เงินเดือน ค่าตอบแทน ภาษาอังกฤษ

ค่าตอบแทน (Compensation) คือ ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่องค์การจ่ายให้แก่ผู้ปฏิบัติงาน ค่าใช้จ่ายนี้อาจจ่ายในรูปตัวเงินหรือมิใช่ตัวเงินก็ได้ เพื่อตอบแทนการปฏิบัติงานตามหน้าที่ความรับผิดชอบ จูงใจให้มีการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพส่งเสริมขวัญกำลังใจของผู้ปฏิบัติงาน และเสริมสร้างฐานะความเป็นอยู่ของครอบครัวผู้ปฏิบัติงานให้ดีขึ้นโดยการกำหนดค่าตอบแทนมีหลักการที่สำคัญหลายประการ ดังนี้

  1. หลักความพอเพียง (Adequacy) การกำหนดค่าตอบแทนถือเป็นความรับผิดชอบทางสังคมอย่างหนึ่งของนายจ้าง ดังนั้น นายจ้างควรกำหนดอัตราค่าจ้างให้ไม่น้อยกว่าระดับต่ำสุดที่ลูกจ้างควรได้รับในสังคมเป็นอย่างน้อย กล่าวคือพอเพียงแก่การดำรงชีวิตหรือสามารถเลี้ยงดูครอบครัวได้ การกำหนดค่าตอบแทนตามหลักความพอเพียงนี้เป็นเพียงมาตรฐานขั้นต่ำเท่านั้น นายจ้างอาจจ่ายค่าจ้างสูงกว่าระดับนี้ได้
  2. หลักความเป็นธรรม (Equity) การกำหนดค่าตอบแทนต้องเป็นธรรม กล่าวคือ จะต้องมีความเท่าเทียมกันสำหรับผู้ที่มีความรู้ความสามารถ วุฒิและประสบการณ์ที่เหมือนกัน และทำงานในระดับหน้าที่และความรับผิดชอบและความยากง่ายของงานที่เทียบเคียงกันได้ หลักความเป็นธรรมอาจจำแนกเป็น 3 ประการ คือ
    1. ความเป็นธรรมภายใน (Internal Equity) ภายในองค์การเดียวกันนั้น งานที่มีระดับหน้าที่และความรับผิดชอบและความยากง่ายของงานเทียบในระดับเดียวกันก็ควรได้รับค่าตอบแทนที่เท่ากันหรือที่เรียกว่า “เงินเท่ากันสำหรับงานที่มีมูลค่าเท่ากัน” (Equal Pay for Work of Equal Value)
    2. ความเป็นธรรมภายนอก (External Equity) การกำหนดค่าตอบแทนให้สามารถดึงดูดบุคลากรคุณภาพ จึงจำเป็นต้องพิจารณาถึงความเป็นธรรมภายนอก กล่าวคือ ค่าตอบแทนที่กำหนดจะต้องสอดคล้องกับการจ้างงานในตลาดแรงงาน โดยอุปสงค์และอุปทานของตลาดแรงงานมีบทบาทอย่างมากในการกำหนดค่าจ้างแรงงานในตลาด ดังนั้น จึงเป็นไปได้ว่างานหลายงานที่ประเมินค่าของงานแล้วอยู่ในระดับเดียวกัน แต่หากต่างสาขากันการกำหนดอัตราค่าตอบแทนอาจแตกต่างกันได้ เพราะความต้องการแรงงานในสาขาต่าง ๆ นั้นแตกต่างกัน แรงงานในสาขาที่เป็นที่ต้องการมาก และมีการผลิตที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาดค่าตอบแทนย่อมสูงกว่าสาขาอื่น เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันให้แก่องค์การ ในการที่จะสามารถสรรหาคนเก่งคนดีให้เข้ามาทำงานในองค์การ
    3. ความเป็นธรรมเฉพาะบุคคล (Individual Equity) การกำหนดค่าตอบแทนที่เป็นธรรม ยังต้องพิจารณาเป็นรายบุคคลด้วย เช่น ในระหว่างผู้มีวุฒิการศึกษา ความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ และทำงานในระดับหน้าที่และความรับผิดชอบ และความยากง่ายของงานที่เทียบเคียงกันได้นั้น ผู้ที่มีผลการปฏิบัติงานที่ดีกว่าควรจะได้รับค่าตอบแทนที่สูงกว่า นอกจากนี้ ความเป็นธรรมเฉพาะบุคคลยังอาจพิจารณาจากระยะเวลาในการทำงานด้วย หรือหากมีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับงาน หรือหน้าที่นั้นโดยตรงก็ควรที่จะได้รับค่าตอบแทนที่สูงกว่าผู้ที่บรรจุเข้าทำงานโดยไม่มีประสบการณ์ เป็นต้น
  3. หลักความสมดุล (Balance) การกำหนดค่าตอบแทนที่สมดุลอาจพิจารณาได้หลายประการ เช่น ความสมดุลระหว่างสัดส่วนของรายจ่ายด้านบุคคล กับรายจ่ายด้านอื่น ๆ เช่น รายจ่ายลงทุน รายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้ เป็นต้น นอกจากนี้ ความสมดุลยังอาจหมายถึง ความสมดุลในสัดส่วนของเงินเดือนกับสวัสดิการ และความสมดุลระหว่างเงินกับงาน
  4. หลักความมั่นคง (Security) การกำหนดค่าตอบแทนต้องคำนึงถึงความมั่นคงในการดำรงชีวิต ซึ่งรวมถึงสุขภาพและความปลอดภัย หรือความเสี่ยงในการทำงานของพนักงานด้วย เช่น การให้เงินเพิ่มสำหรับงานที่มีสถานการณ์เสี่ยงภัย ตลอดจนการให้สวัสดิการอื่น ๆ ที่จำเป็น เช่น การประกันสุขภาพ การประกันชีวิต การให้บำเหน็จบำนาญ เป็นต้น
  5. หลักการจูงใจ (Incentive) การกำหนดค่าตอบแทนต้องคำนึงถึงการจูงใจให้พนักงานทำงานให้ดีขึ้นทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ และทำงานอย่างเต็มความรู้ ความสามารถของแต่ละบุคคลด้วย เช่น การกำหนดให้มีการเลื่อนเงินเดือนตามผลการปฏิบัติงานในแต่ละปี การให้เงินรางวัลประจำปี (Bonus) การให้ค่าตอบแทนในลักษณะเบี้ยขยัน (Commission) สำหรับบางลักษณะงาน เป็นต้น รวมทั้งการกำหนดโครงสร้างเงินเดือนค่าจ้างที่จูงใจ เช่น การกำหนดให้เงินเดือนแต่ละระดับมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญเพื่อจูงใจให้เกิดการพัฒนาตนเอง และแข่งขันกันเพื่อรับภาระหน้าที่ในตำแหน่งที่สูงขึ้น เป็นต้น
  6. หลักการควบคุม (Control) การกำหนดค่าตอบแทน ต้องสามารถควบคุมให้อยู่ภายใต้งบประมาณที่กำหนด และเหมาะสมกับความสามารถในการจ่าย (Ability to Pay) ในแต่ละปีด้วย เพื่อให้ต้นทุนของการดำเนินงานอยู่ในขอบเขต และยังสามารถขยายกิจการเพื่อความก้าวหน้าขององค์การได้

โครงสร้างค่าตอบแทนของข้าราชการพลเรือนสามัญ ในระบบค่าตอบแทนของข้าราชการพลเรือนสามัญสามารถจำแนกค่าตอบแทนออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้

English-Thai: HOPE Dictionary

cost(คอสทฺ) {cost,cost,costing,costs} n. ทุน,ต้นทุน,ทุนที่ซื้อมา,ค่าโสหุ้ย,ค่าใช้จ่าย,ค่าตอบแทน,ค่าเสียหาย,ค่าฤชาธรรมเนียม,ค่าธรรมเนียมฟ้องร้อง. -at all costs โดยทุกวิถีทาง vt. เป็นมูลค่า,เป็นราคา,ต้องใช้,ต้องเสีย vi. หมดเปลือง,สิ้นเปลือง,หาค่าประเมิน -Conf.emolument(อิมอล'ลิวเมินทฺ) n. เงินค่าตอบแทน,เงินเดือน,รายได้fee(ฟี) {feeed,feeing,fees} n. ค่าธรรมเนียม,ค่าเล่าเรียน,เงินรางวัล,ค่าตอบแทน,ค่าบริการ. vt. ให้ค่าธรรมเนียม, Syn. stipendguerdon(เกอ'ดัน) n. รางวัล,ค่าตอบแทน vt. ให้รางวัล,ให้ค่าตอบแทน, See also: guerdoner n.meed(มีด) n. ค่าตอบแทน,รางวัลoverride(โอ'เวอะไรดฺ) vt. ขี่ม้าข้าม,เอาชนะ,ข่ม,ครอบงำ,ขี่ม้ามากเกินไป n. ค่าตอบแทนการขาย,ค่านายหน้าprice(ไพรซฺ) n. ราคา,เงินรางวัล,รางวัล,ค่า,คุณค่า,มูลค่า,สิ่งที่แลกมา,ค่าตอบแทน. -Phr. (at any price) ไม่ว่าจะเสียเท่าไรก็ตาม -Phr. (beyond (without) price ซึ่งคำนวณค่าไม่ได้) vt. กำหนดราคา,ตั้งราคา,สอบถามราคา, See also: priceable adj. pricer n.recompense(เรค'เคิมเพนซฺ) v. ตอบแทน,ชดเชย,ชดใช้,ตอบสนอง n. การชดเชย,การชดใช้,ค่าชดเชย,ค่าชดใช้,รางวัล,ค่าตอบแทน,, See also: recompensable adj. recompenser n., Syn. reimburse,recoup,amendsremuneration(รีมิว'นะเร'เชิน) n. การจ่ายเงิน,การให้รางวัล,การตอบแทน,การชดเชย,รายได้,สินน้ำใจ,ค่าตอบแทน, Syn. paymentremunerative(รีมิว'นะเรทิฟว) adj. เป็นรางวัลเป็นค่าตอบแทน,มีกำไร,เป็นสินน้ำใจ, See also: remunerativeness n., Syn. rewardingunfeed(อัน'ฟีด) adj. ไม่ได้ค่าตอบแทนunrequited(อันรีควิท'ทิด) adj. ไม่มีค่าตอบแทน,ไม่มีการตอบแทนvalue(แวล'ลิว) n. ค่า,คุณค่า,มูลค่า,ราคา,ค่าเป็นเงิน,ค่าตอบแทน,หน่วยเงินตรา,ขนาด,ปริมาณ,ความนิยม,ความพอใจ,ความหมาย,ระดับ,คุณภาพของเสียง. vt. ประเมินค่า,ประมาณค่า,คำนวณค่าเป็นเงิน,ให้ความสำคัญ,ให้เกียรติ,นับถืออย่างสูง, Syn. merit,wortwage(เวจฺ) n. ค่าจ้าง,เงินเดือน,ค่าแรง,ค่าตอบแทน,ความมั่นคง vt. ดำเนินต่อไป,ว่าจ้าง,ให้คำมั่น vi. ต่อสู้,ดิ้นรน, Syn. earnings,emolumentwell-paid(เวล'เพด) adj. มีค่าตอบแทนมาก,ให้เงินเดือนสูง