หลักการและเหตุผล โครงการ โรงเรียน ปลอดขยะ

     กระบวนการทำงาน
         
โรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) มีวัตถุประสงค์ เพื่อกระตุ้น รณรงค์เสริมสร้างจิตสำนึกและความรู้ความเข้าใจของนักเรียนในการจัดการขยะในรูปแบบ 3R คือ การลดใช้ (Reduce) การใช้ซ้ำ (Reuse) และการนำมาผ่านกระบวนการเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) และส่งเสริมให้สถานศึกษา มีการจัดการขยะได้อย่างถูกต้อง เพื่อมุ่งสู่การเป็นต้นแบบของโรงเรียนปลอดขยะ และสามารถนำไปขยายผลได้ต่อไปในอนาคต
         
เนื่องจากปัญหาเรื่องขยะและปัญหาสิ่งแวดล้อม เป็นปัญหาที่สำคัญมากในปัจจุบันที่ส่งผลกระทบกับโรงเรียน และชุมชนเป็นอย่างมาก ทางโรงเรียนเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงทำโครงการธนาคารขยะขึ้นมา เพื่อที่ครู นักเรียน ชุมชน ได้ตระหนักและเห็นความสำคัญในการช่วยกันแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม และรู้จักการคัดแยกขยะรู้จักการนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ได้ใหม่ เพื่อลดปริมาณขยะรู้จักการเปลี่ยนขยะให้เป็นเงินรู้จักการประหยัดตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง
         
ธนาคารขยะ ของโรงเรียนสุเหร่าซีรอ (ราษฎร์สามัคคี) เริ่มต้นมาจากกิจกรรมกลุ่มเพื่อการเรียนรู้ซึ่งเกิดขึ้นในตอนปลายปีการศึกษา เพื่อปรับปรุงสภาพแวดล้อมของโรงเรียนโรงเรียนสุเหร่าซีรอ (ราษฎร์สามัคคี) ให้ดีขึ้น รวมไปถึงความสะอาดภายในโรงเรียน ประกอบกับเพื่อจัดระเบียบการทำงานกลุ่มของนักเรียนให้เป็นระบบมากยิ่งขึ้น มีการประเมินการทำงาน มีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบ บุคลากรทุกคนทุกฝ่ายร่วมมือกัน รวมไปถึงต้องการบูรณาการกับการเรียนการสอนอีกด้วย

สภาพทั่วไป

โรงเรียนสุเหร่าซีรอ(ราษฎร์สามัคคี) เป็นโรงเรียนขนาดกลาง สังกัดสำนักงานเขตสะพานสูง กรุงเทพมหานคร  ตั้งอยู่เลขที่ 3 ซอยราษฎร์พัฒนา ๒8 ถนนราษฎร์พัฒนา แขวงราษฎร์พัฒนา เขตสะพานสูง  กรุงเทพมหานคร 10240 มีพื้นที่ 4 ไร่ 1 งาน 88 ตารางวา เปิดสอนในระดับชั้นอนุบาล มัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2563  มีนักเรียนทั้งสิ้นรวม ๗58 คน มีข้าราชการจำนวน 33 คน  ฝ่ายบริหาร 3 คน  ข้าราชการ 36 คน พี่เลี้ยงเด็ก 4 คน พนักงานสถานที่ 2 คน  แม่บ้าน 3 คน มีอาคารเรียน 5 หลัง จำนวน ห้องเรียนทั้งหมด 31 ห้องเรียน ห้องพิเศษ 28 ห้อง
           
สภาพชุมชนรอบบริเวณโรงเรียนมีลักษณะกึ่งเมืองกึ่งชนบท การเดินทางใช้รถสองแถวและจักรยานยนต์ซึ่งไม่สะดวกเท่าที่ควร มีประชากรประมาณ 2,000 คน สถานที่สำคัญบริเวณใกล้เคียงโรงเรียน  ได้แก่ มัสยิดอัลยุสซรอ อาชีพหลักของชุมชน คือ รับจ้างทั่วไป เนื่องจากประชากรส่วนใหญ่จบการศึกษาในระดับประถมศึกษา นับถือศาสนาอิสลาม ประเพณี/ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นที่เป็นที่รู้จักโดยทั่วไป คือ ลิเกเรียบ  
           
ผู้ปกครองส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 6 อาชีพหลัก คือ รับจ้างทั่วไป คิดเป็นร้อยละ 80 ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม คิดเป็นร้อยละ 90  ฐานะทางเศรษฐกิจ/รายได้โดยเฉลี่ยต่อคนต่อปี 42,000 - 60,000 บาท จำนวนคนเฉลี่ยต่อครอบครัว 5  คน
           
โอกาสของโรงเรียน อยู่ใกล้แหล่งเรียนรู้ เช่น วัดลาดบัวขาว มัสยิด บ้านทรงไทยโบราณ แหล่งผลิตกระเป๋า โรงเรียนเกษตรทฤษฎีใหม่ 
           
ข้อจำกัดของโรงเรียน นักเรียนมีความเสี่ยงต่อการพนันและยาเสพติด 

ลักษณะสำคัญของวิธีหรือแนวทางปฏิบัติที่เป็นเลิศ
           
เป็นโครงการต่อเนื่องตลอดปีการศึกษา ที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาที่ ๑ ด้านคุณภาพผู้เรียน ที่ส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ปลูกจิตสำนึก สร้างวินัยให้นักเรียน มาตรฐานที่ ๒ การบวนการบริหารจัดการด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ  ตามแนวคิดบันได ๖

วัตถุประสงค์ของวิธีหรือแนวทางปฏิบัติที่เป็นเลิศ
           
1. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้นักเรียน ครู บุคลากรของโรงเรียน และชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการลด การคัดแยกขยะ และการนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่
           
2. เพื่อให้นักเรียน ครู และบุคลากรของโรงเรียน เกิดทักษะการคิดแก้ปัญหาสามารถปฏิบัติในเรื่องการลด การคัดแยก และการนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ ตามแนวคิดบันได ๖ ส
           
3. เพื่อปลูกจิตสำนึกให้นักเรียน ครู บุคลากรของโรงเรียนเห็นความสำคัญของขยะ และช่วยกันอนุรักษ์รักษาสิ่งแวดล้อม

เป้าหมาย 
           
ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ
           
ครูและบุคลากรในโรงเรียน ๔5 คน และนักเรียนระดับชั้นอนุบาล - มัธยมศึกษาปีที่    จำนวน  758  คน เข้าร่วมกิจกรรมตามโครงการ

ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ
           
ตัวบ่งชี้ความสำเร็จของโครงการ ร้อยละ ๙๐ ของครู บุคลากร และนักเรียน ในโรงเรียนสุเหร่าซีรอ (ราษฎร์สามัคคี) ตระหนักถึงความสำคัญของการลด การคัดแยก และการนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ และนำมาใช้ในชีวิตประจำวันรวมทั้งให้ความร่วมมือในกิจกรรมจากโครงการโรงเรียนปลอดขยะ ที่โรงเรียนจัดทำขึ้น

2. ลำดับขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมพัฒนา Flow Chart (แผนภูมิ) ของวิธีหรือแนวทางปฏิบัติที่เป็นเลิศ
           
การดำเนินการจัดโครงงาน เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานการศึกษาที่ ๑ ด้านคุณภาพผู้เรียน ที่ส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ปลูกจิตสำนึก สร้างวินัยให้นักเรียน มาตรฐานที่ ๒ การบวนการบริหารจัดการด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ  ใช้วิธี System Appoach และทุกขั้นตอนจะควบคุมโดยวงจรคุณภาพ PDCA ดังนี้

ขั้นที่ 1 สร้างองค์ความรู้

จัดอบรมให้ความรู้แก่ครูผู้ดำเนินกิจกรรมทีเกี่ยวเนื่องกับโครงการ

 

ขั้นที่ 4 ตรวจสอบและปรับปรุงการดำเนินงาน

ครูผู้ดำเนินกิจกรรมศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นจากการจัดกิจกรรม  

เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน และดำเนินการแก้ไขปัญหา

 

        

กระบวนการ/ขั้นตอนการดำเนินการวิธีหรือแนวทางการปฏิบัติที่เป็นเลิศ

ขั้นที่ 1 สร้างองค์ความรู้

จัดอบรมให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมและโครงการแก่ครูผู้ดำเนินกิจกรรมทีเกี่ยวเนื่องกับโครงการ โดยมุ่งเน้นให้ครูผู้รับการอบรมเข้าใจกระบวนการทำกิจกรรมและโครงการ การประเมินกิจกรรมและโครงการ และถ่ายทอดกระบวนการและวิธีการเขียนรายงานกิจกรรมและโครงการ ที่ถูกต้องสู่นักเรียนได้

ขั้นที่ 2 วางแผนการดำเนินงาน

ครูผู้ดำเนินกิจกรรมศึกษา เอกสาร เพื่อวางแผนการจัดกิจกรรมการโครงงานต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่อง เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ที่สอดคล้องกับเนื้อหาสาระตามที่หลักสูตรกำหนด

ขั้นที่ 3 จัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน

ครูจัดกิจกรรมและโครงการ เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ตามแผนที่วางไว้ โดยจัดกิจกรรมให้กับนักเรียนตามแนวคิดบันได ๖ ส ดังนี้

          บันได ส ที่ 1     ขั้นสะสมความรู้

          บันได ส ที่ 2     ขั้นสร้างความสนใจ

บันได ส ที่ 3     ขั้นสามัคคีรวมใจ

บันได ส ที่ 4     ขั้นแสวงหาความรู้

บันได ส ที่ 5     ขั้นสรุปสิ่งที่เรียนรู้

บันได ส ที่ 6     ขั้นเสนอผลงาน

ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมของบันไดแต่ละขั้น เป็นดังนี้

          บันได ส ที่ 1     ขั้นสะสมความรู้

          ครูจัดกิจกรรมให้ความรู้แก่นักเรียนเกี่ยวกับความหมายของกิจกรรม ประเภทของกิจกรรม และขั้นตอนการทำกิจกรรม ซึ่งประกอบด้วย การหาหัวข้อกิจกรรม การวางแผนในการทำกิจกรรม การลงมือทำกิจกรรม และสรุปผลการปฏิบัติงาน

          บันได ส ที่ 2     ขั้นสร้างความสนใจ

          ครูกระตุ้นให้นักเรียนเห็นความสำคัญและประโยชน์ชองการทำกิจกรรม

บันได ส ที่ 3     ขั้นสามัคคีรวมใจ

ครูให้นักเรียนลงมือทำกิจกรรมร่วมกัน

บันได ส ที่ 4     ขั้นแสวงหาความรู้

เป็นขั้นตอนที่นักเรียนต้องลงมือปฏิบัติกิจกรรม โดยสามารถขอคำปรึกษาจากครูเมื่อมีข้อสงสัยหรือเมื่อเกิดปัญหาได้

บันได ส ที่ 5     ขั้นสรุปสิ่งที่เรียนรู้

ครูผู้จัดกิจกรรมสรุป จัดทำเป็นรูปเล่ม

บันได ส ที่ 6     ขั้นเสนอผลงาน

ส่งผลการดำเนินกิจกรรม  เพื่อให้ผู้อื่นได้เรียนรู้ และชมผลงาน

ขั้นที่ 4 ตรวจสอบและปรับปรุงการดำเนินงาน

ครูศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นจากการจัดกิจกรรม  เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน และดำเนินการแก้ไขปัญหา

ขั้นที่ 5 ประเมินผล

ประเมินผล  การจัดกิจกรรม เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน