หลักการ บริหาร จัดการความเสี่ยงระดับองค์กร กรมบัญชีกลาง

กรมบัญชีกลางออกแนวทาง เรื่อง “หลักการบริหารจัดการความเสี่ยงระดับองค์กร” เพื่อให้หน่วยงานของรัฐนำไปปรับใช้ได้อย่างเหมาะสม

ตามที่กระทรวงการคลังได้ประกาศหลักเกณฑ์กระทรวงการคลังว่าด้วยมาตรฐานและหลักเกณฑ์ปฏิบัติการบริหารจัดการความเสี่ยงสำหรับหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2562

นายภูมิศักดิ์ อรัญญาเกษมสุข อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า ตามที่กระทรวงการคลังได้ประกาศหลักเกณฑ์กระทรวงการคลังว่าด้วยมาตรฐานและหลักเกณฑ์ปฏิบัติการบริหารจัดการความเสี่ยงสำหรับหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2562 โดยหลักเกณฑ์ปฏิบัติการบริหารจัดการความเสี่ยงสำหรับหน่วยงานของรัฐ ข้อ 3 กำหนดให้หน่วยงานของรัฐ ยกเว้นรัฐวิสาหกิจถือปฏิบัติตามคู่มือหรือแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการบริหารจัดการความเสี่ยงตามที่กระทรวงการคลังกำหนด ซึ่งหน่วยงานของรัฐมีหน้าที่ในการจัดให้มีการบริหารจัดการความเสี่ยง ตามมาตรา 79 ของพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 เพื่อให้การบริหารจัดการความเสี่ยงของหน่วยงานมีประสิทธิภาพ รวมถึงยกระดับการบริหารจัดการความเสี่ยงของฝ่ายบริหารให้สามารถเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ (Informed Strategic Decision Making) เพื่อสนับสนุนการบริหารหน่วยงานของรัฐให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กรอย่างแท้จริง กรมบัญชีกลางจึงได้กำหนดแนวทางการบริหารจัดการความเสี่ยงสำหรับหน่วยงานของรัฐ เรื่อง หลักการบริหารจัดการความเสี่ยงระดับองค์กรขึ้น เพื่อให้หน่วยงานของรัฐสามารถนำหลักการดังกล่าวไปปรับใช้ในการพัฒนาระบบการบริหารจัดการความเสี่ยงให้เหมาะสมกับหน่วยงาน โดยมีเนื้อหาสรุปได้ ดังนี้

1.กรอบการบริหารจัดการความเสี่ยง ประกอบด้วย 8 หลักการ ดังนี้ 1) การบริหารจัดการความเสี่ยงต้องดำเนินการแบบบูรณาการทั่วทั้งองค์กร 2) ความมุ่งมั่นของผู้กำกับดูแล หัวหน้าหน่วยงานของรัฐ และผู้บริหารระดับสูง 3) การสร้างและรักษาบุคลากรและวัฒนธรรมที่ดีขององค์กร 4) การมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบด้านการบริหารจัดการความเสี่ยง 5) การตระหนักถึงผู้มีส่วนได้เสีย 6) การกำหนดยุทธศาสตร์/กลยุทธ์ วัตถุประสงค์ และการตัดสินใจ 7) การใช้ข้อมูลสารสนเทศ 8) การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

2.กระบวนการบริหารจัดการความเสี่ยง ประกอบด้วย 7 กระบวนการ ดังนี้ 1) การวิเคราะห์องค์กร 2) การกำหนดนโยบายการบริหารจัดการความเสี่ยง 3) การระบุความเสี่ยง 4) การประเมินความเสี่ยง 5) การตอบสนองความเสี่ยง 6) การติดตามและทบทวน 7) การสื่อสารและการรายงาน

  “สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถดาวน์โหลดแนวทางดังกล่าวได้ที่เว็บไซต์กรมบัญชีกลาง www.cgd.go.th หัวข้อ เรื่องที่น่าสนใจ หัวข้อ ตรวจสอบภายใน เลือก ระเบียบ มาตรฐาน คู่มือ แนวปฏิบัติ หัวข้อ แนวทางการบริหารจัดการความเสี่ยงสำหรับหน่วยงานของรัฐ เรื่อง หลักการบริหารจัดการความเสี่ยงระดับองค์กร หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่กองตรวจสอบภาครัฐ กรมบัญชีกลาง หมายเลข 02-127-7287 ในวัน เวลา ราชการ” อธิบดีกรมบัญชีกลางกล่าว

สยามรัฐออนไลน์ 5 กุมภาพันธ์ 2564 11:11 น. เศรษฐกิจ

หลักการ บริหาร จัดการความเสี่ยงระดับองค์กร กรมบัญชีกลาง

กรมบัญชีกลางออกแนวทาง เรื่อง “หลักการบริหารจัดการความเสี่ยงระดับองค์กร” เพื่อให้หน่วยงานของรัฐนำไปปรับใช้ได้อย่างเหมาะสม นายภูมิศักดิ์ อรัญญาเกษมสุข อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า ตามที่กระทรวงการคลังได้ประกาศหลักเกณฑ์กระทรวงการคลังว่าด้วยมาตรฐานและหลักเกณฑ์ปฏิบัติการบริหารจัดการความเสี่ยงสำหรับหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2562 โดยหลักเกณฑ์ปฏิบัติการบริหารจัดการความเสี่ยงสำหรับหน่วยงานของรัฐ ข้อ 3 กำหนดให้หน่วยงานของรัฐ ยกเว้นรัฐวิสาหกิจถือปฏิบัติตามคู่มือหรือแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการบริหารจัดการความเสี่ยงตามที่กระทรวงการคลังกำหนด ซึ่งหน่วยงานของรัฐมีหน้าที่ในการจัดให้มีการบริหารจัดการความเสี่ยง ตามมาตรา 79 ของพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ.2561 เพื่อให้การบริหารจัดการความเสี่ยงของหน่วยงานมีประสิทธิภาพ รวมถึงยกระดับการบริหารจัดการความเสี่ยงของฝ่ายบริหารให้สามารถเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ (Informed Strategic Decision Making) เพื่อสนับสนุนการบริหารหน่วยงานของรัฐให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กรอย่างแท้จริง

หลักการ บริหาร จัดการความเสี่ยงระดับองค์กร กรมบัญชีกลาง
โดยกรมบัญชีกลางจึงได้กำหนดแนวทางการบริหารจัดการความเสี่ยงสำหรับหน่วยงานของรัฐ เรื่อง หลักการบริหารจัดการความเสี่ยงระดับองค์กรขึ้น เพื่อให้หน่วยงานของรัฐสามารถนำหลักการดังกล่าวไปปรับใช้ในการพัฒนาระบบการบริหารจัดการความเสี่ยงให้เหมาะสมกับหน่วยงาน โดยมีเนื้อหาสรุปได้ดังนี้ 1.กรอบการบริหารจัดการความเสี่ยง ประกอบด้วย 8 หลักการ ดังนี้ 1) การบริหารจัดการความเสี่ยงต้องดำเนินการแบบบูรณาการทั่วทั้งองค์กร 2) ความมุ่งมั่นของผู้กำกับดูแล หัวหน้าหน่วยงานของรัฐ และผู้บริหารระดับสูง 3) การสร้างและรักษาบุคลากรและวัฒนธรรมที่ดีขององค์กร 4) การมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบด้านการบริหารจัดการความเสี่ยง 5) การตระหนักถึงผู้มีส่วนได้เสีย 6) การกำหนดยุทธศาสตร์/กลยุทธ์ วัตถุประสงค์ และการตัดสินใจ 7) การใช้ข้อมูลสารสนเทศ 8) การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง 2.กระบวนการบริหารจัดการความเสี่ยง ประกอบด้วย 7 กระบวนการ ดังนี้ 1) การวิเคราะห์องค์กร 2) การกำหนดนโยบายการบริหารจัดการความเสี่ยง 3) การระบุความเสี่ยง 4) การประเมินความเสี่ยง 5) การตอบสนองความเสี่ยง 6) การติดตามและทบทวน 7) การสื่อสารและการรายงาน สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถดาวน์โหลดแนวทางดังกล่าวได้ที่เว็บไซต์กรมบัญชีกลาง www.cgd.go.th หัวข้อ เรื่องที่น่าสนใจ หัวข้อ ตรวจสอบภายใน เลือกระเบียบ มาตรฐาน คู่มือ แนวปฏิบัติ หัวข้อแนวทางการบริหารจัดการความเสี่ยงสำหรับหน่วยงานของรัฐ เรื่อง หลักการบริหารจัดการความเสี่ยงระดับองค์กร หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่กองตรวจสอบภาครัฐ กรมบัญชีกลาง หมายเลข 02-127-7287 ในวันเวลาราชการ