ประกันสังคมมาตรา 40 สิทธิประโยชน์ 2564

หลายคนอาจเคยได้ยินคำว่า ผู้ประกันตน แต่หลายคนอาจยังไม่เข้าใจอย่างละเอียด วันนี้ TNN ขอนำเสนอข้อมูลผู้ประกันตน ของประกันสังคมมาตรา 40 ซึ่งเป็นผู้ประกันตนแบบอิสระของประกันสังคมว่าจะได้รับสิทธิอะไรบ้าง

ผู้ประกันตนมาตรา 40 คือ บุคคลทั่วไปที่ประกอบอาชีพอิสระหรือแรงงานนอกระบบที่ไม่ได้เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 หรือผู้ประกันตนมาตรา 39 โดยผู้ประกันตนมาตรา 40 ของสำนักงานประกันสังคม มีสิทธิประโยชน์คุ้มครอง 5 กรณี

1. กรณีเจ็บป่วย

จ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 เดือน ก่อนเดือนที่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย

ทางเลือกที่ 1 และ 2

ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้

- นอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลตั้งแต่ 1 วันขึ้นไป วันละ 300 บาท

- ไม่นอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล แต่มีใบรับรองแพทย์ให้หยุดพักรักษาตัวตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป วันละ 200 บาท

- ไปพบแพทย์ (ผู้ป่วยนอก) และแพทย์ไม่มีความเห็นให้หยุดพักรักษาตัว หรือ ให้หยุดพักรักษาตัวไม่เกิน 2 วัน (มีใบรับรองแพทย์มาแสดง) ครั้งละ 50 บาท ไม่เกิน 3 ครั้ง ต่อปี

**ภายใน 1 ปี ได้รับสิทธิตาม (1) และ (2) รวมกันไม่เกิน 30 วันต่อปี**

ทางเลือกที่ 3

ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้

(1) นอนพักรักษาในโรงพยาบาลตั้งแต่ 1 วันขึ้นไป ได้รับวันละ 300 บาท

(2) ไม่นอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล แต่มีใบรับรองแพทย์ให้หยุดพักรักษาตัวตั้งแต่ 3 วันขึ้นไปวันละ 200 บาท

*ภายใน 1 ปี รับสิทธิตาม (1) และ (2) รวมกันไม่เกิน 90 วัน

หมายเหตุ : สิทธิการรักษาใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพ/บัตรทอง (สปสช.) หรือสิทธิเดิมที่มีอยู่

2. กรณีทุพพลภาพ

- จ่ายเงินสมทบมาแล้ว 6 เดือนใน 10 เดือน ก่อนเดือนทุพพลภาพ ได้รับ 500 บาท

- จ่ายเงินสมทบมาแล้ว 12 เดือนใน 20 เดือน ก่อนเดือนทุพพลภาพ ได้รับ 650 บาท

- จ่ายเงินสมทบมาแล้ว 24 เดือนใน 40 เดือน ก่อนเดือนทุพพลภาพ ได้รับ 800 บาท

- จ่ายเงินสมทบมาแล้ว 36 เดือนใน 60 เดือน ก่อนเดือนทุพพลภาพ ได้รับ 1,000 บาท

ทางเลือกที่ 1 และทางเลือกที่ 2

ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ต่อเดือน เป็นระยะเวลา 15 ปี

*เสียชีวิตระหว่างรับเงินทดแทนการขาดรายได้กรณีทุพพลภาพได้รับเงินค่าทำศพ 25,000 บาท

ทางเลือกที่ 3

ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ต่อเดือน ตลอดชีวิต

*เสียชีวิตระหว่างรับเงินทดแทนการขาดรายได้กรณีทุพพลภาพได้รับเงินค่าทำศพ 50,000 บาท*

ประกันสังคมมาตรา 40 สิทธิประโยชน์ 2564

ที่มาภาพ : สำนักงานประกันสังคม

3. กรณีเสียชีวิต

- จ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 6 ใน 12 เดือน ก่อนเดือนที่ตาย ยกเว้น กรณีตายเพราะอุบัติเหตุ

- หากจ่ายเงินสมทบไม่ครบ 6 ใน 12 เดือน แต่มีการจ่ายเงินสมทบ 1 ใน 6 เดือน ก่อนเดือนที่ตาย

ทางเลือกที่ 1 และทางเลือกที่ 2

- ได้รับเงินค่าทำศพ 25,000 บาท จ่ายให้กับผู้จัดการศพ

- ได้รับเงินสงเคราะห์กรณีตาย 8,000 บาท หากจ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 60 เดือนก่อนเดือนที่ตาย

ทางเลือกที่ 3

- ได้รับเงินค่าทำศพ 50,000 บาท ก่อนเดือนที่ตายจ่ายให้กับผู้จัดการศพ

4. กรณีสงเคราะห์บุตร

จ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 24 ใน 36 เดือน ก่อนเดือนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน *ขณะรับเงินสงเคราะห์บุตร ต้องจ่ายเงินสมทบทุกเดือน*

ทางเลือกที่ 1 และทางเลือกที่ 2

- ไม่คุ้มครอง

ทางเลือกที่ 3

- ได้รับเงินสงเคราะห์บุตรรายเดือน คนละ 200 บาท คราวละไม่เกิน 2 คน บุตรอายุตั้งแต่แรกเกิดแต่ไม่เกิน 6 ปี บริบูรณ์

5. กรณีชราภาพ

เมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ และสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน

ทางเลือกที่ 1

- ไม่คุ้มครอง

ทางเลือกที่ 2

- ได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ (เงินสมทบ 50 บาท คูณ จำนวนเดือนที่จ่ายเงินสมทบ บวกเงินออมเพิ่ม) พร้อมผลประโยชน์ตอบแทนรายปีตามที่สำนักงานประกันสังคมกำหนด

ทางเลือกที่ 3

- ได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ (เงินสมทบ 150 บาท คูณ จำนวนเดือนที่จ่ายเงินสมทบ บวก เงินออมเพิ่ม) พร้อมผลประโยชน์ตอบแทนรายปีตามที่สำนักงานประกันสังคมกำหนด

*ผู้ประกันตนทางเลือกที่ 2 และทางเลือกที่ 3 สามารถจ่ายเงินสมทบเพิ่มเติม (ออมเพิ่ม) ได้ไม่เกิน 1,000 บาท ต่อเดือน

ประกันสังคมมาตรา 40 สิทธิประโยชน์ 2564

ที่มาภาพ : สำนักงานประกันสังคม

ผู้ประกันตนมาตรา 40 ต้องมีคุณสมบัติดังนี้

1. มีสัญชาติไทย

2. เป็นชนกลุ่มน้อยซึ่งอพยพเข้ามาอาศัยในประเทศไทย โดยผ่อนผันให้อาศัยในประเทศไทยได้ชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษ มีบัตรประจำตัวที่เลขประจำตัวแรกขึ้นต้นด้วย 6 หรือ 7

3. เป็นบุคคลไม่มีสัญชาติไทยและได้รับการผ่อนผันให้อยู่อาศัยในประเทศไทยชั่นคราวเพื่อรอส่งตัวกลับ โดยเลขประจำตัวหลักแรกจะเป็นเลข 0

4. อายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี และไม่เกิน 60 ปี

5. ไม่เป็นผู้ประกันตามมาตรา 33 หรือมาตรา 39

6. ไม่เป็นสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการท้องถิ่น หรือไม่เป็นสมาชิกกองทุนของรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นที่มีลักษณะเดียวกับกองทุนบำเหน็จบำนาญ

7. หากเป็นบุคคลพิการให้ระบุลักษณะของอาการพิการโดยละเอียด ยกเว้นผ้พิการทางสติปัญญาและผู้พิการที่ไม่อาจรับรู้สิทธิจะไม่สามารถขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 ได้

หลักฐานการสมัครผู้ประกันตนมาตรา 40

1. แบบคำขอสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 สปส.1-40

2. บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้

ช่องทางการสมัคร ผู้ประกันตนมาตรา 40

1. สำนักงานประกันสังคมทุกเขตใกล้บ้าน

2. สมัครผ่านระบบออนไลน์ได้ที่เว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม www.sso.go.th

3. สมัครผ่านหน่วยบริการรับสมัครผู้ประกันตนมาตรา 40 ที่ได้ตกลงทำร่วมกับสำนักงานประกันสังคม

ช่องทางการชำระเงินสมทบผู้ประกันตนมาตรา 40

1. ชำระเงิน ณ สำนักงานประกันสังคมทุกเขตใกล้บ้าน

2. หักเงินฝากผ่านบัญชีธนาคาร

3. จ่ายผ่านเคาน์เตอร์ธนาคาร

4. จ่ายผ่านเคาน์เตอร์หน่วยบริการ

ประกันสังคมมาตรา 40 สิทธิประโยชน์ 2564

ที่มาภาพ : สำนักงานประกันสังคม

ผู้ประกันตนมาตรา 40 มีสิทธิแบ่งเป็น 3 รูปแบบตามยอดเงินสมทบที่จ่ายดังนี้

1.จ่ายเงินเดือนละ 70 บาท/เดือน

2. จ่ายเงินเดือนละ 100 บาท/เดือน

3. จ่ายเงินเดือนละ 300 บาท/เดือน

ทั้งนี้ นอกจากผู้ประกันตนมาตรา 40 แล้ว ยังมีผู้ประกันตนมาตรา 33 และมาตรา 39 ซึ่งเป็นผู้ประกันตนอีกแบบหนึ่งของสำนักงานประกันสังคม โดยสามารถเช็กรายะละเอียดของผู้ประกันตนมาตรา 33 และมาตรา 39 ได้ที่ >>

ที่มาข้อมูล : สำนักงานประกันสังคม https://www.sso.go.th/

ที่มาภาพ : สำนักงานประกันสังคม,AFP

  • เกาะติดข่าวที่นี่
  • Website : www.tnnthailand.com
  • Facebook : TNNONLINE
  • Facebook Live : TNN LIVE
  • Twitter : TNNONLINE
  • Line : @TNNONLINE
  • Youtube official : TNNONLINE
  • Instagram : TNN_ONLINE
  • Tiktok : @TNNONLINE