ์ แต่ในการประกวดพระสมเด็จวัดเกศไชโยจะกาหนดไว้เพียง 3 พิมพ์ ได้แก่ พิมพ์ 7 ชั้น นิยม พิมพ์ 6 ชั้น อกตัน และพิมพ์ 6 ชั้น อกตลอด

-----------------------------------------------------------------------------แหล่งที่มาข้อมูล http://www.watrakang.com/biography.php4