ตรวจ สอบ การ จดทะเบียน สมรสซ้อน

ก่อนที่คู่ย่าวสาวจะจดทะเบียนสมรส หรือทำเอกสารทางกฎหมายเพื่อยืนยันถึงสถานภาพสามีภรรยากันได้นั้น จะต้องผ่านการปรึกษาพูดคุยถึงผลดีผลเสียของแต่ละบุคคลที่จะตามมาภายหลังก่อน และทางที่ดีควรตรวจสอบด้วยว่าคนที่เรารักนั้นเคยผ่านการจดทะเบียนสมรสมาแล้วหรือยัง เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการจดทะเบียนสมรสซ้อนขึ้น วันนี้เรามาดูเรื่องการจดทะเบียนสมรสซ้อนกันคะ

ตรวจ สอบ การ จดทะเบียน สมรสซ้อน

จดทะเบียนสมรสซ้อน

การสมรสซ้อน หมายถึง บุคคลหนึ่งได้ไปจดทะเบียนสมรสเอาไว้กับอีกบุคคลหนึ่ง โดยที่ตัวเองได้มีพันธะทางการสมรสกับอีกคนหนึ่งอยู่แล้วทางกฎหมายที่เรียกว่า “คู่สมรส” และการสมรสนั้นยังไม่ได้สิ้นสุดลง ซึ่งการสมรสซ้อนนั้นผิดกฎหมายทางอาญาในบางประเทศเช่น สหรัฐอเมริกา และในประเทศไทย

ในไทยนั้นการสมรสซ้อนเป็นการฝ่าฝืนเงื่อนไขตาม ม.1452 ดังนั้นการสมรสครั้งหลังจึงเป็นโมฆะ (ไม่มีประโยชน์เมื่อจดทะเบียนสมรสซ้อน) ตาม ม. 1495 ถ้าหากมีการสมรสซ้อน ถึงคู่สมรสคนแรกถึงแก่กรรมไป หรือหย่าขาดจากกันแล้ว ก็ยังไม่สามารถทำให้คู่สมรสคนที่สองกลับมาเป็นคู่สมรสที่ถูกต้องตามกฎหมายได้

การจดทะเบียนสมรสที่เป็นโมฆะนั้น ผู้มีส่วนได้เสียคนใดคนหนึ่งจะกล่าวถึงด้วยวาจาหรือหนังสือก็ได้ หรือจะร้องขอให้ศาลพิพากษาการสมรสเป็นโมฆะก็ได้ตาม ม. 1497 โดยจะเป็นคดีที่ไม่มีข้อพิพาท หรือจะเสนอคดีต่อศาลเป็นคดีมีข้อพิพาท ฟ้องบุคคลที่เกี่ยวข้องเป็นจำเลยก็ได้

ชายหรือหญิงที่ทำการสมรสจะเป็นผู้มีส่วนได้เสียนั้น จะต้องเกิดจากการสมรสโดยสุจริตเท่านั้น ถ้าไม่สุจริตก็ไม่ถือว่าเป็นผู้ที่มีส่วนได้เสีย ยกตัวอย่างเช่น สามีแต่งงานกับภรรยา 2 คนแล้วจดทะเบียนสมรสทั้ง 2 คน โดยที่ภรรยาคนที่ 2 ไม่ทราบจริงๆ ว่าสามีนั้นมีภรรยาอยู่ก่อนแล้วให้ถือว่าภรรยาคนที่ 2 เป็นผู้มีส่วนได้เสีย และภรรยาคนแรกกับลูกก็เป็นผู้มีส่วนได้เสียเช่นกัน ส่วนสามีสมรสโดยไม่สุจริตไม่ถือว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสีย

การฟ้องคดีให้ศาลพิพากษาให้การสมรสเป็นโมฆะนั้น ไม่มีการกำหนดอายุความ จะฟ้องร้องเมื่อไหร่ก็ได้ ถึงจะรู้อยู่แล้วว่าการสมรสเป็นโมฆะ แต่เพิกเฉยไม่ฟ้อง จนเวลาผ่านไป 20 ปีค่อยมาฟ้องก็สามารถทำได้คดีไม่ขาดอายุความและไม่ถือว่าเป็นการใช้สิทธิอย่างไม่สุจริต

การสมรสที่กลายเป็นโมฆะจะไม่ส่งผลต่อทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยาของคู่สมรสที่เป็นโมฆะ ทรัพย์สินเป็นของฝ่ายใดก็ยังคงเป็นของฝ่ายนั้นแต่เพียงผู้เดียวไม่เกี่ยวข้องกันไม่ว่าจะก่อนหรือหลังการสมรส แต่ถ้าเป็นทรัพย์สินที่ทำได้ร่วมกันให้แบ่งกันไปคนละครึ่ง นอกจากศาลจะเห็นสมควรสั่งเป็นอย่างอื่นตามมาตรา ม.1498

เมื่อศาลมีคำพิพากษาจนถึงที่สุดแล้วว่าให้การสมรสเป็นโมฤะ ศาลจะแจ้งไปยังนายทะเบียนเพื่อทำบันทึกไว้ในทะเบียนสมรสตามมาตรา ม. 1497/1 การสมรสที่เป็นโมฆะจะไม่กระทบถึงสิทธิของบุคคลภายนอกที่เป็นผู้กระทำโดยสุจริต ซึ่งมีมาก่อนจะมีการบันทึกความเป็นโมฆะเอาไว้ในทะเบียนสมรสตามมาตร ม. 1500

การสมรสที่เป็นโมฆะนั้นจะไม่ทำให้ชายหรือหญิงที่ได้สมรสโดยสุจริตเสียสิทธิที่ได้มาไป เพราะการสมรสได้เกิดก่อนที่ชายหรือหญิงคนนั้นจะรู้ถึงสาเหตุที่ทำให้การสมรสเป็นโมฆะ นอกจากนี้การสมรสที่เป็นโมฆะก็ไม่ทำให้คู่สมรสเกิดสิทธิในมรดก หรือเป็นทายาทโดยชอบธรรมของคู่สมรสอีกฝ่ายด้วย

ส่วนคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่เกิดจากการสมรสโดยสุจริตมีสิทธิในการเรียกค่าทดแทนได้ หากว่ายากจนลง เพราะไม่มีรายได้จากทรัพย์สิน หรือจากงานที่เคยทำอยู่ และยังมีสิทธิในการเรียกค่าเลี้ยงชีพได้อีกด้วย โดยสิทธิดังกล่าวมีอายุความ 2 ปีนับจากวันที่รู้ว่าการสมรสเป็นโมฆะตามมาตรา ม. 1499

ในส่วนของข้อตกลงระหว่างคู่สมรสว่าฝ่ายใดจะเป็นผู้มีอำนาจในการปกครองบุตรคนใด หรือฝ่ายไหนจะเป็นผู้ออกเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรเป็นจำนวนเท่าไหร่ ให้ทำหนังสือข้อตกลง แต่ถ้าตกลงกันไม่ได้ให้ศาลเป็นผู้ชี้ขาดแทนตามมาตรา ม. 1499/1

สำหรับบุตรที่เกิดจากการสมรสที่เป็นโมฆะ ให้ถือว่าเป็นบุตรโดยชอบธรรมด้วยกฎหมายของบิดามารดาทั้งคู่ไม่ว่าการสมรสจะเป็นโมฆะด้วยสาเหตุใดก็ตามตามมาตรา ม. 1536 วรรค 2 และ ม. 1538


ตรวจ สอบ การ จดทะเบียน สมรสซ้อน

“การจดทะเบียนสมรสซ้อน”
หมายถึง การที่บุคคลหนึ่งไปจดทะเบียนสมรสกับอีกบุคคลหนึ่ง ทั้ง ๆ ที่ตนมีพันธะทางการสมรสกับอีกบุคคลหนึ่งอยู่แล้ว ซึ่งเรียกว่า “คู่สมรส” อยู่แล้ว และการสมรสนั้นยังไม่สิ้นสุดลง

ตรวจ สอบ การ จดทะเบียน สมรสซ้อน

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1452  ชายหรือหญิงจะทำการสมรสในขณะที่ตนมีคู่สมรสอยู่ไม่ได้

กำหนดเงื่อนไขห้ามชายหรือหญิงทำการสมรสขณะที่ตนมีคู่สมรสอยู่ ซึ่งเป็นหลักการของกฎหมายครอบครัวที่กำหนดให้มีคู่สมรสได้เพียงคนเดียว หากทำการสมรสซ้อนหรือสมรสขณะที่ตนมีคู่สมรสอยู่แล้ว การสมรสนั้นย่อมตกเป็นโมฆะตามมาตรา 1495 

บุคคลผู้มีส่วนได้เสีย สามารถกล่าวอ้างว่าการสมรสนั้นเป็นโมฆะหรือจะนำคดีมาฟ้องต่อศาล ขอให้ศาลมีคำพิพากษาว่าการสมรสนั้นเป็นโมฆะก็ได้

เมื่อมีการกล่าวอ้างหรือมีคำพิพากษาแล้วการสมรสซ้อนนั้นย่อมเป็นอันเสียเปล่าตั้งแต่แรกเริ่ม แต่ถ้ายังไม่มีการกล่าวอ้างหรือมีคำพิพากษาดังกล่าวแล้วก็ต้องถือว่าชายหญิงในการสมรสครั้งหลังยังคงเป็นสามีภริยากันตามกฎหมาย

ซึ่งการสมรสซ้อนนี้แม้ชายหรือหญิงคู่สมรสจะไม่รู้ว่าอีกฝ่ายมีการสมรสเดิมอยู่แล้ว ก็ยังคงเป็นโมฆะอยู่นั่นเอง ไม่มีทางที่จะทำให้สมบูรณ์ขึ้นมาได้ 

แต่อย่างไรก็ตาม คู่สมรสผู้ทำการโดยสุจริตไม่เสื่อมเสียสิทธิที่ได้มา เพราะการสมรสนั้น ก่อนที่ตนจะรู้เหตุที่ทำให้การสมรสเป็นโมฆะ

การสมรสซ้อนเป็นความผิดอาญาในบางประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา และประเทศไทย อีกด้วย

#สมรสซ้อน #จดทะเบียน 

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

ที่มา :  http://www.discipline.police.go.th/BV09.pdf , https://bit.ly/2NFGxax , https://news.trueid.net/detail/yJ7qWbo9oEKP

จดทะเบียนสมรสซ้อนตรวจสอบยังไง

ส่วนการจะตรวจสอบว่าแฟนเราจดทะเบียนสมรสกับใครมาแล้วหรือยัง และหย่าเรียบร้อยหรือไหม สามารถจูงมือคุณแฟนไปขอตรวจได้ ที่อำเภอหรือที่เขตได้เลย เพื่อความสบายใจ เราไม่สามารถขอดูข้อมูลเองได้แต่เจ้าหน้าที่แนะว่า หากขอแล้วอีกฝ่ายดูบ่ายเบี่ยง มีพิรุธก็ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเรื่องที่ท่านสงสัยอาจมีมูลเป็นจริง 735.

เช็คทะเบียนสมรส ออนไลน์ ได้ไหม

ในการขอบริการคัดและรับรองเอกสารทางทะเบียนสมรสออนไลน์ได้ที่เว็บไซต์ https://Q-online.bora.dopa.go.th และสามารถ มาดำเนินการหรือรับเอกสารสำเนาทะเบียนสมรสตามคำร้องขอได้ทันที่ตามวัน และเวลานัดหมายล่วงหน้า

จดทะเบียนสมรสซ้อนกันได้ไหม

การจดทะเบียนสมรสซ้อนถือว่าเป็น “โมฆะ” และการจดทะเบียนสมรสซ้อนถือว่าไม่ได้มีการจดทะเบียน (โมฆะ) ไม่มีผลตามกฎหมาย

จดทะเบียนสมรสต้องใช้ทะเบียนบ้านตัวจริงไหม

สำหรับหลักฐานที่จะต้องใช้ในวันจดทะเบียนสมรสก็มีอยู่ทั้งหมด 3 อย่าง (สำหรับคู่ผม) คือ บัตรประชาชน ตัวจริงของทั้ง 2 ฝ่าย (ที่ยังไม่หมดอายุ) ✓ ทะเบียนบ้าน ตัวจริงของทั้ง 2 ฝ่าย (เตรียมไปเผื่อ พร้อมถ่ายสำเนาคนละ 2 ชุด) ✓ พยาน 2 คน (พร้อมบัตรประชาชน)