โครงการลดโลกร้อนในโรงเรียน

@Copyright 2016 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 12 สงขลา
อาคารสยามนครินทร์ คอมเพล็กซ์ (ชั้น ๓) ๔๘๘/๘๘ ถนนเพชรเกษม อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ๙๐๑๑๐ โทรศัพท์ ๐ ๗๔๒๓ ๓๘๘๘ โทรสาร ๐ ๗๔๒๓ ๕๔๙๔
Powered by M&E Health Promotion Consult, Co.,Ltd.. Designed by SoftGanz Group

โครงการลดโลกร้อนในโรงเรียน

        เด็กวันนี้คือผู้ใหญ่ในวันหน้า เพราะฉะนั้นเราควรปลูกฝังพฤติกรรมการรักษาสิ่งแวดล้อมและการลดภาวะโลกร้อนให้กับพวกเด็กๆ เพื่อที่วันข้างหน้าเมื่อเขาโตเป็นผู้ใหญ่ จะได้ช่วยกันดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมของโลกใบนี้ต่อไป?

    • การประหยัดไฟ สอนให้เด็กๆรู้จักการใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างคุ้มค่า ปิดไฟ, เครื่องปรับอากาศ, เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆเมื่อออกจากห้องเรียน ตอนพักเที่ยง และตอนกลับบ้าน ให้เด็กๆรู้ว่าการใช้พลังงานแบบไม่สิ้นเปลืองจะช่วยลดภาวะโลกร้อนได้

    • หนังสือและสมุด ?การใช้หนังสือมือสองนอกจากจะช่วยประหยัดเงิน และยังจะช่วยอนุรักษ์ต้นไม้ได้อีกด้วย สอนให้เด็กๆรู้จักดูแลรักษาหนังสือของตนเอง พอถึงช่วงสิ้นเทอมโรงเรียนอาจจะมีกล่องรับบริจาคหนังสือเพื่อให้เด็กรุ่นต่อๆไป ส่วนสมุดที่ยังใช้ไม่หมด ก็สามารถนำมาใช้ต่อในเทอมถัดไปได้ โดยอาจจะเย็บหน้าที่ใช้ไปแล้วติดกันไว้ เท่านี้ก็สามารถช่วยลดภาวะโลกร้อนได้แล้ว

    • ดินสอ ปากกา ยางลบ สอนให้เด็กๆดูแลอุปกรณ์เครื่องเขียนของตนเอง ใช้แล้วเก็บให้เป็นที่เป็นทาง อาจจะเขียนชื่อติดไว้ เวลาหล่นหายจะได้ตามหาเจ้าของได้ ไม่ต้องซื้อใหม่บ่อยๆ สิ้นเปลืองพลังงานและยังสร้างขยะให้โลกมากขึ้นอีกด้วย

    • ชุดนักเรียน ถ้าไม่จำเป็นก็ไม่ต้องซื้อใหม่ทุกปี หรือถ้าครอบครัวไหนมีพี่น้องหลายคน ก็อาจจะเอาเสื้อที่พี่ใส่ไม่ได้แล้วมาให้น้องใส่ต่อ หรือจะเอามาบริจาคให้กับโรงเรียน เพื่อเอามาขายถูกๆเป็นชุดนักเรียนมือสอง เงินที่ได้ก็นำมาใช้ในเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในโรงเรียนต่อไป

    • ถังขยะ ในโรงเรียนควรจะใช้ถังขยะแบบแยกประเภท และสอนให้นักเรียนทิ้งแยกขยะทิ้งให้ถูกต้อง ว่าอันไหนเป็นขยะเปียก อันไหนสามารถนำไปรีไซเคิลได้ สร้างจิตสำนึกที่ดีแก่เยาวชนในการลดภาวะโลกร้อน

    • น้ำดื่ม ควรจะมีตู้น้ำดื่มไว้ให้นักเรียน เพื่อที่จะได้ลดการใช้ขวดน้ำพลาสติกลง และยังช่วยประหยัดเงินของเด็กๆด้วย

    • กิจกรรมเกี่ยวกับภาวะโลกร้อน ให้เด็กๆเรียนรู้เรื่องราวของภาวะโลกร้อน ปลูกฝังพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เช่น การจัดทัศนศึกษาตามแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ กิจกรรมปลูกป่า หรืออาจจะจัดพื้นที่ให้มีการปลูกต้นไม้ในโรงเรียนด้วย

ยังมีกิจกรรมอีกหลายๆอย่างที่เราสามารถทำให้เด็กๆรู้จักการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และการลดภาวะโลกร้อนได้อีก ทั้งนี้สิ่งที่สำคัญที่สุดในการปลูกฝังพฤติกรรมเหล่านี้ให้กับพวกเขาก็คือ “การเป็นแบบอย่างที่ดี” ถ้าเด็กๆมีแบบอย่างที่ดีแล้ว พวกเขาก็จะโตขึ้นมาเป็นผู้ใหญ่ที่ดี และเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับเด็กรุ่นหลังสืบต่อไป


โครงการลดโลกร้อนในโรงเรียน

โครงการโรงเรียนใหญ่ รอยเท้าเล็ก

(Low Carbon School Network)

การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ส่งผลกระทบโดยตรงต่อมนุษย์ในทุกภาคส่วน เนื่องจากอุณหภูมิโดยรวมสูงขึ้นทำให้ฤดูกาลต่างๆ เปลี่ยนแปลงไป ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากน้ำมือมนุษย์มีปริมาณเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง จะทำให้อุณหภูมิอากาศเฉลี่ยของโลกสูงขึ้นมากกว่า 4 องศาเซลเซียส ในศตวรรษที่ 21 แต่อาจจะไม่เกิดขึ้นจริง หากเราสามารถควบคุมพฤติกรรมในการใช้ชีวิตประจำวันได้

ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ปรากฏชัดเจนขึ้น กระจายอยู่ทุกมุมโลก ไม่ว่าจะเป็น ภัยแล้ง พายุฝนรุนแรง เกษตรกรเสียหาย การระบาดของโรคภัยต่างๆ สิ่งมีชีวิตไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้ทำให้ตายลง และอาจสูญพันธ์ได้ในอนาคต จากปัญหาดังกล่าว ทำให้แต่ละประเทศทั่วโลกเกิดความตื่นตัว และตระหนักถึงปัญหาอย่างจริงจัง มีการรณรงค์เรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมากขึ้น เกิดการประชุมและเจรจาในการแก้ปัญหาเพื่อให้เกิดข้อตกลงร่วมกันในการช่วยแก้ปัญหา โดยแนวคิดหนึ่งที่เป็นที่ยอมรับร่วมกันคือ การผลักดันในการลดการใช้พลังงาน สร้างสังคมคาร์บอนต่ำในทุกบริบทของสังคม ตั่งแต่หน่วยงานย่อยของสังคมอย่างครอบครัว โรงเรียน ชุมชน เมืองและประเทศ

ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่ให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยได้รับความสนใจในหลายภาคส่วน เกิดการรณรงค์และเคลื่อนไหวเพื่อให้ทุกคนมีส่วนร่วม ดังเช่นโครงการรณรงค์ปิดไฟ 1 ชั่วโมงให้โลกพัก หรือ โครงการ Earth Hour ที่เชิญชวนให้ทุกคนตระหนักถึงปัญหาภาวะโลกร้อนผ่านสัญลักษณ์การปิดไฟ 1 ชั่วโมง และกระตุ้นให้ทุกคนแสดงเจตนารมณ์ว่าจะทำสิ่งที่มากกว่าการปิดไฟเพียงหนึ่งชั่วโมง ตั้งแต่ปี 2555 กรุงเทพมหานคร WWF ประเทศไทย และมูลนิธิสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ร่วมกับภาคธุรกิจอีกหลายองค์กร ยังคงดำเนินโครงการต่อเนื่อง “โรงเรียนใหญ่ รอยเท้าเล็ก หรือ Low Carbon School Network” ขึ้น จนถึงปัจจุบัน ได้ดำเนินงานมาแล้วเป็นเวลา 3 ปี โดยมุ่งหวังที่จะให้โครงการดังกล่าวถ่ายทอดแนวคิด และแนวทางการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวันให้กับนักเรียน เพื่อเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยลดปริมาณคาร์บอนที่เกิดจากการใช้ไฟฟ้า และลดปริมาณรอยเท้าคาร์บอนที่เกิดขึ้นจากการใช้ชีวิตประจำวัน

ในปี 2555 ได้ดำเนินโครงการในโรงเรียนนำร่องทั้ง 16 แห่ง ใน 6 เขตโซนของกรุงเทพมหานคร ต่อจากนั้นปี 2556 – 2557 ได้ขยายผลสู่โรงเรียนในเขตจังหวัดสมุทรปราการ และปทุมธานี จำนวน 21 โรงเรียน โดยโครงการฯ ได้ประยุกต์กระบวนการสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ด้วยแนวทาง “การใช้พลังงานอย่างสร้างสรรค์ พอเพียง (Smart Energy)” เป็นกลยุทธ์หลักที่สำคัญ และนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเชิงบวกต่อการขับเคลื่อนสู่สังคมคาร์บอนต่ำภายในโรงเรียน อนึ่งเป้าหมายตามแผนระยะยาว 5 ปี มุ่งหวังที่จะขยายแนวคิดของการลดรอยเท้าคาร์บอน ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องโลกร้อน รอยเท้าคาร์บอน และการประหยัดพลังงาน ไปยังโรงเรียนกลุ่มเป้าหมายในจังหวัดอื่นๆ เช่น ปทุมธานี เชียงใหม่ นครราชสีมา อยุธยา และฉะเชิงเทรา เป็นต้น รวมถึงการนำแนวคิดของ Smart Energy เข้าเป็นส่วนหนึ่งของสาระการเรียนรู้ในหลักสูตรสถานศึกษา โดยคาดว่าตลอดระยะเวลาในการดำเนินงานจะมีนักเรียนที่ผ่านการเรียนรู้ในโครงการนี้จำนวนไม่น้อยกว่า 20,000 คน

เรายังคงมุ่งขยายแนวคิดการลดรอยเท้าคาร์บอน เพื่อเข้าสู่โครงการในปีที่สี่ตามกลุ่มเป้าหมายของแผนระยะยาว 5 ปี โดยในปีนี้จะขยายไปยังจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมๆ กับการสร้างเครือข่ายโรงเรียนคาร์บอนต่ำให้กว้างมากยิ่งขึ้น และจะถ่ายทอดแนวคิดดังกล่าวสู่เยาวชนด้วย 2 องค์ประกอบหลักที่สำคัญ 3 ประการ ได้แก่ 1) การลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกในสังคม (Carbon Minimization) 2) การลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกในชีวิตประจำวันด้วยวิธีง่าย (Simpler and Richer) 3) การลดผลกระทบและปรับตัวพร้อมรับมือกับปัญหาภาวะโลกร้อน (Co-Existing with nature) ซึ่งจะประยุกต์กระบวนการสิ่งแวดล้อมศึกษา เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ด้วยแนวทาง “การใช้พลังงานอย่างสร้างสรรค์ พอเพียง (Smart Energy)” อันจะเป็นกลยุทธ์สำคัญ และนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเชิงบวกต่อการขับเคลื่อนสู่สังคมคาร์บอนต่ำภายในโรงเรียน มากไปกว่านั้นเยาวชนเหล่านี้ยังสามารถเป็นแรงเสริมที่จะช่วยขยายแนวคิดจากจุดเล็กๆ ในโรงเรียนไปสู่สังคมของตนเองและครอบครัวต่อไป

นอกจากนี้ในปีนี้ยังจะได้นำคู่มือ Smart Energy และ Carbon Footprint ทดลองใช้ในสถานศึกษา เพื่อเตรียมการเข้าสู่หลักสูตรการเรียนรู้ในโรงเรียน โดยจะเริ่มดำเนินงานกับบางโรงเรียนที่เคยเข้าร่วมโครงการโรงเรียนใหญ่ รอยเท้าเล็กของปีที่ผ่านมา

โครงการโรงเรียนใหญ่ รอยเท้าเล็ก (Low Carbon School Network)

กิจกรรมต่อเนื่องของ Earth Hour 2015

ระยะเวลา เดือนเมษายน 2558 – เดือนมีนาคม 2559

แนวคิดหลัก กิจกรรมโรงเรียนใหญ่ รอยเท้าเล็ก: โครงการโรงเรียนใหญ่ รอยเท้าเล็ก เป็นโครงการที่มุ่งหวังถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวันของนักเรียนที่ร่วมโครงการทุกคน ให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็นการลดรอยเท้าเชิงนิเวศ (Ecological Footprint) ที่แต่ละคนได้กระทำต่อสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะนักเรียนที่อยู่ในเมืองใหญ่ โครงการนี้มุ่งหวังถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเชิงบุคคลที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน เป็นการเริ่มต้นที่ตนเอง สามารถกระทำได้ทันที และปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อลดผลกระทบต่าง ๆ ด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นกับโลก และหากนักเรียนคนๆ หนึ่งสามารถกระทำได้ เมื่อรวมกับเพื่อนนักเรียนในห้อง ต่อยอดไปถึงเพื่อนนักเรียนทั้งระดับชั้น จะสามารถเปลี่ยนจากพลังเล็กๆ ของคนคนหนึ่งไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่ขยายใหญ่ขึ้น เป็นระดับโรงเรียน ระดับเขต นำไปสู่การขยายผลต่อเนื่องไปถึงระดับจังหวัด และระดับประเทศในที่สุด

ความคิดรวบยอดของหลักสูตรในโครงการ: โครงการโรงเรียนใหญ่ รอยเท้าเล็ก ปีที่ 4 ยังคงใช้กระบวนการและวัตถุประสงค์ของสิ่งแวดล้อมศึกษา เป็นกลยุทธ์หลักในการดำเนินกิจกรรม ตั้งแต่กระบวนการสร้างความตระหนัก (Awareness) การให้ความรู้ (Knowledge) เพื่อการปรับเปลี่ยนทัศนคติ (Attitude) นักเรียนเป้าหมายจะได้รับการพัฒนาทักษะ (Skill) และนำไปสู่การมีส่วนร่วม (Participation) ในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เพื่อลดรอยเท้า

อย่างไรก็ตามในการสร้างองค์ความรู้ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในโครงการ มีพื้นฐานการดำเนินการจากการเรียนรู้แบบลักษณะการทำโครงการ (Project Base Learning) มุ่งหวังให้นักเรียนเป้าหมายได้มีโอกาสในการสำรวจ ค้นหา และวิเคราะห์ปัญหา ถึงผลต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมจนทำให้เกิดภาวะโลกร้อนที่มีมากยิ่งขึ้น นักเรียนจะได้ช่วยกัน พิจารณาทางเลือกในสิ่งที่ตนเองสามารถช่วยกันหรือปฏิบัติได้จริง จนนำไปสู่ขั้นตอนการลงมือปฏิบัติและนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงจริง เพื่อให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม และสามารถน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาเป็นหลักในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ซึ่งกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นตลอดโครงการ จะใช้สอดแทรกแนวคิดและนำเสนอวิธีปฏิบัติตามแนวทางของ “การใช้พลังงานอย่างสร้างสรรค์ พอเพียง (Smart Energy)” ประกอบไปด้วย

  1. Renewable Energy :หน่วยการเรียนรู้ พลังงานทางเลือก
  2. Energy Efficiency: หน่วยการเรียนรู้ ประสิทธิภาพของการใช้พลังงาน
  3. Shifting the Energy Paradigm: หน่วยการเรียนรู้ การปรับแนวคิดด้านการใช้พลังงาน
  4. Carbon Capture and Storage :หน่วยการเรียนรู้ ปฏิบัติการลดคาร์บอน

โดย Theme จะเข้มข้นมากในเรื่อง หน่วยการเรียนรู้ ประสิทธิภาพของการใช้พลังงาน และหน่วยงานเรียนรู้ การปรับแนวคิดด้านในการพลังงาน เพราะนักเรียนสามารถนาปรับใช้ชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี

นอกจากนี้การดำเนินงานในปีที่ 4 จะมีการนำ “ คู่มือสู่การเป็นโรงเรียนคาร์บอนต่ำ” เข้าสู่การเรียนรู้ในโรงเรียน โดยดำเนินงานใช้กับบางโรงเรียนที่ได้เคยเข้าร่วมโครงการในปีที่ผ่านมา เพื่อศึกษาเตรียมการในการจัดเป็นสาระท้องถิ่นเกี่ยวกับโลกร้อนและพลังงานในโรงเรียนต่อไป

เป้าหมาย (ตามแผน 5 ปี)

– แนวคิดของการลดรอยเท้าคาร์บอน และการประหยัดพลังงานถูกถ่ายทอดไปยังโรงเรียนตามหัวเมืองใหญ่ทั่วประเทศ รวมถึงการนำแนวคิดของ Smart Energy เข้าเป็นส่วนหนึ่งของสาระการเรียนรู้ในหลักสูตรสถานศึกษา

วัตถุประสงค์ โครงการปีที่ 4

  1. เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสภาวะโลกร้อน
  2. ผลักดันให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้แนวคิด Smart Energy เพื่อนำไปสู่การเป็นโรงเรียนคาร์บอนต่ำ
  3. สร้างเครือข่ายโรงเรียนคาร์บอนต่ำทั้งในเขตกรุงเทพมหานคร จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดปทุมธานี และจังหวัดเชียงใหม่
  4. เพื่อนำแนวคิด Smart Energy และ Carbon Footprint เข้าสู่การเรียนการสอนในโรงเรียน ผ่านการใช้คู่มือสู่การเป็นโรงเรียนคาร์บอนต่ำ

กลุ่มเป้าหมาย

 โรงเรียนในเขตจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 10 โรงเรียน (ระดับประถมศึกษาตอนปลาย และมัธยมศึกษาตอนต้น)

 โรงเรียนในกรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ และปทุมธานี จำนวน 7 โรงเรียน

  1. คัดเลือกโรงเรียนเข้าร่วมโครงการจำนวน 10 โรงเรียน ในจังหวัดเชียงใหม่ และโรงเรียนจากกรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ และปทุมธานี ที่เคยเข้าร่วมโครงการแล้ว 7 โรงเรียน รวมทั้งหมด 17 โรงเรียน
  2. คัดผู้แทนนักเรียนจากโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 10 โรงเรียน เข้าร่วมกิจกรรม Smart Energy Camp (สำหรับนักเรียน) จำนวน 2 ครั้ง ระยะเวลา 4 วัน 3 คืน โดยมีเนื้อหาของค่ายครอบคลุม 4 ประเด็นหลักของ Smart Energy และมีกิจกรรมศึกษาดูงาน เรียนรู้เรื่องการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ในช่วงที่มีการจัดกิจกรรม
  3. จัดกิจกรรม workshop และจัดศึกษาดูงานเรียนรู้เรื่องการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพให้กับคณะครู 10 โรงเรียนในจังหวัดเชียงใหม่ โรงเรียนละ 2 คน รวม 20 คน เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการพลังงาน รวมถึงสามารถช่วยเหลือสนับสนุนนักเรียนของตนเองอย่างถูกต้อง
  4. ผู้แทนนักเรียนและคณะครูจากจังหวัดเชียงใหม่ จัดกิจกรรมขยายแนวคิด Smart Energy แผนประหยัดพลังงาน และหรือกิจกรรมการลดรอยเท้าคาร์บอนสู่เพื่อนนักเรียนคนอื่นๆ ในโรงเรียน เพื่อให้นักเรียนทั้งระดับชั้นของแต่ละโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมประจำวัน เพื่อทำการลดค่า Carbon Footprint ของตนเอง และส่งเข้าประกวดกับโครงการ (โครงการฯ สนับสนุนงบประมาณจัดกิจกรรมรณรงค์ หรือโครงงานลดโลกร้อน)
  5. ติดตามประเมินผลกิจกรรมขยายแนวคิด Smart Energy แผนประหยัดพลังงาน และหรือกิจกรรมการลดรอยเท้าคาร์บอน ทั้งในส่วนการประเมินพฤติกรรมของนักเรียน และติดตามความก้าวหน้าในการดาเนินโครงการ ด้วยการสัมภาษณ์ นักเรียนทั้ง 17 โรงเรียน เป็นระยะ
  6. วางแผนร่วมกับครูจากโรงเรียนในกรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ และปทุมธานี ในการสร้างคู่มือสู่การเป็นโรงเรียนคาร์บอนต่ำ ไปใช้เสริมการเรียนการสอนในโรงเรียน และร่วมจัดกิจกรรมเสริมการเรียนการสอนร่วมกับคุณครู
  7. Workshop แลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างโรงเรียนต้นแบบ และจัดพิธีมอบรางวัล ประกาศเกียรติคุณโรงเรียนที่ดำเนินการบรรลุตามเป้าหมายของแผนประหยัดพลังงานในโรงเรียนต่างๆ โดยการจัดทำ Energy Corner ไว้ในโรงเรียนที่ผ่านการคัดเลือก (จังหวัดเชียงใหม่)
  8. ตัวแทนนักเรียนต่างๆ เข้าร่วมงาน Earth Hour 2015 พร้อมมีการจัดนิทรรศการประกอบ
  9. กิจกรรม press trip เยี่ยมชมโรงเรียนใหญ่ รอยเท้าเล็ก เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการประชาสัมพันธ์ ผลโครงการฯ ในงาน Earth Hour 2015

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. นักเรียนในโรงเรียนเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจปัญหาภาวะโลกร้อน
  2. นักเรียนเป้าหมายมีพฤติกรรมเชิงบวกในการการใช้พลังงานอย่างสร้างสรรค์ พอเพียง (Smart Energy) จนนาไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำในโรงเรียน
  3. เครือข่ายโรงเรียนคาร์บอนต่ำระหว่างโรงเรียนเป้าหมายในจังหวัดเชียงใหม่ ปทุมธานี สมุทรปราการ และกรุงเทพมหานคร
  4. เครือข่ายโรงเรียนคาร์บอนต่ำเตรียมพร้อมเข้าสู่การเรียนรู้ตามสาระท้องถิ่นเกี่ยวกับโลกร้อนและพลังงานในโรงเรียนต่อไป
รายชี่อโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ LCSN 4th Year Program เชียงใหม่
โรงเรียน ระดับชั้น สังกัด จังหวัด นักเรียนทั้งหมด จำนวนกลุ่มเป้าหมาย
(Outreach)
จำนวนนักเรียน
ที่เข้าค่าย
(Camp)
โรงเรียนอนุบาลเชียงใหม่ ประถมศึกษาปีที่ 5 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เชียงใหม่ เขต 1 เชียงใหม่ 2,433 330 8
โรงเรียนพุทธิโศภน ประถมศึกษาปีที่ 5 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เชียงใหม่ เขต 1 เชียงใหม่ 1,133 235 8
โรงเรียนบ้านสันกำแพง ประถมศึกษาปีที่ 5 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เชียงใหม่ เขต 1 เชียงใหม่ 1,662 178 6
โรงเรียนบ้านลวงเหนือ ประถมศึกษาปีที่ 5 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เชียงใหม่ เขต 1 เชียงใหม่ 110 40 6
โรงเรียนวัดห้วยแก้ว ประถมศึกษาปีที่ 5 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เชียงใหม่ เขต 1 เชียงใหม่ 222 78 6
โรงเรียนชุมชนบ้านบวกครกน้อย มัธยมศึกษาปีที่ 2 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เชียงใหม่ เขต 1 เชียงใหม่ 389 80 8
โรงเรียนแม่โป่งประชาสามัคคี มัธยมศึกษาปีที่ 2 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เชียงใหม่ เขต 1 เชียงใหม่ 158 60 6
โรงเรียนชลประทานผาแตก มัธยมศึกษาปีที่ 2 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เชียงใหม่ เขต 1 เชียงใหม่ 424 85 6
โรงเรียนบ้านแม่ปูคา มัธยมศึกษาปีที่ 2 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เชียงใหม่ เขต 1 เชียงใหม่ 254 60 6
โรงเรียนวัดห้วยทราย มัธยมศึกษาปีที่ 2 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เชียงใหม่ เขต 1 เชียงใหม่ 279 78 6

ตัวอย่างภาพกิจกรรมโรงเรียนใหญ่ รอยเท้าเล็ก ปีที่4 เชียงใหม่

ค่ายอบอรมครูทั้งหมด 10 โรงเรียน  กิจกรรมประชาสัมพันธ์โครงการตามโรงเรียนต่างๆ
โครงการลดโลกร้อนในโรงเรียน
โครงการลดโลกร้อนในโรงเรียน
โครงการลดโลกร้อนในโรงเรียน
โครงการลดโลกร้อนในโรงเรียน
โครงการลดโลกร้อนในโรงเรียน
โครงการลดโลกร้อนในโรงเรียน
โครงการลดโลกร้อนในโรงเรียน
โครงการลดโลกร้อนในโรงเรียน

มูลนิธิสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (ประเทศไทย) – FEEDหน่วยงานที่รับผิดชอบ

องค์กรที่ปรึกษา

สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร

Post Views: 254