คุณค่าด้านสังคม ขุนช้าง ขุนแผน ตอนขุนช้างถวายฎีกา

เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนขุนช้างถวายฎีกา

          เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนขุนช้างถวายฎีกา ตอนนี้ไม่ปรากฏผู้แต่งแน่ชัด  แต่งด้วยคำประพันธ์ประเภทกลอนสุภาพ  ใช้ในการเล่าเรื่องราวเพื่อขับเสภา   เรื่องนี้สะท้อนภาพสังคมและวัฒนธรรมไทยสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์ตอนต้น และยังให้ข้อคิดที่มีคุณค่า เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง

          ในการศึกษาสภาพสังคมและวัฒนธรรมในวรรณคดีเรื่องนี้มีความสำคัญตรงที่จะช่วยให้นักเรียนได้ตระหนักถึงคุณค่าของวรรณคดีมากยิ่งขึ้น  วรรณคดีไม่เพียงแต่มีคุณค่าด้านวรรณศิลป์ แต่ยังมีคุณค่าด้านสังคมและวัฒนธรรม  นอกจากนี้นักเรียนยังได้รับความรู้เกี่ยวกับสภาพสังคมวัฒนธรรมในสมัยอดีตอีกด้วย  ซึ่งรายละเอียดบางอย่างอาจไม่มีบันทึกไว้ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างชัดเจน     แต่ผู้ประพันธ์ก็ได้สะท้อนและบันทึกไว้ในวรรณคดีอีกทางหนึ่ง

          ในการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อคิดจากวรรณคดีเรื่องนี้นักเรียนสามารถศึกษาได้จากการพิจารณาพฤติกรรมและบทบาทของตัวละครว่าให้ข้อคิดหรือให้คติสอนใจในด้านใดหรือเรื่องไหนแก่นักเรียน (ซึ่งเป็นผู้อ่าน)  ตัวละครนั้นเป็นแบบอย่างหรือให้อุทาหรณ์เรื่องใดแก่นักเรียน  ซึ่งนักเรียนสามารถศึกษาได้จากการวิเคราะห์สาระสำคัญของเรื่องว่า กวีต้องการสื่อความคิดหรือคติสำคัญข้อใดแก่ผู้อ่านไปด้วย

          ภาระงานนักเรียนระดับชั้น ม.๖  ที่เรียนภาษาไทยกับครูปิยะฤกษ์  :   ให้นักเรียนสรุปคุณค่าและข้อคิดจากเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนขุนช้างถวายฎีกา  โดยอภิปรายผลที่ตนเองได้รับจากการศึกษาเรียนรู้มาพอสังเขป  (แสดงความคิดเห็นที่เรื่องนี้ได้เลยครับ)

เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนขุนช้างถวายฎีกา

          เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนขุนช้างถวายฎีกา ตอนนี้ไม่ปรากฏผู้แต่งแน่ชัด  แต่งด้วยคำประพันธ์ประเภทกลอนสุภาพ  ใช้ในการเล่าเรื่องราวเพื่อขับเสภา   เรื่องนี้สะท้อนภาพสังคมและวัฒนธรรมไทยสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์ตอนต้น และยังให้ข้อคิดที่มีคุณค่า เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง

          ในการศึกษาสภาพสังคมและวัฒนธรรมในวรรณคดีเรื่องนี้มีความสำคัญตรงที่จะช่วยให้นักเรียนได้ตระหนักถึงคุณค่าของวรรณคดีมากยิ่งขึ้น  วรรณคดีไม่เพียงแต่มีคุณค่าด้านวรรณศิลป์ แต่ยังมีคุณค่าด้านสังคมและวัฒนธรรม  นอกจากนี้นักเรียนยังได้รับความรู้เกี่ยวกับสภาพสังคมวัฒนธรรมในสมัยอดีตอีกด้วย  ซึ่งรายละเอียดบางอย่างอาจไม่มีบันทึกไว้ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างชัดเจน     แต่ผู้ประพันธ์ก็ได้สะท้อนและบันทึกไว้ในวรรณคดีอีกทางหนึ่ง

          ในการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อคิดจากวรรณคดีเรื่องนี้นักเรียนสามารถศึกษาได้จากการพิจารณาพฤติกรรมและบทบาทของตัวละครว่าให้ข้อคิดหรือให้คติสอนใจในด้านใดหรือเรื่องไหนแก่นักเรียน (ซึ่งเป็นผู้อ่าน)  ตัวละครนั้นเป็นแบบอย่างหรือให้อุทาหรณ์เรื่องใดแก่นักเรียน  ซึ่งนักเรียนสามารถศึกษาได้จากการวิเคราะห์สาระสำคัญของเรื่องว่า กวีต้องการสื่อความคิดหรือคติสำคัญข้อใดแก่ผู้อ่านไปด้วย

          ภาระงานนักเรียนระดับชั้น ม.๖  ที่เรียนภาษาไทยกับครูปิยะฤกษ์  :   ให้นักเรียนสรุปคุณค่าและข้อคิดจากเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนขุนช้างถวายฎีกา  โดยอภิปรายผลที่ตนเองได้รับจากการศึกษาเรียนรู้มาพอสังเขป  (แสดงความคิดเห็นที่เรื่องนี้ได้เลยครับ)

ผู้แต่ง

  • กรนิษฐ์ ชายป่า มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา
  • พิงพร ศรีแก้ว มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา
  • ศิวพร จติกุล มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา

คำสำคัญ:

ขุนช้างขุนแผน, คุณค่าวรรณคดี, วรรณคดีไทย

บทคัดย่อ

         บทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสื่อสารข้อเท็จจริง วิเคราะห์คุณค่าและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ซึ่งเป็นวรรณคดีที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ทั้งนี้ เพื่อให้สังคมได้รับคุณค่าและคุณประโยชน์ต่อไป การศึกษานี้เป็นการนำเนื้อหาข้อมูลจริงมาสำรวจและวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ

          ผลการศึกษา พบว่า เสภาขุนช้างขุนแผนมีคุณค่าซึ่งจำแนกได้ ดังนี้ 1. ทางด้านวรรณศิลป์ ได้แก่ การใช้ภาษาคำเจรจา การใช้ภาษาที่ทำให้เกิดภาพพจน์ การใช้คำให้เกิดจินตภาพ การใช้ภาษาที่รวบรัดของกวี 2. คุณค่าทางด้านวัฒนธรรม จำแนกได้ดังนี้ 2.1 ขนบธรรมเนียมประเพณีและพิธีกรรม ได้แก่ การเกิด การโกนจุก การบวชเรียน การแต่งงาน การทำศพ ประเพณีการทำบุญในวันสงกรานต์ ประเพณีการฟังเทศน์มหาชาติ ความเชื่อในเรื่องไสยศาสตร์ ความเชื่อในเรื่องความฝัน 2.2 ความเป็นอยู่ค่านิยม จำแนกเป็นลักษณะบ้านเรือน ลักษณะครอบครัว การต้อนรับ หลักความสามัคคี คุณค่าที่กล่าวมาเป็นหน้าที่ของทุกคนที่ต้องรักษาวรรณคดีให้ทรงคุณค่า ควรแก่การอนุรักษ์ไว้ในฐานะเป็นตำราไทยคดีศึกษา เพราะประกอบด้วยความรู้ในทางอักษรศาสตร์ ประวัติศาสตร์และสังคมศาสตร์ ทั้งยังคงความเป็นเอกลักษณ์และวัฒนธรรมคู่กับชาติตลอดไป ส่วนองค์ความรู้ใหม่มี ดังนี้ ประการแรก การเป็นศาสตร์และศิลป์ของบรรพชน ประการที่สอง การบูรณาการความเชื่อด้านศาสนาและวัฒนธรรมอย่างลงตัว และประการที่สาม ความร่วมสมัยของเนื้อหา

Downloads

Download data is not yet available.

References

กุสุมา รักษ์มณี. (2531). ลักษณะเฉพาะของวรรณคดีสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว 200 ปี พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

บรรเทา กิตติศักดิ์ และกัมพุชนาฎ เปรมกลม. (2524). วรรณคดีมรดก. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.

มิ่งขวัญ ทองพรหมราช. (2546). ขุนช้างขุนแผน ตอนพลายแก้วบวชเณร. กรุงเทพมหานคร: ทองพูลการพิมพ์จำกัด.

รื่นฤทัย สัจจพันธุ์. (2545). มิใช่เป็นเพียง “นางเอก”. กรุงเทพมหานคร: ประพันธ์ สาส์น.

สายสมร ยุวนิมิ. (2539). คุณค่าของเสภาขุนช้างขุนแผน. สารสถาบันภาษาไทย. 3 (1), 97-103.

สำนักหอสมุดแห่งชาติ. (ม.ป.ป.). เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ. สืบค้นเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2562, จาก https://vajirayana.org/ขุนช้างขุนแผน-ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ

เอกรัตน์ อุดมพร. (2544). วรรณคดีสมัยกรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพมหานคร: พัฒนาการศึกษา.

คุณค่าด้านสังคม ขุนช้าง ขุนแผน ตอนขุนช้างถวายฎีกา

How to Cite