การ ละเมิดลิขสิทธิ์ ภาพยนตร์ บนเว็บไซต์ ออนไลน์

โควิด-19 ส่งผลกระทบต่อวงการภาพยนตร์ และโรงภาพยนตร์ทั่วโลก ไม่ใช่แค่การเลื่อนวันฉายไม่มีกำหนด หรือการเลือกลงในบริการสตรีมมิงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังรวมถึงอุตสาหกรรมผิดกฎหมายอย่างภาพยนตร์ฉายชนโรง ที่ทั้งสองฝ่ายจำเป็นต้องปรับกลยุทธ์เช่นกัน

การ ละเมิดลิขสิทธิ์ ภาพยนตร์ บนเว็บไซต์ ออนไลน์
ภาพจาก Shutterstock

การละเมิดลิขสิทธิ์ภาพยนตร์ที่เรามักเห็นกันอย่างชินตา คือ ภาพยนตร์ชนโรงบนที่เปิดให้ดาวน์โหลดและรับชมบนเว็บไซต์ออนไลน์ แทบจะทันทีที่ภาพยนตร์เรื่องนั้นเข้าฉายในโรงภาพยนตร์

จากการศึกษาของ Global Innovation Policy Center พบว่าในแต่ละปีการละเมิดลิขสิทธิ์ออนไลน์ สร้างผลกระทบกับระบบเศรษฐกิจของประเทศสหรัฐอเมริกาปีละ 2.99-7.1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 8.93 แสนล้านบาท-2.12 ล้านล้านบาท

แต่ในช่วงปีที่ผ่านมาสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมภาพยนตร์อย่างมาก การชมภาพยนตร์ในโรงภาพยนตร์อาจไม่ใช่สิ่งที่ผู้ชมเลือกในยุคนี้ ด้วยความเสี่ยงของสถานการณ์โรคระบาด ทำให้ในที่สุดผู้ผลิตภาพยนตร์รายใหญ่จึงตัดสินใจที่จะนำภาพยนตร์ของตัวเองฉายบนบริการสตรีมมิง ทดแทนการฉายในโรงภาพยนตร์

ในกรณีของ Disney นำภาพยนตร์เรื่อง Mulan เข้าฉายบน Disney+ ทันที พร้อมโรงภาพยนตร์ โดยเสียค่าชมเพิ่มเติม 30 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 897 บาท แยกจากภาพยนตร์เรื่องอื่นๆ ส่วน Warner Media ก็ประกาศว่า จะนำภาพยนตร์ทั้งหมดในปี 2021 ฉายในแอป HBO Max พร้อมกับการฉายในโรงภาพยนตร์ ไม่ต้องรอให้ภาพยนตร์ออกจากโรงก่อน

  • วงการหนังปี 2021 หมดยุคฉายโรงก่อน เพราะฉายสตรีมมิ่งพร้อมกัน

ภาพยนตร์ไม่เข้าโรง ยิ่งเป็นการเปิดโอกาสให้ละเมิดลิขสิทธิ์?

ที่ผ่านมาอัตราการระเมิดลิขสิทธิ์ภาพยนตร์ หรือที่เราเรียกกันว่าหนังเถื่อน จะยิ่งมีอัตราที่สูงขึ้น โดยเฉพาะหากภาพยนตร์ที่เข้าฉายเป็นภาพยนตร์ดังระดับ Blockbuster และมีการทำการตลาดมากเพียงใด ก็จะยิ่งเป็นการทำให้เกิดการละเมิดลิขสิทธิ์เพิ่มมากขึ้นไปด้วย โดยเฉพาะภาพยนตร์ดังที่หาดาวน์โหลดเถื่อนได้ตามเว็บไซต์ออนไลน์

อย่างภาพยนตร์เรื่อง Mulan ที่เปิดให้รับชมบน Disney + ก็พบว่ามีการละเมิดลิขสิทธิ์บนเว็บไซต์ออนไลน์ที่สูงในช่วงแรกๆ เช่นกัน

คำถามที่เกิดขึ้นคือ แล้วผู้ผลิตภาพยนตร์จะป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์อย่างไร ในวันที่ภาพยนตร์ฉายผ่านช่องทางสตรีมมิงเพียงอย่างเดียว หรือฉายพร้อมกับโรงภาพยนตร์

หนึ่งในทางแก้ที่ Warner Media ใช้ คือ การเปิดกำหนดวันเข้าฉายของภาพยนตร์เรื่อง Wonder Woman 1984 ในสหรัฐอเมริกา หลังจากที่ประเทศอื่นๆ ทั่วโลกฉายไปแล้ว 2 สัปดาห์ โดยในสหรัฐอเมริกา กำหนดให้เข้าฉายทั้งในโรงภาพยนตร์และแอปพลิเคชัน HBO Max พร้อมๆ กัน

โดยการฉายภาพยนตร์ในโรงภาพยนตร์พร้อมๆ กันกับการฉายในแอปพลิเคชัน จะทำให้ผู้ชมสามารถเลือกชมภาพยนตร์ในโรงภาพยนตร์ได้ก่อนที่เว็บไซต์ละเมิดลิขสิทธิ์จะนำไฟล์ภาพยนตร์ที่มีความคมชัดสูงไปอัพโหลดลงบนเว็บไซต์ของตัวเอง

Michael Smith ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดจากมหาวิทยาลัย Carnegie Mellon University แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการละเมิดลิขสิทธิ์ว่า คนส่วนมากที่รับชมภาพยนตร์ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ เป็นเพราะไม่มีช่องทางที่ถูกลิขสิทธิ์ให้เลือกรับชม ซึ่งคนกลุ่มนี้หากมีช่องทางถูกสิขสิทธิ์ก็พร้อมที่จะยอมจ่ายเงินเพื่อชมภาพยนตร์

ความท้าทายของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ ที่ต้องสู้กับการละเมิดลิขสิทธิ์

อย่างไรก็ตามการละเมิดลิขสิทธิ์ก็ไม่ได้มีแต่ข้อเสียเพียงอย่างเดียว เพราะบางครั้งข้อมูลการละเมิดลิขสิทธิ์ที่ได้รับการรวบรวมมา สามารถบ่งบอกความนิยมของภาพยนตร์ หรือสื่อบันเทิงแต่ละเรื่องได้เช่นกัน โดยเฉพาะในตลาดต่างประเทศ ที่ผู้ผลิตภาพยนตร์ต่างๆ ต้องการนำภาพยนตร์ไปฉาย ก็สามารถทำนายความนิยมได้

แต่อย่างไรก็ตามในปี 2021 อาจแตกต่างจากปีที่ผ่านมา เพราะการเก็บข้อมูลการละเมิดลิขสิทธิ์อาจไม่ได้บ่งบอกความนิยมที่แท้จริงของภาพยนตร์หรือสื่อบันเทิงในแต่ละประเทศได้อีกต่อไป

เพราะโรคโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อโรงภาพยนตร์ที่ไม่สามรถเปิดได้ตามปกติ หรือหากเปิดได้ก็มีจำนวนผู้ชมน้อยลง ผู้ชมบางส่วนอาจเลือกที่จะรับชมภาพยนตร์ผ่านช่องทางที่ละเมิดลิขสิทธิ์เป็นการทดแทนการรับชมภาพยนตร์ในโรงภาพยนตร์ก็ได้

อนาคตอยู่ที่ชมเลือก จะเลือกจ่ายเงินในช่องทางที่ถูกต้องหรือไม่

แต่ในปี 2021 นี้ ตัวเลือกของผู้ผลิตภาพยนตร์เหลือไม่มากนักหากสถานการณ์โควิด-19 ยังคงมีความรุนแรง จึงเป็นที่จับตามมองว่าผู้ชมจะเลือกอะไรระหว่างการยอมจ่ายเงินเพื่อซื้อบริการสตรีมมิง หรือจะเลือกรับชมภาพยนตร์ผ่านช่องทางละเมิดลิขสิทธิ์ ซึ่งจะยิ่งเป็นการลดรายได้ของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ลง

งานในวงการอุตสาหกรรมบันเทิง เช่น ภาพยนตร์ ซีรีส์ แอนิเมชัน ละคร ถือเป็นงานที่มีลิขสิทธิ์ คือการได้รับการรับรองว่าเป็นงานสร้างสรรค์ ที่ผลิตจากกระบวนการคิด ค้นหาข้อมูล ใช้ความรู้ ความสามารถ และถ่ายทอดออกมาเป็นผลงาน ซึ่งได้รับความคุ้มครองทางกฎหมาย ถือได้ว่าเป็นทรัพย์สินทางปัญญาเช่นเดียวกัน

ถึงเวลาแล้วที่เราควรหันมาทำความเข้าใจปัญหาลิขสิทธิ์ให้มากยิ่งขึ้น ติดตามได้จากบทความชิ้นนี้ที่เราได้รวบรวมข้อมูลมานำเสนอ

กฎหมายลิขสิทธิ์และบทลงโทษ

การ ละเมิดลิขสิทธิ์ ภาพยนตร์ บนเว็บไซต์ ออนไลน์

พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2561 ได้นำเสนอรายละเอียดและปรับแก้ไขเพิ่มเติมจาก พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ไว้ดังนี้

มาตรา 15 เจ้าของลิขสิทธิ์ย่อมมีสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียวในการทำซ้ำหรือดัดแปลง เผยแพร่ต่อสาธารณชน และให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ และสิ่งบันทึกเสียง

มาตรา 27 การทำซ้ำหรือดัดแปลง และเผยแพร่ต่อสาธารณชน โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ ตามอ้างอิงมาตรา 15 ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์

มาตรา 29 การนำภาพยนตร์มาทำซ้ำหรือดัดแปลง และเผยแพร่ต่อสาธารณชนหรือกระทำเพื่อผลประโยชน์ทางการค้าไม่ว่าทั้งหมดหรือแค่บางส่วน โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ ตามอ้างอิงมาตรา 15 ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์

มาตรา 69 ผู้ใดกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงตามมาตรา 27 มาตรา 28 มาตรา 29 มาตรา 30 หรือมาตรา 52 ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท

ถ้าการกระทําความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำเพื่อการค้า ผู้กระทำต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสี่ปี หรือปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงแปดแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

งบประมาณการสร้างและความเสียหายจากการดูเถื่อน

การ ละเมิดลิขสิทธิ์ ภาพยนตร์ บนเว็บไซต์ ออนไลน์

การลงทุนในภาคอุตสาหกรรมบันเทิง ไม่ว่าจะเป็นภาพยนตร์ ซีรีส์ ละคร แอนิเมชัน ล้วนมีค่าใช้จ่ายต่อเรื่องค่อนข้างสูง งบประมาณในการสร้างภาพยนตร์และแอนิเมชัน อยู่ที่ประมาณ 40-50 ล้านบาท ถือเป็นงบประมาณที่สูงสุดสำหรับการสร้างภาพยนตร์ ส่วนงบประมาณในสร้างแอนิเมชันอยู่ที่ 100 ล้านบาท

ตัวอย่างภาพยนตร์และแอนิเมชันที่นำมากล่าวถึงในที่นี้ก็ทำรายได้มหาศาล และมีงบประมาณในการลงทุนสูงเช่นเดียวกัน ได้แก่ ภาพยนตร์เรื่องพี่มากพระโขนง มีงบประมาณในการสร้างอยู่ที่ 68 ล้านบาท แอนิเมชัน 9 ศาสตา มีงบประมาณในการสร้างอยู่ที่ 230 ล้านบาท ภาพยนตร์เรื่องนาคี 2 มีงบประมาณในการสร้างอยู่ที่ 50 ล้านบาท

การที่ภาพยนตร์และแอนิเมชันถูกนำมาเผยแพร่อย่างไม่ถูกลิขสิทธิ์ สร้างความเสียหายหลายอย่างให้แก่วงการภาพยนตร์และแอนิเมชัน ส่งผลให้แพลตฟอร์มสตรีมมิ่งหลายค่ายเลือกที่จะลงทุนกับภาพยนตร์แอนิเมชันของต่างประเทศมากกว่า เพราะมียอดผู้รับชมแบบถูกลิขสิทธิ์มากกว่า อีกทั้งยังส่งผลให้เพดานรายได้ที่คาดว่าจะทำกำไรถึง 1 พันล้านบาทกลับต้องลดลงมา ยิ่งมีผู้เข้าชมภาพยนตร์ในเว็บเถื่อนมากเท่าใดจำนวนยอดตั๋วภาพยนตร์ก็หายไป

สมมติกรณีภาพยนตร์เรื่องพี่มากพระโขนง มีผู้เข้าชมเว็บเถื่อนอยู่ที่ 160,000 รอบ มาคูณกับราคาตั๋วที่ 200 บาท ความเสียหายอยู่ที่ราคาตั้ง 32 ล้านบาท เกือบครึ่งหนึ่งของงบประมาณในการสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้

เสียงสะท้อนจากคนในอุตสาหกรรมบันเทิง

การ ละเมิดลิขสิทธิ์ ภาพยนตร์ บนเว็บไซต์ ออนไลน์

คุณนุชี่-อนุชา บุญยวรรธนะ ผู้กำกับภาพยนตร์ อธิบายว่า การดูเถื่อนส่งผลเสียหลายอย่างในภาพรวม เพราะทำให้มูลค่าของภาพยนตร์นั้นถูกลดลง อีกทั้งเมื่อคนดูเถื่อนกันมาก ทำให้เรทราคาในการนำภาพยนตร์และแอนิเมชันของไทยลงแพลตฟอร์มออนไลน์น้อยลงตามไปด้วย

อย่างไรก็ตามความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องลิขสิทธิ์ หลายคนอาจจะคิดว่าเป็นปัญหาเพียงเล็กน้อย อาจจะรู้เท่าไม่ถึงการณ์ว่าผลกระทบมีมาก คุณจ๊อบ (ขอสงวนชื่อนามสกุลจริง) แสดงความคิดเห็นว่า ตนเองเข้าใจว่าการดูเถื่อนเป็นสิ่งไม่ดี แต่ภาพยนตร์บางเรื่องที่ดูเถื่อน เราก็เสียตังค์เข้าดูในโรงภาพยนต์แล้ว แต่ก็อยากกลับไปดูอีกครั้ง และบางเรื่องก็ออกจากโรงภาพยนตร์แล้วไม่รู้จะไปดูที่ไหน ก็หาดูในเว็บเถื่อนแทน ตนเองไม่คิดว่าจะส่งผลขนาดนี้กับวงการภาพยนตร์

แนวทางในการแก้ไขปัญหา

การ ละเมิดลิขสิทธิ์ ภาพยนตร์ บนเว็บไซต์ ออนไลน์

หลายฝ่ายพยายามจะแก้ไขปัญหาลิขสิทธิ์ที่เกิดขึ้น เพื่อให้ทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคได้รับประโยชน์มากที่สุด เราเสนอแนวคิดอยากให้รัฐบาลหรือเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้มีการตรวจสอบอย่างเข้มงวดกับเว็บเถื่อน อาจจะตั้งรางวัลในการแจ้งข้อมูลตามสมควรแก่ผู้ที่ให้ข้อมูล เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการกับเว็บเถื่อน รวมทั้งยังเป็นการปลูกฝังค่านิยมในการส่งเสริมและเป็นกำลังใจแก่ผู้ที่สร้างสรรค์ผลงานอีกด้วย

ทั้งนี้ยังมีหลากหลายแพลตฟอร์มที่ผู้บริโภคสามารถเข้าใช้บริการโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย แม้แต่แพลตฟอร์มที่เสียค่าใช้จ่ายก็ยังมีหลายแพ็กเกจที่ให้เลือกบริการ ตามกำลังที่ผู้บริโภคสามารถจ่ายค่าบริการได้

ขณะที่ผู้ผลิตและเครือโรงภาพยนตร์อาจร่วมกันคิดราคาบัตรเข้าชมภาพยนตร์ให้ถูกลง โดยมองภาพรวมที่จำนวนยอดผู้เข้าชม อาจจะส่งผลให้ผู้บริโภคมองเห็นว่า เป็นราคาที่มีกำลังทรัพย์สามารถเข้ามารับชมได้

ช่องทางที่สามารถสนับสนุนงานอย่างถูกลิขสิทธิ์

การ ละเมิดลิขสิทธิ์ ภาพยนตร์ บนเว็บไซต์ ออนไลน์

ปัจจุบันมีหลายแพลตฟอร์มที่ผู้ชมทุกคนจะเลือกใช้บริการที่ทั้งแบบเสียค่าบริการและฟรี ได้แก่ Netflix, Disney+, DooNee, HBO Go, Viu, WeTV, QIY, BiliBili, Flixer, และ Line Tv โดยแบบเสียค่าบริการก็มีหลายแพ็คเกจให้ผู้ชมได้เลือกตามแต่ทุกคนสะดวก ราคาถูกไปยังราคาแพงสุด แต่ถ้าทุกคนลองคำนวณค่าบริการจะเห็นได้ว่าตกวันละไม่กี่บาท ทุกคนสามารถวางแผนเก็บเงินเพื่อจ่ายค่าบริการได้ แต่ละวันควรจะเก็บวันละเท่าไหร่ สำหรับคนที่ไม่อยากเสียค่าบริการก็ยังมีแพลตฟอร์มที่ฟรีให้แก่ทุกคนได้รับชมความบันเทิงอีกมากมาย

การเติบโตขึ้นของอุตสาหกรรมบันเทิงต้องเกิดขึ้นจากความร่วมมือกันของผู้ผลิตและผู้บริโภค อยากให้ทุกคนช่วยสนับสนุนแพลตฟอร์มที่ถูกกฎหมาย เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ผู้ผลิตภาพยนตร์ในไทยได้สร้างสรรค์ผลงานที่มีคุณภาพออกมาสู่สายตาผู้ชม อีกทั้งยังช่วยยกระดับวงการภาพยนตร์และแอนิเมชันของไทยให้ก้าวไกลเทียบเท่าต่างประเทศมากขึ้น

Reference & Bibliography

  • พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ ฉบับที่ 4 พ.ศ.2561. สืบค้นเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2564, จาก https://ictlawcenter.etda.or.th/files/law/file/95/7431834d10932a7037125146f387333d.PDF
  • พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537. (2537, 9 ธันวาคม). กฎหมายลิขสิทธิ์และบทลงโทษ. สืบค้นเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2564, จาก http://www.fio.co.th/south/law/8/85.pdf
  • ทรัพย์สินทางปัญญา เบื้องต้น ตัวอย่างและประโยชน์ทรัพย์สินทางปัญญา ความรู้ทางทรัพย์สินทางปัญญาเบื้องต้น. สืบค้นเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2564, จาก https://www.atpserve.com/ทรัพย์สินทางปัญญา
  • Joy K. (2563, 30 มกราคม). เรื่อง GDH ปิดรายได้ปี 62 ที่ 471.29 ล้านบาท พร้อมเผยแผนปี 63 กับหนัง 2 และซีรี่ย์อีก 1 เรื่อง. สืบค้นเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2564, จาก https://marketeeronline.co/archives/143483
  • ข้อมูลรูปภาพยนตร์. สืบค้นเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2564, จาก www.majorcineplex.com

Additional Information

ผลงานชิ้นนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา JR402 Interpretation of Current Affairs ภาคการศึกษา 1/2 2564 คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ อาจารย์ที่ปรึกษา รศ.วัฒณี ภูวทิศ

Writer

การ ละเมิดลิขสิทธิ์ ภาพยนตร์ บนเว็บไซต์ ออนไลน์

เปติกา สว่างวงษ์

แค่ได้นั่งอ่านหนังสือใต้ต้นไม้ก็มีความสุขแล้ว คติสอนใจ “Desserts’d help you.”

Writer

การ ละเมิดลิขสิทธิ์ ภาพยนตร์ บนเว็บไซต์ ออนไลน์

มัลลิกา เวียงคำ

สาวน้อยผู้อ่อนโยน

Writer

การ ละเมิดลิขสิทธิ์ ภาพยนตร์ บนเว็บไซต์ ออนไลน์

มนสิชา แก้วอ่อน

บ๊อกบ๊อก เอ๋งเอ๋ง

Graphic

การ ละเมิดลิขสิทธิ์ ภาพยนตร์ บนเว็บไซต์ ออนไลน์

สุพรรณษา จักรหา

I want to be a reporter, I want to be a writer, I want to be something that makes me earn money following my favorite stars.