ขอ เงินคืน ประกันสังคม มาตรา 39

วันที่ 24 เม.ย.2562 นายอนันต์ชัย อุทัยพัฒนาชีพ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน เปิดเผยถึงผลการดำเนินงานคืนสิทธิผู้ประกันตนมาตรา 39 ตั้งแต่วันที่ 20 เมษายน 2561 จนถึงวันที่ 19 เมษายน 2562 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของคืนสิทธิ ผลปรากฎว่า ผู้ประกันตนมาตรา 39 ที่สิ้นสภาพจากระบบประกันสังคมได้กลับเข้าสู่ระบบแล้วจำนวน 384,086 คน จากตัวเลขดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงความต้องการของผู้ประกันตนมาตรา 39 ที่ให้ความสำคัญกับระบบประกันสังคมที่ช่วยดูแลและสร้างหลักประกันคุณภาพชีวิตที่ดีให้ ซึ่งเมื่อกลับเข้าสู่การเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 ยังคงให้ความคุ้มครอง 6 กรณีเช่นเดิม คือ เจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ เสียชีวิต สงเคราะห์บุตร และชราภาพ เพียงจ่ายเงินสมทบจำนวน 432 บาทต่อเดือน

เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กล่าวย้ำว่า ขอให้ผู้ประกันตนที่กลับเข้าสู่ระบบแล้วคำนึงถึงสิทธิของตนเอง โดยให้ความสำคัญในการตรวจสอบการนำส่งเงินสมทบกับสำนักงานประกันสังคมอย่างสม่ำเสมอ และควรนำส่งเงินสมทบอย่างต่อเนื่อง หากขาดส่งเงินสมทบ 3 เดือนติดต่อกัน หรือภายในระยะเวลา 12 เดือน ส่งเงินสมทบไม่ครบ 9 เดือน จะสิ้นสภาพการเป็นผู้ประกันตนทันที ทั้งนี้ ผู้ประกันตนสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ทั้ง 12 แห่ง/จังหวัด/สาขา/ ที่ท่านสะดวก หรือโทร.1506 (เจ้าหน้าที่ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง) ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.sso.go.th

ขอ เงินคืน ประกันสังคม มาตรา 39

สำหรับมาตรา 39 ตาม พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ระบุว่า

“ผู้ใดเคยเป็นผู้ประกันตนตาม มาตรา 33 โดยจ่ายเงินสมทบมาแล้ว ไม่น้อยกว่าสิบสองเดือน และต่อมาความเป็นผู้ประกันตนได้สิ้นสุดลงตาม มาตรา 38 (2) ถ้าผู้นั้น ประสงค์จะเป็นผู้ประกันตนต่อไป ให้แสดงความจำนงต่อสำนักงานตามระเบียบที่เลขาธิการ กำหนดภายในหกเดือนนับแต่วันสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน

จำนวนเงินที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบที่ผู้ประกันตนตามวรรคหนึ่ง ต้องส่งเข้ากองทุนตาม มาตรา 46 วรรคสอง ให้เป็นไปตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง ทั้งนี้โดยให้คำนึงถึงความเหมาะสมกับสภาพทางเศรษฐกิจในขณะนั้นด้วย ให้ผู้ประกันตนตามวรรคหนึ่งนำส่งเงินสมทบเข้ากองทุนเดือนละครั้ง ภายในวันที่ สิบห้าของเดือนถัดไป

ผู้ประกันตนตามวรรคหนึ่งซึ่งไม่ส่งเงินสมทบหรือส่งไม่ครบจำนวนภายในเวลา ที่กำหนดตามวรรคสาม ต้องจ่ายเงินเพิ่มในอัตราร้อยละสองต่อเดือนของจำนวนเงินสมทบที่ยังมิได้นำส่งหรือของจำนวนเงินสมทบที่ยังขาดอยู่นับแต่วันถัดจากวันที่ต้องนำส่งเงินสมทบ สำหรับเศษ ของเดือนถ้าถึงสิบห้าวัน หรือกว่านั้นให้นับเป็นหนึ่งเดือน ถ้าน้อยกว่านั้นให้ปัดทิ้ง”

เมื่อเป็นเช่นนี้ ย่อมเท่ากับบุคคลที่เคยเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 มาก่อน เมื่อได้สิ้นสุดความเป็นลูกจ้างของบริษัทที่เราเป็นลูกจ้าง ก็ทำให้ความเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 สิ้นสุดตามไปด้วย แต่ทั้งนี้ หากเรายังมีความประสงค์จะรักษาสถานภาพการเป็นผู้ประกันตนต่อก็สามารถทำได้ ด้วยการส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมเอง เพราะทางประกันสังคมต้องการเปิดโอกาสให้ทุกคนมีสิทธิประโยชน์ใกล้เคียงกับ ตามนโยบายพื้นฐานที่ว่าด้วยการเฉลี่ยความสุขและทุกข์

อย่าเสียรู้ ทิ้งเงินก้อนโต เงื่อนไขรับเงินคืนจาก ”ประกันสังคม” บางคนได้เกือบแสนสำหรับคนที่เป็นมนุษย์เงินเดือน ที่จะต้องจ่ายเงินประกันสังคม จะต้องสมทบเงินประกันสังคมทุกเดือน

ซึ่งจะหักจากเงินเดือนประมาณ 5 เปอร์เซ็นต์แต่สูงสุดได้ไม่เกิน 750 บาท นั่นก็คือคนที่ได้รับเงินเดือน

15,000 บาทขึ้นไปนั้นเอง แต่เราเคยสงสัยกันบ้างหรือไม่ว่า สำนักงานประกันสังคมนั้น เขาเอาเงินที่เราจ่ายทุกเดือนไปทำอะไรกันบ้างระบบงานประกันสังคม

 

ขอ เงินคืน ประกันสังคม มาตรา 39

เป็นสิ่งที่ต่างประเทศมีมานานแล้ว แต่บ้านเรานั้นเพิ่งจะเริ่มมี โดยประกันสังคมนั้นเป็นระบบที่บังคับให้ทุกคนออมเงินส่วนหนึ่ง มันก็คือ 5 เปอร์เซ็นต์ของเงินเดือนข้อดีของเงินประกันสังคม คือลูกจ้างอย่างเราจะจ่ายเงินประกันสังคมอย่างนี้เพียง 1 ใน 3 ส่วนเท่านั้น เพราะผู้ที่มีหน้าที่จะต้องจ่ายประกันสังคมสมทบกองทุนประกันสังคม ประกอบด้วย 3 ฝ่ายนั้นก็คือ

1. ฝ่ายรัฐบาล

2. ส่วนนายจ้าง

3. ลูกจ้าง

ดังนั้นลูกจ้างจึง จ่ายเงินเข้ากองทุนเพียง 5% ของค่าจ้าง และรัฐบาลสมทบอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งทำให้เราได้รับผลประโยชน์มากขึ้น คุ้มค่าเกินกว่ามูลค่าเงินที่เราลงไป

ขอ เงินคืน ประกันสังคม มาตรา 39

2. 75 บาท สำหรับใช้ประกันการว่างงาน ถ้าว่างงานเมื่อไหร่ สามารถเอาเงินส่วนนี้มาใช้ในระหว่างตกงานหรือรอหางานใหม่ แต่ถ้าไม่ว่างงานเลย เงินส่วนนี้ก็จะหายไป ไม่ได้รับคืน

เงิน 750 บาท ในแต่ละเดือนของประกันสังคม จะถูกแบ่งเป็น

– 225 บาท ดูแลเรื่องเจ็บป่วย ทุพพลภาพ คลอดบุตร และเสีย ถ้าไม่ใช้สิทธิ เงินส่วนนี้ก็จะหายไป ไม่ได้คืน

– 75 บาท ใช้ประกันการว่างงาน ถ้าว่างงานเมื่อไหร่ ก็เอาเงินส่วนนี้มาใช้ในระหว่างที่หางานใหม่ แต่ถ้าไม่ว่างงานเลย เงินส่วนนี้ก็จะหายไป ไม่ได้คืน

ขอ เงินคืน ประกันสังคม มาตรา 39

– 450 บาท เก็บเป็นเงินออม จะได้คืนเมื่ออายุครบ 55 ปี

โดยเงื่อนไขการได้เงินก้อนสุดท้าย (เงินออม เมื่ออายุครบ 55 ปี) คืน คือ

1. จ่ายประกันสังคมไม่ครบ 1 ปี ได้คืนส่วนที่จ่ายเป็นเงินก้อน เรียกว่าบำเหน็จชราภาพ เช่น จ่ายเดือนละ 750 บาทมาโดยตลอด 10 เดือน (750 บาท จะถูกหักเป็นเงินออม 450 บาท) เมื่ออายุครบ 55 ปี จะได้คืน 450 บาท x 10 เดือน = 4,500 บาท

2. จ่ายครบ 1 ปี แต่ไม่ถึง 15 ปี จะได้เป็นเงินก้อนเรียกว่าบำเหน็จเช่นกัน แต่จะมากกว่าข้อ 1. คือ ได้ส่วนที่นายจ้างสมทบด้วย เช่น จ่าย 750 บาท ตลอด 7 ปี (84 เดือน) ที่จะได้รับคืนเมื่ออายุครบ 55 ปี คือ 450 บาท (ส่วนที่ตนเองจ่าย) + 450 บาท (ส่วนที่นายจ้างจ่าย) x 84 เดือน = 75,600 บาท

3. จ่ายตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป จะได้รับเป็นเงินรายเดือน เรียกว่า บำนาญชราภาพ โดยคำนวณ 2 กรณี คือ– กรณีจ่ายครบ 15 ปีเป๊ะๆ จะได้รับรายเดือน คือ 20% ของเฉลี่ยเงินเดือน 60 เดือนสุดท้าย สมมติ 60 เดือนสุดท้าย เฉลี่ยแล้วเท่ากับ 15,000 บาท จะได้รับ 20% คือ เดือนละ 3,000 บาท ไปจนเสีย– กรณีสมทบมากกว่า 15 ปี จะได้รับโบนัสเพิ่ม 1.5% ของเงินเดือน 60 เดือนสุดท้าย หากครบปี เช่น จ่ายครบ 20 ปี รายเดือนที่จะได้รับ คือ 20% ของเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือน + 1.5% ของเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือน x 5 ปี (จ่าย 20 ปี เกินจากที่กำหนดขั้นต่ำมา 5 ปี)สมมติเฉลี่ยเงินเดือน 60 เดือนสุดท้าย เท่ากับ 15,000 บาท จะได้รายเดือน คือ (20% x 15,000 บาท = 3,000 บาท) + (1.5% x 15,000 บาท x 5 ปี) = 3,375 บาท รวมเป็น 6,375 บาท ต่อเดือน ไปจนเสียกรณีที่ได้รับเงินบำนาญชราภาพแล้ว ยังไม่ครบ 5 ปีเลย แต่เสียซะละ กรณีนี้จะได้รับบำเหน็จ 10 เท่าของเดือนสุดท้ายของเงินบำนาญที่ได้รับ เช่น รับรายเดือน เดือนล่าสุด 6,375 บาท เสียปุ๊บ รับ 63,750 บาท