ประกันสังคมมาตรา 39 เดือนนี้จ่ายเท่าไหร่

สำนักงานประกันสังคม ปรับลดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม

Posted by สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน - Social Security Office on Tuesday, May 18, 2021

ประกันสังคม ลดเงินสมทบ 3 เดือน ผู้ประกันตน มาตรา 33 และ มาตรา 39 ตั้งแต่เดือน ต.ค. - ธ.ค. 2565 ต้องจ่ายเดือนละเท่าไหร่

ประกันสังคม ลดเงินสมทบ 3 เดือน หลายคนสงสัยว่าหลังจาก คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบลดอัตราเงินสมทบนายจ้าง ผู้ประกันตน มาตรา 33 และ มาตรา 39 เริ่มเดือน ตุลาคม ถึง ธันวาคม 2565 นี้ สรุปแล้ว ต้องจ่ายเท่าไหร่

ประกันสังคมมาตรา 39 เดือนนี้จ่ายเท่าไหร่

ประกันสังคม ลดเงินสมทบ 3 เดือน ม.33 และ ม.39 ต้องจ่ายเท่าไหร่

ประกันสังคมมาตรา 33 เดือนนี้จ่ายเท่าไหร่

สำหรับ ผู้ประกันตน มาตรา 33 คือ ลูกจ้าง หรือ พนักงานบริษัทเอกชนทั่วไป โดยปกติต้องส่งเงินสมทบประกันสังคมในอัตรา 5% ของค่าจ้าง แต่เดือน ตุลาคม - ธันวาคม ได้ปรับลดลงเหลือ 3% ของค่าจ้าง

เช่น มีเงินเดือน 15,000 บาทขึ้นไป ปกติต้องจ่าย 750 บาท/เดือน
แต่ในเดือน ต.ค. ถึง ธ.ค. 2565 จะต้องจ่าย 450 บาท/เดือน ค่ะ

ส่วนคนที่มีฐานเงินเดือนน้อยกว่า 15,000 บาท ก็จะจ่ายลดหลั่นกันลงมา ดังนี้

  • 5,000 บาท เงินสมทบปกติ 250 บาท/เดือน ลดเงินสมทบเหลือ 150 บาท/เดือน
  • 7,500 บาท เงินสมทบปกติ 375 บาท/เดือน ลดเงินสมทบเหลือ 225 บาท/เดือน
  • 10,000 บาท เงินสมทบปกติ 500 บาท/เดือน ลดเงินสมทบเหลือ 300 บาท/เดือน
  • 11,000 บาท เงินสมทบปกติ 550 บาท/เดือน ลดเงินสมทบเหลือ 330 บาท/เดือน
  • 12,000 บาท เงินสมทบปกติ 600 บาท/เดือน ลดเงินสมทบเหลือ 360 บาท/เดือน
  • 13,000 บาท เงินสมทบปกติ 650 บาท/เดือน ลดเงินสมทบเหลือ 390 บาท/เดือน
  • 14,000 บาท เงินสมทบปกติ 700 บาท/เดือน ลดเงินสมทบเหลือ 420 บาท/เดือน
  • 15,000 บาท เงินสมทบปกติ 750 บาท/เดือน ลดเงินสมทบเหลือ 450 บาท/เดือน
  • มากกว่า 15,000 บาท เงินสมทบปกติ 750 บาท/เดือน ลดเงินสมทบเหลือ 450 บาท/เดือน

ประกันสังคมมาตรา 39 เดือนนี้จ่ายเท่าไหร่

ประกันสังคม มาตรา 33 เดือนนี้ต้องจ่ายเท่าไหร่

ประกันสังคมมาตรา 39 เดือนนี้จ่ายเท่าไหร่

สำหรับ ผู้ประกันตน มาตรา 39 ปกติต้องจ่ายเงินสมทบเดือนละ 432 บาท แต่เดือนตุลาคม ถึง ธันวาคม 2565 ต้องจ่าย 240 บาทค่ะ

เงินสมทบประกันสังคม 2565 ผู้ประกันตนมาตรา 33 มาตรา 39 และมาตรา 40 ต้องจ่ายเงินสมทบประกันสังคม เดือนสิงหาคม กี่บาท

หลังจากที่ประกันสังคม ประกาศลดเงินสมทบประกันสังคม ในช่วงเดือนพฤษภาคม - กรกฎาคม 2565 ซึ่งล่าสุดผู้ประกันตน ม.33 ม.39 ม.40 จะต้องจ่าย เงินสมทบประกันสังคม เดือนสิงหาคม แบบเต็มจำนวนใหม่ เพราะไม่ได้ลดเงินประกันสังคมแล้ว โดยเริ่มเดือนสิงหาคม 2565 ส่วนแต่ละมาตราจ่ายกี่บาท ไปดูพร้อมๆ กัน

ประกันสังคมเดือนสิงหาคม 2565 จ่ายเท่าไหร่ ?

ผู้ประกันตนมาตรา 33

ส่งเงินสมทบประกันสังคมมาตรา 33 เป็นจำนวน 5% ต่อเดือน หรือจ่ายในอัตรา 750 บาทต่อเดือน เช่น

  • เงินเดือน 9,000 บาท (เงินเดือน) x 5% (เงินหักเข้าประกันสังคม) = 450 บาท ต้องหักเข้าประกันสังคม
  • เงินเดือน 15,000 บาท (เงินเดือน) x 5% (เงินหักเข้าประกันสังคม) = 750 บาท ต้องหักเข้าประกันสังคม

ผู้ประกันตนมาตรา 39

ส่งเงินสมทบประกันสังคมมาตรา 39 เป็นจำนวน 9% ต่อเดือน หรือจ่ายในอัตรา 432 บาทต่อเดือน เช่น

  • เงินเดือน 4,800 บาท (ฐานเงินที่ใช้คำนวณ) x 9% (เงินหักเข้าประกันสังคม) = 432 บาท

ผู้ประกันตนมาตรา 40

  1. ทางเลือกที่ 1 จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน ในกรณีการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย จากเดิมจ่ายในอัตรา 70 บาทต่อเดือน
  2. ทางเลือกที่ 2 จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน ในกรณีการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย และกรณีชราภาพ จากเดิมจ่ายในอัตรา 100 บาทต่อเดือน
  3. ทางเลือกที่ 3 จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย ชราภาพ และกรณีสงเคราะห์บุตร จากเดิมจ่ายในอัตรา 300 บาทต่อเดือน
  • วิธีสมัครประกันสังคม เป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 ออนไลน์
  • ประกันสังคม ม.39 กับวิธีสมัครหักเงินสมทบผ่านบัญชี แค่เตรียม 2 อย่างไว้ยื่นก็ไม่ขาดสิทธิแล้ว

โหลดเพิ่ม

ประกันสังคมมาตรา 39 เดือนนี้จ่ายเท่าไหร่

แท็กที่เกี่ยวข้อง

ประกันสังคมเงินสมทบประกันสังคม เดือนสิงหาคม 2565ประกันสังคมมาตรา 33ประกันสังคมมาตรา 39ประกันสังคมมาตรา 40ม 33ม 39ม 40ประกันสังคม ม 33ประกันสังคม ม 39ประกันสังคม ม 40เงินสมทบประกันสังคมจ่ายเงินสมทบประกันสังคมประกันสังคม เดือนสิงหาคม 2565ประกันสังคม 2565ธุรกิจข่าวเศรษฐกิจ

"ประกันสังคม"ลดเงินสมทบ ผู้ประกันตน ม.33 ม.39 และม.40 ล่าสุดเหลือจ่ายเดือนละเท่าไหร่ ลดเป็นเวลากี่เดือน สรุปที่นี่

เกาะติดมาตรการเยียวยา "ประกันสังคม" ลดอัตราเงินสมทบติดต่อกัน 3 เดือน ตั้งแต่ พ.ค. - ก.ค.65 สำหรับผู้ประกันตน มาตรา 33 และมาตรา 39  ส่วนมาตรา 40 ลดเงินสมทบ 6 เดือน งวดเดือน ก.พ. – ก.ค.65 มีรายละเอียด ดังนี้

 

ผู้ประกันตนมาตรา 33

 

  • ปรับลดเงินสมทบนายจ้าง ผู้ประกันตนมาตรา 33 จากเดิมร้อยละ 5 เหลือฝ่ายละร้อยละ 1 ของค่าจ้าง เช่น
  • เงินเดือน 10,000 บาท ปกติจ่ายเงินสมทบ 500 บาท/เดือน ลดเหลือเพียง 100 บาท/เดือน
  • เงินเดือน 15,000 บาทขึ้นไป ปกติจ่าย 750 บาท/เดือน ลดเหลือเพียง 150 บาทเดือน

 

หมายเหตุ การคำนวณเงินสมทบจากค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับร้อยละ 5 ต่อเดือน ซึ่งกำหนดจากฐานค่าจ้างต่ำสุด 1,650 บาท และสูงสุดไม่เกินเดือนละ 15,000 บาท

 

ผู้ประกันตนมาตรา 39

 

  • ปรับลดอัตราเงินสมทบ จากเดิมร้อยละ 9 เหลือร้อยละ 1.9 จากปกติจ่าย 432 บาท ลดเหลือเพียง 91 บาท

 

ประกันสังคมมาตรา 39 เดือนนี้จ่ายเท่าไหร่

ผู้ประกันตนมาตรา 40 

 

ผู้ประกันตนมาตรา 40 จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม ในอัตราใหม่ 3 ทางเลือก คือ

 

  • ทางเลือกที่ 1 ให้ผู้ประกันตนซึ่งจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน ในกรณีการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย จากเดิมจ่ายในอัตรา 70 บาท/เดือน จ่ายอัตราใหม่ เป็น 42 บาท/เดือน 

 

  • ทางเลือกที่ 2 ให้ผู้ประกันตนซึ่งจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน ในกรณีการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย และกรณีชราภาพ จากเดิมจ่ายในอัตรา 100 บาท/เดือน จ่ายอัตราใหม่เป็น 60 บาท/เดือน

 

  •  ทางเลือกที่ 3 ให้ผู้ประกันตนซึ่งจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย ชราภาพ และกรณีสงเคราะห์บุตร จากเดิมจ่ายในอัตรา 300 บาท/เดือน จ่ายอัตราใหม่เป็น 180 บาท/เดือน

 

ประกันสังคมมาตรา 39 เดือนนี้จ่ายเท่าไหร่

 

สำหรับ“ผู้ประกันตนที่ได้ชำระเงินสมทบ เต็มจำนวนในอัตราเดิม ก่อนหน้าประกาศกฎกระทรวงลดอัตราเงินสมทบออก ผู้ประกันตนมาตรา 40 สามารถดำเนินการยื่นคำร้องขอรับเงินคืนในส่วนที่ชำระไว้เกินจำนวนได้” 

 

ขั้นตอนการยื่นคำร้องขอรับเงินคืน

 

  • สำนักงานประกันสังคม จะดำเนินการจัดส่งเอกสารขอรับเงินคืนในส่วนที่ชำระไว้เกินจำนวนทางไปรษณีย์ เพื่อให้ผู้ประกันตนสามารถยื่นคำร้องขอรับเงินคืนในส่วนที่ชำระไว้เกินจำนวน หรือ

 

  • ดาวน์โหลดแบบฟอร์มการขอรับเงินคืน (สปส.1-40/7) ในเว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม www.sso.go.th พร้อมแนบเอกสารและจัดส่งทางไปรษณีย์ ดังนี้

 

-สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์ของผู้ประกันตน (ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารเพื่อการเกษตร และสหกรณ์การเกษตร และธนาคารออมสิน)

-ส่งเอกสารทางไปรษณีย์  มายังสำนักงานประกันสังคม กรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา หรือยื่นทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ 

 

ทั้งนี้ สํานักงานประกันสังคมจะโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของผู้ประกันตน หากที่มา มีข้อสงสัยสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สายด่วน 1506 ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ