การพัฒนาตนเองตามหลัก พระพุทธ ศาสนา 4 ด้าน

การพัฒนาตนเองตามหลัก พระพุทธ ศาสนา 4 ด้าน


ประวัติและความสำคัญของพระพุทธศาสนา

พระพุทธศาสนาสอนว่ามนุษย์ทุกคนมีศักยภาพในตนเอง สามารถฝึกฝนพัฒนาตนเอง ไปจนถึงจุดสูงสุดได้ด้วยความเพียร ด้วยสติปัญญาของตนเอง โดยไม่ต้องพึ่งพาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายนอกมาบันดาล ในการพัฒนาตนนั้นคนพึงปฏิบัติดำเนินตามหลักไตรสิกขา คือ พัฒนาด้านการควบคุมพฤติกรรมทางกาย วาจา ให้มีระเบียบวินัยไม่เบียดเบียน เอื้ออาทรแก่คนอื่นและสังคมส่วนรวม อธิศีลสิกขา พัฒนาทางด้านจิต สติ สมาธิ เพื่อสร้างจิตให้มีคุณภาพ อธิจิตตสิกขา และพัฒนาทางด้านความรู้ ความเข้าใจตลอดถึง เจตคติที่ถูกต้อง อธิปัญญาสิกขา โดยอาศัยกัลยาณมิตร ผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์คอยชี้แนะแนวทางให้คิดเป็นหรือรู้จักคิดวินิจฉัย แก้ปัญหาด้วยเหตุผลตามขั้นตอนแห่งอริยสัจ

๑.พระพุทธศาสนาเป็นศาสตร์แห่งการศึกษา

๑.๑ ความหมายของการศึกษาในทัศนะของพระพุทธศาสนา

การศึกษาตรงกับคำศัพท์ภาษาบาลีว่า สิกขา หมายความว่าการฝึกอบรมตนให้งอกงามหรือการพัฒนาตนให้งอกงาม ตามหลักพระพุทธศาสนาได้แบ่งการพัฒนาตนให้งอกงามออกเป็น ๔ ด้านดังนี้

  ๑) การพัฒนากาย คือ การรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง มีสุขภาพดี มีความเป็นอยู่ที่ถูกสุขลักษณะ รวมไปถึงการรู้จักปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมทางวัตถุได้อย่างถูกต้องและเกิดประโยชน์ด้วย เช่น กินอาหารเพื่อมุ่งให้ร่างกายมีกำลัง มีสุขภาพดี ไม่ใช่กินด้วยความเอร็ดอร่อยหรือเพื่อความหรูหราพุ่งเฟือย

  การพัฒนาศีล คือการควบคุมกาย วาจา ไม่ให้ประพฤติออกมาในทางเบียดเบียนตนเองและคนอื่น เช่นทางกายก็ไม่ทำร้ายข่มเหงรังแกคนอื่น ทางวาจา ก็ไม่พูดไม่พูดคำหยาบไม่สอดเสียดที่จะทำให้คนอื่นเสียหายหรือเสียประโยชน์ คือ ให้อยู่ร่วมกันด้วยดีในสังคม

  ๒) การพัฒนาจิตใจ คือการทำให้จิตใจมีคุณสมบัติที่ดีงามพรั่งพร้อมใน 3 ด้านดังนี้

   ด้านความดีงาม คือ มีความเมตตา มีความรัก ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีความเป็นมิตรไมตรีต่อคนรอบข้างมี ความกรุณามีความกตัญญู มีสัมมาคาราวะ มีความคิดช่วยเหลือเมื่อเห็นคนอื่นมีความทุกข์

   ด้านความแข็งแกร่ง  เช่น มีจิตใจที่เด็ดเดี่ยวและ ด้านความแข็งแกร่งเช่นมีจิตใจที่เด็ดเดี่ยวแน่วแน่ต่อเป้าหมายที่วางไว้มีสติรู้  ด้านความแข็งแกร่งเช่นมีจิตใจที่เด็ดเดี่ยวแน่วแน่ต่อเป้าหมายที่วางไว้มี สติ รู้จักยับยั้งชั่งใจ มีวิริยะความพากเพียร มีขันติ ความอดทน มีสมาธิ ความตั้งมั่นแห่งจิต มีสัจจะ ความจริง

    ด้านความสุข  เช่น จิตใจมีความสดชื่น ร่าเริงเบิกบาน สะอาด สงบ ปลอดภัย มีปีติปราโมทย์ ไม่เครียดไม่กระวนกระวาย ไม่ขุ่นมัวหมองเศร้า

   ๓) การพัฒนาปัญญา การรู้จักเพิ่มความรู้ความเข้าใจให้แก่ตนเองเริ่มตั้งแต่รู้จักเรียนรู้ศิลปะวิทยาที่ดีมีประโยชน์สำหรับการดำเนินชีวิต เป็นผู้ขนขวายใคร่เรียนรู้สิ่งต่างๆอยู่เสมอ เพื่อก้าวให้ทันความเปลี่ยนแปลงของโลก ตลอดจนรู้จักคิด รู้จักวินิจฉัย รู้จักใช้ปัญญาในการแก้ไขปัญหาชีวิตด้านต่างๆเป็นต้น

๑.๒ บูรพภาคการศึกษา

ทางพระพุทธศาสนานั้น แม้จะมีความเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนมีศักยภาพที่จะพัฒนาตนเองให้งอกงามในด้านต่างๆ ได้ด้วยตัวเองก็จริง แต่ในกระบวนการพัฒนาตนนั้น จะต้องอาศัยองค์ประกอบอื่นๆ เป็นตัวสนับสนุนในเบื้องต้นอีกด้วยจึงจะสำเร็จได้ด้วยดี องค์ประกอบนี้เรียกว่า บุรพภาคแห่งการศึกษา มี ๒ ประการดังนี้

องค์ประกอบภายนอก เงื่อนไขภายนอกที่สนับสนุนให้การพัฒนาตนเองเป็นไปได้ด้วยดี เช่น ได้รับการถ่ายทอดการสั่งสอนอบรมที่ดีจากพ่อแม่ ครูบาอาจารย์ เพื่อนที่ดี รวมถึงหนังสือ สื่อมวลชน และวัฒนธรรมอันดีงาม ข่าวสารและความรู้ที่ถูกต้องให้ทัศนคติอันดีงามเหล่านี้ถือว่าเป็นสภาพแวดล้อมทางสังคมที่ดีซึ่งองค์ประกอบภายนอกนี้เรียกว่า ปรโตโฆสะ

องค์ประกอบภายใน ตัวผู้ศึกษาอบรมจะต้องเป็นคนรู้จักคิด รู้จักพิจารณา รู้จักใช้เหตุผลในการดำเนินชีวิต และใช้ความคิดอย่างถูกวิธี คิดเป็น เมื่อมองสิ่งทั้งหลายตามหลักของเหตุผล แยกแยะสิ่งนั้นๆ หรือปัญหานั้นๆออก ให้เห็นตามสภาวะและความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัยองค์ประกอบนี้เรียกว่า โยนิโสมนสิการ

๑.๓ กระบวนการศึกษา

กระบวนการศึกษาทางพระพุทธศาสนาเน้นไปที่สัมมาทิฏฐิ คือ ความคิดเห็นที่ถูกต้องรวมไปถึงความเชื่อ ความนิยม ค่านิยม เจตคติต่างๆ ที่เป็นไปในทางถูกต้องดีงาม เมื่อมีสัมมาทิฏฐิเป็นฐานแล้ว กระบวนการศึกษาภายในตัวบุคคลก็ดำเนินไปได้และเป็นไปด้วยดี กระบวนการศึกษานี้สามารถแบ่งรายละเอียดออกเป็นอริยมรรคมีองค์ ๘ และสรุปลงเป็นขั้นตอนใหญ่เรียกว่า ไตรสิกขา

ไตรสิกขา

การฝึกอบรมในด้านความประพฤติ

   ระเบียบวินัยธรรมสุจริตทางกายและวาจา คือ ละเว้นจากการฆ่าสัตว์ หลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียดพูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ รวมถึงการสุจริต ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เรียกว่า อธิศีลสิกขา

การฝึกอบรมในด้านจิตใจ

การปลูกฝังคุณธรรม การเสริมสร้างคุณภาพ สมรรถภาพ และ สุขภาพของจิต คือ สมาธิ จิตใจดีงาม เข้มแข็ง ว่องไว และ ปลอดโปร่งเป็นสุข เรียกว่า อธิจิตตสิกขา

การฝึกอบรมในด้านปัญญา

เกิดความรู้ความเข้าใจตามความเป็นจริง รู้ความเป็นไปตามเหตุปัจจัยที่นำมาใช้ในการแก้ปัญหาตามแนวทางของเหตุผลรู้เท่าทันโลกและชีวิต ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ หลุดพ้นจากความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งทั้งหลาย มีจิตใจอิสระผ่องใสเบิกบาน เรียกว่า อธิปัญญาสิกขา

๒ พระพุทธศาสนาเน้นความสัมพันธ์ของเหตุปัจจัยและวิธีการแก้ปัญหา

  ๒.๑ พระพุทธศาสนาเน้นความสัมพันธ์ของเหตุปัจจัย

พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งเหตุผล คือ เน้นว่าสรรพสิ่งที่เกิดขึ้นมาในโลกนี้เกิดขึ้นมาเพราะมีเหตุปัจจัยและเสื่อมสลายไปเมื่อหมดเหตุปัจจัย ไม่มีสิ่งใดเกิดขึ้นมาลอยๆ หรือดับสลายไปเฉยๆ โดยไม่มีเหตุปัจจัย

มีคำที่มึงทำความเข้าใจให้กระจ่างอยู่ ๒ คำ คือ ปัจจัย และเหตุ เมื่อพูดถึงเงื่อนไขหรือองค์ประกอบต่างๆ ที่รวมตัวกันขึ้น ต่างก็มีความสำคัญเท่าเทียมกันและต่างก็อาศัยซึ่งกันและกัน ทางพระพุทธศาสนาเรียกว่า ปัจจัย แต่เมื่อมองว่าในบรรดาปัจจัยเหล่านั้น ปัจจัยใดปัจจัยดีกว่าหรือเป็นตัวนำในกรณีนั้นๆ ทางพระพุทธศาสนา เรียกว่า เหตุ เช่น ต้นไม้ที่เจริญเติบโตมีดอกผลให้เจ้าของได้เก็บกิน ถ้าพูดในแง่เหตุก็ว่าเมล็ดเป็นเหตุให้ต้นไม้นั้นเกิดและงอกงาม แต่ถ้าพูดถึงเหตุปัจจัยก็ต้องว่าต้นไม้นั้นเกิดและงอกงามได้ก็เพราะอาศัยเงื่อนไขหลายๆ อย่างประกอบกัน ไม่ใช่เพียงเมล็ดอย่างเดียว เช่น ต้องอาศัยดิน น้ำ อุณหภูมิ ปุ๋ยและการดูแลเอาใจใส่ของคนปลูกเป็นต้น

ฉะนั้น คำสอนที่เน้นปัจจัยนั้น พระพุทธเจ้าก็ทรงยกหลักปฏิจจสมุปบาทขึ้นมาแสดง ซึ่งมีรายละเอียดยากแก่การจะเข้าใจในระดับนี้ จึงขอยกเฉพาะหลักการกว้างๆ หรือหลักใหญ่ๆ ของปฏิจจสมุปบาทมากล่าวในที่นี้ ดังนี้

เมื่อสิ่งนี้มี     สิ่งนี้จึงไม่มี

เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น

เมื่อสิ่งนี้มี    สิ่งนี้ก็ไม่มี

เพราะสิ่งนี้ดับ   สิ่งนี้ก็ดับ

คำสอนที่เน้นเหตุผลนั้น พระพุทธเจ้าทรงยกหลักอริยสัจ ๔  ขึ้นมาแสดงคือทุกปัญหาทุกรูปแบบของชีวิตสมุทัย สาเหตุของปัญหา นิโรธ ความดับปัญหา ภาวะหมดปัญหา และทางแก้ปัญหา โดยแยกเป็นเหตุและผลดังนี้

การพัฒนาตนเองตามหลัก พระพุทธ ศาสนา 4 ด้าน