ให้นักเรียนอธิบายความปลอดภัยในงานบัดกรี

ให้นักเรียนอธิบายความปลอดภัยในงานบัดกรี

หากหลายท่านอาจจะสงสัยว่าการ บัดกรี ที่มีทั้งแข็งและอ่อนมันคืออะไร และทำไมเราต้องมีการทำกระบวนการ บัดกรีแข็ง (Brazing) กับ บัดกรีอ่อน (Soldering) ในระบบปรับอากาศ ทั้งคู่ที่กล่าวมานั้น มันคือกระบวนการเชื่อมต่อโลหะเข้าด้วยกัน ส่วนการบัดกรีแข็ง (Brazing) กับ บัดกรีอ่อน (Soldering) แตกต่างกันก็คือ “อุณหภูมิ” โดย บัดกรีอ่อน (Soldering) จะมีกระบวนการใช้อุณหภูมิต่ำกว่าการบัดกรีแข็ง (Brazing) นอกนั้นกระบวนบัดกรีจะคล้ายกัน

บัดกรีแข็ง (Brazing) คืออะไร

บัดกรีแข็ง (Brazing) หรือบางท่านอาจจะเรียกว่าการแล่นประสาน คือ กรรมวิธีการเชื่อมต่อโลหะที่มีตั้งแต่สองชิ้นหรือมากกว่านั้นเข้าด้วยกัน โลหะที่มาเชื่อมต่อกันอาจจะเป็นชนิดเดียวกันหรือต่างชนิดกันก็ได้ โดยใช้อุณหภูมิความร้อนแก่รอยต่อที่อุณหภูมิสูงกว่า 450 องศา ด้วยโดยโลหะเติมจะลอมละลาย แต่ไม่ถึงกับอุณหภูมิหลอมละลายของโลหะขิ้นงานที่นำมาบัดกรีแข็ง โดยอาศัยปฏิกิริยาคาปิลารี (Capillary action) หลอมละลายโลหะเติมแทรกซึมเข้าไปในช่องว่าระหว่างรอยต่อ โดยลักษณะโลหะเติมจะเป็นโลหะที่ไม่อยู่จำพวกเหล็ก อาจจะเป็นโลหะผสม เช่น ลวดทองแดงผสมฟอสฟอรัส ทองเหลือง หรือที่เราอาจจะชอบเรียกกันว่า ลวดเชื่อม โดยที่โลหะเติมเหล่านี้จะมีจุดหลอมเหลวสูงกว่า 450 องศา ในงานระบบปรับอากาศ งานบัดกรีแข็งมักจะถูกนำมาใช้ในงานเชื่อมต่อท่อทอแดง

บัดกรีอ่อน (Soldering) คืออะไร

บัดกรีอ่อน (Soldering) คือ กรรมวิธีการเชื่อมต่อโลหะที่มีตั้งแต่สองชิ้นหรือมากกว่านั้นเข้าด้วยกัน โลหะที่มาเชื่อมต่อกันอาจจะเป็นชนิดเดียวกันหรือต่างชนิดกันก็ได้ โดยใช้อุณหภูมิความร้อนแก่รอยต่อที่อุณหภูมิต่ำกว่า 450 C แข็ง โดยอาศัยปฏิกิริยาคาปิลารี (Capillary action) หลอมละลายโลหะเติมแทรกซึมเข้าไปในช่องว่าระหว่างรอยต่อเหมือนเดิมแต่โลหะเติมจะมีอุณหภูมิหลอมเหลวต่ำกว่า 450 C ส่วนใหญ่จะนำมาบัดกรีสายไฟ หรือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกในแผงวงจรหรือแผงควบคุม ในระบบปรับอากาศ

สรุป

บัดกรีแข็ง (Brazing) กับ บัดกรีอ่อน (Soldering) มีการใช้อุณหภูมิหลอมละลายโลหะเติมต่างกัน บัดกรีแข็ง จะใช้อุณหภูมิสูงกว่า บัดกรีอ่อน ความแข็งแรง บัดกรีแข็ง (Brazing) จะมีความแข็งแรงของชิ้นงานมากว่า บัดกรีอ่อน (Soldering) แต่บัดกรีอ่อน (Soldering) จะมีต้นทุนการทำงานถูกกว่า บัดกรีแข็ง (Brazing)

ผู้เรียบเรียง :  ชัชชัย  อินนุมาตร

การแล่นประสาน เป็นคำภาษาไทยที่แปลความหมายมาจากคำภาษาอังกฤษว่า Brazing ในเชิงวิชาการจะเรียกการต่อโลหะแบบ Brazing ว่า “การแล่นประสาน” หรือ  “การบัดกรีแข็ง”  ในขณะที่คำว่า Soldering  ในเชิงวิชาการจะเรียกว่า “การบัดกรีอ่อน” หรือ “การบัดกรี”  โดยในการใช้งานปัจจุบัน การ Brazing  จะสื่อความกันด้วยคำทับศัพท์ ว่า “บราซซิ่ง” หรือ “เบรซซิ่ง”

กล่าวโดยย่อ การ Brazing คือการต่อโลหะวิธีหนึ่งโดยการให้ความร้อนแก่รอยต่อ จนกระทั่งถึงอุณหภูมิที่สามารถทำให้โลหะเติมหลอมละลาย โดยทั่วไปจะมีระดับอุณหภูมิสูงกว่า 450°C แตไม่ถึงระดับอุณหภูมิหลอมเหลวของโลหะชิ้นงาน  เมื่อให้ความร้อนแก่รอยต่อจนกระทั่งถึงระดับอุณหภูมิที่สามารถทำให้โลหะเติมหลอมละลายแล้ว ก็จะป้อนโลหะเติมหรือลวดให้เข้าไปประสานกับรอยต่อและปล่อยให้เย็นตัวลง ก็จะได้รอยต่อที่ประสานกันอย่างสมบูรณ์

กระบวนการต่อโลหะด้วยวิธี Brazing นี้ ดูเหมือนง่ายและไม่ซับซ้อน แต่ความจริงในทางปฏิบัติ จะมีรายละเอียดปลีกย่อยพอสมควรที่ผู้ใช้จะต้องพิจารณาและตระหนักถึงเสมอในขณะที่ปฏิบัติงาน  ขั้นตอนในการปฏิบัติที่จะกล่าวต่อไปนี้ เป็นขั้นตอนพื้นฐานที่สำคัญในการปฏิบัติงานแบบ Brazing  การละเลยข้อปฏิบัตินี้ ส่งผลต่อความล้มเหลวในการปฏิบัติงานและทำให้ได้รอยต่อที่ไร้ซึ่งคุณภาพในที่สุด

ขั้นตอนที่ 1    ทำความสะอาดชิ้นงานให้ดีที่สุด

อย่าลืมว่าปฏิกิริยาคาปิลลารี จะได้ผลดีที่สุดเมื่อผิวชิ้นงานมีความสะอาด ถ้าบนผิวชิ้นงานมีคราบน้ำมัน  สนิม จารบี สะเก็ดผิวงาน หรือ ฝุ่น คุณต้องทำความสะอาดสิ่งสกปรกพวกนี้ออกให้หมดจด  เพราะสิ่งสกปรกพวกนี้จะขัดขวางการไหลตัวของโลหะเติมบนผิวชิ้นงาน

การทำความสะอาดชิ้นงานบางทีก็เป็นเรื่องยุ่งยาก และควรจะทำความสะอาดอย่างถูกขั้นตอนด้วย ตัวอย่างเช่น หากคุณต้องการล้างผิวชิ้นงานด้วยวิธีการจุ่มน้ำยาเคมี   ก่อนอื่นคุณต้องล้างคราบน้ำมันหรือจารบีบนผิวงานก่อนที่จะนำไปจุ่มน้ำยาเคมี  เพราะน้ำยาเคมีพวกนี้จะใช้ไม่ได้ผลหากผิวงานเปื้อนคราบน้ำมัน คุณสามารถใช้วิธีการล้างร่วมกันได้ ทั้งวิธีการจุ่มงานในสารชะล้างที่เหมาะสม  ใช้วิธีการล้างสารด้วยไอระเหย  หรือการจุ่มในถังน้ำหรืออัลคาไลน์   ในกรณีที่ผิวชิ้นงานมีสนิมหรือคราบอ๊อกไซด์ คุณสามารถทำความสะอาดได้ทั้งวิธีทางเชิงกล เช่นการใช้กระดาษทรายหรือแปรงลวด และ การทำความสะอาดด้วยวิธีทางเคมีเช่นการจุ่มกรด แต่ต้องเป็นกรดที่เข้ากันได้กับโลหะนั้น และต้องตรวจสอบว่าไม่มีสารละลายตกค้างอยู่ในซอกอับ  รูเล็กๆ หรือตามซอกชิ้นงาน ซึ่งจะเป็นสาเหตุให้ขัดขวางการไหลตัวหรือการเปียกผิวของโลหะเติมได้

ชิ้นงานที่ผ่านการใช้งานมาแล้ว หรือการแล่นประสานเพื่อการซ่อมบำรุง ชิ้นงานประเภทนี้มักจะสกปรกเนื่องจากผ่านการใช้งานมาแล้ว  การทำความสะอาดจะต้องใช้วิธีที่มากกว่าปกติ โดยอาจจะใช้การเจียรผิว การตะไบ หรือการยิงทรายช่วย ต่อด้วยการจุ่มน้ำยาทำความสะอาด หลังจากทำความสะอาดแล้ว พึงระลึกเสมอว่า การใช้มือเปล่าหยิบจับชิ้นงาน โดยเฉพาะมือที่สกปรก อาจจะทำให้คราบไขมันที่มือไปทำให้ชิ้นงานสกปรกอีก

ขั้นตอนที่ 2  แน่ใจว่าประกอบงาน โดยมีระยะรอยต่อที่เหมาะสม

การแล่นประสาน ต้องอาศัยปฏิกิริยาคาปิลลารี เพื่อที่จะให้น้ำโลหะเติมที่หลอมเลว วิ่งหรือถูกดูดเข้าไปในรอยต่ออย่างทั่วถึงและสม่ำเสมอ  ดังนั้น ในระหว่างการแล่นประสานคุณต้องรักษาระยะห่างระหว่างผิวชิ้นงานทั้งสองชิ้นให้ได้ระยะที่ถูกต้องเสมอเพื่อให้ปฏิกิริยาคาปิลลารีมีประสิทธิภาพดีที่สุด ระยะห่างที่เหมาะสมควรจะใช้ประมาณ 0.038 มม. แต่ระยะทั่วๆ ไปคือประมาณ 0.025 – 0.127 มม.

ความจริงแล้ว ในการแล่นประสานทุกวันนี้  เพื่อให้ได้รอยต่อที่แข็งแรงนั้น ก็ไม่จำเป็นต้องใช้ระยะห่างของผิวชิ้นงานที่แม่นยำมากนัก เพราะปฏิกิริยาคาปิลลารีสามารถเป็นไปได้ในช่วงระยะที่กว้างพอควรแต่คุณต้องมีระยะเผื่อที่แน่นอน  ในการทำงานใน work shop ทุกวันนี้ สำหรับการแล่นประสานชิ้นงานแบบท่อจะใช้การสวมแบบ Slip Fit ก็จะพอได้ระยะรอยต่อที่เหมาะสมระหว่างชิ้นงานสองชิ้นแล้ว  เพียงแต่ต้องระลึกไว้เสมอว่า ความแข็งแรงของรอยต่อจะลดลงถ้าระยะห่างของรอยต่อมากขึ้น     ปฏิกิริยาคาปิลลารีจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้ถ้าระยะรอยต่อเกินกว่า 0.30 มม.  ในกรณีที่คุณทำการแล่นประสานโดยวางชิ้นงานประกบกัน คุณสามารถวางชิ้นงานอีกชิ้นหนึ่งบนชิ้นงานอีกชิ้นหนึ่ง ระยะระหว่างชิ้นงานสองชิ้น ก็เป็นระยะห่างรอยต่อที่เหมาะสมแล้ว เพราะความหยาบของผิวโลหะจะทำให้เกิดระยะห่างที่เหมาะสมได้เอง  ไม่จำเป็นต้องขัดมันหรือปัดผิวชิ้นงานให้เงาเนื่องจากจะทำให้น้ำโลหะเติมมีการเปียกผิวลดลง

เมื่อคุณจะต้องทำการแล่นประสาน ต้องระลึกเสมอว่า ระยะห่างของผิวชิ้นงานทั้งสองชิ้นนั้น คิดที่ระยะอุณหภูมิแล่นประสาน ไม่ใช่ที่อุณหภูมิห้องปกติ  การออกแบบระยะห่างของชิ้นงานต้องคำนึงถึงการขยายตัวของโลหะเมื่อได้รับความร้อนด้วย โดยเฉพาอย่างยิ่งการแล่นประสานงานท่อที่เป็นโลหะต่างชนิดกัน เนื่องจากโลหะแต่ละชนิดจะมีค่าสัมประสิทธิ์การขยายตัวเนื่องจากความร้อนไม่เท่ากัน

ขั้นตอนที่ 3  การใช้ฟลักซ์กับชิ้นงาน

ฟลักซ์ เป็นสารประกอบทางเคมีที่ใช้ทาบริเวณรอยต่อก่อนทำการแล่นประสาน เพื่อสร้างชั้นบรรยากาศป้องกันอ๊อกซิเจนบริเวณรอยต่อ  เนื่องจากในระหว่างให้ความร้อนบนชิ้นงาน ผิวโลหะที่มีความร้อนสูงจะเร่งการเกิด อ๊อกไซด์ ซึ่งเป็นผลจากการทำปฏิกิริยาทางเคมีกับออกซิเจนที่อยู่ในอากาศ  ถ้าคุณไม่มีการป้องกันการเกิดอ๊อกไซด์นี้ จะทำให้การเปียกผิวและการประสานของโลหะเติมกับรอยต่อทั้งสองชิ้นเป็นไปได้ยาก

การทาฟลักซ์บริเวณรอยต่อจะป้องกันผิวชิ้นงานจากอากาศ  ป้องกันการเกิดอ๊อกไซด์  โดยจะดูดซับและละลายอ๊อกไซด์ที่เกิดขึ้นระหว่างการให้ความร้อนหรือตกค้างมาจากขั้นตอนการทำความสะอาด  คุณสามารถทาฟลักซ์ในบริเวณใดก็ได้ที่ต้องการ ตราบใดที่สามารถปกคลุมบริเวณรอยต่อที่จะทำการแล่นประสานได้พอเพียง  ส่วนมาก ฟลักซ์จะมีลักษณะเป็นครีมเหลว จึงสามารถทาลงบนชิ้นงานได้ง่ายด้วยแปรง

การเลือกใช้ฟลักซ์ ควรจะเลือกใช้ผู้ผลิตเดียวกับโลหะเติมที่ใช้ และศึกษาการเก็บรักษา  อายุการใช้งานจากคู่มือการใช้งาน รวมทั้งเอกสารความปลอดภัยในการใช้งานด้วย

ขั้นตอนที่  4  การประกอบชิ้นงานเพื่อทำการแล่นประสาน

เมื่อคุณเตรียมชิ้นงาน โดยการทำความสะอาดและทาฟลักซ์แล้ว เมื่อทำการยึดจับกับ Fixture จะต้องมั่นใจว่ารอยต่อนั้นยังคงอยู่ในระยะห่าง และทิศทางที่ถูกต้องเมื่อทำการให้ความร้อน  สามารถอาศัยน้ำหนักของชิ้นงานเองประคองรอยต่อให้คงที่ได้ หากชิ้นงานนั้นมีขนาดและน้ำหนักที่เพียงพอ

คุณสามารถใช้วัสดุหรือสิ่งของที่มีน้ำหนักวางทับได้ ตราบได้ที่น้ำหนักกดทับนั้นไม่มากเกินไป หากน้ำหนักกดทับมากเกินไป จะทำให้ระยะห่างของรอยต่อเปลี่ยนไปได้และจะกดรอยต่อจนกระทั่งน้ำโลหะหลอมเหลวไหลออกจากรอยต่อ นอกจากนั้นสิ่งของที่กดทับจะยังเพิ่มปริมาตรของชิ้นส่วนและอาจจะดูดความร้อนออกไป ทำให้ต้องเพิ่มระยะเวลาในการให้ความร้อนมากขึ้นอีกด้วย

ขั้นตอนที่  5 การประสานรอยต่อ

การแล่นประสานคือการให้ความร้อนแก่ชิ้นส่วนจนกระทั่งถึงอุณหภูมิการแล่นประสานและทำให้โลหะเติมหลอมและไหลตัวเข้าไปในรอยต่อ  ต้องแน่ใจว่า ให้ความร้อนเพียงแค่ถึงอุณหภูมิแล่นประสานเท่านั้น มิใช่ให้อุณหภูมิสูงจนกระทั่งชิ้นงานหลักเกิดการหลอมละลาย

การให้ความร้อนขั้นตอนแรก  จะต้องให้ความร้อนอย่างสม่ำเสมอไปทั่วถ้วนบริเวณรอยต่อ  ถ้าคุณทำการแล่นประสานชิ้นงานที่มีขนาดเล็ก คุณสามารถให้ความร้อนแก่ชิ้นงานทั้งชิ้นจนกระทั่งถึงอุณหภูมิการแล่นประสานได้  แต่ถ้าเป็นชิ้นงานขนาดใหญ่ ให้ทำการให้ความร้อนเฉพาะบริเวณที่ต้องการเท่านั้น  แหล่งความร้อนที่ใช้ อาจจะเป็นด้ามเชื่อมด้วยแก๊ส  ที่ใช้แก๊สเชื้อเพลิงต่างๆ เช่น อเซทิลีน  ก๊าซหุงต้ม  หรือ หัวเบรินเนอร์ ก็ได้  ขอเพียงแต่ว่าการให้ความร้อนนั้นจะต้องให้ความร้อนแก่ชิ้นงานทั้งสองชิ้นอย่างสม่ำเสมอจนกระทั่งอุณหภูมิการแล่นประสานพร้อมๆ กัน โดยอาศัยการส่ายหัวเชื่อมหรือเปลวไฟไปมาให้ทั่วทั้งรอยต่อ อย่าจี้เปลวไฟไปตรงรอยต่อเพียงจุดเดียว

พยายามอย่าป้อนลวดเชื่อมผิดจังหวะ สังเกตดูฟลักซ์ว่าเมื่อให้ความร้อนจนถึงระดับอุณหภูมิที่เหมาะสมแล้ว ฟลักซ์จะเปลี่ยนสภาพเป็นของเหลวแสดงว่าให้ความร้อนถึงระดับอุณหภูมิที่หมาะสมกับการป้อนลวดเชื่อมแล้ว

ในการป้อนลวดด้วยมือ ให้ทำการป้อนเมื่อให้ความร้อนถึงระดับอุณหภูมิที่หมาะสมกับการป้อนลวดเชื่อมแล้ว โดยป้อนลวดตรงบริเวณรอยต่อและแช่ไว้ ชิ้นส่วนที่ร้อนจะทำให้ลวดเชื่อมละลายและถูกดูดเข้าไปในรอยต่อด้วยปฏิกิริยาคาปิลลารี  ขั้นตอนนี้ คุณอาจจะมีการป้อนฟลักซ์เพิ่มเติมได้โดยการทาฟลักซ์เพิ่มหรือง่ายที่สุดคือการจุ่มปลายลวดร้อนลงไปในกระป๋องฟลักซ์   ในกรณีที่งานมีขนาดใหญ่ฟลักซ์ที่ทาลงไปก่อนหน้านี้อาจจะอิ่มตัวด้วย อ๊อกไซด์  การเพิ่มฟลักซ์โดยใช้วิธีจุ่มปลายลวดร้อนลงไปในกระป๋องฟลักซ์ จะช่วยเพิ่มความสามารถในการไหลของน้ำโลหะเติมได้

ข้อที่ควรพึงระวังคือ โลหะเติมจะพยายามไหลเข้าหาส่วนที่มีอุณหภูมิสูงที่สุด  ในรอยต่อที่ถูกให้ความร้อนนั้น ด้านนอกมักจะมีอุณหภูมิสูงกว่าในซอกรอยต่อ ดังนั้นต้องป้อนลวดเชื่อมให้ใกล้กับรอยต่อให้มากที่สุด หากคุณป้อนลวดเชื่อมห่างจากรอยต่อ ลวดเชื่อมจะหลอมละลายและไหลไม่เป็นที่หรือเข้าไปในรอยต่อได้  และการให้ความร้อนที่ดี จะต้องให้ความร้อนด้านตรงข้ามกับรอยต่อที่คุณจะทำการป้อนลวด

ขั้นตอนที่  6 การทำความสะอาดหลังจากการแล่นประสาน

          หลังจากปฏิบัติการแล่นประสานเรียบร้อยแล้ว ต้องทำความสะอาด เนื่องจากฟลักซ์จะทำให้เกิดการกัดกร่อน โดยปกติ การทำความสะอาดมีสองขั้นตอน ดังนี้

  • การขจัดฟลักซ์ที่ใช้ไม่หมด
  • การขจัดคราบอ๊อกไซด์ที่เป็นสะเก็ดบนผิวรอยต่อ ด้วยวิธีการจุ่มน้ำยาล้าง

เนื่องจากฟลักซ์ที่ใช้สำหรับงานแล่นประสานส่วนใหญ่ทำละลายได้ด้วยน้ำ สำหรับในกรณีฟลักซ์ที่ใช้ไม่หมดแล้วเหลือตกค้างอยู่บนผิวรอยต่อ สามารถทำความสะอาดหรือล้างได้ง่าย โดยการจุ่มชิ้นงานลงในน้ำร้อนประมาณ 50°C  ให้จุ่มชิ้นงานในน้ำร้อนขณะที่ชิ้นงานกำลังร้อน แต่ต้องแน่ใจว่าก่อนจุ่มน้ำร้อนนั้น โลหะเติมที่อยู่ในรอยต่อนั้นแข็งตัวเรียบร้อยแล้ว  สะเก็ดฟลักซ์ที่แข็งตัวมีลักษณะเหมือนผลึกแก้วนั้นจะแตกและหลุดออกจากผิวชิ้นงาน  หากไม่หมด สามารถใช้แปรงลวดช่วยขัดผิวรอยต่อในขณะที่ชิ้นงานยังคงอยู่ในน้ำร้อน

เหตุผลที่ต้องทำการขจัดฟลักซ์

  1. การตรวจสอบรอยต่อไม่สามารถจะกระทำได้ หากมีฟลักซ์หลงเหลือปกคลุมหรือเคลือบผิวอยู่
  2. ฟลักซ์อาจจะทำให้เกิดรอยตามด ในรอยต่อ ซึ่งหากชิ้นงานนั้นเป็นชิ้นงานที่ต้องรับแรงดัน รอยตามดอาจจะเป็นสาเหตุให้เกิดการรั่วที่รอยต่อได้
  3. ฟลักซ์เป็นสารเคมีที่ดูดความชื้น ฟลักซ์ที่หลงเหลือในรอยต่อจะดูดไอน้ำในอากาศ ก่อให้เกิดการกัดกร่อนของรอยต่อได้ในอนาคต
  4. การพ่นสี ทาสี หรือเคลือบผิวรอยต่อ ไม่สามารถกระทำได้ หากมีฟลักซ์หลงเหลือปกคลุมหรือเคลือบผิวอยู่

การขจัดฟลักซ์ตกค้าง

การขจัดฟลักซ์ตกค้างหลังจากปฏิบัติการแล่นประสานเรียบร้อยแล้ว มีหลายวิธี  วิธีที่ประหยัดและง่ายที่สุดคือการจุ่มลงในน้ำร้อน   ฟลักซ์ที่ใช้ในงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่จะละลายได้ด้วยน้ำ  ฟลักซ์ที่ผลิตขึ้นโดยอ้างอิงตามมาตรฐาน AMS3410 และ AMS3411 จะต้องสามารถละลายในน้ำที่อุณหภูมิ 79°C หรือต่ำกว่าได้  ดังนั้นการทำความสะอาดหรือขจัดฟลักซ์ตกค้าง จึงสามารถปฏิบัติได้ดังนี้

การแช่หรือทำให้เปียกน้ำ

ใช้ถังหรืออ่างน้ำร้อนสำหรับแช่ชิ้นงานเพื่อขจัดฟลักซ์ โดยมีการกวนน้ำตลอดเวลา  ทำการเปลี่ยนน้ำเสมอ หากน้ำมีความสกปรก ในกรณีที่หากไม่สามารถแช่น้ำได้ ให้ใช้สเปรย์ฉีดน้ำร่วมกับแปรงขัดบริเวณรอยต่อ เพื่อให้ฟลักซ์ตกค้างหลุดออกไป

การชุบ

การทำการชุบชิ้นงานลงน้ำในขณะที่ชิ้นงานยังร้อนอยู่ อาศัยหลักการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิแบบกะทันหัน (Thermal Shock) เพื่อให้สะเก็ดฟลักซ์ที่แข็งกะเทาะหลุดร่อนออกไปเอง  พึงระวังว่าก่อนที่จะชุบชิ้นงานลงน้ำ ต้องมั่นใจว่าโลหะเติมที่อยู่ในรอยต่อมีการแข็งตัวดีแล้ว  และต้องพิจารณาถึงโลหะชิ้นงานหลักด้วยว่า ชิ้นงานทั้งสองชิ้นนั้นมีค่าสัมประสิทธิ์การขยายตัว/หดตัวเนื่องจากอุณหภูมิต่างกันมากหรือไม่ มิเช่นนั้น ชิ้นงานอาจจะเกิดการแตกร้าวได้ หรืออาจจะทำให้โลหะประสานเกิดการฉีกขาดได้

เราสามารถใช้กรรมวิธีการทำความสะอาดอื่นๆ ที่ซับซ้อนกว่านี้ได้ เช่น การทำความสะอาดด้วยคลื่นอุลตร้าโซนิค หรือการฉีดน้ำแรงดันสูง หรือวิธีต่างๆ ดังนี้

การฉีดด้วยน้ำแรงดันไอน้ำ  การทำความสะอาดด้วยวิธีนี้จะใช้แรงดันไอน้ำที่มีอุณหภูมิสูงฉีดบริเวณรอยต่อเพื่อละลายและเป่าฟลักซ์ตกค้างออกไป

การทำความสะอาดด้วยเคมี  อาจจะเป็นการล้างด้วยสารเคมีที่เป็นกรดหรือด่างก็ได้ โดยทั่วไปจะแช่ชิ้นงานลงไปในถังล้างในเวลาสั้นๆ เพื่อป้องกันการเสียหายของตัวชิ้นงาน  สำหรับการทำความสะอาดด้วยวิธีนี้ต้องตรวจสอบค่า pH เสมอ และทำการเปลี่ยนน้ำยาล้างเมื่อค่า pH เปลี่ยนไป

การทำความสะอาดด้วยกรรมวิธีทางกล  เช่นการใช้แปรงขัด หรือการพ่นทราย เพิ่มความระมัดระวังหากปฏิบัติบนวัสดุที่มีความอ่อน เช่น อลูมิเนียม

บางครั้งคุณอาจจะพบปัญหาว่า ทำความสะอาดฟลักซ์ได้ยากด้วยวิธีปกติ เนื่องจากคุณใช้ฟลักซ์น้อยเกินไปหรือคุณให้ความร้อนมากเกินไป ทำให้ฟลักซ์อิ่มตัวด้วยอ๊อกไซด์ ซึ่งโดยปกติจะกลายเป็นสีเขียวหรือดำ กรณีเช่นนี้ อาจจะต้องทำความสะอาดด้วยวิธีการจุ่มกรดอ่อนๆ  เช่นกรดไฮโดรคลอริค 25% (ให้ความร้อน 60-70°C) สำหรับการละลายฟลักซ์ที่เป็นผิวขรุขระบนชิ้นงาน  โดยการจุ่มชิ้นงานและกวนในสารละลายประมาณ 30 วินาที ถึง 2 นาที ไม่ต้องใช้แปรงขัด  ขณะใช้งานต้องสวมอุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากกรด ควรระมัดระวังจากการกระเด็นของกรด