วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ในชีวิต ประ จํา วัน

วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน by

วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ในชีวิต ประ จํา วัน

Show

1. เทคโนโลยีชีวภาพ

1.1. การนำสิ่งมีชีวิตหรือชิ้นส่วนของสิ่งมีชีวิตมาพัฒนาหรือปรับปรุงเพื่อประโยชน์เฉพาะตามที่ต้องการ

1.2. เทคโนโลยีการหมักเป็นเทคโนโลยีที่เก่าแก่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ

1.3. แบ่งได้ 4 สาขา สาขาชีววิทยา สาขาจุลชีววิทยา สาขาเคมี สาขาอณูพันธุศาสตร์

1.4. การผลิตวัคซีน

1.5. การผสมเทียมกับภาวะมีบุตรยาก

1.6. เทคโนโลยีชีวภาพกับโรคเบาหวาน

1.7. GMOs

1.8. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีชีวภาพ

2. ความรู้พื้นฐานทางพันธุศาสตร์

2.1. กฎของเมนเดล (กฎของการแปรผัน)

2.2. ยีนและโครโมโซม

2.3. DNA

2.4. RNA

2.5. การสังเคราห์โปรตีน

3. พันธุวิศวกรรมและการประยุกต์ใช้

3.1. พันธุวิศวกรรมเบื้องต้น

3.2. การโคลนนิ่ง

3.3. การประยุกต์ใช้พันธุวิศวกรรม

4. ฟิสิกส์ในชีวิตประจำวัน

4.1. ความรู้พื้นฐานทางฟิสิกส์

4.2. ฟิสิกส์และเทคโนโลยีกับชีวิตประจำวัน

4.3. การยศาสตร์

5. เครื่องมือและเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข

5.1. อุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์และสาธารณสุข

5.2. เทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข

5.2.1. เซลล์ต้นกำเนิด

5.2.2. การบำบัดด้วยยีน

พูดกันมากมายเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน และดูเหมือนทุกคนจะรู้และเข้าใจ แต่ถ้าถามว่าตกลงเกี่ยวข้องกันอย่างไร มีใครบ้างไหมช่วยตอบให้ที

          มาเปิดบล็อกไว้สักพักแล้ว และถ้านับจำนวนบทความก็ต้องถือเป็นน้องใหม่  ตอนแรกกะว่าจะมาเขียนทุกๆวันวันละนิดเพื่อแลกเปลี่ยนมุมมองในชีวิตและแลกเปลี่ยนความรู้ แต่สุดท้ายก็พ่ายแพ้ต่อกิเลส แบบว่ามีมารผจญเยอะแยะมากมายกว่าจะฝ่าฟัน ผ่านค่ายกลในชีวิตประจำวันมาได้ จนสุดท้ายวันนี้ได้มีโอกาสอู้งานมานั่งพิมพ์ได้ แต่ก็ไม่รู้ว่าจะมีใครสนใจเรื่องเดียวกันหรือเปล่า..ไม่เป็นไรอย่างน้อยก็จะได้เล่าสู่กันฟัง
          ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมารู้สึกว่าระบบการเรียนการสอนของบ้านเราจะนับวันถอยหลังเข้าคลองไปทุกที ขณะที่ต่างชาติส่วนใหญ่เขาใส่เกียร์ 5 เดินหน้าเต็มที่ แต่บ้านเรากลับพบว่าเหมือนกับจะใส่เกียร์ 5 เหมือนกัน แต่ถอยหลังแทนที่จะเดินหน้า   ไม่รู้ว่าเป็นเพราะระบบ/หลักสูตร   เป็นเพราะผู้สอน เป็นเพราะผู้เรียน เรื่องใดกันแน่  หรือาจเป็นเพราะคนดีไม่ได้บริหาร  คนที่บริหารก็ไม่ค่อยดี  หรืออาจจะดี แต่ก็แวดล้อมด้วยบริวารที่ไม่ดี หรือว่าสถานการณ์การศึกษาในบ้านเราอาจจะแย่ลงจนยากเยียวยา ก็ไม่อาจรู้ได้  คงต้องทำใจ แต่ก็ยังมีความหวังว่ากรุงรัตนโกสินทร์คงไม่สิ้นคนดี  พิมพ์ไปพิมพ์มาจะกลายเป็นเรื่องการเมืองไปสะแล้ว ยิ่งเดี๋ยวนี้กฏหมายออกมาพูดไรมากอาจโชคดีสามชั้นได้ที่อยู่ฟรี  แล้วก็ข้าวผัดกะโอเลี้ยงฟรี แถมมียามคอยดูแลอีกต่างหาก ... วกกลับมาเข้าเรื่องดีกว่า 
          ตั้งใจว่าวันนี้จะพูดเรื่อง คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน เพราะเห็นพูดกันมามากมายหลายสิบปี เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวันและดูเหมือนทุกคนจะรู้และเข้าใจ แต่ถ้าถามว่าตกลงเกี่ยวข้องกันอย่างไร มีใครบ้างไหมที่จะช่วยตอบได้  กลับหาได้น้อยคน ระยะหลังพบว่ามีการเรียนการสอนเป็นวิชาให้เรียนกันในห้องเรียนกันเลยทีเดียว  แต่เท่าที่ค้นดู เนื้อหาส่วนใหญ่ก็ไม่หนีคณิตศาสตร์ หรืออาจมีกลิ่นอายที่ต่างไปบ้างแต่ก็ไม่พ้น เซต ระบบจำนวน การให้เหตุผล  สมการ  อสมการ การแปลงเชิงเส้น  ดอกเบี้ย  ร้อยละ กำไรขาดทุน   ดัชนี การนับ  สถิติ  ความน่าจะเป็น อะไรประมาณนั้น  บางวิชาที่สอนกันดูๆไปก็คล้ายๆกับเป็นคณิตศาสตร์พื้นฐาน หรือ คณิตศาสตร์ธุรกิจมากกว่า แต่จะว่าไปชื่อนั้นสำคัญไฉน เรื่องบางเรื่องไม่มีถูกหรือผิด ขึ้นอยู่ว่าจะมองอย่างไรมุมไหน เวลาไหนเท่านั้นเอง
          ในความคิดส่วนตัวของผมเอง อาจผิดหรือถูกแล้วแต่มุมมองคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวันนั้น น่าจะเป็นวิชาที่บรูณาการกับอีกหลายๆ สาขาวิชาเข้าด้วยกัน หรืออาจเป็นการประยุกต์เพื่อนำไปใช้งานหรือใช้ในชีวิตจริง เพื่อเป็นดั่งสะพานที่เชื่อมโยงระหว่างโลกของคณิตกับโลกของความจริง  แล้วถ้าเป็นไปได้น่าจะเริ่มจากเรื่องง่ายๆ ไปสู่เรื่องยากๆ เพื่อผู้ที่ไม่มีพื้นไม่รักวิชานี้ จะได้เริ่มรู้เข้าใจว่าส่วนหนึ่งของคณิตศาสตร์ที่แท้จริงนั้นเป็นอย่างไร แล้วสามารถคิดเป็นวิเคราะห์เป็น สามารถนำความรู้ไปใช้ได้ในชีวิตจริง ไม่ใช่แค่ท่องไปจำไปเพื่อสอบ  เพราะการที่เรียนรู้คณิตศาสตร์นั้นส่วนหนึ่งจะเป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม แล้วในขณะเดียวกันก็เป็นการเรียนรู้อดีต ปัจจุบัน และศึกษาแนวโน้มในอนาคต แล้วสุดท้ายเมื่อรู้รอบพอควรแล้วก็ไม่พ้นกลับมาเรียนรู้ตนเอง  น่าสังเกตนะครับว่าคนที่รักคณิตศาสตร์ ส่วนหนึ่งจะรักที่จะเรียนรู้ปรัชญา เรียนรู้ธรรม แล้วส่วนหนึ่งในนี้จะเข้าใจว่าการเรียนคณิตศาสตร์เป็นเหมือนกับประตูหรือเครื่องมือที่พาเราไปสู่โลกการเรียนรู้แบบไม่มีที่สิ้นสุด และมีส่วนทำให้เราเป็นคนที่สมบูรณ์ขึ้นไม่มากก็น้อย ซึ่งถ้าจะพูดให้ละเอียดคงเขียนหรือพิมพ์กันได้อีกหลายตอนแน่
          ทั้งหมดนี้อย่าคิดว่าผมถูกและอย่าเชื่อนะครับเป็นเพียงแค่ความคิดคนธรรมดาคนหนึ่งเท่านั้นเอง พูดไปแล้วออกจะหนักไปทางปรัชญามากหน่อย  ลองตามมาดูกันนะครับว่าถ้าจะนำสิ่งเหล่านี้ไปจัดทำเป็นรายวิชาหรือให้มีเนื้อหาน่าจะทำได้อย่างไร  แต่คงต้องบอกไว้ก่อนว่าไม่มีอะไรที่ดีที่สุดและก็หวังว่าคงจะมีผู้ชี้แนะแนวทางเพิ่มเติมเพื่อจะได้แลกเปลี่ยนความรู้กัน เท่าที่ผมกำลังพยายามอยู่นั้นผมมองว่า คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวันอาจแบ่งออกได้เป็นหลายแง่มุม ซึ่งขอยกตัวอย่างไว้เพื่อที่จะได้มีผู้รู้ช่วยชี้แนะดังนี้


1. ความหมายและพัฒนาการความคิดทางคณิตศาสตร์ 
       - ความหมายของคณิตศาสตร์
       - พัฒนาการความคิดทางคณิตศาสตร์
       - การพัฒนาทักษะกระบวนการแก้ปัญหา
2. คณิตศาสตร์กับตัวเลขและสัญลักษณ์  
       - ความเป็นมาและความหมายของตัวเลขและสัญลักษณ์ที่น่าสนใจ
       - ตัวเลขและสัญลักษณ์ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
3.  คณิตศาสตร์กับปรากฏการณ์ธรรมชาติ  
       - ตัวอย่างปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกี่ยวข้องในมุมมองของคณิตศาสตร์  
       - หลักการและทฤษฎีทางคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง
       - การศึกษาความสัมพันธ์และการหาคำตอบของปรากฏการณ์ธรรมชาติที่น่าสนใจ
       - ปรากฏการณ์ธรรมชาติ และสิ่งก่อสร้างที่เกี่ยวกับสัดส่วนทองคำ (Golden ratio)
4.  คณิตศาสตร์กับศิลปและความงาม 
       - ความสวยงามในมุมมองของคณิตศาสตร์  (Heart curve ,  Fractal , Golden ratio, …)
       - เรขาคณิตกับศิลป ( Origami , Tangram , …)
       - ตัวอย่างการออกแบบลวดลาย (Patterns, Tilings, Tessellations, ลายไทย, การออกแบบลวดลายผ้า, การปักครอสติส,การร้อยลูกปัด, ...)
       - ตัวอย่างการออกแบบโครงสร้าง (โครงสร้างอาคาร, แผนที่,  เขาวงกต,  ...)
        - ความสวยงามของผลึก/โครงสร้างอะตอม
5 .  คณิตศาสตร์กับเทคโนโลยี 
       - ระบบเลขฐานกับเทคโนโลยี
       - จากลูกคิดสู่คอมพิวเตอร์
       - Discrete mathematics 
       - Fuzzy logic กับเทคโนโลยี 
       - คอมพิวเตอร์กราฟฟิก / เกม กับคณิตศาสตร์
       - รหัสผ่านและการเข้ารหัสถอดรหัส 
       - การประมวลผลภาพ ในมุมมองของคณิตศาสตร์ 
       - การอ่านลายนิ้วมือ หรือ ม่านตา ที่เกี่ยวกับ คณิตศาสตร์
       - ไวรัสคอมพิวเตอร์ กับ คณิตศาสตร์
       - ภาพถ่ายดาวเทียม,  ความรู้เกี่ยวกับแผนที่เบื้องต้น, ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System, GIS)
       - รหัสพันธุกรรม
6.  คณิตศาสตร์กับการแก้ปัญหาและตัดสินใจในชีวิตประจำวัน  
       - มาตรา การชั่ง ตวง วัด
       - ดัชนีมวลกาย และ การหาพื้นที่ผิวของร่างกาย
       - การคิดค่าสาธารณูปโภค (ค่าน้ำ, ค่าไฟ)
       - การเสียภาษีรายได้
       - การฝากเงิน การกู้เงิน ดอกเบี้ย 
       - คณิตศาสตร์ กับ เกม / การพนัน / การเสี่ยงโชค
       - คลื่นเสียง กับ คณิตศาสตร์
       - ดนตรี กับ คณิตศาสตร์
       - ทักษะในการคิดเลขเร็ว   (คณิตศาสตร์กับลูกคิด, Vedic Mathematics,…)
7.  คณิตศาสตร์กับศาสนาและความเชื่อ  
       - คณิตศาสตร์ในศาสนาหรือนิกายต่างๆ 
       - ความเชื่อและสัญลักษณ์ที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ ( Mandala , หยินหยาง, โป๊ยก่วย. ยันต์, …)   
       - คณิตศาสตร์ สถิติ ความน่าจะเป็นกับการพยากรณ์ (โหราศาสตร์, อี้จิง, เซียมซี,  Numerology, …) 
       - เรียนรู้บุคลิกภาพ/เรียนรู้ใจตนเอง จากตัวเลข
8.  แนวคิดเบื้องต้นเกี่ยวกับแบบจำลองทางคณิตศาสตร์
       - ประเภทของแบบจำลองทางคณิตศาสตร์
       - การสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์
       - ตัวอย่างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์
       - การประยุกต์ใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์

       ซึ่งเหล่านี้เป็นเพียงบางส่วนที่พอจะพิมพ์ได้ภายในเวลาจำกัด ซึ่งอาจจะถูกหรือผิดดีหรือไม่ ขอน้อมรับคำติด้วยความเต็มใจ  แล้วถ้ามีเวลาหรือโอกาสคงจะได้กลับมาใหม่  อาจเป็น ภาคสอง ภาคสาม หรือ อีกหลายๆภาคก็ได้ถ้าคิดว่าจะเป็นประโยชน์กับทุกๆคน   ยังมีอีกหลายเรื่องครับที่อยากพิมพ์แต่ยังไม่มีเวลาพอ ไม่ว่าจะเป็นคณิตศาสตร์กับการสอบแข่งขัน  เช่น ข้อสอบ Gmat , ข้อสอบ CU-best หรือ ข้อสอบ SMART-I  ในมุมมองของคณิตศาสตร์  หรือ คณิตศาสตร์กับเกมคอมพิวเตอร์ ซึ่งดูเหมือนจะเป็นดาบสองคมสำหรับเยาวชน และอีกมากมายครับที่อยากแลกเปลี่ยนความรู้กันได้  ถ้าอยากรู้เรื่องใดลองบอกมานะครับ เผื่อสมองเล็กของผมจะค้นหามาคุยกันได้ แต่สำหรับวันนี้หมดเวลาอู้งานแล้ว คงต้องกลับไปสะสมบุญสะสมสตางค์  เพื่อฝ่าด่านค่ายกลของมารผจญต่างๆ เพื่อเอาตัวให้รอดไปวันๆก่อน  ครับ   ; )
แล้วเจอกันครับ