ปวดท้องน้อยด้านขวา ตกขาวใส

ปวดท้องน้อยด้านขวา ตกขาวใส

ตำแหน่งปวดท้อง บอกโรคได้

อาการปวดท้องใครๆ ก็เป็นได้ บางท่านปวดท้องเป็นประจำซื้อยามาทานก็หายจึงละเลยการใส่ใจสุขภาพ หากมีอาการปวดท้องลักษณะต่อไปนี้ควรรีบพบแพทย์

  1. ปวดนานมากกว่า 6 ชั่วโมงแล้วอาการเป็นมากขึ้น
  2. ปวดจนกินอาหารไม่ได้
  3. ปวดท้องและอาเจียนอย่างมาก มากกว่า 3-4 ครั้ง
  4. ปวดท้องมากขึ้นเมื่อขยับตัว
  5. ปวดที่บริเวณท้องน้อยด้านขวา
  6. ปวดท้องรุนแรง นอนไม่ได้
  7. ปวดร่วมกับเลือดออกจากช่องคลอด
  8. ปวดท้องมีไข้ร่วมด้วย

นอกจากนี้ อาการปวดท้อง และตำแหน่งที่ปวดก็สามารถบอกถึงโรคหรืออาการผิดปกติของอวัยวะและการรักษาที่แตกต่างกันด้วย มาดูกันค่ะว่าอาการปวดท้องตำแหน่งไหนบอกโรคอะไร?

ตำแหน่ง 1 ปวดบริเวณใต้ชายโครงขวา

เป็นจุดของตับและถุงน้ำดี หากกดแล้วเป็นก้อนแข็งๆ บวกกับอาการตัวเหลือง หมายถึงความบกพร่องของตับและถุงน้ำดี หากปวดมากควรรีบพบแพทย์

ตำแหน่ง 2 ปวดบริเวณใต้ลิ้นปี่
  • ปวดใต้ลิ้นปี่ร่วมกับเจ็บหน้าอกหรือแน่นหน้าอก อาจจะเป็นโรคหัวใจขาดเลือด
  • ปวดเป็นประจำเวลาหิวหรืออิ่ม อาจเกี่ยวกับโรคกระเพาะอาหาร หากปวดรุนแรงหรืออาเจียนด้วยอาจเป็นตับอ่อนอักเสบ
  • หากคลำเจอก้อนเนื้อขนาดใหญ่ และแข็งแสดงว่าตับโต หรือหากคลำได้ก้อนสามเหลี่ยมแบนเล็กๆ อาจเป็นกระดูกลิ้นปี่
  • หากอืดแน่นท้องเป็นๆ หายๆ เป็นเวลานาน อาจเป็นนิ่วในถุงน้ำดี
ตำแหน่ง 3 ปวดบริเวณชายโครงซ้าย

จะตรงกับตำแหน่งของม้าม อย่ามัวรีรอรีบไปพบแพทย์

ตำแหน่ง 4,6 ปวดบริเวณบั้นเอวขวาหรือซ้าย
  • ตำแหน่งตรงกับท่อไตพอดี
  • ปวดเอวหรือมีปัสสาวะเป็นเลือดอาจจะเป็นนิ่วที่ไต จะเป็นข้างใดข้างหนึ่งหรือสองข้างก็ได้ ซึ่งจะมีอาการปวดมากจนเหงื่อออก
  • ปวดร้าวถึงต้นขา การเริ่มต้นของการเป็นนิ่วในท่อไต
  • อาการปวดร่วมกับปวดหลัง มีไข้ หนาวสั่น ปัสสาวะขุ่น เป็นกรวยไตอักเสบ
  • คลำเจอก้อนเนื้อรีบไปพบแพทย์
ตำแหน่ง 5 ปวดบริเวณรอบสะดือ

ตรงกับตำแหน่งลำไส้เล็ก มักจะมีอาการปวดบิด ถ่ายเหลว คลื่นไส้ อาเจียน หากกดแล้วปวดมากอาจเป็นไส้ติ่งอักเสบ ปวดจนทนไม่ไหวให้พบแพทย์ทันที

ตำแหน่ง 7 ปวดบริเวณท้องน้อยขวา
  • เป็นตำแหน่งไส้ติ่ง ท่อไต ปากมดลูก และรังไข่ขวา
  • ปวดเกร็งเป็นระยะๆ แล้วร้าวมาที่ต้นขา เป็นอาการกรวยไตอักเสบ หรือนิ่วท่อไต ควรรีบพบแพทย์
  • ปวดเสียด บีบ ตลอดเวลา กดแล้วเจ็บมากบริเวณท้องน้อยด้านขวาอาจจะเป็นไส้ติ่งอักเสบ
  • ปวดร่วมมีไข้สูง มีตกขาว อาการของปีกมดลูกอักเสบ
  • คลำแล้วเจอก้อนเนื้อ อาการก้อนไส้ติ่งอักเสบ หรือรังไข่ผิดปกติ
ตำแหน่ง 8 ปวดท้องน้อย
  • ตรงตำแหน่งกระเพาะปัสสาวะ และมดลูก
  • ปัสสาวะกะปริบกะปรอย ปวดเวลาปัสสาวะ อาจเป็นกระเพาะปัสสาวะอักเสบ หรือเป็นนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ
  • ปวดท้องน้อย มีไข้สูง ตกขาวมีกลิ่นเหม็น อาจจะเป็นมดลูกอักเสบ
  • ปวดเกร็งเวลามีประจำเดือน มีอาการปวดเรื้อรัง แสดงว่ามดลูกมีปัญหาควรรีบพบแพทย์
ตำแหน่ง 9 ปวดท้องน้อยซ้าย
  • ตำแหน่งปีกมดลูกและท่อไต รังไข่ด้านซ้าย ลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย
  • ปวดเกร็งเป็นระยะๆ ร้าวมาที่ต้นขา เป็นนิ่วในท่อไต
  • ปวดร่วมกับมีไข้ หนาวสั่น และมีตกขาว อาการของมดลูกอักเสบ
  • ปวดร่วมกับถ่ายอุจจาระผิดปกติ เป็นอาการของลำไส้ใหญ่อักเสบ
  • คลำพบก้อนร่วมกับอาการท้องผูกเป็นประจำ เห็นอุจจาระมีมูกปนเลือด ท้องผูกสลับกับท้องเสีย น้ำหนักลด อาจเป็นอาการเนื้องอกในลำไส้

อาการปวดท้องไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย แม้ว่าจะปวดนิดเดียวก็ไม่ควรละเลย รักสุขภาพรักตัวเองต้องคอยหมั่นสังเกตตัวเองอยู่เสมอ หากเกิดอาการผิดปกติให้รีบไปพบแพทย์ ถ้าปล่อยเรื้อรังอาจจะสายเกินแก้ได้นะคะ

ปวดท้องน้อยด้านขวาและร้าวมาที่ขาขวา มีอาการปวดเอวร่วมด้วย

ปวดท้องน้อยด้านขวาเหมือนมีอะไรแทงและร้าวไปที่เอว จะเป็นรุนแรงช่วงมีประจำเดือนปวดมากในบางครั้ง แต่บางครั้งปวดแบบน่ารำคาญคือปวดๆๆหายๆเป็นแบบนี้มานานมากเวลาไปหาหมอๆจะบอกว่าปวดท้องประจำเดือนแต่นู่ว่าไม่น่าจะใช่ประปวดประจำเดือนเป็นทุกเดือนไม่ใช่อาการแบบนี้ เป็นตกขาวด้วยค่ะเยอะมากบางครั้งเป็นแค่น้ำใสๆแต่คันช่องคลอดมาก บางครั้งเป็นสีขาวขุ่นเยอะมากแต่ไม่มีอาการคัน บางครั้งไหลเหมือนคนอั้นฉี่ไม่อยู่แต่ที่ออกมาเหมือนน้ำคาวปลาตอนคลอดลูกเป็นเกือบทั้งเดือน ไปหาหมอๆบอกว่าเป็นตกขาว จนไม่อยากจะไปเพราะได้ยาสอดกับยาทามาแต่อาการไม่ดีขึ้น ต้องใส่แผ่นอนามัยตลอดเวลาค่ะ อยากหายและอยากทราบว่าอาจจะเป็นโรคอะไรได้บ้างค่ะ ผ่าตัดไส้ติ่งมาแล้วค่ะ เวลาปวดแต่ละครั้งทั้งทรมานและรำคาญมากค่ะ


Post 03 Nov 2556 by Visitor-70270

Reply

คงมีอะไรที่ผิดปกติไปกว่าการอักเสบธรรมดา น่าจะมีพังผืด หรือ เนื้องอกด้วย ควรไป รพ.ใหญ่ ๆ ถ้ายังไม่มีลูก ก็เชิญตรวจที่ ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยากของ รพ.วิภาวดี ได้เลยครับ

ผู้ตอบ: นพ. ธีรศักดิ์ ธำรงธีระกุล (05.11.56 )

อาการ ปวดท้องน้อย ในคุณผู้หญิง

           โอย…โอย…ปวดท้องอีกแล้ว  มีประจำเดือนทีไร ปวดท้องน้อย ทุกทีเลย เสียงคร่ำครวญดังกล่าวเป็นสิ่งที่น่าเห็นอกเห็นใจอย่างยิ่ง  ถ้าไม่เกิดกับใครจะไม่รู้สึกหรอก

           คุณผู้หญิงบางท่านไม่เคยปวดท้องน้อยมาก่อนไม่ว่าจะเกี่ยวกับการมีประจำเดือนหรือไม่มีประจำเดือน  ก็ไม่เคยปวดสบายดีมาตลอด  แต่วันนี้ทำไมจู่ๆเกิดปวดขึ้นมาอย่างเฉียบพลันทันใด  อูยยยย….เกิดอะไรขึ้นละเนี่ย

           อาการปวดท้องน้อยในคุณผู้หญิงเป็นอาการหนึ่งที่พบได้บ่อยๆที่ทำให้ต้องมาพบสูตินรีแพทย์เพื่อตรวจและรักษา  เป็นอาการที่สร้างความกังวลใจให้ได้เรื่อยๆโดยเฉพาะคนที่เป็นอยู่เนืองๆหรือเป็นเรื้อรังไม่หายสักที ดังนั้นเราจึงควรมารู้จักกับอาการปวดท้องน้อยกันสักหน่อย  เพื่อจะได้ทราบแนวทางทั้งการตรวจวินิจฉัยรวมถึงแนวทางการรักษาด้วย

           เบื้องต้นควรเข้าใจให้ตรงกันว่า  บริเวณท้องน้อยของคุณผู้หญิงที่ผู้เขียนหมายถึงนั้น  ก็คือบริเวณช่องท้องส่วนล่างนับตั้งแต่ตำแหน่งสะดือลงมาจนถึงขอบบนของกระดูกเชิงกราน  บริเวณทั้งหมดนี้จะมีอวัยวะสำคัญหลายอย่างที่ทำให้เกิดอาการปวดท้องน้อยได้  ก็มี  มดลูก ปีกมดลูกทั้งสองข้าง(คือท่อนำไข่และรังไข่ทั้งสองข้าง)  กระเพาะปัสสาวะอยู่ด้านหน้าของมดลูก  มีลำไส้ทั้งเล็กและใหญ่อยู่เต็มช่องท้องซึ่งเคลื่อนไหวบีบตัวอยู่ตลอดเวลา  โดยมีไส้ติ่งอยู่ที่บริเวณด้านขวาต่ำกว่าสะดือมาเล็กน้อย    นอกจากนี้ยังมีท่อไตทั้งสองข้างอยู่ในผนังช่องท้องด้านหลังอีกด้วย จะเห็นว่ามีอวัยวะมากมายที่อยู่ในบริเวณท้องน้อยนี้  และที่สำคัญทุกอวัยวะดังกล่าวสามารถทำให้เกิดอาการปวดท้องน้อยได้ทั้งสิ้น !  โดยอาจจะเกิดจากการอักเสบ  การบาดเจ็บ  การเป็นเนื้องอกหรือเป็บมะเร็ง  แม้กระทั่งการผิดปกติมาแต่กำเนิด เป็นต้น  ยกตัวอย่างเช่น

           โรคของอวัยวะสืบพันธุ์สตรี  คือ มดลูก และรังไข่ที่ทำให้ปวดท้องน้อยได้บ่อยๆ  อาจจะแบ่งเป็นสองกลุ่มใหญ่ๆคือ  เป็นกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์  และไม่เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ กลุ่มที่เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ที่ทำให้ปวดท้อง เช่น การตั้งครรภ์นอกมดลูก  การแท้งลูก  เป็นต้น

           กลุ่มที่ไม่เกี่ยวกับการตั้งครรภ์  เช่น การอักเสบในอุ้งเชิงกราน  ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกอยู่ผิดที่(หรือที่เป็นช็อคโกแลตซีสต์นั้นแหละ)  การปวดประจำเดือนที่มดลูกและรังไข่ปกติ  การมีเนื้องอกของมดลูก  มีเนื้องอกของรังไข่ที่มันแตกหรือบิดขั้ว  เป็นต้น

           โรคของระบบทางเดินปัสสาวะ คือ กระพาะปัสสาวะอักเสบ  หรือมีนิ่วในกระเพาะปัสสาวะหรือที่ท่อไต  เป็นต้น

           โรคของระบบทางเดินอาหารที่ทำให้ปวดท้องน้อย ที่พบบ่อย เช่น ไส้ติ่งอักเสบ  ลำไส้อักเสบ  หรือมีการทำงานของลำไส้แปรปรวน มีท้องเสียบ้าง ท้องผูกบ้าง  หรือการมีเนื้องอกหรือมะเร็งของลำไส้  เป็นต้น

           การบ่งบอกว่าอาการปวดท้องน้อยที่เกิดขึ้นมีสาเหตุจากอะไร  แพทย์ผู้ดูแลก็จะต้องทำการซักถามประวัติความเป็นมาต่างๆ  ลักษณะการปวดว่าเป็นแบบใด  ปวดที่ตรงไหน  ปวดเวลาใด  เวลาปวดสัมพันธ์กับอะไร เช่น มีคลื่นไส้อาเจียน  ท้องเสีย  ปัสสาวะลำบาก  หรือมีเลือดออกมาจากทางช่องคลอดด้วยหรือไม่  เป็นต้น  จากนั้นก็เป็นการตรวจร่างกายทุกๆระบบ  โดยเฉพาะคุณผู้หญิงก็ต้องตรวจภายในด้วย  และสุดท้ายก็เป็นการตรวจทางห้องปฏิบัติการต่างๆ  เช่น การเจาะเลือด  ตรวจปัสสาวะ  อาจจะมีการถ่ายภาพรังสีเอ็กเรย์  การตรวจด้วยอัลตราซาวด์  และการตรวจพิเศษอื่นๆตามความจำเป็น เช่น ต้องส่องกล้องเข้าไปดูในช่องท้อง หรือส่องดูในลำไส้หรือไม่ เป็นต้น เมื่อได้ข้อมูลเพียงพอสำหรับการวินิจฉัยโรคแล้ว  ก็จะให้การรักษาตามที่คิดว่าจะเป็นโรคนั้นๆไป  ซึ่งอาจจะเป็นการให้ยา  การผ่าตัด  การนัดตรวจติดตามเป็นระยะหรือแม้กระทั่งการให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัวก็เพียงพอแล้วสำหรับโรคบางโรค

           ดังนั้น ถ้าครั้งหน้าคุณผู้หญิงเกิดมีอาการปวดท้องน้อยขึ้นมาอีก  ถ้ารักษาเบื้องต้นด้วยตนเองแล้วไม่ดีขึ้น  ก็อย่ารั้งรอเนิ่นนานเกินไป   แวะมาคุยกับแพทย์หรือมารับการรักษาเสียแต่เนิ่นๆก็น่าจะดีต่อสุขภาพของคุณนะครับ

ปวดท้องน้อยด้านขวา ตกขาวใส

ด้วยความปรารถนาดีจากศูนย์สูตินรีเวช 24 ชั่วโมง โรงพยาบาลเจ้าพระยา

น.พ.สมเกียรติ คูอมรพัฒนะ สูตินรีแพทย์