โครงงานสบู่เหลวว่านหางจระเข้

Chuyển đến phần nội dung

โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่องสบู่จากว่านหางจระเข้

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูเพิ่มเติม

โครงงานสบู่เหลวว่านหางจระเข้

ศึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง สบู่สมุนไพรว่านหางจระเข้จากกลีเซอรีนธรรมชาติ

ศึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
เรื่อง สบู่สมุนไพรว่านหางจระเข้จากกลีเซอรีนธรรมชาติ
จัดทำโดย
ชื่อกลุ่ม SIMPLE
นายณัฐภัทร
จันทร์ทองคำ เลขที่ 12
นางสาวพิมญาดา
กลิ่นกุหลาบ เลขที่ 27
นางสาวศุภพิชญ์
โพธิสุวรรณ เลขที่ 32
ชั้น ปวช.1/2 คอมพิวเตอร์กราฟิก
แหล่งอ้างอิงและที่มา
http://nrcaum.blogspot.com/2016/03/17192427122558triclocarban1.html?m=1

โครงงานสบู่เหลวว่านหางจระเข้

โครงงาน​สบู่สมุนไพร​

การทำสบู่ขิง

โครงงานสบู่เหลวว่านหางจระเข้

นวัตกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน \”สบู่เหลวสมุนไพร ปลอดภัยจาก COVID-19\”

โครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล (1 ตำบล 1 โรงเรียนคุณภาพ) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1

โครงงานสบู่เหลวว่านหางจระเข้

การนำเสนอโครงงานสบู่สมุนไพรใบเตย

โครงงานสบู่เหลวว่านหางจระเข้

นอกจากการดูหัวข้อนี้แล้ว คุณยังสามารถเข้าถึงบทวิจารณ์ดีๆ อื่นๆ อีกมากมายได้ที่นี่: ดูบทความเพิ่มเติมในหมวดหมู่Wiki

Xin chào các bạn, mình là Lê Trung Kiên. Là một người yêu thích thiết kế và sáng tạo nên mình đã thành lập ra website Sgreen.vn để chia sẻ các kiến thức liên quan đến thiết kế cho tất cả mọi người Xem tất cả bài viết của LÊ TRUNG KIÊN

Điều hướng bài viết

โครงงาน

เรื่อง  สบู่สมุนไพรว่านหางจระเข้จากกลีเซอรีนธรรมชาติ

จัดทำโดย

นายธีรทัศน์   คงนาวัง                   เลขที่ 4

นางสาวชมพูนิกข์   เถื่อนนาดี        เลขที่ 6

 นางสาวสิรินดา  อุ่นช่วง               เลขที่ 26

 นางสาวสุนิตา  ดีดวงพันธ์            เลขที่ 28

 นางสาวโสภิตนภา  ภูดินทราย     เลขที่ 27

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1

ครูที่ปรึกษาโครงงาน

คุณครูนิภาพร แสงทวี

รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนวิชา เทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์

ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561

โรงเรียนโกสุมวิทยาสรรค์

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26

คำนำ

       รายงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา เทคโนโลยีและคอมพิวเตร์ I20202  โดยมีจุดระสงค์เพื่อการศึกษาหาความรู้ในเรื่อง สบู่สมุนไพรว่านหางจระเข้จากกลีเซอรีนธรรมชาติ คณะผู้จัดทำโครงงาน ได้รับความอนุเคราะห์จากบุคคลภายนอกที่ให้คำแนะนำปรึกษาเกี่ยวกับกลีเวอรีนธรรมชาติที่ได้จำทำการผลิตขึ้นมาเองจากวัติถุดิบที่ปลอดสารเคมี และได้รับคำแนะนำในเรื่องการทำสบู่ วิธีการทำสบู่อย่างถูกต้องและถูกวีธี 

       ผู้จัดทำหวังว่า รายงานเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน หรือนักเรียน นักศึกษาที่กำลังหาข้อมูลเรื่องนี้อยู่ไม่มากก็น้อยและหากมีขิ้ผิดพลาดประการใด คณะผู้จัดทำขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย

นายธีรทัศน์  คงนาวัง

                                                                                                                                                  และคณะ

สารบัญ

เรื่อง                                                                                                                         หน้า

บทที่ 1 บทนำ                                                                                                                                              1

            1.1 ที่มาและความสำคัญ                                                                                                                  1

            1.2 วัตถุประสงค์                                                                                                                              2

            1.3 ผลที่คาดว่าจะได้รับ                                                                                                                   2

            1.4 ประโยชน์ที่ได้รับ                                                                                                                      3

            1.5 ขอบเขตการศึกษา                                                                                                                      3                                                                                                            

บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง                                                                                                                           4

            2.1 ความหมายของสบู่                                                                                                                    4

            2.2 คุณสมมบัติของสบู่ที่ได้จากกรดไขมันต่างชนิดกัน                                                                  4

            2.3 ความรู้เรื่องเบส (ด่าง)                                                                                                               5

            2.4 ความสำคัญของสบู่                                                                                                                  6

บทที่ 3 วิธีการดำเนินงาน                                                                                                                           7

            3.1 วัสดุอุปกรณ์ในการทำสบู่                                                                                                        7

            3.2 วิธีการดำเนินงาน                                                                                                                     8

บทที่ 4 ผลการดำเนินงาน                                                                                                                          9

บทที่ 5 สรุปและอภิปรายผลการทดลอง                                                                                                   10

            5.1 สรุปผลการทำโครงงาน                                                                                                          10

            5.2 ข้อเสนอแนะ                                                                                                                           10                    

บทที่  1

บทนำ

1.1 ที่มาและความสำคัญของโครงงาน

       สบู่ เป็นเครื่องสำอางชนิดหนึ่งที่ใช้ในการทำความสะอาดร่างกาย เดิมใช้เพื่อทำความสะอาดร่างกายเท่านั้น ปัจจุบันกระบวนการผลิตสบู่ มีการเพิ่มส่วนผสมอื่นๆ เพื่อให้สบู่มีสรรพคุณตรงตามความต้องการของผู้บริโภคมากขึ้น เช่น มีสีสันที่สวยงามน่าใช้ มีกลิ่นหอม และมีสรรพคุณทางยาในทางการค้า มีการใช้สารสังเคราะห์เพิ่มขึ้นทำให้ผลิตภัณฑ์น่าใช้ บรรจุภัณฑ์สวยงามแต่แฝงไป ด้วยสารเคมีที่เป็นอันตราย มีพิษตกค้างและราคาสูง ปัจจุบันนิยมใช้พืชสมุนไพรที่มีอยู่ในธรรมชาติมาเป็นส่วนผสมเพิ่มเติมในสบู่ แทนการใช้สารเคมีสังเคราะห์ พืชสมุนไพรที่ใช้ มีสาระสำคัญและมีสรรพคุณทางยา เช่น มีน้ำมันหอมระเหยที่มีกลิ่นเฉพาะใช้ในการบำบัดโรค มีสีสันสวยงาม หาง่ายราคาถูก ประหยัด ปลอดภัย ไร้สารสังเคราะห์ และไม่มีพิษตกค้าง ทำให้สบู่สมุนไพรที่ผลิตขึ้นจากผลิตภัณฑ์ธรรมชาติมีคุณลักษณะเฉพาะที่หลากหลาย จึงเป็นบทพิสูจน์ให้เห็นถึงความมหัศจรรย์ของสบู่สมุนไพรที่มีคุณค่ายิ่งของภูมิปัญญาไทย เชื่อว่าทุกคนไม่ว่าจะเป็นเพศไหน วัยไหน หรือชาติไหน คงไม่มีใครไม่รู้จักหรือไม่เคยใช้ สบู่ในการ นำมาถู ผสมกับน้ำเพื่อชำระล้างสิ่งสกปรกและทำความสะอาดร่างกาย ที่มาตั้งแต่สมัยโบราณ เพราะในการใช้ชีวิตประจำวันของคนทุกคนต้องมีการอาบน้ำกันอยู่ทุกวัน โดยปกติคนส่วนใหญ่เฉลี่ย ก็อาบน้ำวันละสองครั้ง และปัจจุบันนี้  สบู่ก็มีมากมายหลาย ชนิดให้ได้เลือกใช้ ตามความเหมาะสม และความชอบของแต่ละบุคคล  แต่จะมีใครทราบหรือไม่ว่าสบู่ส่วนใหญ่ที่ใช้กันอยู่ล้วนแล้วแต่มีส่วน   ผสมที่ เป็นพิษของสารซักฟอก และสารเคมี และเศษที่หลงเหลือในอุตสาหกรรม จากการกลั่นน้ำมันและปิโตรเลียมเคมีรวมถึงวัตถุกันเสีย ซึ่งสารเหล่านี้ล้วนส่งผลร้ายต่อสัตว์และคน และที่มากกว่านั้น คือ ผิวสามารถดูดซึมของเสียเหล่านี้ได้ถึง 60%

ดังนั้นทางเราจึงได้ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับการทำสบู่แล้วจัดทำสบู่สมุนไพรขึ้นมาจากกลีเซอรีนธรรมชาติที่ใช้ได้ผลอย่างดียิ่ง อีกทั้งยังไม่มีสารเคมีหรือสารพิษปนมาอีกด้วย สบู่นั้นเป็นผลจากปฏิกิริยาเคมีของส่วนผสมพื้นฐานคือน้ำด่าง(SodiumHydroxide) หรือ( PotassiumHydroxide) กับน้ำมันซึ่งในที่นี้มาจากน้ำมันมะพร้าวปฏิกิริยาเคมีนี้เรียกว่า Saponificationซึ่งจะทำให้ได้เกลือในรูปของแข็งที่ลื่นและมีฟองที่เราเรียกกันว่าสบู่โรงงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่มักจะใช้กากน้ำมันปิโตรเลียมเป็นเบสในการทำสบู่ซึ่งโมเลกุลของน้ำมันปิโตรเลียมจะมีขนาดใหญ่จนผิวไม่สามารถซึมซับได้และยังก่อให้เกิดอาการอุดตันได้อีกด้วย  นอกจากนี้ส่วนประกอบสำคัญทุกชนิดที่ใช้ในกระบวนการผลิต ยังเป็นผลิตภัณฑ์ที่ ได้จากธรรมชาติ คุณจึงมั่นใจได้ว่าไม่มีสารสังเคราะห์ใดๆ เจือปนอยู่ในสบู่ จึงเป็นสบู่ธรรมชาติที่มีความปลอดภัย

1.2 วัตถุประสงค์

       1.2.1 เพื่อทำสบู่ว่านหางจระเข้จากกลีเซอรีนธรรมชาติ

       1.2.2 เพื่อศึกษาวิธีการทำสบู่สมุนไพร

       1.2.3 เพื่อนำสบู่ที่ทำมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับตัวเอง

       1.2.4 เพื่อการลงมือปฏิบัติจริง

       1.2.5 เพื่อเป็นประสบการณ์ในด้านของการศึกษาและเรียนรู้นอกสถานที่

       1.2.6 เพื่อเป็นหนทางหารายได้และนำไปประกอบธุรกิจในขั้นต่อไป

       1.2.7 เพื่อฝึกการปฏิบัติงานร่วมกันอย่างเป็นหมู่คณะ

       1.2.8 เพื่อศึกษาทักษะกระบวนการ การแก้ปัญหา ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์

       1.2.9 เพื่อฝึกการคิดวิเคราะห์ในการทำรูปแบบต่างๆของสบู่

       1.2.10 เพื่อศึกษาสรรพคุณของพืชสมุนไพรชนิดต่างๆที่จะนำมาเป็นส่วนผสมในการทำสบู่

       1.2.11เพื่อให้มีสบู่ที่ผลิตจากสมุนไพรธรรมชาติ

        1.2.12 เพื่อที่จะให้สบู่สมุนไพรเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป

1.3 ผลที่คาดว่าจะได้รับ

       1.3.2 สามารถนำสบู่ที่ผลิตออกมาไปขายได้

       1.3.2 สบู่มีความน่าสนใจต่อบุคคลทั่วไป

       1.3.3 สามารถใชสบู่ที่เราผลิตขึ้นเองเพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่ายใรครัวเรือนได้

       1.3.4 สามารถทำเป็นของฝากหรือของชำร่วยได้

       1.3.5 เพื่อจะได้ใช้สบู่ที่มีสมุนไพรและทำจากธรรมชาติ

1.4 ประโยชน์ที่ได้รับ

       1.4.1 ได้ทำสบู่สมุนไพรขึ้นมาจากสบู่กลีเซอรีนธรรมชาติ

       1.4.2 ได้รู้ถึงวิธีการทำสบู่อย่างถูกต้องโดยละเอียด

       1.4.3 ได้ลงมือค้นคว้าหาข้อมูลและปฏิบัติจริง

       1.4.4 ได้รับความรู้และประสบการณ์จากการทำสบู่

       1.4.5 ได้สบู่มาเป็นหนทางหารายได้และนำไปประกอบธุรกิจในขั้นตอนต่อไปได้

       1.4.6 ได้ฝึกการปฏิบัติงานร่วมกันอย่างเป็นหมู่คณะ

       1.4.7 ได้ฝึกทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหาด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์

       1.4.8 ได้รู้สรรพคุณของพืชสมุนไพรชนิดต่างๆที่สามารถนำมาทำสบู่ได้

       1.4.9 ได้สบู่ที่ทำจากสมุนไพรซึ่งปราศจากสารตกค้างและสามารถนำมานำใช้เองได้

1.5 ขอบเขตการศึกษา 

        การทำสบู่สมุนไพรว่านหางจระเข้จากกลีเซอรีนธรรมชาตินั้นจะได้สบู่สมุนไพรหลากหลายรูปแบบและหลากหลายชนิด ก็ขึ้นอยู่กับแบบพิมพ์ที่จะนำมาพิมพ์สบู่กับสมุนไพรชนิดต่างๆที่นำมาผสมกับกลีเซอรีน ทำให้ได้สบู่ตามที่เราต้องการ โดยสบู่ที่ได้มานั้นจะไม่มีสารพิษหรือสารเคมี ใดๆที่จะตกค้างภายในร่างกายของเราได้เลย เมื่อเรานำสบู่ที่ทำมาใช้ เพราะส่วนผสมที่นำมาทำนั้นล้วนแล้วแต่ทำมาจากธรรมชาติทั้งสิ้น                                                                            

       ระยะเวลาในการศึกษา เดือนมกราคม-เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2561

บทที่  2

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

2.1สบู่

       สบู่ เป็นสิ่งที่ใช้ในการทำความสะอาดร่างกาย เช่น การอาบน้ำ การล้างมือ สบู่จะช่วยละลายไขมัน ทำให้การชำระล้างสะอาดมากขึ้น

        สบู่ (soap) คือสารเคมีที่เกิดจากการทำปฏิกิริยากันระหว่างโซเดียมไฮดรอกไซด์(ด่าง,โซดาไฟ, (NaOH,) และน้ำมันที่มาจากสัตว์หรือพืชมีส่วนผสมระหว่างกรด(ไขมัน)กับเบส(ด่าง) ในอัตราส่วนที่ทำให้สามารถทำความสะอาดได้ดี และไม่เป็นอันตรายต่อผิว คือมีค่า pH อยู่ระหว่าง 8-10ใช้ชำระล้างร่างกายควบคู่กับการอาบน้ำ ทำมาจากไขมันสัตว์ผสมกับน้ำหอม โซดาไฟ และวัตถุดิบอื่นๆ

        สบู่ก้อน คือส่วนผสมระหว่างกรด(ไขมัน)กับเบส(ด่าง) ในอัตราส่วนที่ทำให้สามารถทำความสะอาดได้ดี และไม่เป็นอันตรายต่อผิว คือมีค่า pH อยู่ระหว่าง 8-10 (ในเอกสารจดแจ้งของ อย.ให้ผู้ผลิตสบู่ก้อนระบุว่ามีค่า ph ไม่เกิน 11) กรดหรือกรดไขมัน เช่นน้ำมันพืช ไขมันสัตว์ เบส เช่นโซดาไฟ โดยทั่วไปอัตราส่วนผสมที่เหมาะสมคือเมื่อผสมกันแล้วควรจะเหลือกรดไขมันอยู่ประมาณ5% หากไม่มีเครื่องมือในการวัดค่า pH ให้เก็บสบู่เอาไว้อย่างน้อย 15-30 วันเพื่อให้ค่า pH ลดลง อยู่ในอัตราที่เหมาะสม

กรด(ไขมัน)และเบส(ด่าง)ที่นำมาทำสบู่ ไขมันแต่ละชนิดประกอบด้วยกรดไขมันมากกว่า 1ชนิด ตามธรรมชาติกรดไขมันเหล่านี้จะไม่อยู่อิสระ แต่รวมตัวกับสารกลีเซอรอลในไขมันอยู่ในรูปกลีเซอไรด์ เมื่อด่างทำปฏิกิริยากับกรดไขมัน กรดไขมันจะหลุดออกจากกลีเซอไรด์ รวมตัวเป็นสบู่ สารที่เกาะอยู่กับกรดไขมันก็จะหลุดออกมาเป็นกลีเซอรีน ปฏิกิริยาของ กรดไขมันแต่ละชนิดเมื่อรวมตัวกับด่างแล้ว จะให้สบู่ที่มีคุณสมบัติแตกต่างกัน เช่น กรดลอริก (lauric acid) มีมากในน้ำมันมะพร้าว เป็นกรดไขมันที่ทำปฏิกิริยากับด่างแล้วให้สารที่มีฟองมาก เป็นต้น

2.2 คุณสมบัติของสบู่ที่ได้จากกรดไขมันต่างชนิดกัน

       2.2.1 น้ำมันมะพร้าว สบู่ที่ผลิตได้มีเนื้อแข็ง กรอบ แตกง่าย สีขาวข้น มีฟองมากเป็นครีม ให้ฟองที่คงทนพอควร เมื่อใช้แล้วทำให้ผิวแห้ง

       2.2.2 น้ำมันปาล์ม ให้สบู่ที่แข็งเล็กน้อย มีฟองน้อย ฟองคงทนอยู่นาน มีคุณสมบัติในการชะล้างได้ดี แต่ทำให้ผิวแห้ง

       2.2.3 น้ำมันรำข้าว ให้วิตามินอีมาก ทำให้สบู่มีความชุ่มชื้น บำรุงผิว ช่วยลดความแห้งของผิว

       2.2.4น้ำมันถั่วเหลือง เป็นน้ำมันที่เข้าได้ดีกับน้ำมันอื่น ให้ความชุ่มชื้น รักษาผิว แต่เก็บไว้ได้ไม่นาน มีกลิ่นหืนง่าย

       2.2.5 น้ำมันงา เป็นน้ำมันที่ให้วิตามินอี และให้ความชุ่มชื้น รักษาผิว แต่มีกลิ่นเฉพาะตัว

       2.2.6 น้ำมันมะกอกทำให้ได้สบู่ที่แข็งพอสมควร ใช้ได้นาน มีฟองเป็นครีมนุ่มนวลมาก ให้ความชุ่มชื้น ไม่ทำให้ผิวแห้ง

       2.2.7 น้ำมันละหุ่ง ช่วยทำให้สบู่มีฟองขนาดเล็กจำนวนมาก ทำให้สบู่เป็นเนื้อเดียวกันดี สบู่ไม่แตก ทำให้สบู่มีความนุ่มเนียน และช่วยให้ผิวนุ่ม

       2.2.8 น้ำมันเมล็ดทานตะวัน ทำให้สบู่นุ่มขึ้น แต่ฟองน้อย

       2.2.9 ไขมันวัว จะได้สบู่ที่มีเนื้อแข็งสีขาวอายุการใช้งานนานมีฟองน้อย ทนนาน แต่นุ่มนวล

       2.2.10 ไขมันหมู จะได้สบู่ที่มีเนื้อแข็ง อายุการใช้งานนาน ฟองน้อย แต่ทนนาน

       2.2.11 ขี้ผึ้ง ได้สบู่เนื้อแข็ง อายุการใช้งานนาน ฟองน้อย แต่ทนนาน

       2.2.12 ไขมันแพะ ได้สบู่เนื้อนุ่ม ได้ความชุ่มชื้นแก่ผิว ผิวนุ่มเนียน

2.3 เบส(ด่าง)ที่ใช้มี 3 ชนิด คือ

       2.3.1 ขี้เถ้า ใช้ในการผลิตสบู่ในสมัยโบราณ ปัจจุบันมีการพัฒนาใช้เป็นด่างแทน

       2.3.2 โซดาไฟ หรือโซเดียมไฮดรอกไซด์ ทำปฏิกิริยาได้สบู่ก้อนแข็ง

       2.3.3 โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ ทำปฏิกิริยาได้สบู่เหลว

2.4 ความสำคัญของสบู่

        สบู่ คือ ของใช้ที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน ทุกวันเราอาบน้ำต้องใช้สบู่เพื่อการขจัดสิ่งสกปรกออกจากร่างกาย ซึ่งคนส่วนมากมักจะเลือกสบู่ที่สามารถทำความสะอาดได้ดีมากๆ จนไม่คำนึงถึงผลเสียที่จะเกิดกับผิวในภายหลัง ปัจจุบันสบู่มีมากมายหลายชนิดให้เราเลือกใช้ ตามความเหมาะสมและความชอบของแต่ละบุคคล แต่เรารู้จักสบู่เหล่านั้นดีเพียงไร และจะมีสักกี่คนที่ใส่ใจในรายละเอียดว่าสบู่แต่ละก้อนมีส่วนประกอบสำคัญอะไรบ้าง สบู่ที่ดีจะต้องมีส่วนประกอบสำคัญที่จำเป็นและมีประโยชน์ต่อผิว ซึ่งนอกจากจะทำให้สบู่ที่ได้ทำความสะอาดผิวได้ดีแล้ว ยังสามารถบำรุงผิวได้อีกด้วย ทั้งนี้ สบู่เป็นสิ่งที่เราต้องใช้เป็นประจำทุกวัน หากเราคัดสรรสบู่ที่ดีมีคุณภาพ จะทำให้เรามีสุขภาพผิวของที่ดีอยู่คู่กับเราไปตลอดนานเท่านาน

บทที่  3

วิธีการดำเนินงาน

3.1 วัสดุอุปกรณ์ในการทำสบู่

       3.1.1 กลีเซอรีน    1/2 กิโลกรัม

       3.1.2 มีด      1  ด้าม

         3.1.3 หม้อ/ช้อน    1   ใบ/คัน

       3.1.4 เตาแก๊ส     1  อัน

        3.1.5 น้ำหอม     2-3 หยด

        3.1.6 สมุนไพร ว่านหางจระเข้     5 กรัม

  3.1.7 แม่พิมพ์สบู่      5 อัน

3.2 วิธีการดำเนินการ

       3.2.1 หั่นกลีเซอรีนให้เป็นชิ้นเล็กๆ

       3.2.2 นำกลีเซอรีนใส่หม้อแล้วนำไปตั้งไฟอ่อนๆ

       3.3.3 รอให้กลีเซอรีนละลายจนหมดโดยไม่ต้องคนมากเพราะจะทำให้เกิดฟอง

       3.3.4 รอจนกลีเซอรีนละลายจนหมดแล้วจึงใส่สมุนไพรที่เราได้จัดเตรียมไว

       3.3.5 อาจใส่สีหรือกลิ่นตามชอบลงไป  ( หรือใช้สีตามธรรมชาติของสมุนไพร)

       3.3.6 ใช้ไม้พายคนส่วนผสมให้เข้ากันโดยคนเบาๆอย่าคนแรงเพราะจะทำให้เกิดฟอง

       3.3.7 เมื่อส่วนผสมเข้ากันดีจึงปิดไฟ

       3.3.8 นำสบู่ที่ได้เทใส่แม่พิมพ์ที่เตรียมไว้

       3.3.9 แล้วจึงตั้งทิ้งไว้รอให้สบู่แข็งตัวประมาณ  30  นาที

       3.3.10 เมื่อสบู่แข็งตัวดีแล้วจึงแกะออกจากแม่พิมพ์แล้วเก็บให้มิดชิดอย่าให้โดนลม

บทที่ 4

ผลการดำเนินงาน

         สบู่สมุนไพรว่านหางจระเข้จากกลีเซอรีนธรรมชาติ  ได้ใช้สารสกัดจากธรรมชาติซึ่งจะช่วยให้สบู่นั้นมีคุณสมบัติที่ดีมากขึ้น

         สบู่สมุนไพรว่านหางจระเข้จากกลีเซอรีนธรรมชาติ ช่วยให้ผิวหนังที่แห้งดูชุ่มชื่น เพราะใบของว่านหางจระเข้มีฤทธิ์ฝาดสมาน ถ้าต้องการลดการทำให้ผิวแห้งได้ทั้งนี้ยังช่วยลดผื่นคันและทำความสะอาดร่างกายไปในตัว

บทที่ 5

สรุปและอภิปรายผลการทดลอง

5.1สรุปผลการทำโครงงาน

         กลีเซอลีนธรรมชาติสามารสนำมาผสมกับสมุนไพรชนิดต่าง ๆ ได้เพื่อให้ได้สบู่สมุนไพรตามความต้องการของผู้ใช้ โดยที่ปราศจากสารเคมีต่างๆ ที่เป็นอันตรายต่อร่างกายในระยะยาว ผิวหนังของคนเราต่างกันเราจึงเลือกใช้สบู่ที่ต่างชนิดกันจึงมีสบู่หลากหลายให้คุณได้เลือกใช้ บางคนก็ชอบใช้ขมิ้น  บางคนก็ชอบใช้ว่านหางจระเข้ ดังนั้น  เราจึงสามารถทำเองได้โดยใช้กลีเซอรีนจากธรรมชาตินี้ สมุนไพรที่ใช้ก็หาได้ง่ายในท้องถิ่นราคาไม่แพงและยังให้ประโยชน์ต่อผิวเราได้ดีอีกด้วย

5.2ข้อเสนอแนะ

       5.2.1 ใช้แอลกอฮอล์  95%  ฉีดหลังจากเทสบู่ลงแบบพิมพ์เพื่อไล่ฟองอากาศ

       5.2.2 นำสมุนไพรชนิดอื่นที่ชื่นชอบมาผสมลงในสบู่ เช่น ขมิ้น

       5.2.3 สบู่ที่แกะออกจากแม่พิมพ์แล้วไม่ควรปล่อยให้โดยลมเพราะจะทำให้สบู่มีฟองน้อยลงจึงควรรีบห่อบรรจุภัณฑ์ที

 เอกสารอ้างอิง

       สรรพคุณของว่านหางจระเข้.วันที่สืบค้น 20 มกราคม 2562แหล่งที่มา https://www.honestdocs.co/aloe-vera-benefits       วิธีการทำสบู่วันที่สืบค้น 21 มกราคม 2562แหล่งที่มาhttps://th.wikihow.com/%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%AA%E0%B8%9A%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%99