คุณค่า ของ ไตรภูมิ พระร่วง ตอน มนุ ส ส ภูมิ

คุณค่าจากไตรภูมิพระร่วง

            ไตรภูมิพระร่วงเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับจักรวาลวิทยา ซึ่งประกอบไปด้วยภูมิทั้ง ๓ คือกามภูมิ รูปภูมิ และอรูปภูมิ โดยกล่าวถึงสัตว์โลกในภูมิต่าง ๆ การอุบัติ การดำรงอยู่ และการเสื่อมสลาย การดับสูญของโลกและสัตว์โลก ซึ่งเป็นสภาวะที่เป็นไปตามกฎไตรลักษณ์ที่ไม่มีสิ่งใดเที่ยงแท้แน่นอน นอกจากพระนิพพาน ซึ่งให้คุณค่าในด้านต่างๆคือ

คุณค่าด้านศาสนา

ทำให้ผู้อ่านเข้าใจหลักธรรมของพุทธศาสนาได้ ๓ คือ เรื่องไตรวัฏฏ์  ไตรลักษณ์  ไตรสิกขา และหลักธรรมของพระมหากษัตริย์

๑.หลักธรรมเรื่องไตรวัฎฎ์ หรือวัฎฎะ ๓ คือ กิเลส กรรม และวิบาก หมายถึงกฎแห่งกรรมหรือการเวียนว่ายตายเกิด

กิเลส คือ ความชั่วต่าง ๆที่มีอยู่ในใจ ทั้งรัก โลภ โกรธ หลง ความเศร้าหมอง

กรรม  คือ การกระทำที่เนื่องมาจากกิเลสข้างต้น

วิบาก คือ ผลแห่งกรรม  ทำชั่วทำผิดผลก็คือความเดือดร้อน ทำดีผลก็ คือความสุขกาย สุขใจ เมื่อตายไปก็จะไปเกิดในภพภูมิที่ต่างกันตามวิบากของกรรม

แก่นของเรื่องไตรภูมิคือการเวียนว่ายตายเกิดในภพทั้งสามที่มนุษย์เลือกไม่ได้มนุษย์จะมีความทุกข์ความสุขไปตามกฎแห่งกรรมที่ทำไว้

๒.หลักธรรมเรื่องไตรลักษณ์ ไตรลักษณ์คือกฎของธรรมชาติ หรือกฎแห่งการเปลี่ยนแปลง สิ่งที่ปรากฏในภูมิทั้งสามมี ๓ ลักษณะเหมือนกันหมดคือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

อนิจจัง คือความไม่เที่ยง ไม่แน่นอน

ทุกขัง คือความเป็นเป็นทุกข์คงทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้

อนัตตา คือ ความไม่มีตัวตน เป็นสภาพหาเจ้าของมิได้

อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา สามประการนี้ล้วนเป็นเหตุผลแก่กัน เกิดขึ้นสืบเนื่องกันไป

๓.หลักธรรมเรื่องไตรสิกขา คือข้อปฏิบัติเพื่อให้ดำเนินชีวิตไปในทางที่ดีงาม ถูกต้องมี ๓ ประการ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา

ศีล คือ ความประพฤติทางกาย วาจา ใจ ควรฝึกตนให้เป็นคนมีความสงบระงับทั้งทางกาย วาจา จึงเป็นกายสุจริต วจีสุจริต

สมาธิ คือ ความตั้งมั่นของใจที่อบรมดีแล้ว การมีจิตแจ่มใสปลอดโปร่ง ทำให้คิดหาความจริงได้สะดวก สมาธิจึงเป็นมโนสุจริต

ปัญญา คือความเข้าใจในหลักความจริงทั้ง ๔ คือ อริยสัจสี่ ต้องฝึกตนให้เข้าใจในเหตุผลของความทุกข์และความสุข เข้าใจในการเว้นจากทุจริต ประพฤติแต่สุจริตทั้งกาย วาจา ใจ จึงเป็นปัญญา

ไตรภูมิพระร่วงได้แสดงผลของศีล สมาธิ ปัญญา ให้เป็นรูปธรรมชัดเจน คือ ผลของผู้ไม่มีศีลคืออบายภูมิ ผลของผู้มีศีลคือ มนุสสภูมิและสวรรคภูมิ ผลของสมาธิคือ

รูปภูมิและอรูปภูมิ และผลของปัญญาคือ โลกุตรภูมิหรือนิพพาน ไตรสิกขาจึงเป็นการโน้มน้าวจิตใจให้บุคคลใฝ่ทำความดีในระดับต่าง ๆ คือใครทำความดีระดับใดก็ได้รับผลกรรมในระดับนั้น

คุณค่าด้านการเมืองการปกครอง

ในด้านการปกครองพระมหาธรรมราชาที่ ๑ ลิไทน่าจะมีพระประสงค์ในการพระราชนิพนธ์ไตรภูมิพระร่วงเพื่อใช้ในการปกครองบ้านเมืองและปกครองประชาชนให้ให้อยู่ในศีลธรรมทางอ้อม คือใช้พระพุทธศาสนาเป็นเครื่องมือทางการเมือง ไตรภูมิพระร่วงเน้นหลักของกรรม ใครทำดีทำชั่วย่อมได้รับวิบากตามกรรมที่กระทำไว้ โดยกำหนดโทษในเชิงสัญลักษณ์คือนรกและสวรรค์ โดยได้พรรณนาบาปของผู้ที่ทำชั่วและตกนรกไว้อย่างน่ากลัว พรรณนาบุญของผู้ที่ทำดีได้ไปสวรรค์ไว้อย่างวิจิตร อันเป็นสิ่งจูงใจหรือโน้มน้าวให้กระทำความดี อาจกล่าวได้ว่าไตรภูมิพระร่วงทำหน้าที่แทนกฎหมายก่อนที่จะมีการบัญญัติกฎหมายขึ้นใช้ ซึ่งกฎหมายนี้เป็นบทลงโทษทางใจที่ผ่านความเชื่อทางศาสนา และการพรรณนาด้วยการใช้ถ้อยคำภาษาและภาพพจน์ที่ให้เกิดจินตนาการและความแจ่มชัด ไตรภูมิพระร่วงเป็นเสมือนตำราส่งเสริมและจัดระเบียบความประพฤติและจริยธรรมของสังคมไทย ปลูกฝังอุดมการณ์ทางการเมืองโดยอยู่บนพื้นฐานของศาสนา กล่าวคือ เมื่อประชาชนอยู่ในศีลธรรม ละชั่ว ทำดี ทำบุญให้ทาน จิตใจผ่องใส สังคมและบ้านเมืองก็ดำรงอยู่ได้โดยปกติสุข

คุณค่าด้านความรู้

            ความรู้เรื่องเพศศึกษา

ความรู้เรื่องการกำเนิดมนุษย์ สิ่งมีชีวิตในภูมิต่าง ๆ ในมนุสสภูมินับตั้งสภาพทางกายภาพของสตรีวัยเจริญพันธุ์ การปฏิสนธิ การตั้งครรภ์ วิวัฒนาการของทารกในครรภ์ ทำให้คนสุโขทัยรู้และเข้าใจเรื่องเพศได้แจ่มชัด

ปัญหาเรื่องเพศ ไตรภูมิพระร่วงกล่าวถึงปัญหาที่เกิดจากเรื่องเพศ ๒ ประการคือ การมีชู้และการทำแท้ง

โดยได้กล่าวถึงบทลง โทษของการมีชู้ ไว้ในนรกบ่าว ๓ ขุม ต่อเนื่องกันซึ่งมีความน่ากลัว

ปัญหาการทำแท้ง ซึ่งเกิดต่อเนื่องจากการมีชู้ เมื่อเกิดปัญหาการมีชู้ย่อมเกิดปัญหาการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ ไตรภูมิพระร่วงตอนเปรตภูมิ กล่าวถึงผู้หญิงที่มีความผิดยอมรับว่าทำแท้งต้องได้รับโทษเป็นเปรต สะท้อนให้เห็นว่าคนในสมัยสุโขทัยประสบปัญหาเรื่องนี้ โดยกล่าวถึงโทษไว้น่ากลัว เพื่อให้ให้ผู้คนตระหนักไม่มีชู้และไม่ทำแท้งเนื่องจากเป็นบาป

อุดมคติเกี่ยวกับเรื่องเพศ ไตรภูมิพระร่วงกล่าวถึงอุดมคติที่ทุกคนใฝ่ฝันจะไปเกิด ดินแดนนี้กล่าวถึงชีวิตอันอุดมสมบูรณ์ ไม่มีปัญหาเรื่องการมีชู้ และปัญหาการอยู่กินกันเป็นครอบครัว เพราะเขาอยู่กินกันเพียง ๗ วันเท่านั้น ไม่มีปัญหาเรื่องการคลอดลูกและเลี้ยงดูจนกระทั้งเติบใหญ่

ความรู้เรื่องโลกในอุดมคติ ไตรภูมิพระร่วงกล่าวถึงสัตว์โลกที่ต้องเวียนว่ายตายเกิด ต้องทนทุกข์อยู่ในจตุรบายแม้เกิดเป็นมนุษย์อยู่ในสุขคติภูมิก็ตาม ย่อมได้รับวิบากตามระดับของกรรมที่กระทำไว้ จึงมักไม่พอใจในสภาพความเป็นอยู่ของตน ต้องการดิ้นรนให้พ้นความเดือดร้อน ปรารถนาชีวิตที่รื่นรมย์ มีฐานะ มีหน้าตา ผิวพรรณที่งดงาม

ความปรารถนาดังกล่าวไตรภูมิพระร่วงได้เสนอไว้ในตอน อุตรกุรุทวีป ได้กล่าวถึงดินแดนนี้ไว้อย่างงดงาม ทั้งพฤติกรรมของผู้คน ชีวิตความเป็นอยู่ ซึ่งเป็นโลกในอุดมคติ

                                                                         นางมยุรี   สนเจริญ

ภูมิพระร่วงมีคุณค่าอย่างไร

๑. คุณค่าด้านวรรณคดี เป็นความเรียงที่มีสัมผัสคล้องจอง มีความเปรียบเทียบที่ให้อารมณ์และเกิดจินตภาพชัดเจน เป็นภาพพจน์เชิงอุปมาและภาษาจินภาพ เห็นความงดงามของภาษา ๒. คุณค่าด้านศาสนา เป็นปรัชญาทางพระพุทธศาสนา ชี้ให้เห็นแก่นแท้ของชีวิตอาจนำมนุษยชาติให้หลุดพ้นจากวัฏสงสาร

ไตรภูมิพระร่วง ตอน มนุสสภูมิ มีคุณค่าอย่างไร

ข้อคิด คติคำสอน และความจรรโลงใจ มนุษย์เราควรทำความดีด้วยวิธีต่าง ๆ อาทิเช่น การกตัญญูต่อมารดาผู้ให้กำเนิด การยึดมั่นในศีลธรรม รู้จักพึงพอใจในสิ่งที่ตนเองมี ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่โลภ ไม่มีกิเลสตัณหา ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ฯลฯ ซึ่งหากเราทำได้เช่นนี้ ตัวเราและสังคมก็ย่อมมีแต่ความสงบสุข

ไตรภูมิพระร่วงที่มีคุณค่าทางด้านวัฒนธรรมอย่างไร

๓. ด้านสังคมและวัฒนธรรม ๓.๑ คำสอนทางศาสนา ไตรภูมิพระร่วงสอนให้คนทำบุญละบาป เช่น การทำบุญรักษาศีลเจรฐสมาธิภาวนาจะได้ขึ้นสวรรค์การทำบาปจะตกนรก แนวความคิดนี้มีอิทะพลเหนือนจิตใจของคนไทยมาช้านาน เป็นเสมือนแนวการสอนศีลธรรมของสังคม ให้คนปฏิบัติชอบซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการอยู่ร่วมกันในสังคม

ข้อใดคือแนวคิดสําคัญของไตรภูมิพระร่วง ตอน มนุสสภูมิ

๑.๑)ความเชื่อในเรื่องกรรม ไตรภูมิพระร่วง ตอน มนุสาภูมิ สะท้อนให้เห็นความเชื่อในเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดของสัตว์โลกด้วยแรงบุญแรงกรรมที่ได้กระทำไว้ในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ หากทำบาปด้วยกาย วาจา ใจต้องไปเกิดในนรกภูมิ หากรู้จักบาปบุญคุณโทษ รู้จักผิดชอบชั่วดี รู้จักคุณพระรัตนตรัย มีมนุษยธรรมประจำใจก็ไปเกิดในมนุสสภูมิ และเมื่อ ...