แผนการ สอน เรื่อง การชั่ง ป. 3

สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

1. เครื่องชั่งที่มีหน่วยมาตรฐานสำหรับชั่งสิ่งของมีหลายชนิด เช่น เครื่องชั่งสปริง เครื่องชั่งสองแขน

2. กิโลกรัม ขีด เป็นหน่วยมาตรฐานที่ใช้บอกน้ำหนัก

3. น้ำหนัก 1 กิโลกรัมเท่ากับ 10 ขีด

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

เพื่อให้นักเรียนสามารถชั่ง และบอกน้ำหนักเป็นกิโลกรัม เป็นขีด

การวัดผลและประเมินผล

  1. การเข้าร่วมกิจกรรม
  2. การทำชิ้นงาน

ปีการศึกษา 2561 / 2

ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 2

กลุ่มสาระ คณิตศาสตร์

หน่วย รายวิชา คณิตศาสตร์ รหัสวิชา ค12101 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561

ชั่วโมง เครื่องชั่งชนิดต่างๆ และการชั่งน้ำหนักเป็นกิโลกรัม เป็นขีด และการเปรียบเทียบน้ำหนักในหน่วยเดียวกัน

เรื่อง เครื่องชั่งชนิดต่างๆ และการชั่งน้ำหนักเป็นกิโลกรัม เป็นขีด และการเปรียบเทียบน้ำหนักในหน่วยเดียวกัน 31 ม.ค. 2562 (มีแบบฝึกหัด)

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้

          เพื่อให้นักเรียนสามารถวิเคราะห์โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับน้ำหนักและหาคำตอบ

ด้านทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

           เพื่อให้นักเรียนสามารถ

          1. แก้ปัญหา

          2. ให้เหตุผล

          3. สื่อสาร สื่อความหมายทางคณิตศาสตร์

แผนการ สอน เรื่อง การชั่ง ป. 3

กาญจน์สุชะญา นิชสภา

เข้าสู่ระบบเมื่อ เกือบ 4 ปี ที่แล้ว

                                                            แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4

                                                          เรื่องการเปรียบเทียบน้ำหนัก

กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์                                                               ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 เรื่องการชั่งและการตวง                                                      เวลา 1 คาบ

ครูผู้สอน นางสาวกาญจน์สุชะญา นิชสภา                                                   โรงเรียนบ้านชะเอียน


มาตรฐานค 2.1 เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดวัดและคาดคะเนขนาดของสิ่งของที่ต้องการวัด

ตัวชี้วัด      ค2.1 ป.3/2 บอกน้ำหนักเป็นกิโลกรัม กรัม และขีด เลือกเครื่องชั่งที่เหมาะสมและเปรียบเทียบ

                            น้ำหนัก

มาตรฐานค6.1 มีความสามารถในการแก้ปัญหา  การให้เหตุผล  การสื่อสาร  การสื่อความหมายทาง

                   คณิตศาสตร์และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆทางคณิตศาสตร์และการเชื่อมโยง

                   คณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ และมีความริเริ่มสร้างสรรค์ 

ตัวชี้วัด      ค6.1 ป.3/5 เชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆในคณิตศาสตร์และการเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ

จุดประสงค์การเรียนรู้

          เมื่อกำหนดสิ่งต่าง ๆ ให้สองสิ่งสามารถเปรียบเทียบน้ำหนักได้

สาระการเรียนรู้

          การเปรียบเทียบน้ำหนัก

สาระสำคัญ

          การเปรียบเทียบน้ำหนักที่อยู่ในหน่วยเดียวกันหรือหน่วยต่างกันเป็นการบอกว่าสิ่งของที่นำมาเปรียบเทียบกันมีน้ำหนักมากกว่าน้อยกว่าหรือเท่ากับ

กิจกรรมการเรียนรู้

ขั้นนำ

1. ครูนำสิ่งของต่าง ๆมาให้นักเรียนดู เช่น หนังสือ สมุด กล่อง ดินสอ กระเป๋า

2. ครูให้นักเรียนเลือกสิ่งของสองชนิด นำมาชั่งทีละชนิดพร้อมให้นักเรียนเปรียบเทียบว่าสิ่งของใดมีน้ำหนักมากกว่า น้อยกว่า หรือเท่ากันเช่น

                                  หนังสือหนัก 1 กิโลกรัม 2 ขีด สมุดหนัก 1 กิโลกรัม หนังสือหนักกว่าสมุด 2ขีด

                                  กล่องดินสอหนัก 400 กรัม กล่องสีหนัก 4ขีด กล่องดินสอและกล่องสีหนักเท่ากัน

ขั้นจัดการเรียนรู้

3. นำภาพเครื่องชั่งสิ่งของที่เข็มชี้บอกน้ำหนักสองภาพ ให้นักเรียนเปรียบเทียบว่าภาพใดมีน้ำหนักมากกว่าน้อยกว่า หรือเท่ากัน ทำซ้ำหลายหลายครั้งจนแน่ใจว่านักเรียนทุกคนทำได้

4. ให้วาดภาพสิ่งของหรือผลไม้ที่นักเรียนต้องการ พร้อมเขียนน้ำหนักใต้ภาพมีหน่วยการชั่งเป็นกิโลกรัม กรัม และขีด

5. นำภาพที่นักเรียนบันทึกน้ำหนักของแต่ละคนมาเปรียบเทียบ โดยเลือกภาพที่มีหน่วยเดียวกันให้นักเรียนบอกว่าสิ่งของใดมีน้ำหนักมากกว่า น้อยกว่า หรือเท่ากัน

6. ครูนำบัตรคำบอกค่าน้ำหนักติดบนกระดาน ให้นักเรียนเปรียบเทียบน้ำหนักภายในสองหน่วย เช่น         กรัมกับขีด กิโลกรัมกับกรัม กิโลกรัมกับขีด โดยติดบัตรเป็นคู่ ๆ นักเรียนช่วยกันบอกว่าน้ำหนักในบัตรคำใด หนักกว่า เบากว่า หรือเท่ากัน

ขั้นสรุป

7. ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปว่าการเปรียบเทียบน้ำหนักให้อยู่ในหน่วยเดียวกันหรือต่างกันเป็นการบอกมากกว่าน้อยกว่าหรือเท่ากันของสิ่งของต่าง ๆ

8. ให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดในหนังสือเรียน

สื่อการเรียนรู้/แหล่งการเรียนรู้

1. เครื่องชั่งสปริง

2. บัตรคำ/บัตรภาพ

3. ใบงาน

จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม วิธีการ เครื่องมือ เกณฑ์
การเปรียบเทียบน้ำหนักที่อยู่ในหน่วยเดียวกันหรือหน่วยต่างกันเป็นการบอกว่าสิ่งของที่นำมาเปรียบเทียบกันมีน้ำหนักมากกว่าน้อยกว่าหรือเท่ากับ ตรวจแบบฝึกหัด แบบฝึกหัด ถูกต้องร้อยละ 70 ขึ้นไป
การอภิปรายรายบุคคล การตอบคำถามการแสดงความคิดเห็น แบบประเมินพฤติกรรม แบบประเมินพฤติกรรมการอภิปรายรายบุคคล ระดับดีขึ้นไปถือว่าผ่าน

ClassStart ให้บริการฟรีโดย บริษัท ปิยะวัฒนา จำกัด
เราเป็นกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise)

สนับสนุนโดย
ผู้ไม่ประสงค์ออกนามท่านหนึ่ง (2563-2565)
มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ (2561-2563)
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (2557-2558)
กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (2557)
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (2554-2558)