โครง งาน วิทยาศาสตร์ น้ำมัน หอม ระเหย

Article Sidebar

โครง งาน วิทยาศาสตร์ น้ำมัน หอม ระเหย

เผยแพร่แล้ว: ธ.ค. 25, 2020

คำสำคัญ:

ระบบการสกัดน้ำมันหอมระเหย, น้ำมันหอมระเหยจากพืชสมุนไพร, ข่า, ตะไคร้, แกลบ

Main Article Content

ศิริลักษณ์ เหลียวกลาง

ดวงนภา บำรุงนา

พิเศษ ตู้กลาง

บทคัดย่อ

ระบบการสกัดน้ำมันหอมระเหยจากพืชสมุนไพรโดยใช้แกลบเป็นเชื้อเพลิง มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการสกัดน้ำมันหอมระเหยจากพืชสมุนไพรโดยใช้แกลบเป็นเชื้อเพลิง และวิเคราะห์น้ำมันหอมระเหยที่สกัดได้   โดยได้ออกแบบระบบการสกัดน้ำมันหอมระเหย หาประสิทธิภาพการสกัดน้ำมันหอมระเหย และวิเคราะห์น้ำมันหอมระเหยที่สกัดได้โดยใช้เทคนิควิธีทางกายภาพและทางเคมี จากผลการวิจัยพบว่าประสิทธิภาพทางความร้อนของหม้อสกัดสาร มีค่า 841.39 กิโลจูล ประสิทธิภาพทางความร้อนของเตาชีวมวลในการสกัดน้ำมันจากข่าและตะไคร้มีค่าร้อยละ15.01 และ ร้อยละ14.84 ตามลำดับ ในการสกัดน้ำมันหอมระเหยปริมาณน้ำมันหอมระเหยจากข่า และ ตะไคร้ที่สกัดได้ ดังนี้ 201.67 มิลลิลิตร และ216.67 มิลลิลิตร ตามลำดับ กลิ่นของน้ำมันหอมระเหยข่าและตะไคร้ดังนี้ กลิ่นฉุนแรงมาก และกลิ่นหอมฉุน ตามลำดับ สีของน้ำมันหอมระเหยข่าและตะไคร้ ดังนี้ สีเหลืองทอง และ สีน้ำตาลแดง ตามลำดับ ค่าความเป็นกรด-เบสของน้ำมันหอมระเหยข่าและตะไคร้ มีค่าพีเอชดังนี้ 5.12 และ 4.39 ตามลำดับ ซึ่งจัดว่าเป็นกรดอ่อน ตามค่ามาตรฐานของน้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้และข่า และความเข้มข้นของน้ำมันหอมระเหยข่าและตะไคร้ มีค่าดังนี้ 0.04 และ 0.14 ตามลำดับ จากงานวิจัยจึงสรุปได้ว่าระบบการสกัดน้ำมันหอมระเหย และน้ำมันหอมระเหยที่สกัดได้มีประสิทธิภาพสูงสามารถนำไปใช้สกัดน้ำมันหอมระเหยจากพืชสมุนไพร และสามารถนำไปต่อยอดทำเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพรได้


Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ก่อนเท่านั้น

References

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย. 2561. เครื่องสกัดน้ำมันจากพืชด้วยพลังงานแสงอาทิตย์.
(Online). Available URL: http://www4.egat.co.th/re/egat_business/egat_herb.
(1 สิงหาคม 2562).
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย. 2561. ถังสกัดสารจากพืชด้วยพลังงานแสงอาทิตย์.
(Online). Available
URL: http://www4.egat.co.th/re/egat_business/egat_herb/egat_herb.htm.
(1 สิงหาคม 2562).
ไทยไบโอเทค ดอท อินโฟม. 2548. พลังงานชีวมวล. (Online). https://www.thaibiotech.info/biomass-energy.php. (1 สิงหาคม 2562).
นภาลัย หาญสุนันทนนท์. 2557. สุคนธบำบัด. (Online). Available URL:
http://thaicamdb.info/Downloads/PDF. (4 สิงหาคม 2562).
มหาวิทยาลัยแม่โจ้. 2560, น้ำมันหอมระเหยจากพืชสมุนไพร. (Online). Available URL:
http://www.erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=753. (2 สิงหาคม 2562).
เยสสปาไทยแลนด์. 2562. น้ำมันหอมระเหย. (Online). http://www.yesspathailand.com.
(1 สิงหาคม 2562).
วิรัตน์ เจริญบุญ. 2560. เตาชีวมวลแกลบพลังงานเพื่อเกษตรกรไทย. (Online). http://www.Stoscijournal.kku.ac.th. (1 สิงหาคม 2562).
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. 2559. สมุนไพร. (Online). https://www.hsri.or.th. (1 สิงหาคม 2562).
สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. 2545. ผลิตผลจากพืช. (Online). https://www.tisi.go.th. (1 สิงหาคม 2562).
ไอเอนเนอร์จีกูรู. 2561. เตาเผาชีวมวล. (Online). Available URL:
https://ienergyguru.com/ biomass-sources. (2 สิงหาคม 2562).
Arjum Munir (2014) Potential of solar industrial process heat applications,
J. Appl Energy. Volume 76. Pages 337-361.
Murat Yılmaztekin (2018) Status and Trends, University of Engineering and
Technology, Taxila, Pakistan. Available online at:
http://202.83.164.28/mowp/userfliles1/file/uploads/publications/repk.pdf.
Yen H.Y. and Lin Y.C. (2017). Green extraction of Cymbopogon citrus essential oil
by solar energy. Industrial Crops & Products. Volume 108. Pages 716.

Just for you: FREE 60-day trial to the world’s largest digital library.

The SlideShare family just got bigger. Enjoy access to millions of ebooks, audiobooks, magazines, and more from Scribd.

Read free for 60 days

Cancel anytime.

ชื่อโครงงาน               น้ำมันหอมระเหยจากหอมแดง

ผู้จัดทำโครงงาน           1. นางสาว  ชุติมณฑน์     บุญก่อเกื้อ

                             2. นางสาว  ธนพร        ขันดี

                             3. นางสาว  วัทนวิภา     เจริญสุข                                             

ครูที่ปรึกษาโครงงาน      อาจารย์ศุภพงศ์  คล้ายคลึง

โรงเรียนมกุฎเมืองราชวิทยาลัย

ปีการศึกษา  2556

บทคัดย่อ

        จากการศึกษาโครงสร้างองค์ประกอบและคุณประโยชน์ของหอมแดง ลักษณะของหอมแดงมีสรรพคุณทางยามากมาย เช่น การแก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ แก้วิงเวียนศรีษะ ไข้หวัดเป็นต้น คุณสมบัติและสรรพคุณเหล่านี้สามารถนำมาประยุกต์ใช้และเหมาะสมต่อการนำมาบริโภค โดยการทำน้ำมันหอมระเหยซึ้งง่ายต่อการพกพา อาจจะมีกลิ่นหอมแดงปน เพื่อบรรเทาอาการเจ็บป่วยต่างๆ โครงงานน้ำมันหอมระเหยจากหอมแดงสามารถใช้ในการเพิ่มมูลค่าสินค้า และการพกพาสะดวก สำหรับน้ำมันหอมระเหย น้ำมันหอมระเหยได้ถูกสกัดจากตัวทำละลาย 3 ชนิด คือ เอทานอล เฮกเซน และน้ำ เพื่อหาปริมาณของน้ำมันหอมระเหยที่ได้จากการสกัดจากตัวทำละลายตัวไหนให้ปริมาณน้ำมันหอมระเหยจากหอมแดงมากกว่า ซึ่งมีขั้นตอนการสกัด คือ นำหอมแดงอย่างละ 20 กรัม และตัวทำละลาย 3 ชนิด ชนิดละ 100 มิลลิลิตร นำตัวทำละลาย 3 ชนิด ใส่ในขวดรูปชมพู่ 3 ขวด จากนั้นปิดฝาด้วยกระดาษฟรอยและเขย่าให้เข้ากัน  จากนั้นทิ้งไว้ 3 วัน และบันทึกปริมาณน้ำมันหอมระเหยจากหอมแดงที่ได้จากการสกัด